อิทธิพลของลวดตาข่ายสแตนเลสต่อประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตา แก๊สหุงต้มแบบ Vertical port
Keywords:
ลวดตาข่ายสแตนเลส, ประสิทธิภาพเชิงความร้อน, เตาหุงต้มแบบ Vertical port, มลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้, stainless steel wire mesh, thermal efficiency, vertical port cooking stove, pollutant emissionAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาแก๊สหุงต้มที่ใช้ในครัวเรือนแบบ Vertical port ที่มีปริมาณการใช้แก๊สแอลพีจี (Liquefied Petroleum Gas, LPG) สูงสุดไม่เกิน 5.78 kW ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.2312-2549 โดยศึกษาอิทธิพลของขนาดของวัสดุพรุนที่ทำมาจากลวดตาข่ายสแตนเลสบนหัวเตาต่อประสิทธิภาพเชิงความร้อน โดยการทดสอบต้มน้ำตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 2312-2549 และตรวจวัดมลพิษที่เกิดจากเผาไหม้ นอกจากนี้ยังศึกษาอิทธิพลของ Firing rate และขนาดของภาชนะต่อประสิทธิภาพเชิงความร้อนอีกด้วย จากการทดลองพบว่า ลวดตาข่ายสแตนเลสขนาด 16 mpi เป็นขนาดที่มีความเหมาะสมที่สุดที่ทำให้ประสิทธิภาพเชิงความร้อนสูงที่สุด และเมื่อ Firing rate เพิ่มสูงขึ้น ประสิทธิภาพเชิงความร้อนจะมีค่าต่ำลง อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพเชิงความร้อนจะมีค่าสูงขึ้นเมื่อภาชนะมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยประสิทธิภาพเชิงความร้อนสูงสุดเกิดขึ้นจากลวดตาข่ายสแตนเลสขนาด 16 mpi Firing rate เท่ากับ 0.89 และหม้อขนาด 32 cm ซึ่งให้ค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนสูงสุดถึงร้อยละ 77.06 และมีการปลดปล่อย CO และ NOx สูงสุดไม่เกิน 600 ppm และ 80 ppm ตามลำดับ ในทุกกรณี
Effect of stainless steel wire mesh on the thermal efficiency of vertical port gas cooking stove
The objective of this research is to improve the thermal efficiency of vertical port gas stove, which consumes the highest amount of Liquefied Petroleum Gas (LPG) not excess 5.78 kW, in accordance with Thai Industrial Standard 2312-2549 (TIS. 2312-2549). In this study, effect of porous media made from stainless steel wire mesh installed on stove head on the thermal efficiency of the stove was investigated. The thermal efficiency and pollutant emission of the gas stove were investigated by boiling test based upon TIS 2312-2549. Moreover, effect of firing rate and container sizes on thermal efficiency and pollutant emission was also studied. From the experimental results, it was found that mesh size of 16 mpi was the most suitable caused the highest thermal efficiency. The firing rate increased, the thermal efficiency decreased. However, the thermal efficiency increased when the container size increased. The maximum thermal efficiency of 77.06 % was obtained from the wire mesh of 16 mpi, the pot of 32 cm and the firing rate of 0.89 kW. The CO and NOx emission were not more than 600 ppm and 80 ppm, respectively, in all cases.