การเปรียบเทียบวิธีการหาปลายนิ้วและร่องนิ้วบนพื้นฐานของการประมวลผลภาพ

Authors

  • อภิวัฒน์ สวัสดิรัตน์ ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางด้านการประมวลผลสัญญาณ ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • จักรี ศรีนนท์ฉัตร ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางด้านการประมวลผลสัญญาณ ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Keywords:

ระบบวัดโครงสร้างมือ, เส้นรอบรูปมือ, การหาปลายนิ้ว, hand geometry system, hand contour, fingertips detection

Abstract

งานวิจัยทางด้านระบบวัดโครงสร้างมือด้วยการประมวลผลภาพส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่ความแม่นยำในการระบุตัวตนโดยอาศัยคุณลักษณะของนิ้ว งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นในการเปรียบเทียบวิธีการหาปลายนิ้วและ ร่องนิ้วจากเส้นรอบรูปมือเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในระบบสมองกลฝังตัวซึ่งมีทรัพยากรจำกัด โดยทดสอบด้วยการสร้างโปรแกรมที่พัฒนาด้วยภาษา C++ และใช้ gcc4 เป็นคอมไพเลอร์ร่วมกับฟังก์ชันการประมวลผลภาพ OpenCV 2.1 ทำการประมวลผลบน Samsung S3C2440A ARM920T ผลการทดลองพบว่าวิธีวัดรัศมีจาก เส้นรอบรูปมือมีข้อดีในด้านความยืดหยุ่นสูงสามารถรับข้อมูลที่มีขนาดแตกต่างกันมากๆได้ ด้านวิธีการวิธี หาความโค้งจากเส้นรอบรูปมือมีข้อดีที่ความเร็วในการประมวลผล ส่วนวิธีหากรอบด้านนอกและความเว้าจากเส้นรอบรูปมือเป็นวิธีที่นำข้อดีของสองวิธีข้างต้นมารวมกัน จึงเป็นข้อดีและเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในระบบสมองกลฝังตัว

 

A Comparative of the Methods to Find Fingertips and Valleys Based on Images Processing

Most of hand geometry system research using image processing is focused to provide the ac­curacy identify user which used the characteristic of finger. This research focuses to comparative the methods of the detection finger tips and valleys from the hand contours for apply to embedded system which it is a resource limited. In the experiment, the program is developed by using C++ lan­guage and complied with gcc4 complier and OpenCV 2.1. This experiment is also operated on  Samsung S3C2440A ARM920TS. The primary results show the advantage of the radius distance from the hand contour is provided the optimize solution for the large scale different of the hand data. The advantage of the curvature of the hand contour is provided the fastest computation processing. The hull convexity defect of the hand contour is taken the advantage of the both methods. It is an optimize method to apply for the embedded system.

Downloads

Issue

Section

งานวิจัย (Research papers)