การประเมินการสั่นสะเทือนทั้งร่างกายของพนักงานขับรถยกในบริเวณคลังสินค้า

Authors

  • ปริยาภรณ์ โทนหงส์สา สาขาวิศวกรรมความปลอดภัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร
  • ไอลดา ตรีรัตน์ตระกูล ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เลิศชัย ระตะนะอาพร ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

การสั่นสะเทือนทั้งร่างกาย, ความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อหรือกระดูกโครงร่าง, พนักงานขับรถยก, whole body vibration, musculoskeletal disorder, forklift drivers

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการสัมผัสการสั่นสะเทือนทั้งร่างกายของพนักงานขับรถยกในบริเวณคลังสินค้า ผลการสัมผัสการสั่นสะเทือนทั้งร่างกายก่อให้เกิดความเสียหายให้กับกล้ามเนื้อได้ทั้งแบบชั่วคราวและแบบถาวร เช่น การทำงานที่ประสบกับการสั่นสะเทือนทุกวัน และติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการปวดหลัง เกิดความเครียดและความเมื่อยล้าได้ จากปัญหาดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการวิจัย โดยกำหนดแนวทางการลดสัมผัสการสั่นสะเทือนทั้งร่างกายของพนักงานขับรถยก ทั้งนี้เพื่อช่วยลดความรุนแรงที่จะเกิดกับระบบกล้ามเนื้อ หรือกระดูกโครงร่าง การสำรวจความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อ หรือกระดูกโครงร่างของพนักงานขับรถยก กระทำโดยใช้แบบสอบถาม และวัดความสั่นสะเทือนด้วยชุดวัดการสั่นสะเทือนทั้งร่างกาย (Personal Human Vibration Monitor)

ผลการวิจัยพบว่าระบบกล้ามเนื้อหรือกระดูกโครงร่างในของพนักงานขับรถยกในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา เกิดความผิดปกติร้อยละ 92 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดความผิดปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คือระยะเวลาการขับรถยกต่อปี ผลการประเมินการสั่นสะเทือนทั้งร่างกายก่อนปรับปรุงค่าความสั่นสะเทือนเปรียบเทียบกับเวลา 8 ชั่วโมงเฉลี่ย [A(8)] 0.1468 m/s2 ค่าความสั่นสะเทือนสะสมเฉลี่ย (VDVexp) 15.2312 m/s1.75 ค่ารวมความสั่นสะเทือนจาก 3 แนวแกนเฉลี่ย (av) 0.5129 m/s2 ผลการทดลองเมื่อเสริมเบาะรองนั่งพนักพิงหลัง และแผ่นกันเมื่อยด้วยเกณฑ์การออกแบบ คือ ความลึกของเบาะใช้ค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 5 ของความยาวขาจากสะโพกถึงใต้ท้องเข่า ส่วนความกว้างของเบาะ ความหนาของเบาะ และความกว้างของพนักพิงหลัง ใช้ค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 95 ของความกว้างของสะโพก ความสูงของขาส่วนล่าง และความกว้างของหัวไหล่ตามลำดับ ขนาดของเบาะรองนั่ง กว้าง 48 ซม. ยาว 41 ซม. หนา 1 ซม. ขนาดของพนักพิงหลังกว้าง 47 ซม. สูง 41.3 ซม. หนา 2 ซม. ที่หนุนเอวหนา 5 ซม. และแผ่นกันเมื่อยหนา 1 ซม. การติดตั้งอุปกรณ์เสริมสามารถลดความสั่นสะเทือนที่มีผลต่อสุขภาพได้ด้วยความเชื่อมั่น 95% (p<0.05) และลดความรู้สึกไม่สบายได้ด้วยความเชื่อมั่น 95% (p<0.05)

ผลการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การเสริมเบาะรองนั่งพนักพิงหลัง และเสริมแผ่นกันเมอื่ ยให้เหมาะสมกับขนาดของร่างกาย และใช้ระบบป้องกันความสั่นสะเทือนของเบาะรองนั่งสามารถลดความสั่นสะเทือนและความรู้สึกไม่สบายของพนักงานขับรถยกได้

 

Whole Body Vibration Assessment of Warehouse Forklift Driver

This study aimed assesses exposure Whole-Body Vibration of forklift drivers. The exposure to Whole-Body Vibration can cause damage to both temporary and permanent, such as working exposure vibration consecutive can cause back pain, stress and fatigue. Guidelines to reduce exposure Whole-Body Vibration of forklift drivers for reduce severity of musculoskeletal disorder. The research measure the musculoskeletal disorder via questionnaires and Personal Human Vibration Monitor was use to measure Whole Body Vibration

The study’s findings revealed that frequency of musculoskeletal disorder in forklift drivers during past 12 months were 92%. The factor with musculoskeletal disorder relating to significant static (p<0.05) were duration of working in year and results of whole body vibration assessment before improved average daily vibration exposure A (8) 0.1468 m/s2, average vibration dose value (VDVexp) 15.2312 m/s1.75, average total vibration in 3 axes (av) 0.5129 m/s2 afterward enhance seat pan and backrest for counterbalance forklift truck and anti fatigue mat for reach truck. Design parameter of seat pan and backrest include the seat pan length using data from 5th percentile of buttock popliteal length, seat pan width, seat pan thickness and backrest width using data from 95th percentile of hip breadth, popliteal height and shoulder breadth (bideltoid) respectively. The seat pan was of 48-cm. width, 41 cm. lengths and 1 cm. thickness. Backrest was of 41 cm. width, 41.3 cm. lengths, 2 cm. thicknesses; lumbar support protrudes forward 5 cm. and anti fatigue mat 1 cm thickness. Results of whole body vibration assessment after improved average daily vibration exposure A (8) 0.1291 m/s2, average vibration dose value (VDVexp) 10.0078 m/s1.75, average total vibration in 3 axes (av) 0.4301 m/s2. Seat pan, backrest and anti fatigue mat reduce vibration at 95% confident limit (p<0.05) and more comfortable at 95% confident limit (p<0.05)

Research result indicated seat pan, backrest and anti-fatigue mat, which suited for body of forklift drivers, and seat suspension can reduce vibration and disturbance of forklift drivers.

Downloads

Issue

Section

งานวิจัย (Research papers)