การจัดตารางบำรุงรักษาระบบจำหน่ายไฟฟ้าแบบใช้ความเชื่อถือได้เป็นศูนย์กลางด้วยวิธีกำหนดการจำนวนเต็ม แบบทวิภาค
Keywords:
ระบบจำหน่ายไฟฟ้า, การบำรุงรักษาแบบใช้ความเชื่อถือได้เป็นศูนย์กลาง, การจัดตารางบำรุงรักษา, มูลค่าความเสียหายเนื่องจากไฟดับ, กำหนดการจำนวนเต็มแบบทวิภาค, power distribution system, reliability centered maintenance, maintenance schedulingAbstract
การวางแผนบำรุงรักษาระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่เพิ่มความเชื่อถือได้ให้ระบบไฟฟ้า ดังนั้นบทความนี้จึงขอนำเสนอวิธีการคัดเลือกกิจกรรมบำรุงรักษาเชิงป้องกันที่เหมาะสมตามหลักการบำรุงรักษาแบบใช้ความเชื่อถือได้เป็นศูนย์กลาง และการจัดตารางบำรุงรักษาด้วยวิธีกำหนดการจำนวนเต็มแบบทวิภาคซึ่งจะจัดสรรช่วงเวลาในการดำเนินกิจกรรมบำรุงรักษาที่สอดคล้องกับเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องในอดีต เพื่อป้องกันไฟฟ้าขัดข้อง และลดความเสียหายเนื่องจากไฟฟ้าขัดข้องให้ได้มากที่สุด ดังนั้นดัชนีสะท้อนโอกาสที่สามารถลดมูลค่าความเสียหายเนื่องจากไฟดับ เมื่อทำกิจกรรมบำรุงรักษาตามช่วงเวลาต่างๆ ได้ถูกพัฒนาขึ้นจากสถิติไฟฟ้าขัดข้อง และนำไปใช้ในฟังก์ชั่นวัตถุประสงค์ของกระบวนการจัดตารางบำรุงรักษา บทความนี้ได้แสดงตัวอย่างการคัดเลือกและจัดตารางกิจกรรมบำรุงรักษาของการไฟฟ้าแห่งหนึ่ง โดยพิจารณาจากสถิติไฟฟ้าขัดข้องปี 2556 เป็นกรณีศึกษา เพื่อสร้างแผนบำรุงรักษาในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 สำหรับ 3 สายป้อนที่มีสถิติไฟฟ้าดับสูงสุด โดยกำหนดเงื่อนไขบังคับ ได้แก่ กิจกรรมหนึ่งๆ จะต้องทำต่อเนื่องกัน วันเสาร์-อาทิตย์เป็นวันหยุด ทีมปฏิบัติงานมี 1 ทีม (ดังนั้นใน 1 วัน สามารถดำเนินกิจกรรมบำรุงรักษาได้ไม่เกิน 1 กิจกรรม) ผลการคัดเลือกได้ทั้งหมด 19 กิจกรรม ผลการจัดตารางกิจกรรมบำรุงรักษาแสดงค่าประเมินของมูลค่าความเสียหายที่ลดได้ เนื่องจากการทำกิจกรรมบำรุงรักษาเชิงป้องกันเท่ากับ 6,455,047 บาท เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้ คิดเป็นค่าอัตราส่วนของผลตอบแทนต่อต้นทุน เท่ากับ 14.12
Power Distribution System Maintenance Scheduling Based on Reliability Centered Maintenance Principle Using Binary Integer Programming
An efficient power system maintenance planning is an importance factor to improve the power system reliability. This paper presents a method to select proper preventive maintenance activities based on Reliability-Centered Maintenance (RCM) and schedule the selected maintenance activities using Binary Integer Programming (BIP). In scheduling, activities are assigned to time slots based on the electric outage statistics to optimize chance to prevent outage and maximize reduced outage cost. Therefore, an index which reflects the opportunity to reduce outage cost when performing maintenance activities at different periods of time is developed by deriving from electric outage statistics and employed in the activity scheduling objective function. This paper illustrates the procedure of selecting and scheduling maintenance activities by using collected electric outage data in year 2013 from one district electric utility as the case study. A first quarter of year 2014 maintenance plan for three feeders with highest outage is created under the following constraints. Each activity must be assigned to only one continuing time slot. Saturday and Sunday are holidays. There is only one maintenance team. (Therefore, multiple activities must not be assigned to the same day.) The result shows that 19 preventive maintenance activities are selected and the estimated reduced outage cost due to performing preventive maintenance is 6,455,047 bahts comparing to the previous year. The computed B/C ratio is 14.12.