การศึกษาผลกระทบระบบแรงต่ำต่อการต่อลงดินของหม้อแปลงแบบต่อแยกและแบบต่อร่วมเมื่อเกิดความผิดพร่องที่ระบบแรงสูง

Authors

  • ศรัณย์ สุวิทยพันธุ์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เกียรติยุทธ กวีญาณ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

ความผิดพร่อง, การลัดวงจรแบบ, เฟส-กราวน์, วิธีการต่อลงดินของหม้อแปลงแบบต่อร่วม, Fault, Ground Potential Rise, Common Multiple Earthed Neutral

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลกระทบระบบแรงต่ำต่อการต่อลงดินของหม้อแปลงแบบต่อแยกและแบบต่อร่วม เมื่อเกิดความผิดพร่องที่ระบบแรงสูง โดยศึกษาเฉพาะการลัดวงจรที่เป็นแบบเฟส-กราวน์ เท่านั้น เนื่องจากเป็นกรณีที่เกิดขึ้นบ่อย ทั้งนี้เมื่อเกิดการลัดวงจรจะทำให้เกิดแรงดันที่ผิวดินสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ทั้งในส่วนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และของผู้ใช้ไฟ โดยงานวิจัยนี้ใช้การทำแบบจำลองในโปรแกรม CYMGRD พบว่า การต่อลงดินของหม้อแปลงที่ใช้วิธีการต่อลงดินของหม้อแปลงแบบต่อร่วม และการทำให้ค่าความต้านทานรวมของระบบมีค่าไม่เกิน 1 โอห์ม สามารถลดผลกระทบนี้ได้

 

A Study of Low Voltage System Effect to Multiple Earthed Neutral and Common Multiple Earthed Neutral from Fault at High Voltage System

This research is to study of Low Voltage System Effect to Multiple Earthed Neutral and Common Multiple Earthed Neutral from Fault at High Voltage System. Study to short circuit a phase-ground only because this case occurs frequently. However, when a short circuit occurs, it will cause a ground potential rise which makes the impact on devices of both Provincial Electricity Authority (PEA) and the customers. Using CYMGRD program, it is found that the grounding of transformer using common multiple earthed neutral method with the total resistance of the grounding system less than 1 ohm can reduce mitigate such an impact .

Downloads

Issue

Section

งานวิจัย (Research papers)