วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru
<p><strong>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี </strong><br /><strong>Udon Thani Rajabhat University Journal of Science and Technology </strong><br /><br /> มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการของคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการและนักศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวารสารรับการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ ในกลุ่มวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ กลุ่มวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิทยาศาสตร์ สุขภาพ วิทยาศาสตร์การกีฬา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วัสดุศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ กลุ่มเกษตรศาสตร์ สาขาพืชศาสตร์ เศรษฐศาสตร์เกษตร ประมง และสัตวศาสตร์ และกลุ่มวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเครื่องกล, พลังงาน อิเล็กทรอนิกส์ ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์</p> <p><strong>กำหนดจัดพิมพ์ออกเผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ (ราน 4 เดือน)</strong><br /> ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน) <br /> ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม) <br /> ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม)</p>
Udon Thani Rajabhat University
th-TH
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
2287-0083
-
คุณภาพของน้ำตาลทรายแดงจากต้นชก
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/article/view/257993
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพทางกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ของน้ำตาลทรายแดงจากต้นชก (<em>Arenga pinnata</em> Merr.) และ 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพน้ำตาลทรายแดงจากต้นชกกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนน้ำตาลผง ตัวอย่างในการวิจัย คือ น้ำตาลทรายแดงจากต้นชกที่ผลิตโดยเกษตรกรผู้แปรรูปน้ำตาลชกในจังหวัดพังงา จำนวน 3 ตัวอย่าง ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพทางกายภาพ ได้แก่ ค่าสี L* a* และ b* เท่ากับ 40.05±7.59 15.02±1.58 และ 31.36±4.28 ตามลำดับ คุณภาพทางเคมี ได้แก่ ความชื้นร้อยละ 5.20±1.02 ค่า aw 0.66±0.21 ซึ่งมีค่าสูงกว่าที่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนน้ำตาลผงเล็กน้อย เถ้าร้อยละ 0.97±0.25 ค่าความเป็นกรด-ด่าง 5.09±0.04 สารประกอบฟีนอลิคทั้งหมด 252.18±48.73 mgGAE/100g ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ (DPHH) ร้อยละ 20.13±4.13 ปริมาณน้ำตาลทั้งหมดร้อยละ 83.43±2.27 โดยพบน้ำตาลซูโครสมากที่สุด รองลงมาคือกลูโคสและฟรุคโตส ตามลำดับ คุณภาพทางจุลินทรีย์ ได้แก่ ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด ยีสต์และรา เป็นไปตามมาตรฐานด้านจุลินทรีย์ของผลิตภัณฑ์ชุมชนน้ำตาลผง</p>
ธวัชชัย จิตวารินทร์
บุญชัช เมฆแก้ว
สุวิชญา ภู่ทับทิม
ซุฟเฟียนี สนิ
ภักดิ์นภัส ศรีคำ
ลภัสรดา จิตวารินทร์
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
2024-11-29
2024-11-29
12 3
1
18
-
ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลชีพก่อโรคผิวหนัง ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดหยาบโลดทะนงแดง
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/article/view/258039
<p>โลดทะนงแดงเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่มีสรรพคุณถอนพิษ แก้พิษงู แก้ฟกช้ำ เคล็ดบวม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ยับยั้งจุลชีพก่อโรคทางผิวหนัง ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส และหาปริมาณสารฟลาโวนอยด์และสารฟีนอลิกของสารสกัดรากโลดทะนงแดง โดยการทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งจุลชีพด้วยวิธี broth microdilution และการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2, 2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) ผลการทดลองพบว่าสารสกัดเอทานอลจากรากโลดทะนงแดงมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลชีพก่อโรคผิวหนังโดยสามารถยับยั้งเชื้อจุลชีพได้ทั้ง 3 สายพันธุ์ โดยยับยั้งเชื้อ <em>Candida albicans</em> ATCC10231 ได้ดีที่สุด (MIC: 31.25 mg/mL, MBC: 31.25 mg/mL) รองลงมา คือการยับยั้งเชื้อ <em>Staphylococcus</em> <em>aureus</em> ATCC25923 และ <em>Pseudomonas</em> <em>aeruginosa</em> ATCC27853 (MIC: 250 mg/mL, MBC: 500 mg/mL) ดังนั้นสารสกัดที่ได้จากรากโลดทะนงแดงสามารถนำมาใช้เป็นสารยับยั้งและฆ่าเชื้อโรคที่ก่อโรคผิวหนังได้ และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมีค่า IC<sub>50 </sub>เท่ากับ 623.28±7.37 µg/mL เปรียบเทียบกับสารมาตรฐานกรดแอสคอร์บิก และยังสามารถยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ โดยมีค่า IC<sub>50 </sub>เท่ากับ 809.63±65.22 µg/mL เปรียบเทียบกับสารมาตรฐานกรดโคจิกซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>-value < 0.05) และสารสกัดโลดทะนงแดงยังมีปริมาณสารสำคัญในสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ เท่ากับ 18.66±0.07 mg QE/g extract และมีปริมาณของสารกลุ่มฟีนอลิก เท่ากับ 10.22±0.13 mg GAE/g extract งานวิจัยนี้จึงเป็นการรายงานผลของสารสกัดโลดทะนงแดงที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพสามารถนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอางบำรุงผิวได้และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้สมุนไพรในท้องถิ่นนำไปเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรทางเลือกให้กับผู้บริโภคและสร้างมูลค่าทางเชิงพาณิชย์ได้</p>
สุภัสสร วันสุทะ
อรณิชา ครองยุติ
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
2024-11-29
2024-11-29
12 3
19
34
-
ระบบจัดการสารสนเทศพิพิธภัณฑ์ภูพาน
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/article/view/258629
<p>การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการสารสนเทศพิพิธภัณฑ์ภูพาน 2) พัฒนาระบบจัดการสารสนเทศพิพิธภัณฑ์ภูพาน 3) ประเมินประสิทธิภาพของระบบจัดการสารสนเทศพิพิธภัณฑ์ภูพาน และ 4) ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ระบบจัดการสารสนเทศพิพิธภัณฑ์ภูพาน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 402 คน ประกอบด้วย หัวหน้าพิพิธภัณฑ์ภูพาน 1 คน เจ้าหน้าที่ประจำพิพิธภัณฑ์ภูพาน 5 คน นักท่องเที่ยว 396 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนเนื้อหาใช้การวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการสารสนเทศพิพิธภัณฑ์ภูพานพบว่า พิพิธภัณฑ์ภูพานไม่มีเว็บไซต์เฉพาะของหน่วยงาน การประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมผ่านเฟสบุ๊ค ปัญหาของพิพิธภัณฑ์ภูพาน มีอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีไม่เพียงพอ ไม่มีบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและงบประมาณไม่เพียงพอ และมีความต้องการนำสารสนเทศโซนนิทรรศการนำเสนอในรูปแบบเว็บไซต์ 2) ผลการพัฒนาระบบแบ่งเป็น 3 ส่วนคือส่วนผู้ดูแลระบบทำหน้าที่จัดการข้อมูลประชาสัมพันธ์ ข้อมูลโซนจัดแสดง การจองพิพิธภัณฑ์ ส่วนสมาชิกสามารถดูข่าวประชาสัมพันธ์ ข้อมูลโซนนิทรรศการ จองและดูผลการจองคิวชมพิพิธภัณฑ์ และส่วนผู้ใช้ทั่วไปสามารถดูข่าวประชาสัมพันธ์ ข้อมูลโซนนิทรรศการ และสมัครสมาชิก 3) ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.80, S.D.=0.55) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านรักษาความปลอดภัย ( =4.93, S.D.= 0.15) 4) ผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.52, S.D.=0.38) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันงานของระบบ ( =4.60, S.D.=0.56)</p>
อิศวรวิทย์ ศิริขันธ์
สุทิศา ซองเหล็กนอก
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
2024-12-27
2024-12-27
12 3
35
49
-
การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สารประกอบฟีนอลิก สารประกอบฟลาโวนอยด์ ของตำรับยาศุขไสยาศน์
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/article/view/258806
<p>งานวิจัยนี้ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สารประกอบฟีนอลิก สารประกอบฟลาโวนอยด์ของสารสกัดหยาบตำรับยาศุขไสยาศน์ โดยนำมาสกัดผ่านตัวทำละลาย 2 ชนิด คือ น้ำและเอทานอลร้อยละ 95 จากนั้นนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay และ ABTS Assay โดยการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วย DPPH assay พบว่าสารสกัดหยาบในตัวทำละลายน้ำมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุดรองลงมาคือ สารสกัดหยาบในตัวทำละลาย เอทานอลร้อยละ 95 ซึ่งมีค่า IC<sub>50 </sub>เท่ากับ 1.67 ± 0.32 และ 4.60 ± 0.02 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ เมื่อนำมาทดสอบด้วยวิธี ABTS Assay พบว่าสารสกัดหยาบในตัวทำละลายน้ำมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุดรองลงมาคือสารสกัดหยาบในตัวทำละลายเอทานอลร้อยละ 95 ซึ่งมีค่า IC<sub>50</sub> เท่ากับ 2.56 ± 0.02 และ 5.23 ± 0.02 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับสาร L-ascorbic acid และ Trolox เป็นสารละลายมาตรฐาน การวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม (Total phenolic content) ในสารสกัดหยาบตำรับยาศุขไสยาศน์ พบว่าตัวทำละลายเอทานอลร้อยละ 95 มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกสูงสุด รองลงมาคือสารสกัดหยาบในตัวทำละลายด้วยน้ำ เท่ากับ 47.66 ± 5.57 และ 41.52 ± 5.54 กรัมแกลลิก ต่อ 100 กรัมของสารสกัด ตามลำดับ และผลการศึกษาปริมาณสารประกอบฟลาโวนอยด์รวม (Total Flavonoid content) เมื่อเทียบกับกราฟสารละลายมาตรฐาน Quercetin พบว่าสารสกัดหยาบในตัวทำละลายเอทานอลร้อยละ 95 มีปริมาณสารประกอบ ฟลาโวนอยด์สูงสุด รองลงมาคือสารสกัดหยาบในตัวทำละลายน้ำเท่ากับ 4.56 ± 0.46 และ 3.69 ± 0.12 กรัม เควอซิตินต่อ 100 กรัมของสารสกัด ตามลำดับ</p>
นำพล แปนเมือง
ภัทรานิษฐ์ คำแผ่นจิรโรจน์
สุวิมล ดอบุตร
พัทธนันท์ พิณราช
ลลิตา วรโยธา
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
2024-12-27
2024-12-27
12 3
51
66
-
ศักยภาพการสะสมคาร์บอนของต้นมะเกี๋ยงพันธุ์คัดเลือกในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/article/view/259873
<p>การศึกษาปริมาณคาร์บอนสะสมของมะเกี๋ยงพันธุ์คัดเลือกในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณคาร์บอนที่สะสมในลำต้นมะเกี๋ยงพันธุ์คัดเลือก (<em>Cleistocalyx operculatus</em> var. <em>paniala</em>) ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ดำเนินโครงการ ณ สาขาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ตั้งแต่วันที่ 1 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ. 2567 ผลการดำเนินโครงการพบว่า มีการปริมาณการกักเก็บคาร์บอนเฉลี่ยต่อต้นเท่ากับ 55.40 กิโลกรัมคาร์บอนต่อต้น ทั้งแปลงเท่ากับ 1,551.24 กิโลกรัมคาร์บอน ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนต่อเฮกตาร์เท่ากับ 4.09 ตันคาร์บอนต่อเฮกตาร์ ปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับ 15 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อเฮกตาร์ และมูลค่าคาร์บอนเครดิตเท่ากับ 7,653.55 บาท</p>
อนุสรา จบศรี
ณัฏฐิรา ก๋าวินจันทร์
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
2024-12-27
2024-12-27
12 3
67
81