ทางเลือกในการระบายความร้อนสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากเธอร์โมอิเล็กทริก

Authors

  • ปวัฒวงศ์ บำรุงขันท์ สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • เจริญพร เลิศสถิตธนกร สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Keywords:

การพาความร้อน, เธอร์โมอิเล็กทริก, ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า, convection, thermoelectric, efficiency of electricity production

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาทางเลือกในการระบายความร้อนสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากเธอร์โมอิเล็กทริก โดยออกแบบและจำลองการทดลองระบบผลิตไฟฟ้าจากเธอร์โมอิเล็กทริก เพื่อศึกษาระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ และระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าให้กับเธอร์โมอิเล็กทริก ซึ่งการถ่ายเทความร้อนให้กับเธอร์โมอิเล็กทริกควบคุมอุณหภูมิ 170 220 และ 270°C ด้วยการจ่ายไฟผ่านเครื่องหม้อแปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้กับขดลวดความร้อน ส่วนด้านเย็นใช้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนร่วมกับระบบระบายความร้อนด้วยอากาศและระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ เพื่อวัตถุประสงค์ให้ได้มาซึ่งพลังงานไฟฟ้า จากการทดลอง เมื่อนำทั้ง 2 ระบบเปรียบเทียบที่ทำการควบคุมอุณหภูมิด้านร้อนไว้ 270°C ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ และระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ พบว่า ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำให้กำลังไฟฟ้า 20.6W และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 8.72% เมื่อเทียบกับระบบระบายความร้อนด้วยอากาศที่กำลังไฟฟ้าสูงสุด 16.4W ประสิทธิภาพ 6.05% ชี้ให้เห็นว่าที่การควบคุมอุณหภูมิด้านร้อนคงที่เท่ากันระบบระบายความร้อนด้วยน้ำจะให้ประสิทธิภาพสูงกว่าระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ

 

Heat rejection alternatives for thermoelectric power generator

This research the study of choice in cooling for electricity from her thermoelectric. The experimental design and simulate the production of thermoelectric. To study air-cooled and water-cooled systems and increase efficiency in the production of electricity to thermoelectric. The heat transfer to her thermoelectric temperature control 170, 220, 270°C with power through a transformer to an adjustment the heater. Temperature measurement in her hot thermoelectric. The cold side heat exchanger is used in conjunction with air-cooled and water-cooled systems. The purpose of acquiring the power of the experiment, when the two systems compare who control the heat to 270°C cooling with air and cooling water was cooled with water to power. 20.6W and efficiency of 8.72% compared to air cooled 16.4W maximum power efficiency of 6.05%, the suggesting that temperature control the temperature with in system with water to provide high performance than cooling with air.

Downloads

Issue

Section

งานวิจัย (Research papers)