https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/issue/feed
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
2024-11-29T12:08:36+07:00
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยวดี ยาบุษดี
scjournal@udru.ac.th
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี </strong><br /><strong>Udon Thani Rajabhat University Journal of Science and Technology </strong><br /><br /> มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการของคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการและนักศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวารสารรับการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ ในกลุ่มวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ กลุ่มวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิทยาศาสตร์ สุขภาพ วิทยาศาสตร์การกีฬา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วัสดุศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ กลุ่มเกษตรศาสตร์ สาขาพืชศาสตร์ เศรษฐศาสตร์เกษตร ประมง และสัตวศาสตร์ และกลุ่มวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเครื่องกล, พลังงาน อิเล็กทรอนิกส์ ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์</p> <p><strong>กำหนดจัดพิมพ์ออกเผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ (ราน 4 เดือน)</strong><br /> ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน) <br /> ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม) <br /> ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม)</p>
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/article/view/257993
คุณภาพของน้ำตาลทรายแดงจากต้นชก
2024-10-21T10:01:46+07:00
ธวัชชัย จิตวารินทร์
lapasrada.jit@mahidol.ac.th
บุญชัช เมฆแก้ว
lapasrada.jit@mahidol.ac.th
สุวิชญา ภู่ทับทิม
lapasrada.jit@mahidol.ac.th
ซุฟเฟียนี สนิ
lapasrada.jit@mahidol.ac.th
ภักดิ์นภัส ศรีคำ
lapasrada.jit@mahidol.ac.th
ลภัสรดา จิตวารินทร์
lapasradaa@yahoo.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพทางกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ของน้ำตาลทรายแดงจากต้นชก (<em>Arenga pinnata</em> Merr.) และ 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพน้ำตาลทรายแดงจากต้นชกกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนน้ำตาลผง ตัวอย่างในการวิจัย คือ น้ำตาลทรายแดงจากต้นชกที่ผลิตโดยเกษตรกรผู้แปรรูปน้ำตาลชกในจังหวัดพังงา จำนวน 3 ตัวอย่าง ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพทางกายภาพ ได้แก่ ค่าสี L* a* และ b* เท่ากับ 40.05±7.59 15.02±1.58 และ 31.36±4.28 ตามลำดับ คุณภาพทางเคมี ได้แก่ ความชื้นร้อยละ 5.20±1.02 ค่า aw 0.66±0.21 ซึ่งมีค่าสูงกว่าที่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนน้ำตาลผงเล็กน้อย เถ้าร้อยละ 0.97±0.25 ค่าความเป็นกรด-ด่าง 5.09±0.04 สารประกอบฟีนอลิคทั้งหมด 252.18±48.73 mgGAE/100g ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ (DPHH) ร้อยละ 20.13±4.13 ปริมาณน้ำตาลทั้งหมดร้อยละ 83.43±2.27 โดยพบน้ำตาลซูโครสมากที่สุด รองลงมาคือกลูโคสและฟรุคโตส ตามลำดับ คุณภาพทางจุลินทรีย์ ได้แก่ ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด ยีสต์และรา เป็นไปตามมาตรฐานด้านจุลินทรีย์ของผลิตภัณฑ์ชุมชนน้ำตาลผง</p>
2024-11-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/article/view/258039
ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลชีพก่อโรคผิวหนัง ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดหยาบโลดทะนงแดง
2024-10-01T14:53:37+07:00
สุภัสสร วันสุทะ
supasson.wa@udru.ac.th
อรณิชา ครองยุติ
Ornnicha.k@udru.ac.th
<p>โลดทะนงแดงเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่มีสรรพคุณถอนพิษ แก้พิษงู แก้ฟกช้ำ เคล็ดบวม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ยับยั้งจุลชีพก่อโรคทางผิวหนัง ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส และหาปริมาณสารฟลาโวนอยด์และสารฟีนอลิกของสารสกัดรากโลดทะนงแดง โดยการทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งจุลชีพด้วยวิธี broth microdilution และการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2, 2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) ผลการทดลองพบว่าสารสกัดเอทานอลจากรากโลดทะนงแดงมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลชีพก่อโรคผิวหนังโดยสามารถยับยั้งเชื้อจุลชีพได้ทั้ง 3 สายพันธุ์ โดยยับยั้งเชื้อ <em>Candida albicans</em> ATCC10231 ได้ดีที่สุด (MIC: 31.25 mg/mL, MBC: 31.25 mg/mL) รองลงมา คือการยับยั้งเชื้อ <em>Staphylococcus</em> <em>aureus</em> ATCC25923 และ <em>Pseudomonas</em> <em>aeruginosa</em> ATCC27853 (MIC: 250 mg/mL, MBC: 500 mg/mL) ดังนั้นสารสกัดที่ได้จากรากโลดทะนงแดงสามารถนำมาใช้เป็นสารยับยั้งและฆ่าเชื้อโรคที่ก่อโรคผิวหนังได้ และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมีค่า IC<sub>50 </sub>เท่ากับ 623.28±7.37 µg/mL เปรียบเทียบกับสารมาตรฐานกรดแอสคอร์บิก และยังสามารถยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ โดยมีค่า IC<sub>50 </sub>เท่ากับ 809.63±65.22 µg/mL เปรียบเทียบกับสารมาตรฐานกรดโคจิกซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>-value < 0.05) และสารสกัดโลดทะนงแดงยังมีปริมาณสารสำคัญในสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ เท่ากับ 18.66±0.07 mg QE/g extract และมีปริมาณของสารกลุ่มฟีนอลิก เท่ากับ 10.22±0.13 mg GAE/g extract งานวิจัยนี้จึงเป็นการรายงานผลของสารสกัดโลดทะนงแดงที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพสามารถนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอางบำรุงผิวได้และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้สมุนไพรในท้องถิ่นนำไปเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรทางเลือกให้กับผู้บริโภคและสร้างมูลค่าทางเชิงพาณิชย์ได้</p>
2024-11-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี