แบบจำลองคณิตศาสตร์สำหรับระบบทำความเย็นแบบดูดซึม พร้อมอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน

ผู้แต่ง

  • ประกอบ สุรวัฒนาวรรณ
  • วสันต์ จันทร์ลอย

คำสำคัญ:

ระบบทำ ความเย็นแบบดูดซึม; อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน; แบบจำ ลองทางคณิตศาสตร์; สารทำ ความเย็น; ออกแบบ

บทคัดย่อ

อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญต่อการทำ งานของระบบทำความเย็นแบบดูดซึม
งานวิจัยส่วนใหญ่ใช้วิธีการหาความแตกต่างอุณหภูมิเฉลี่ยแบบล็อกในการวิเคราะห์และพัฒนาระบบทำความเย็น
แบบดูดซึม อย่างไรก็ตามการใช้วิธีการนี้ในการออกแบบอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน จำ เป็นต้องทราบสภาวะ
อุณหภูมิของขาเข้าและขาออกของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนจากข้อกำ หนด หรือวิเคราะห์จากสมการสมดุล
พลังงาน ในการทำ งานจริงผู้ออกแบบทราบเฉพาะอุณหภูมิของสารละลายขาเข้าอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน
เท่านั้น ส่วนอุณหภูมิของสารละลายขาออกอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนเป็นข้อมูลที่ผู้ออกแบบไม่ทราบ ทำ ให้
การใช้วิธีการหาความแตกต่างอุณหภูมิเฉลี่ยแบบล็อกต้องมีการทำซ้ำ เพื่อหาคำตอบ งานวิจัยนี้จึงได้เสนอวิธีการ
ทางเลือก Effective-NTU method ผลการศึกษาพบว่าอัตราความจุความร้อนด้านเย็นมีค่าที่สูงกว่าอัตรา
ความจุความร้อนด้านร้อนเสมอในการออกแบบ เนื่องจากปัจจัย 3 ประการคือ 1) อัตราการไหลของสารละลาย
ลิเทียมโบรไมด์ออกจากเครื่องดูดซึมมีค่าสูงกว่าอัตราการไหลของสารละลายออกจากเครื่องกำ เนิด2)ค่าความจุ
ความร้อนจำ เพาะของสารละลายลิเทียมโบรไมด์เป็นฟังก์ชันอยู่ในรูปของความเข้มข้นของสารละลาย และ
ความเข้มข้นของสารละลายลิเทียมโบรไมด์ที่ออกจากเครื่องดูดซึมมีค่าต่ำกว่าความเข้มข้นของสารละลายที่ออก
จากเครื่องกำ เนิด3)อัตราความจุความร้อนของสารละลายเป็นผลคูณของอัตราการไหลของสารละลายลิเทียมโบรไมด์และค่าความจุความร้อนจำ
เพาะของของสารละลายจากผลการวิจัยนี้นำ ไปสู่ความเข้าใจในข้อจำกัดของ
อุณหภูมิขาออกและประสิทธิภาพของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนที่จะนำมาใช้ในระบบทำความเย็นแบบดูดซึม

เผยแพร่แล้ว

2018-10-31