การพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพแสงแบบท่ออเนกประสงค์สำหรับการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่า

ผู้แต่ง

  • วริศ คุโณปการวงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ธงไชย โรหิตะดิษฐ ศรีนพคุณ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อนุสิษฐ์ ธนะพิมพ์เมธา ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วนิดา ปานอุทัย สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

เครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพแสงแบบท่อ; อาหารซาร์รุค; สาหร่ายสไปรูลิน่า; การจำลองกระบวนการ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกแบบ และสร้างเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพแสงแบบท่อต้นแบบ (Tubular Photobioreactor) สำหรับการเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาด 105 ลิตร โดยการทดสอบเครื่องด้วยการเพาะเลี้ยงสาหร่าย สไปรูลิน่า (Spirulina Platensis) โดยใช้สูตรอาหารซาร์รุค (Zarrouk Medium) และกำหนดอัตราเร็วอากาศขาเข้าเท่ากับ 0.07 เมตรต่อวินาที ระยะเวลาในการให้แสงสลับมืด 16:8 ชั่วโมง ความเข้มแสงเท่ากับ 8,900 ลักซ์ อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 35-40 องศาเซลเซียส พีเอช อยู่ระหว่าง 8.5-11 โดยวัดการเจริญเติบโตของสาหร่าย (Growth measurement) ด้วยวิธีการวัดน้ำหนักแห้ง (Dry weight Determination) เพื่อหาปริมาณชีวมวลที่มากที่สุดโดยการเปรียบเทียบกันระหว่างเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพแสงแบบท่อที่มีโค้งต้นแบบกับเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพแสงแบบท่อที่มีโค้งพื้นฐาน พบว่าเครื่องที่มีโค้งต้นแบบจะมีปริมาณชีวมวลที่มากกว่าเครื่องที่มีโค้งพื้นฐาน 25 เปอร์เซ็นต์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-30