วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru <p><strong>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี </strong><br /><strong>Udon Thani Rajabhat University Journal of Science and Technology </strong><br /><br /> มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการของคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการและนักศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวารสารรับการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ ในกลุ่มวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ กลุ่มวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิทยาศาสตร์ สุขภาพ วิทยาศาสตร์การกีฬา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วัสดุศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ กลุ่มเกษตรศาสตร์ สาขาพืชศาสตร์ เศรษฐศาสตร์เกษตร ประมง และสัตวศาสตร์ และกลุ่มวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเครื่องกล, พลังงาน อิเล็กทรอนิกส์ ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์</p> <p><strong>กำหนดจัดพิมพ์ออกเผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ (ราน 4 เดือน)</strong><br /> ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน) <br /> ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม) <br /> ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม)</p> th-TH scjournal@udru.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยวดี ยาบุษดี) scjournal@udru.ac.th (นายรุ่งโรจน์ มีแก้ว) Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาขนมขบเคี้ยวสุนัขจากโปรตีนหนอนแมลงวันลายระยะก่อนเข้าดักแด้ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/article/view/254728 <p>งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการพัฒนาขนมขบเคี้ยวสุนัขจากโปรตีนหนอนแมลงวันลายระยะก่อนเข้าดักแด้ ผู้วิจัยทำการศึกษาสูตรอาหารพื้นฐานที่มีการเสริมแหล่งโปรตีนที่เหมาะสมที่สุด พบว่า มีค่า a<sub>w</sub> เท่ากับ 0.33 ความชื้นเท่ากับ 4.08 ผลการวิเคราะห์ค่าสี L* (ความสว่าง) เท่ากับ 53.56 ค่า a* (สีแดง) เท่ากับ 7.17 และค่า b* (สีเหลือง) เท่ากับ 22.50 ค่าความแข็งเท่ากับ 2376 และค่าความแตกหักเท่ากับ 1674 โดยปริมาณหนอนแมลงวันลายทดแทนโปรตีนในอาหารสุนัข 15% มีลักษณะทางกายภาพเหมาะสมสุด พบว่ามีค่า a<sub>w</sub> เท่ากับ 0.38 ค่าความชื้นเท่ากับ 2.14 ผลการวิเคราะห์ค่าสี L* (ความสว่าง) เท่ากับ 41.26 ค่า a* (สีแดง) เท่ากับ 3.02 และค่า b* (สีเหลือง) เท่ากับ 9.16 ค่าความแข็งเท่ากับ 4035 และค่าความแตกหักเท่ากับ 3177 และมีองค์ประกอบทางเคมี ความชื้น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เถ้า เส้นใยเท่ากับ 1.13, 40.56, 40.56, 8.66, 9.29 และเส้นใยเท่ากับ 1.18% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับสูตรอาหารสุนัขพื้นฐาน โดยขนมขบเคี้ยวสุนัขจากผงโปรตีนหนอนแมลงวันลาย มีมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารตามมาตรฐานด้านจุลินทรีย์ และมาตรฐานโลหะหนักตกค้าง</p> ณฐพงศ์ เมธินธรังสรรค์, ศศมล ผาสุข, ปุณยนุช นิลแสง, ศรีน้อย ชุ่มคำ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/article/view/254728 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาเอกลักษณ์ของพืชสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคผิวหนังทางการแพทย์แผนไทย https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/article/view/254833 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบเอกลักษณ์ของพืชสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคผิวหนังทางการแพทย์แผนไทย จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ โกฐกะกลิ้ง ทองพันชั่ง ชุมเห็ดเทศ พลู และราชพฤกษ์ ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่สามารถเพาะปลูกหรือหาได้ในท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย โดยมีวิธีการวิจัย คือ 1) การตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของพืชสมุนไพรตามหลักการพิจารณาตัวยา 5 ประการ ได้แก่ ชื่อ รูป สี กลิ่น และรส 2) การตรวจสอบเอกลักษณ์ทางเคมีของพืชสมุนไพรโดยเทคนิคโครมาโตรกราฟีแบบบาง เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลสำหรับพัฒนาต้นแบบสายพันธุ์สมุนไพรท้องถิ่นที่มีคุณภาพ</p> <p>ผลการศึกษาลักษณะทางกายภาพของพืชสมุนไพร พบว่า (1) เมล็ดโกฐกะกลิ้ง มีลักษณะกลมแบนคล้ายกระดุมขอบนูน สีขาวนวลแกมเทา ไม่มีกลิ่นและมีรสขมเมาเบื่อ (2) ใบทองพันชั่ง เป็นใบเดี่ยวรูปรี ปลายและโคนใบแหลม ใบสีเขียว มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสเบื่อเอียน (3) ใบชุมเห็ดเทศ เป็นใบประกอบขนนก ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปรี ปลายและโคนใบกลม สีเขียวอ่อน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสเบื่อเอียน (4) ใบพลู เป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจ สีเขียวเข้ม มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสเผ็ดร้อน (5) ใบราชพฤกษ์ เป็นใบประกอบขนนก ใบย่อยรูปไข่ ปลายแหลม สีเขียวเข้ม ไม่มีกลิ่นและมีรสฝาด เมื่อนำสมุนไพรมาตรวจสอบเอกลักษณ์ทางเคมีซึ่งแสดงภาพโครมาโทแกรมภายใต้แสงขาว แสงยูวี 254 นาโนเมตร และแสงยูวี 366 นาโนเมตร และคำนวณค่า R<sub>f</sub> ของแถบสารที่ตรวจพบในแต่ละคลื่นแสงดังนี้ (1) เมล็ดโกฐกะกลิ้ง ไม่พบแถบแยกที่แสงขาวและแสงยูวี 254 นาโนเมตร ขณะที่ความยาวคลื่น 366 นาโนเมตร มีค่า R<sub>f</sub> 2 แถบ (2) ใบทองพันชั่ง มีค่า R<sub>f</sub> จำนวน 7, 14, 19 แถบ ตามลำดับ (3) ใบชุมเห็ดเทศ มีค่า R<sub>f</sub> จำนวน 11, 17, 15 แถบ ตามลำดับ (4) ใบพลู มีค่า R<sub>f</sub> จำนวน 8, 16, 18 แถบ ตามลำดับ และ (5) ใบราชพฤกษ์ มีค่า R<sub>f</sub> จำนวน 7, 10, 13 แถบ ตามลำดับ ผลการศึกษานี้ถือเป็นแนวทางการตรวจสอบพันธุ์พืชสมุนไพรในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเป็นต้นแบบพันธุ์สมุนไพรที่มีคุณภาพและเพิ่มมูลค่าพืชสมุนไพรไทยให้กับชุมชนท้องถิ่นต่อไป</p> ศิริพักตร์ จันทร์สังสา, นวรัตน์ วิริยะเขษม, ศิวพงษ์ ตันสุวรรณวงค์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/article/view/254833 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็กอัจฉริยะ สำหรับภายในและภายนอกอาคาร https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/article/view/254867 <p>งานวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาระบบตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็กในระดับ PM 2.5 ที่สามารถวัดและรายงานค่าฝุ่นละอองได้ตามเวลาจริงในสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอาคาร ผลการทดสอบการวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในอากาศเฉลี่ยต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงเป็นเวลา 16 วัน ด้วยเครื่องมือวัดฝุ่นที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น พบว่ามีแนวโน้มของกราฟแสดงปริมาณฝุ่นที่ใกล้เคียงกันหรือไปในทิศทางเดียวกันกับอุปกรณ์มาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษที่ติดตั้ง ณ ศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าโอทอป ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีค่าความแตกต่างของปริมาณฝุ่นละอองเฉลี่ย 6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ผลวิจัยชี้ว่า เครื่องต้นแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้งานได้ นอกจากนี้ระบบตรวจวัดฝุ่นสามารถเรียกดูค่าปริมาณฝุ่นย้อนหลังได้ตามช่วงวันและเวลาต่างๆ ได้ ทั้งในรูปแบบของกราฟและตาราง ผ่านทางเว็บไซต์ที่สามารถเข้ากันได้กับทั้งเว็บเบราว์เซอร์ในคอมพิวเตอร์และสมาร์ตโฟน พร้อมทั้งมีระบบแจ้งเตือนค่าฝุ่นละอองผ่านระบบแจ้งเตือนทางแอปพลิเคชันไลน์ เมื่อมีปริมาณของฝุ่นละอองที่เกินค่ามาตรฐาน</p> จริยา พันธา, ศรัทธญา บุญเฉลียว Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/article/view/254867 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 จลนพลศาสตร์การสลายตัวของสารต้านออกซิเดชันในน้ำมะเขือเทศเข้มข้นระหว่างกระบวนการให้ความร้อน https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/article/view/254919 <p>มะเขือเทศเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของจังหวัดสกลนคร มีการแปรรูปมะเขือเทศสดเป็นน้ำมะเขือเทศเข้มข้นมากกว่า 60,000 ตัน/ปี งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจลนพลศาสตร์การสลายตัวของสารต้านออกซิเดชันในน้ำมะเขือเทศเข้มข้นระหว่างการให้ความร้อน พบว่าเมื่อให้ความร้อนน้ำมะเขือเทศเข้มข้นที่อุณหภูมิ 75, 85 และ 95 °C เป็นเวลา 30 นาที มีร้อยละการต้านออกซิเดชันโดยทำปฏิกิริยากับ DPPH (2, 2-diphenyl-1-picryl-hydrazyl-hydrate) เท่ากับร้อยละ 30.19±1.38, 26.77±1.88 และ 23.26±1.12 ตามลำดับ เมื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบสมการเชิงเส้นเพื่อหาแบบจำลองของจลนพลศาสตร์ ค่าคงที่ของปฏิกิริยาการสลายตัว (k) จะลดลงจาก 0.0454 เป็น 0.0397 และ 0.0338 ตามลำดับ การสลายตัวของสารต้านออกซิเดชันในน้ำมะเขือเทศเข้มข้นเป็นไปตามความ สัมพันธ์ของปฏิกิริยาอันดับหนึ่ง (first order reaction) มีค่าพลังงานกระตุ้นได้เท่ากับ 15.70 กิโลจูลต่อโมล อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะส่งผลให้สารต้านออกซิเดชันเกิดการสลายตัวมากขึ้นเช่นเดียวกันมีการสลายตัวมากขึ้นและที่อุณหภูมิเดียวกันเมื่อให้ความร้อนเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้สารต้านออกซิเดชันเกิดการสลายตัวมากขึ้นเช่นเดียวกันมีการสลายตัวมากขึ้นเช่นเดียวกัน</p> ธนกร ราชพิลา, ทัดดาว อบภิรมย์, กิ่งกาญจน์ ป้องทอง Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/article/view/254919 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตัว เพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะไตแทรกซ้อนเรื้อรัง https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/article/view/255646 <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะไตแทรกซ้อนเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเสื่อมระยะที่ 3 ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จำนวน 44 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะไตแทรกซ้อนเรื้อรัง ทำการศึกษาทั้งหมด 8 สัปดาห์ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Paired sample t-test ผลการ ศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 52.27 มีอายุ 61 ปีขึ้นไป ร้อยละ 43.18 สำเร็จการศึกษาประถมศึกษาหรือน้อยกว่า ร้อยละ 36.36 ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 47.73 มีรายได้อยู่ระหว่าง 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 56.82 ระยะเวลาที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน 7-10 ปี ร้อยละ 36.36 ค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคไตเรื้อรัง การรับรู้สมรรถนะแห่งตนเพื่อชะลอการเสื่อมของไต พฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอไตเสื่อม และค่าระดับอัตราการกรองของไตหลังการทดลองแตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p&lt;0.05 จากการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะดังนี้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่สามารถนำโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตัวไปใช้เป็นแนวทางในการให้สุขศึกษาในผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆเพื่อให้ผู้ป่วยมีผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีต่อไป</p> วิจิตรา ชัยภักดี Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/article/view/255646 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบสนับสนุนการจัดทดสอบและการประเมินผลออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/article/view/255734 <p> การพัฒนาระบบสนับสนุนการจัดทดสอบและการประเมินผลออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการใช้งานระบบ 2) ออกแบบและพัฒนาระบบ และ 3) ประเมินคุณภาพของระบบที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลความต้องการ 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน และ 4) แบบประเมินความเกี่ยวข้องกับระบบโดยตัวแทนสถานศึกษาวิธีการพัฒนาระบบ 5 ขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจัดทำระบบเป็นเว็บแอปพลิเคชันด้วย MySQL, PHP V.8.1.25, JavaScript, jQuery, Ajax, HTML5, Laravel Framework และ Bootstrap 5.0 ผลการศึกษาความต้องการจากอาจารย์และนักศึกษา 10 คน ต้องการระบบข้อสอบแบบตัวเลือกและแบบเติมคำ ป้องกันการทุจริตการสอบได้ มีการรายงานผลคะแนนสอบ มีการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ ค่าความยากง่าย และค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบได้ผลการออกแบบและพัฒนาระบบ ประกอบด้วย ระบบสร้างข้อสอบ ระบบจัดการข้อมูลทั่วไปของระบบ ระบบจัดการข้อมูลผู้ใช้ และระบบออกรายงาน ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน อยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.73, S.D.=0.35) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้โดยอาจารย์ 11 คน อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.46, S.D.=0.62) การทำงานของระบบสอดคล้องกับความต้องการของอาจารย์ ร้อยละ 83.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้โดยนักศึกษา 20 คน อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=3.74, S.D.=0.76) การทำงานของระบบสอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษา ร้อยละ 100.00 และผลการประเมินความเกี่ยวข้องกับระบบด้านความสามารถในการทำงานโดยตัวแทนสถานศึกษา 6 คน เห็นว่าระบบมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของสถานศึกษา ร้อยละ 100.00 และมีความพึงพอใจในการใช้งานระบบอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.68, S.D.=0.57) จึงสรุปได้ว่าระบบที่พัฒนาสามารถนำไปใช้งานได้จริงในสถานศึกษาที่มีการเรียนการสอนในระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน</p> เสาวนีย์ ปรัชญาเกรียงไกร, จุฑามาส ศิริอังกูรวาณิช, สุปราณี ห้อมา Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/article/view/255734 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ความชุกของโรคมะเร็งบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และโรคมดลูกอักเสบแบบมีหนองในสุนัขจรจัดที่มาทำหมัน ณ มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอยกรุงเทพมหานคร https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/article/view/252818 <p><strong> </strong>โรคมะเร็งบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ (Transmissible Venereal Tumor; TVT) และโรคมดลูกอักเสบแบบมีหนอง (Pyometra) เป็นโรคทางระบบสืบพันธุ์ที่พบได้บ่อยในสุนัข โดยเฉพาะสุนัขจรจัดที่ไม่มีการควบคุม หรือถูกเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของโรคมะเร็งบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ และโรคมดลูกอักเสบแบบมีหนอง ในสุนัขจรจัดที่เข้ารับบริการผ่าตัดทำหมัน ณ มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอยกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลจากสุนัขจรจัดที่มาทำหมัน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2563 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ.2564 ทำการบันทึกข้อมูลสัตว์ อายุ เพศ สายพันธุ์ ตรวจร่างกาย และประเมินอาการทางคลินิก เพื่อแยกโรคทางระบบสืบพันธุ์ ได้แก่ โรคมะเร็งบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ และโรคมดลูกอักเสบแบบมีหนอง เก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อไปตรวจวินิจฉัยแยกโรคทางห้องปฏิบัติการ และสรุปข้อมูลร้อยละความชุกของโรค ผลการศึกษาพบว่าสุนัขจรจัดที่มาทำหมันทั้งหมด จำนวน 1,482 ตัว แยกเป็นช่วงอายุ &lt;1 ปี และอายุ &gt;1 ปี จำนวน 208 ตัว (14.04%) และ 1,274 ตัว (85.96%) ตามลำดับ เพศผู้ จำนวน 343 ตัว (23.14%) และเพศเมีย จำนวน 1,139 ตัว (76.86%) และพันธุ์ผสม จำนวน 1,410 ตัว (95.14%) และพันธุ์แท้ จำนวน 72 ตัว (4.86%) พบร้อยละของโรคทางระบบสืบพันธุ์ จำนวน 97 ตัว (6.55%) แยกเป็นโรคมะเร็งบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ จำนวน 16 ตัว (16.49%) ช่วงอายุ &gt;1 ปี จำนวน 16 ตัว (100.00 %) เป็นสุนัขเพศผู้ จำนวน 1 ตัว (6.25%) และเพศเมีย จำนวน 15 ตัว (93.75%) และพบเฉพาะพันธุ์ผสม จำนวน 16 ตัว (100.00%) และพบโรคมดลูกอักเสบแบบมีหนอง จำนวน 81 ตัว (83.51%) พบเฉพาะช่วงอายุ &gt;1 ปี และเพศเมีย จำนวน 81 ตัว (100.00%) แบ่งเป็นพันธุ์ผสมจำนวน 79 ตัว (97.53%) และพันธุ์แท้จำนวน 2 ตัว (2.47%) จากการศึกษาครั้งนี้สรุปว่าโรคทางระบบสืบพันธุ์ที่เป็นปัญหาสำคัญ คือ โรคมดลูกอักเสบ <br />ซึ่งพบความชุกของโรคมากถึง 83.51% ของการพบโรคในสุนัขจรจัดที่มาทำหมัน ณ มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอยกรุงเทพมหานคร</p> ปราณปรียา ทอดทอง, ธีระกุล นิลนนท์, สุดารัตน์ เมืองดู่, อรอนงค์ สลับแก้ว, วัฒนพงษ์ มีธรรม Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/article/view/252818 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ธาตุองค์ประกอบและลักษณะสัณฐานของรอยเปื้อนแป้งผัดหน้าบนผ้าที่แตกต่างกันโดย SEM/EDS สำหรับงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/article/view/255969 <p>ในงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ วัตถุสิ่งของที่สัมผัสแลกเปลี่ยนกันบริเวณหนึ่งสามารถนำมาตรวจเปรียบเทียบและเชื่อมโยงกับพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะระหว่างผู้เสียหายกับผู้กระทำผิด เครื่องสำอางเป็นวัตถุที่แลกเปลี่ยนระหว่างบุคคลได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเครื่องสำอางประเภทแป้งผัดหน้าที่ทำการจำลองเป็นรอยเปื้อนบนพื้นผิวผ้าฝ้ายและโพลีเอสเทอร์ วิเคราะห์ลักษณะและธาตุองค์ประกอบด้วย Scanning Electron Microscope ร่วม Energy Dispersive Spectroscopy (SEM/EDS) ผลการวิจัย พบว่า ลักษณะและธาตุองค์ประกอบของผงแป้งจะแตกต่างกันตามชนิดและส่วนผสมของแต่ละผลิตภัณฑ์ แป้งกลุ่มทัลคัมทั้ง 3 ตัวอย่าง มีลักษณะเป็นแผ่นเหลี่ยมขนาดจากเล็กไปใหญ่เป็น 38.6 ± 4.5 µm 42.2 ± 3.5 µm และ 44.3 ± 8.9 µm ผงแป้งกลุ่มซิลิกามีลักษณะทรงกลมขนาด 8.2 ± 1.2 µm ส่วนแป้งกลุ่มไมกาพบเป็นแผ่นทรงเหลี่ยมมีขนาด 12.5 ± 1.1 µm และพบอนุภาคทรงกลมขนาด 13.5 ± 2.2 µm ผสมอยู่ ปริมาณธาตุองค์ประกอบแป้งแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน แป้งกลุ่มทัลคัมมีธาตุหลัก C, O, Mg, และ Si และพบธาตุ Zn ในตัวอย่างที่ตรงกับส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ แป้งชนิดซิลิกาจะพบธาตุหลัก C, O, และ Si ส่วนแป้งชนิดไมกาจะพบธาตุ C, O, Si และ Mg เป็นหลัก มีธาตุ Al และ K ที่เป็นองค์ประกอบเฉพาะจากแร่ไมกา จากผล การวิจัย รอยเปื้อนแป้งผัดหน้าบนพื้นผิวผ้ามีลักษณะสัณฐานและธาตุองค์ประกอบที่สอดคล้องกับผงแป้งแต่ละชนิด สามารถใช้ตรวจเปรียบเทียบชนิดของแป้งผัดหน้าจากรอยเปื้อนแป้งได้ อีกทั้งมีประโยชน์ในการตรวจพิสูจน์และเป็นฐานข้อมูลสนับสนุนงานด้านนิติวิทยาศาสตร์</p> ศุภิสรา นรนิ่ม, ปริญญา สีลานันท์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/article/view/255969 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700