การปรับปรุงดินลูกรังในจังหวัดน่านโดยใช้ฟูจิเบตอนและน้ำ ยางพาราธรรมชาติ สำ หรับเป็นวัสดุชั้นรองพื้นทาง
คำสำคัญ:
ดินลูกรัง; ฟูจิเบตอน; โพลิเมอร์; วัสดุรองพื้นทาง; จังหวัดน่าน; น้ำยางพาราธรรมชาติบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นผลการศึกษาพฤติกรรมของดินสำ หรับวัสดุชั้นรองพื้นทางที่ต้องรับน้ำ หนักมากจากการใช้
งาน การวิจัยได้นำดินลูกรังจากจังหวัดน่าน ซึ่งเป็นวัสดุที่มีอยู่ทั่วไปมาพัฒนาเพื่อใช้เป็นดินสำ หรับรองรับน้ำ หนัก
บรรทุกของถนนในชั้นรองพื้นทาง โดยตรวจสอบคุณสมบัติพื้นฐานของตัวอย่างดินลูกรังพบว่า มีค่าดัชนีความ
เหนียวเท่ากับ 16.08 มีความถ่วงจำ เพาะเท่ากับ 2.62 เมื่อบดอัดแน่น ตามมาตรฐานแบบโมดิฟายด์มีค่าความ
หนาแน่นแห้งสูงสุด เท่ากับ 1.98 กรัม ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และมีปริมาณความชื้นที่เหมาะสมเท่ากับร้อยละ
16.50 เป็นดินประเภท ML (ดินทรายละเอียดปนตะกอนและดินเหนียวมีความเหนียวเล็กน้อย)
ผลการทดลองดินลูกรังผสมกับฟูจิเบตอนในอัตราส่วนร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 7 โดยน้ำ หนักพบว่า ได้ค่า
กำลังอัดแกนเดียวเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 7.31-19.29กก./ตร.ซม.ส่วนดินลูกรังผสมฟูจิเบตอนและน้ำยางพาราตั้งแต่
ร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 5 ได้ค่ากำลังอัดแกนเดียวเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.96-18.11 กก./ตร.ซม. จากการศึกษาพบ
ว่าตัวอย่างดินที่ผสมฟูจิเบตอนร้อยละ 6 และตัวอย่างดินที่ผสมฟูจิเบตอนร้อยละ 7 กับน้ำยางพาราร้อยละ 5
สามารถรับกำลังอัดแกนเดียวได้สูงกว่าหรือเท่ากับ 17.50 กก./ตร.ซม. ซึ่งเป็นค่าที่เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐาน
กรมทางหลวง จากผลการศึกษาได้ว่าดินลูกรังจากจังหวัดน่านที่มีส่วนผสมดังกล่าวสามารถนำ ไปใช้ทำ ชั้นรอง
พื้นทางหลังจากปรับปรุงคุณภาพแล้วสามารถนำ ไปใช้งานตามมาตรฐาน