การปรับปรุงเสถียรภาพชั่วครู่ระบบไฟฟ้ากำลังโดยการใช้อุปกรณ์จำกัดกระแส ลัดวงจรชนิดตัวนำยิ่งยวดร่วมกับตัวชดเชยกำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟแบบสถิต

Authors

  • สุทธิรักษ์ สิทธิโชคธรรม ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • คมสันต์ หงษ์สมบัติ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

อุปกรณ์จำกัดกระแสลัดวงจรชนิดตัวนำยิ่งยวด, ตัวชดเชยกำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟแบบสถิตเสถียรภาพชั่วครู่, superconducting fault current limiter, SFCL, static var compensator, SVC, transient stability

Abstract

บทความนี้นำเสนอการปรับปรุงเสถียรภาพชั่วครู่ของระบบไฟฟ้ากำลังที่มีการเชื่อมโยงกันของเครอื่งกำเนิดไฟฟ้าโดยอาศัยหลักการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์จำกัดกระแสลัดวงจรชนิดตัวนำยิ่งยวด (Superconducting Fault Current Limiter : SFCL) และตัวชดเชยกำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟแบบสถิต (Static Var Compensator : SVC) เมื่อเกิดการลัดวงจรขึ้นในโครงข่ายระบบไฟฟ้ากำลัง ความรุนแรงของกระแสลัดวงจรอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการปรับปรุงเสถียรภาพชั่วครู่ของระบบไฟฟ้ากำลัง การแก้ปัญหาด้วย SVC อาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำเสถียรภาพไม่เพียงพอ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว บทความนี้จึงมีการประยุกต์ใช้ SFCL ติดตั้งเพิ่มในระบบไฟฟ้ากำลัง เพื่อจำกัดขนาดกระแสลัดวงจรให้มีความรุนแรงต่ำลง จากผลการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์แสดงให้เห็นว่าการทำงานร่วมกันของ SFCL และ SVC สามารถเพิ่มสมรรถนะในการปรับปรุงเสถียรภาพชั่วครู่ได้มากกว่าการติดตั้ง SVC เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้การติดตั้ง SFCL ยังช่วยลดขนาดของ SVC ลง ทำให้ประหยัดต้นทุนได้อีกด้วย

 

Power System Transient Stability Improvement Using a Combined Superconducting Fault Current Limiter with Static Var Compensator

This paper presents the transient stability improvement of the interconnected power system using the combined Superconducting Fault Current Limiter (SFCL) and Static Var Compensator (SVC). When the fault occurs in power system networks, the severe short-circuit current might effect the effectiveness of the transient stability improvement. By applying only SVC for power system stabilization, it might not be enough for improving the effectiveness of power system stabilization. To solve this problem, this paper applies the SFCL to be installed in the power system so that it can help limit the severity of short-circuit currents. The results from computer simulations reveal that the combined SFCL and SVC can help improve the transient stability performance more effectively, compared to one with SVC only. Additionally, SFCL can reduce the size of SVC significantly, resulting to a lower investment cost.

Downloads

Issue

Section

งานวิจัย (Research papers)