กลุ่มปัจจัยสำหรับประเมินการพัฒนาโครงการก่อสร้าง ซึ่งสอดคล้องตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • นิชาภา จันต๊ะมา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ปิยนุช เวทย์วิวรณ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุธาริน สถาปิตานนท์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, การพัฒนาโครงการก่อสร้าง, การจัดสรรงบประมาณ, การวิเคราะห์องค์ประกอบ

บทคัดย่อ

โครงการก่อสร้างมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน หากสามารถประยุกต์หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาช่วยพิจารณาในขั้นตอนการพัฒนาโครงการ จะส่งผลให้การจัดสรรงบประมาณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของตัวชี้วัดการพัฒนาโครงการก่อสร้างตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเก็บข้อมูลจากวิศวกร 138 คน ผ่านการสัมภาษณ์พร้อมแบบสอบถาม พบว่า องค์ประกอบของตัวชี้วัดทั้ง 38 ตัว ประกอบไปด้วย 7 กลุ่มปัจจัย โดยกลุ่มที่ 1 การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องและผู้ด้อยโอกาส 7 ปัจจัยย่อย กลุ่มที่ 2 การพิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ 10 ปัจจัยย่อย กลุ่มที่ 3 การพิจารณาลดผลกระทบจากโครงการ 4 ปัจจัยย่อย กลุ่มที่ 4 การพิจารณาอย่างรอบด้านเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด 6 ปัจจัยย่อย กลุ่มที่ 5 การต่อยอดการพัฒนาสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน 4 ปัจจัยย่อย กลุ่มที่ 6 การรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบและพัฒนาทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมด 4 ปัจจัยย่อย และสุดท้าย กลุ่มที่ 7 การทำงานร่วมกันด้วยทีมที่รอบรู้และสามัคคี 3 ปัจจัยย่อย ทั้ง 7 กลุ่ม สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรรวมได้ร้อยละ 61.860 โดยกลุ่มตัวอย่าง ปฏิบัติสอดคล้องในเรื่องของการพิจารณาลดผลกระทบจากโครงการมากที่สุด (4.23)  ส่วนในเรื่องการพิจารณาความจำเป็นและเหมาะสมทางเศรษฐกิจ (3.65) และการต่อยอดสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (3.23) นั้น กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญน้อยที่สุด โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพทำกินของผู้มีรายได้น้อย (3.23) และการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับโครงการให้กับชุมชนในท้องที่ สร้างความเข้าใจ ให้ประชาชนต่อยอดความรู้ได้ (2.75)

References

Chantama N, Wethyavivorn P (2021). Sufficiency economy indicators for built environment projects development in Thailand, Proceeding of the 59th KU Annual Conference, Bangkok, Thailand, 43-P457 ISBN: 978-616-278-617-4.

Fei W, Opoku A, Agyekum K, Oppon J, Ahmed V, Chen C, and Lok K (2021). The Critical Role of the Construction Industry in Achieving the Sustainable Development Goals (SDGs): Delivering Projects for the Common Good by Sustainability 2021, 13(16), 9112; https://doi.o g/10.3390/su13169112r

Goubran S (2019). On the Role of Construction in Achieving the SDGs. Journal of Sustainability Research. J Sustain Res.2019;1: e190020; https://doi.org/10.20900/jsr20190020

Khaemmani T (2015). Deciphering the philosophy of sufficiency economy to teach thinking processes: Chulalongkorn University Press.

Lincharearn A (2555). Qualitative Data Analysis Techniques. Journal of Educational Measurement, Faculty of Education, Naresuan University, 17(1), July 2012, 17-29.

Macmillan T (1971). The Delphi Technique. Paper Presented at the annual meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development.

Marome W (2017). A KNOWLEDGE ASSESSMENT ON SUSTAINABLE CITIES IN THAILAND; Sustainable City. Nakhon Pathom: Industrial Ecology Research and Training Center Faculty of Environment and Mahidol University Resource Center. P 144. ISBN 978-616-443-033-4.

Mundfrom D, Shaw D, and Ke T (2009). Minimum Sample Size Recommendations for Conducting Factor Analyses. International Journal of Testing, Volume 5, 2005 - Issue 2 P159-168. https://doi.org/10.1207/s15327574ijt0502_4

NESDB (2019). NESDB ECONOMIC REPORT (pp. 1-32) https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8429

Oladinrin T, Ogunsemi D, and Aje I (2012). Role of construction sector in economic growth: Empirical evidence from Nigeria. Journal of the Environment, ISSN: 1597-8826.

ORDPB (2011). Sufficiency Economy Contests 2nd round. Bangkok: Office of the Royal Development Projects Board.

Osei V (2013). The Construction Industry and its Linkages to the Ghanaian Economy-Polices Improve the Sector’s Performance. International Journal of Development and Economic Sustainability, 56-72

Rummel R (1970). Applied Factor Analysis. Evanston: Northwestern University Press 1970, 73-78327 SBN 8101-0254-4, Printed in the United States of America.

Thailand, U. N. (2558). Sustainable Development Goals (SDGs). https://www.un.or.th/globalgoals/th/the-goals/.

Thorne S (2008). Data analysis in qualitative research. http://dx.doi.org/10.1136/ebn.3.3.68

Yudelson J (2010). Sustainable Retail Development: New Success Strategies.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-25