การประเมินความถูกต้องกลุ่มของจุดพิกัดสามมิติจากระบบการทำแผนที่แบบเคลื่อนที่
คำสำคัญ:
ระบบการทำแผนที่แบบเคลื่อนที่, กลุ่มของจุดพิกัดสามมิติ, การประเมินความถูกต้องบทคัดย่อ
ระบบการทำแผนที่แบบเคลื่อนที่เป็นเทคโนโลยีการสำรวจแบบใหม่ รวบรวมข้อมูลสภาพแวดล้อมของถนนในรูปแบบสามมิติ ซึ่งก่อนหน้านี้การเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมของถนนมีความลำบากและเสี่ยงอันตรายที่อาจเกิดจากการสัญจรของรถ การสำรวจด้วยระบบการทำแผนที่แบบเคลื่อนที่มีการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ประหยัดเวลาและมีความแม่นยำ อย่างไรก็ตามส่วนประกอบของระบบการทำแผนที่แบบเคลื่อนที่มีหลายเซ็นเซอร์ อีกทั้งการเก็บข้อมูลในขณะเคลื่อนที่ ทำให้ข้อมูลมีความคลาดเคลื่อนจากหลายปัจจัย ดังนั้นในงานวิจัยนี้ศึกษาประเมินความถูกต้องกลุ่มของจุดพิกัดสามมิติที่ได้จากการสำรวจด้วยระบบการทำแผนที่แบบเคลื่อนที่ โดยตรวจสอบความถูกต้องด้วยจุดตรวจสอบที่ได้จากการกำหนดตำแหน่งด้วยระบบดาวเทียม GNSS วิธี RTK ผลทดสอบความถูกต้องกลุ่มของจุดพิกัดสามมิติก่อนปรับแก้ด้วยจุด GCP มีค่า RMSEr ทางราบเท่ากับ 0.084 เมตร และ RMSE ทางดิ่งเท่ากับ 0.123 เมตร ค่าความเชื่อมั่นที่ 95% แบบสามมิติเท่ากับ 0.241 เมตร อยู่ในเกณฑ์งานชั้นที่ 3 ของมาตรฐาน NSSDA และผลทดสอบความถูกต้องกลุ่มของจุดพิกัดสามมิติหลังจากปรับแก้ด้วยจุด GCP ผลปรากฏว่า RMSEr ทางราบเท่ากับ 0.076 เมตร และ RMSE ทางดิ่งเท่ากับ 0.046 เมตร ค่าความเชื่อมั่นที่ 95% แบบสามมิติเท่ากับ 0.089 เมตร อยู่ในเกณฑ์งานชั้นที่ 2 ของมาตรฐาน NSSDA ข้อมูลกลุ่มของจุดพิกัดสามมิติมีความคลาดเคลื่อนสูงในทางดิ่ง เมื่อปรับแก้ด้วยจุด GCP ผลปรากฏว่าความคลาดเคลื่อนมีค่าลดลง
References
Kukko A, A Jaakkola, M Lehtomaki, H Kaartinen, and Y Chen (2009). Mobile mapping system and computing methods for modelling of road environment. In 2009 Joint Urban Remote Sensing Event. of Conference.
Puente I, H González-Jorge, J Martínez-Sánchez, and P Arias (2013). Review of mobile mapping and surveying technologies. Measurement, 46(7): 2127-2145.
Ma L, Y Li, J Li, C Wang, R Wang, and M A Chapman (2018). Mobile Laser Scanned Point-Clouds for Road Object Detection and Extraction: A Review. Remote Sensing, 10(10).
Xiang B, J Yao, X Lu, L Li, R Xie, and J Li (2018). Segmentation-based classification for 3D point clouds in the road environment. International Journal of Remote Sensing, 39: 1-31.
Yang M, X Liu, K Jiang, J Xu, P Sheng, and D Yang (2019). Automatic Extraction of Structural and Non-Structural Road Edges from Mobile Laser Scanning Data. Sensors, 19(22).
McCormac J C, W Sarasua, and W Davis (2012) Surveying, 6th Edition. Wiley.
Olsen M, G Roe, C Glennie, F Persi, M Reedy, D Hurwitz, K Williams, H Tuss, A Squellati, and M Knodler (2013). Guidelines for the Use of Mobile LIDAR in Transportation Applications.
Toth C K (2009). R&D of mobile LIDAR mapping and future trends. In Proceeding of ASPRS 2009 Annual Conference.
Guan H, J Li, S Cao, and Y Yu (2016). Use of mobile LiDAR in road information inventory: A review. International Journal of Image and Data Fusion, 7: 219-242.
Guan H, J Li, Y Yu, M Chapman, H Wang, C Wang, and R Zhai (2015). Iterative Tensor Voting for Pavement Crack Extraction Using Mobile Laser Scanning Data. IEEE Transactions on Geoscience and Remote Sensing, 53(3): 1527-1537.
Authority T V (1998). Geospatial Positioning Accuracy Standards Part 3: National Standard for Spatial Data Accuracy. National Aeronautics and Space Administration: Virginia, NV, USA.
American Society for Photogrammetry and Remote Sensing (ASPRS) (2014). ASPRS Positional Accuracy Standards for Digital Geospatial Data, p. A1-A26.
Topcon (2021). IP-S3 HD1 Compact, High-Density 3D Mobile Mapping System. [cited Access 29 October 2021]; Available from: https://www.topconpositioning.com/scanning/mobile-mapping/ip-s3.
Topcon (2015). Instruction Manual Application Software Mobile Master Field. Topcon Corporation.
Topcon (2017). Instruction Manual Post-Processing MAGNET Collage. Topcon Corporation.
Sussanna V, V Janssen, and P Gibbings (2016). Relative performance of AUSGeoid09 in mountainous terrain. Journal of Geodetic Science, 6.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.