ผลกระทบของพลังงานลมต่อความเพียงพอของการผลิตไฟฟ้า
Keywords:
พลังงานลม, ความเชื่อถือได้, ดัชนีความเชื่อถือได้, LOLE, เครดิตกำลังผลิต, wind energy, reliability, capacity creditAbstract
พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่ผลิตจากทรัพยากรซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด และลดลงอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันความต้องการพลังงานไฟฟ้านั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้พลังงานทดแทนมีบทบาทอย่างมากในการเข้ามาทดแทนการผลิตไฟฟ้า พลังงานลมถือว่าเป็นพลังงานทดแทนที่ถูกนำมาใช้สำหรับการผลิตไฟฟ้าอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นการผลิตไฟฟ้าที่สะอาดและไม่มีราคาต้นทุนของวัตถุดิบ แต่เนื่องจากพลังงานลมนั้นไม่แน่นอน และมีความเร็วลมผันผวนในแต่ละพื้นที่ จึงจำเป็นต้องมีการประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้าของพลังงานลม เพื่อใช้ในการประเมินความพอเพียงของกำลังผลิตกับความต้องการพลังงานไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟ ในส่วนของการวิเคราะห์ความเชื่อถือได้
บทความนี้เสนอการประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้าของพลังงานลมที่เชื่อมต่อกับระบบจำหน่าย โดยนำเสนอในรูปดัชนีความเชื่อถือได้ Loss of Load Expectation (LOLE) ซึ่งใช้ความผันผวนของพลังงานลมเข้ามาวิเคราะห์ร่วมด้วย โดยใช้ข้อมูลความเร็วลมจากอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ผ่านกรณีศึกษา 3 กรณี และวิเคราะห์หาค่าเครดิตกำลังผลิต (Capacity Credit) เพื่อใช้ในการวางแผนติดตั้งสถานีไฟฟ้าต่อไป โดยผลของการวิเคราะห์ทำให้เห็นว่า เมื่อมีการเชื่อมต่อพลังงานลมเข้ากับระบบจำหน่ายมีค่าดัชนีความเชื่อถือได้ลดลงจากระบบทั่วไป แต่มีค่ามากกว่ากรณีที่เชื่อมต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กที่สามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าสม่ำเสมอ ค่าเครดิตกำลังผลิตของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลมมีค่าน้อยกว่า ค่ากำลังผลิตสูงสุดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลม จากการวิเคราะห์หาค่าเครดิตกำลังผลิตทำให้สามารถนำไปใช้ประเมินศักยภาพ และพิจารณาในการสร้างสถานีไฟฟ้าเพิ่มต่อไปในอนาคต
Impacts of Wind Energy on Generation Adequacy
Electrical power is mainly generated from petroleum, gas and coal which are limited and decrease dramatically. Meanwhile, electrical energy's need is increasing obviously, so renewable energy becomes a good alternative energy which is made from fossil fuels. Wind energy is also the renewable energy source used in generating electricity since it is clean and free. However, wind energy cannot generate electrical power constantly because it depends on wind speed which always vary all the time. Therefore, the potential of wind power which generates electrical power to serve power demand should be evaluated in terms of generation adequacy on a reliability study.
This paper presents the potential evaluation of electric power generation from wind energy connected to distribution systems in terms of Loss of Load Expectation (LOLE) index. The location which we choose to do an experiment about an uncertainty of wind speed is at Ranod, Songkhla province. The results of 3 case studies are presented and discussed in the paper also.