การออกแบบบริเวณหยิบชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีความเคลื่อนไหวสูงในโรงงานประกอบรถยนต์

Authors

  • บริรักษ์ ยงประเสริฐ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • โอฬาร กิตติธีรพรชัย ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การจัดการคลังสินค้า, การออกแบบบริเวณสินค้าที่มีความเคลื่อนไหวสูง, อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์, warehouse management, fast-moving item, design of fast pickarea, automotive industry

Abstract

กิจกรรมที่ใช้ชั่วโมงแรงงานมากที่สุดในคลังสินค้าคือการหยิบสินค้าซึ่งเวลาส่วนใหญ่ของพนักงานหยิบ สูญเสียไปกับขั้นตอนการค้นหาสินค้าและการเดินทางไปยังพื้นที่เก็บสินค้า วิธีการหนึ่งที่สามารถลดความ สูญเสียดังกล่าวคือการประยุกต์ใช้บริเวณหยิบสินค้าที่มีความเคลื่อนไหวสูง (Fast-Pick Area, FPA) ซึ่งเป็นการ รวบรวมสินค้าที่มีความถี่ในการหยิบสูงมาจัดเก็บในบริเวณพิเศษโดยสินค้าแต่ละชนิดถูกเก็บในปริมาณจำกัด ลักษณะเด่นของวิธีการนี้คือสินค้าที่มีการหยิบบ่อยถูกจัดเก็บในบริเวณที่สะดวกในการหยิบ-จ่ายสินค้าซึ่ง เป็นการลดระยะเวลาในการค้นหาสินค้าและการเดินทาง ข้อด้อยของ FPA คือต้องคำนึงถึงลักษณะสินค้า ความถี่ ในการเติมสินค้า แผนผังคลังสินค้าและนโยบายการเก็บคลังสินค้า เพื่อแสดงหลักการคณะผู้วิจัยได้ศึกษาการ จัดการคลังชิ้นส่วนยานยนต์ขนาดเล็กในโรงงานประกอบรถยนต์และออกแบบบริเวณ FPA โดยใช้แบบจำลอง ของไหล ผลการวิเคราะห์แบบจำลองพบว่าการใช้ FPA สามารถลดเวลาการหยิบชิ้นส่วนยานยนต์ลง 3,711 ชั่วโมง หรือเทียบเท่าจำนวนพนักงานเต็มเวลา 1.58 คน นอกจากนี้แบบจำลอง FPA ยังเสนอให้จัดเก็บชิ้นส่วน ยานยนต์ 75-78 รายการจากชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งหมด 1,031 รายการ โดยใช้พื้นที่ 11.32% ของพื้นที่จัดเก็บ ชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งหมดในคลังชิ้นส่วนยานยนต์

 

Design of Fast-Moving Area for Automotive Assembly Plant

Among warehouse activities, order picking is the most labor intensive activity as pickers spend majority of their times for searching and traveling inside the warehouse. One concept to reduce these non-value added tasks is to implement Fast–Pick Area (FPA), a dedicated storage area where a group of high picking-frequency items is assigned and stored in a convenience area. Items stored in FPA benefit from their storage locations in which put-away and retrieval activities required minimal trav­eling and searching times. Nevertheless, this implementation requires careful consideration of charac­teristics of items, restocking frequency, layout of FPA, and storage policy. To illustrate the concept, we  studied the order picking activity in a small automotive-part warehouse and designed a FPA using fluid model. The analysis of the model shows that the FPA can reduce picking time 3,711 hours or 1.58 Full-Time Equivalent. The result suggests that the FPA requires 11.32% of total storage area and contains 75-78 items of total 1,031 items.

Downloads

Issue

Section

งานวิจัย (Research papers)