@article{เพชรศรี_จงจิตวิมล_2014, title={มูลค่าทางเศรษฐกิจการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพโดยชาวชาติพันธุ์ม้งในพื้นที่บ้านร่องกล้าในเขตอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก}, volume={14}, url={https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/16985}, abstractNote={<p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong> </strong></p> <p>การศึกษานี้มุ่งวิจัยเพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ ปริมาณของการใช้ และการประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วยการเปรียบเทียบกับราคาตลาดของผลผลิตจากป่าที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์โดยชุมชนชาติพันธุ์ม้งที่อยูในพื้นที่บ้านร่องกล้าเขตอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก โดยข้อมูลที่ได้อยู่บนพื้นฐานด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน ซึ่งเกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของประชากรตัวอย่างที่ถูกสัมภาษณ์ระหว่างเดือนตุลาคม 2554 ถึงเดือนธันวาคม 2555 จำนวน 110 ครัวเรือนจากประชากรทั้งสิ้น 151 ครัวเรือน พบว่าสามารถแบ่งประเภทของทรัพยากรหลากหลายทางชีวภาพจากป่าที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ออกเป็น 8 ประเภท 111 รายการ เรียงลำดับตามมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ดังนี้ คือ เนื้อไม้ (7 รายการ เป็นร้อยละ 6.31) สัตว์ป่า (15 รายการ เป็นร้อยละ 13.51) สมุนไพรและเครื่องเทศ (30 รายการ เป็นร้อยละ 27.03) เห็ด (11 รายการ เป็นร้อยละ 9.91) พืชผักป่า (10 รายการ เป็นร้อยละ 9.01) ผลไม้จากป่า (24 รายการ เป็นร้อยละ 21.62) แมลงและผลิตภัณฑ์ (12 รายการ เป็นร้อยละ 10.81) และสีจากธรรมชาติ (2 รายการ เป็นร้อยละ 1.80) คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจสุทธิโดยเฉลี่ยเท่ากับ 45,910.03 บาทต่อครัวเรือนต่อปีหรือ 6,932,414.53 บาทต่อชุมชนต่อปี (151 ครัวเรือน) โดยส่วนใหญ่เป็นไปเพื่ออุปโภคบริโภคภายในครัวเรือน มีเพียง 11 รายการ (ร้อยละ 9.91) ที่มีการนำมาวางจำหน่ายในตลาดของชุมชน นอกจากนี้ยังพบว่ามีการถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับฤดูกาลการเข้าเก็บของป่าและการรักษาโรคด้วยสมุนไพรจากรุ่นสู่รุ่นภายในครอบครัวและชุมชนอีกด้วย</p> <p><strong>คำสำคัญ : </strong>การใช้ประโยชน์ ความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า</p> <p><strong> </strong></p> <p> </p><p><strong>Abstract</strong></p> <p>This research aims to study the biodiversity, quantity and economic valuation of the forest products utilized in Phu Hin Rong Kla National Park, by the active participation of ethnic Hmong community at Rong Kla village, Phitsanulok;based on local wisdom of community during October 2011 – December 2012. An interview of 110 households out of a total population of 151 households was conducted. It was found that the biodiversity resources of utilized forest products can be classified into 8 categories, 111 items. In descending order according to the economic value namely firewood and timber (7 items, 6.31%), wild animals (15 items, 13.51%), herbs and spices (30 items,27.03%), mushrooms (11 items, 9.91%), wild crops (10 items, 9.01%), wild fruits (24 items, 21.62%), insects and their products (12 items, 10.81%) and natural colors (2 items, 1.80%), respectively. In descending order according to the economic value namely firewood and timber (7 items, 6.31%), wild animals (15 items, 13.51%), herbs and spices (30 items, 27.03%), mushrooms (11 items, 9.91%), wild crops (10 items, 9.01%), wild fruits (24 items, 21.62%), insects and their products (12 items, 10.81%) and natural colors (2 items, 1.80%), respectively. These are mostly consumed by member of family. Only 11 items (9.91%) were traded to the community market. By using the market price method, the economic average net value was 45,910.03 baht per household per year, or 6,932,414.53 baht per community (151 households) per year. We also found the transfer of local wisdom about the herbal treatment from generation to generation within the family and the community.</p> <p><strong>keywords :</strong> utilization, biodiversity, Phu Hin Rong Kla National Park</p>}, number={1}, journal={Life Sciences and Environment Journal}, author={เพชรศรี สหณัฐ and จงจิตวิมล ธัชคณิน}, year={2014}, month={Mar.}, pages={13–24} }