ความแห้งแล้งวิกฤตเช่นปี พ.ศ.2536 ถ้าเกิดขึ้นอีกกรุงเทพฯจะขาดนํ้าดิบในการผลิตนํ้าประปา

Authors

  • ฉลอง เกิดพิทักษ์ บริษัทแมคโครคอนซัลแตนท์ จำกัด

Keywords:

ความแห้งแล้งวิกฤต, เขื่อนเจ้าพระยาว, การผลิตน้ำประปา, severe dry, Chao Phraya dam, water supply production

Abstract

ในฤดูฝนปี พ.ศ.2536 เป็นปีหนึ่งที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาแห้งแล้งมาก ถ้าสมมุติให้ปริมาณน้ำที่ระบายทิ้งท้ายเขื่อนเจ้าพระยาต่ำสุดเท่ากับ 50 ลบ.ม.ต่อวินาทีแล้ว ปริมาณน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยาสามารถผันน้ำไปช่วยเพื่อการชลประทานได้เพียง 866 ล้านลบ.ม. เท่านั้น ในขณะที่ปริมาณน้ำที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีเพียง 2,036 ล้านลบ.ม. และ 2,862 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ หลังปี พ.ศ. 2536 จึงได้มีการก่อสร้างเขื่อนแควน้อยพร้อมระบบชลประทานท้ายอ่าง และกำลังก่อสร้างเขื่อนผันน้ำผาจุกพร้อมระบบชลประทาน และระบบผันน้ำ จากแม่น้ำปิงไปยังเขื่อนแม่งัดและแม่กวงเหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ซึ่งทั้ง 3 โครงการที่กล่าวมานี้ ถ้าเกิดความแห้งแล้งเช่นปี พ.ศ.2536 ขึ้นมาอีกจะทำให้ปริมาณน้ำที่ระบายทิ้งท้ายเขื่อนเจ้าพระยาลดลง ซึ่งทำให้เชื่อว่ามาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้างแต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำดิบในการผลิตน้ำประปา ที่สามแล จ.ปทุมธานีได้ ดังนั้นบทความนี้ จึงเสนอแนะให้เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบด้วยแบบจำลองในทุกลุ่มน้ำ ส่วนในลุ่มน้ำเจ้าพระยาให้ศึกษาเพื่อนำน้ำจากลุ่มน้ำ แม่กลองและเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มาใช้แก้ปัญหาน้ำดิบ (ที่ใช้ผลิตน้ำประปา) ที่สามแล จ.ปทุมธานี โดยเร่งด่วน

 

A severe dry year as 1993, if it has occurredin Bangkok area again, the shortage of raw water for producing of domestic water supply would have happen

The wet season of the year 1993 is one of the severe dry year in the Chao Phraya basin. If 50 cms. of water is assumed to be released through the Chao Phraya dam, the total available water diversion to the irrigation area is only 866 million m3. While both inflows to the Bhumipoland Sirikit reservoirs are only 2,036 million m3 and 2,862 million m3 respectively. After the year 1993, there was a construction of KwaeNoi reservoir with irrigation area downstream. At present there are the construction of Phajook diversion dam with irrigation area and a construction of water diversion route from the Ping river to MaeNgud and MaeKuang reservoirs upstream of Bhumipol reservoir. If the same dry year as 1993 is taken place again, these three mentioned projects will reduce the flow releasing through downstream of the Chao Phraya dam. It is believed that only non structural measure, can’t solve the raw water shortage problem at Samlae, Prathumtani province, if the severe dry year the same as 1993 is taken place again. Therefore it is recommended to increase the water management system efficiency by applying the water management models to every river basin. While in the Chao Phraya basin, it is urgently recommended to study in order to bring the water from both the Pasak reservoir and the Maeklong river to be used as raw water (to produce domestic water supply for Bangkok and vicinity areas)at Samlae, Prathumtani province.

Downloads

Issue

Section

งานวิจัย (Research papers)