การศึกษาปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในระบบท่อจ่ายน้ำประปา

Authors

  • ศุภรักษ์ แก้วแสง ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อดิชัย พรพรหมินทร์ ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุรชัย ลิปิวัฒนาการ ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

คลอรีน, โครงข่ายท่อ, น้ำประปา, อายุน้ำ, คุณภาพน้ำ, chlorine, pipe network, tap water, water age, water quality

Abstract

งานวิจัยนี้ ได้จำลองปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในระบบท่อจ่ายน้ำประปา โดยพื้นที่ศึกษาอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานประปาสาขาลาดพร้าว การประปานครหลวง และได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือที่สถานีสูบจ่ายน้ำลาดพร้าวกับจุดจ่ายน้ำเข้าพื้นที่เฝ้าระวัง 12-03-05 ผลการศึกษาพบว่าระยะเวลาที่ปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในการเดินทางจากสถานีสูบจ่ายน้ำลาดพร้าวไปถึงจุดจ่ายน้ำเข้าพื้นที่ศึกษาประมาณ 30 นาที 2) การศึกษาการกระจายตัวของคลอรีนในระบบท่อจ่ายน้ำในพื้นที่เฝ้าระวัง ถึงระดับจุดผู้ใช้น้ำ ทั้งนี้พบว่าโปรแกรม EPANET มีข้อจำกัดในเรื่องการคำนวณอายุน้ำ คือค่าอายุน้ำในแต่ละเส้นท่อต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 1 นาที จึงทำให้ต้องมีการรวมเส้นท่อที่อายุน้ำไม่ผ่านเกณฑ์เข้าด้วยกันก่อนวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าอายุน้ำกับอัตราการไหลของน้ำเข้าพื้นที่เฝ้าระวังมีความสัมพันธ์ผกผันอย่างชัดเจน คือในช่วงเวลากลางคืนที่อัตราการไหลมีค่าลดลง และต่ำสุด ณ เวลา 4.00 น. นั้น อายุน้ำจะมีค่าเพิ่มมากขึ้น โดย ณ จุดวัดคลอรีนไกลสุดภายในพื้นที่มีค่าสูงสุดเท่ากับ 4.5 ชั่วโมง ณ เวลา 5.00 น.รวมทั้งพบว่าปริมาณคลอรีนที่จุดจ่ายน้ำเข้าอยู่ในช่วง 0.20-1.00 มก./ลิตรได้สลายตัว และคงเหลือ ณ จุดวัดไกลสุดอยู่ในช่วง 0.05-0.60 มก./ลิตร

 

A Study of Free Residual Chlorine in a Water Distribution System

This research analyzes free residual chlorine in a water distribution system. The study area is in the service area of Lad Phrao branch office, Metropolitan Waterworks Authority (MWA). The study is divided into two parts as follows.1) The study of a relationship between the amount of free residual chlorine at Lad Phrao pumping station and at the inlet of district metering area (DMA) 12-03-05. From the results, it was found that the period of free residual chlorine travelling from Lad Phrao pumping station to the inlet of the DMA takes approximately 30 minutes. 2) The study of the chlorine distribution in the water distribution system in the DMA 12-03-05 to customer level.We found that the program EPANET has limitations on the water age calculation. The water age of each pipe must be greater than or equal to 1 minute, so pipe which did not meet the criteria will be merged before a water quality analysis. The results showed that the water age and the flow rate at the inlet of district metering area clearly has an inverse relationship.At night, when flow rate decreases and has the lowest value at 4:00 a.m.,the water age increases and at the furthest chlorine measurement point in DMA the peak water age is equal to 4.5 hours at 5.00 a.m. It is also found that while the concentration of chlorine at the DMA inlet is in the range of 0.20 - 1.00 mg/liter, the chlorine decayed and remained at the furthest measurement point in the range of 0.05 to 0.60 mg/liter.

Downloads

Issue

Section

งานวิจัย (Research papers)