การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพจากกากเมล็ดสบู่ดำ โดยวิธีการหมักแบบแห้งด้วย Trichoderma harzianum

ผู้แต่ง

  • ศันสนีย์ นุชบุญช่วย ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อนุสิษฐ์ ธนะพิมพ์เมธา ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เพ็ญจิตร ศรีนพคุณ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เมธี สายศรีหยุด ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

กากเมล็ดสบู่ดำ; ปุ๋ยชีวภาพ; รา Trichoderma harzianum; สารฟอร์บอล เอสเทอร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของการใช้ประโยชน์จากกากเมล็ดสบู่ดำ โดยทำการศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญของรา (ปริมาณกลูโคซามีน) ด้วยรา Trichoderma harzianum โดยใช้การออกแบบการทดลองด้วยวิธี Box-Behnken พบว่าสภาวะที่เหมาะสมต่อปริมาณกลูโคซามีนคือที่ ปริมาณความชื้นเริ่มต้น 60 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณต้นเชื้อ 7.5 เปอร์เซ็นต์ และอุณหภูมิในการหมัก 33 องศาเซลเซียส ซึ่งจะได้ปริมาณกลูโคซามีนสูงสุดเท่ากับ 84 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักวัสดุหมักแห้ง และจากการวิเคราะห์สมบัติและธาตุอาหารในปุ๋ยชีวภาพพบว่า มีค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 6.33 ค่าการนำไฟฟ้าเท่ากับ 3.78 เดซิซีเมนต่อเมตร อินทรียวัตถุเท่ากับ 47.48 เปอร์เซ็นต์ อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนเท่ากับ 8 ไนโตรเจนเท่ากับ 3.61 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสเท่ากับ 1.93 เปอร์เซ็นต์ โพแทสเซียมเท่ากับ 2.29 เปอร์เซ็นต์ และปริมาณสารฟอร์บอล เอสเทอร์ที่หลงเหลืออยู่เท่ากับ 0.093 มิลลิกรัมต่อกรัม จากสภาวะที่เหมาะสมในการหมักกากเมล็ดสบู่ดำ พบว่าปริมาณสารฟอร์บอล เอสเทอร์ที่หลงเหลืออยู่ในกากเมล็ดสบู่ดำมีค่าลดลง (น้อยกว่า 0.11 มิลลิกรัมต่อกรัม) เพราะสารฟอร์บอล เอสเทอร์ในกากเมล็ดสบู่ดำจะถูกกำจัดโดยจุลินทรีย์ที่อยู่ในกระบวนการหมัก ดังนั้นการใช้ประโยชน์จากกากเมล็ดสบู่ดำเป็นปุ๋ยชีวภาพสำหรับพืชอาหารจะมีความปลอดภัยทั้งกับการบริโภคของผู้บริโภค และเป็นผลดีกับสิ่งแวดล้อมในดิน ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษานี้สามารถเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาราคาปุ๋ยที่เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-01