วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal <p><strong>วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (The Journal of King Mongkut's University of Technology North Bangkok)</strong> เป็นวารสารที่เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ อุตสาหกรรมเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศ สถาปัตยกรรม และวิชาการขั้นสูงที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและอุตสาหกรรม ผลงานวิชาการที่รับตีพิมพ์เป็นบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความบรรณาธิการปริทัศน์ที่เขียนด้วยภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ<br />วารสารพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ตีพิมพ์ทั้งรูปเล่มและออนไลน์ โดยกำหนดจัดทำปีละ 4 ฉบับ คือ</p> <ul> <li>ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม–มีนาคม</li> <li>ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน–มิถุนายน</li> <li>ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม–กันยายน</li> <li>ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม–ธันวาคม</li> </ul> <p>วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นวารสารที่จัดอยู่ในฐานข้อมูลดังนี้</p> <ul> <li>เป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)</li> <li>เป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1 ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี</li> <li>สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ยอมรับให้เป็นวารสารระดับชาติและเป็นวารสารสำหรับการพิจารณาผลงานตีพิมพ์ เรื่องที่ 2 ของนักศึกษาทุน คปก. ในหลักสูตรกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนสำเร็จการศึกษาปริญญาเอก</li> </ul> <p><strong>สถิติการพิจารณา</strong></p> <p>จำนวนวันเฉลี่ยในการพิจารณาเบื้องต้น : 7-10 วัน</p> <p>จำนวนวันเฉลี่ยในการรับพิจารณา-ตอบรับตีพิมพ์: 60-90 วัน</p> <p>อัตราการยอมรับตีพิมพ์ในปี 2566 : 48%</p> th-TH <p>บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น<br />ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น</p> journal@op.kmutnb.ac.th (Assoc. Prof. Dr. Montree Siripruchayanun) teetima.c@op.kmutnb.ac.th (Teetima Chaiyakit) Wed, 22 May 2024 18:40:44 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การจำแนกเพศจากความยาวของกระดูกและขนาดของร่างกายโดยใช้ตัวแบบการถดถอยลอจิสติก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256907 <p>เป็นที่ทราบกันดีว่าการระบุเพศของศพจากโครงกระดูก วิธีที่แม่นยำที่สุดคือการตรวจ DNA อย่างไรก็ตามการตรวจ DNA มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลา ดังนั้นจึงมีการใช้วิธีการระบุตัวตนวิธีอื่น ๆ แทนในเบื้องต้น โดยเทคนิคหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับการระบุเพศในทางนิติวิทยาศาสตร์และโบราณคดี คือ การวัดโครงกระดูก ข้อดีของวิธีนี้คือใช้ได้หลายตำแหน่งในกระดูกชิ้นเดียว และใช้ได้แม้ว่ากระดูกไม่สมบูรณ์ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของกระดูกและขนาดของร่างกายกับเพศและเพื่อสร้างตัวแบบทางสถิติในการทำนายเพศ โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิที่เก็บมาจากตัวอย่าง 507 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติก จากผลการศึกษาพบว่า ตัวแบบการถดถอยลอจิสติกที่ใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรอิสระด้วยวิธี Forward เป็นตัวแบบที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการจำแนกเพศ โดยมีค่า AIC เท่ากับ 31.825 และสามารถทำนายเพศได้ถูกต้องถึงร้อยละ 98.62 นอกจากนี้ยังพบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงต่อการจำแนกเพศ ได้แก่ เส้นผ่านศูนย์กลางข้อเท้า (Ankle Diameter) เส้นผ่านศูนย์กลางข้อศอก (Elbow Diameter) และเส้นรอบวงที่สั้นที่สุดของข้อมือ (Wrist Minimum Girth) โดยมีค่าอัตราส่วนออดส์ (Odds Ratio) เท่ากับ 1324.78 130.19 และ 10.69 ตามลำดับ</p> จุฬารัตน์ ชุมนวล, กฤติยาภรณ์ บิลอะหลี, พรรณธิภา หวันน่าหงู Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256907 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรหัสคิวอาร์เพื่อส่งเสริมการใช้งานเครื่องช่วยหายใจ กรณีศึกษา หอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม วชิรพยาบาล https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256908 <p>เครื่องช่วยหายใจเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงที่ทันสมัยและมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในหอผู้ป่วยวิกฤต เครื่องช่วยหายใจมีหลากหลายชนิด เป็นกลไกที่มีความซับซ้อนและต้องได้รับการฝึกอบรม หากมีการนำเทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามาช่วยจะสามารถลดปัญหานี้ได้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรหัสคิวอาร์ และเว็บไซต์ เพื่อส่งเสริมการใช้งานเครื่องช่วยหายใจให้กับพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยวิกฤต โดยสร้างเว็บไซต์ผ่านโปรแกรมดรีมวีฟเวอร์ และใช้เทคโนโลยีรหัสคิวอาร์ เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล ดำเนินการในชนิดของเครื่องช่วยหายใจที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายได้แก่ HAMILTON-G5, GE, Bennett 840 และ Galileo รวมทั้งประเมินประสิทธิผลการใช้เทคโนโลยีรหัสคิวอาร์ จากกลุ่มพยาบาลวิชาชีพผู้ใช้งานจริงจำนวน 22 ราย ผลการศึกษาพบว่า หลังการใช้เทคโนโลยีรหัสคิวอาร์ พยาบาลวิชาชีพผู้ใช้งานจริง 22 ราย เห็นด้วยเป็นอย่างมาก โดยมีคะแนนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 2.70 และ 0.32 ตามลำดับ โดยแยกเป็นคะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่สำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ การประมวลผลได้รวดเร็วเท่ากับ 2.77 และ 0.20 การแสดงผลได้ถูกต้อง เท่ากับ 2.82 และ 0.11 การแสดงผลได้แม่นยำเท่ากับ 2.64 และ 0.31 และเนื้อหาเข้าใจง่ายเท่ากับ 2.85 และ 0.39 ตามลำดับ สรุปและเสนอแนะ การจัดทำเทคโนโลยีรหัสคิวอาร์ ครั้งนี้สามารถใช้งานได้จริงและมีประโยชน์กับผู้ใช้งาน ในอนาคตควรเพิ่มรุ่นของเครื่องช่วยหายใจให้มากขึ้น และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรหัสคิวอาร์ กับเครื่องมือแพทย์ชนิดอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการใช้งานเครื่องมือแพทย์ให้มีความถูกต้อง สะดวก และเข้าถึงง่าย</p> กัลยรัตน์ ก้าหรีมล์ะ, เปรมกมล จันทร์สุภาพ, อารียา จิรธนานุวัฒน์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256908 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีทดแทนค่าสูญหายแบบพหุในข้อมูลพหุระดับ: การศึกษาด้วยการจำลองข้อมูล https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256909 <p>การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีทดแทนค่าสูญหายแบบพหุในข้อมูลพหุระดับ: การศึกษาด้วยการจำลองข้อมูล ในการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการทดแทนค่าสูญหายแบบพหุจำนวน 6 วิธี ได้แก่ วิธี Multiple Imputation Fully Conditional Specification (FCS) วิธี Random Forest (RF) และวิธี Optimal Impute (Opt.impute) ประกอบด้วยวิธี Opt.knn วิธี Opt.tree วิธี Opt.svm และวิธี Opt.cv โดยใช้การจำลองข้อมูลทางการศึกษาที่มีโครงสร้างแบบพหุระดับด้วยโมเดลสัมประสิทธิ์ความถดถอยแบบสุ่ม (Random Coefficients Model) ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ 1) ประเภทการสูญหายแบ่งออกเป็น 6 รูปแบบ ได้แก่ การสูญหายแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (Missing Completely at Random; MCAR) การสูญหายแบบสุ่ม (Missing at Random; MAR) การสูญหายแบบไม่สุ่ม (Missing not at Random; MNAR) และประเภทของการสูญหายรูปแบบผสมรายคู่ 3 รูปแบบ ได้แก่ MCAR - MAR, MCAR - MNAR และ MAR - MNAR 2) ขนาดของตัวอย่างระดับที่หนึ่งเท่ากับ 1,000 2,000 และ 3,000 หน่วย และขนาดตัวอย่างระดับที่สองเท่ากับ 40 50 และ 60 หน่วย 3) อัตราการสูญหายของค่าสังเกตในตัวอย่างระดับที่หนึ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ร้อยละ 30 ร้อยละ 40 และร้อยละ 50 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาผลการวิจัยจำแนกตามประเภทการสูญหาย 6 รูปแบบ พบว่า ข้อสูญหายรูปแบบ MCAR วิธีทดแทนค่าสูญหาย Opt.cv มีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยสูงที่สุด ข้อมูลสูญหายรูปแบบ MAR, MCAR - MAR และ MAR - MNAR วิธีทดแทนค่า สูญหาย Opt.svm มีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยสูงที่สุด ทั้งนี้เมื่อข้อสูญหายแบบ MNAR, MCAR-MNAR พบว่าวิธีทดแทนค่าสูญหาย RF มีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยสูงที่สุด จากการวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า วิธีทดแทนค่าสูญหาย Opt.impute มีแนวโน้มให้ประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ วิธี RF และวิธี FCS ตามลำดับ</p> นวลรัตน์ ฉิมสุด, ประภาศิริ รัชชประภาพรกุล, สิวะโซติ ศรีสุทธิยากร Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256909 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 การสร้างตัวแบบทำนายการยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาของนักศึกษาใหม่ในระดับมหาวิทยาลัยช่วง สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 กรณีศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256910 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาชุดข้อมูลที่เหมาะสมและเพื่อสร้างตัวแบบที่เหมาะสมสำหรับทำนายการรับเข้านักศึกษาใหม่ในระดับมหาวิทยาลัยช่วงสถานการณ์โควิด-19 ด้วยข้อมูลการรับเข้านักศึกษาใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2561–2564 จำนวน 4,748 ระเบียน และ 18 ปัจจัย เปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำนายด้วย 5 อัลกอริทึม ได้แก่ แรนดอมฟอเรส นาอีฟเบย์ การถดถอยโลจิสติก ซัพพอร์ตเวกเตอร์ และอองซองค์เบิล และใช้ค่าความถูกต้องเป็นตัวชี้วัดในการประเมินประสิทธิภาพ การทดสอบแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การทดสอบที่ 1 เป็นการทดสอบหาชุดข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับการสร้างตัวแบบเพื่อทำนายการยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาในสถานการณ์โควิด-19 พบว่า ชุดข้อมูลปีการศึกษา 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่โควิด-19 ระบาดมาก มีค่าความถูกต้องมากที่สุดเท่ากับร้อยละ 66.67 และการทดสอบที่ 2 เป็นการทดสอบแบ่งชุดข้อมูลปีการศึกษา 2564 ตามจำนวนหลักสูตร ผลการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพการทำนายมีค่าความถูกต้องสูงขึ้น โดยหลักสูตรชีววิทยามีค่าความถูกต้องสูงสุด คือ ร้อยละ 78.69 ด้วยอัลกอริทึมนาอีฟเบย์ นอกจากนี้ยังพบว่า อัลกอริทึมซัพพอร์ตเวกเตอร์สามารถทำนายได้ค่าความถูกต้องสูงสุดมากถึง 5 หลักสูตร เมื่อเปรียบเทียบกับอัลกอริทึมที่เหลือข้างต้น ดังนั้น การสร้างตัวแบบโดยการแบ่งข้อมูลตามจำนวนหลักสูตรจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการสร้างหนึ่งตัวแบบจากการใช้ชุดข้อมูลทั้งหมด</p> ไพชยนต์ คงไชย, สุภาวดี หิรัญพงศ์สิน, ณัฏฐ์ ดิษเจริญ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256910 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 ตัวแบบผสมสำหรับพยากรณ์ข้อมูลอนุกรมเวลาปริมาณหน่วยจำหน่ายไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยรายเดือนของประเทศไทย https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256911 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวแบบที่เหมาะสมในการพยากรณ์ข้อมูลอนุกรมเวลาปริมาณหน่วยจำหน่ายไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยรายเดือนของประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตั้งแต่เดือนมกราคม 2553 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 จำนวน 146 ค่า จำนวน 4 ชุด ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ การสร้างตัวแบบการพยากรณ์มีทั้งหมด 5 ตัวแบบ ได้แก่ ตัวแบบ SARIMA ตัวแบบ ANN ตัวแบบ SARIMA – ANN ตัวแบบ SARIMA – ANN – REG และตัวแบบ Propose ซึ่งเป็นตัวแบบที่ผู้วิจัยนำเสนอ การสร้างตัวแบบได้ประยุกต์ใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบของข้อมูลอนุกรมเวลาเชิงประจักษ์ (Empirical Mode Decomposition; EMD) เพื่อลดสัญญาณแกว่งไวของข้อมูลก่อนนำไปสร้างตัวแบบผสม SARIMA – ANN – REG การดำเนินการวิจัยทำการแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 ข้อมูลฝึกฝน (Training Data Set) ตั้งแต่ เดือนมกราคม 2553 ถึงเดือนธันวาคม 2562 จำนวน 120 ค่า สำหรับสร้างตัวแบบการพยากรณ์ และชุดที่ 2 ข้อมูลทดสอบ (Testing Data Set) ตั้งแต่ เดือนมกราคม 2563 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 จำนวน 26 ค่า สำหรับเปรียบเทียบความแม่นยำของตัวแบบการพยากรณ์ ด้วยเกณฑ์การวัดประสิทธิภาพ 3 เกณฑ์ ได้แก่ ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย รากของค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย ร้อยละของความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า ตัวแบบผสมที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและมีความแม่นยำดีกว่าตัวแบบ SARIMA ตัวแบบ ANN ตัวแบบ SARIMA – ANN และตัวแบบ SARIMA – ANN – REG ในทุกเกณฑ์วัดประสิทธิภาพการพยากรณ์ สรุปได้ว่า ตัวแบบผสมที่พัฒนาขึ้นเป็นตัวแบบที่เหมาะสมสำหรับการพยากรณ์ข้อมูลอนุกรมเวลาปริมาณหน่วยจำหน่ายไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยรายเดือนของประเทศไทย</p> ธนกร สุทธิสนธ์, ภาณุเดช เพียรความสุข Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256911 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 ตัวแบบการถดถอยเซอร์คิวลาร์–เซอร์คิวลาร์และการประยุกต์กับข้อมูลอุตุนิยมวิทยา https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256913 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแบบการถดถอยเซอร์คิวลาร์ที่มีพารามิเตอร์ 4 ตัวของเทย์เลอร์ โดยความคลาดเคลื่อนเชิงมุมมีการแจกแจงแรพโคชีและการศึกษานี้ยังขยายไปถึงตัวแบบเซอร์คิวลาร์โพลิโนเมียล รวมทั้งนำเสนอการประมาณค่าพารามิเตอร์ด้วยวิธีภาวะน่าจะเป็นสูงสุดและการตรวจสอบการประมาณค่าพารามิเตอร์การถดถอยโดยอาศัยการศึกษาด้วยการจำลอง นอกจากนั้นได้พิจารณาการประยุกต์ตัวแบบกับข้อมูลจริงโดยใช้ข้อมูลทิศทางลมที่วัดจากสถานีตรวจวัดสภาพอากาศในรัฐเท็กซัส พร้อมทั้งเปรียบเทียบกับตัวแบบการถดถอยอื่น ผลจากการศึกษาด้วยการจำลองพบว่า การประมาณค่าพารามิเตอร์ที่นำเสนอนั้นมีประสิทธิภาพดี เนื่องด้วยความเอนเอียงของตัวประมาณมีค่าเข้าใกล้ศูนย์และรากของค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยของตัวประมาณมีค่าน้อย นอกจากนั้นจากการประยุกต์ตัวแบบกับข้อมูลจริงพบว่าตัวแบบการถดถอยเซอร์คิวลาร์–เซอร์คิวลาร์ของเทย์เลอร์ที่ความคลาดเคลื่อนเชิงมุมมีการแจกแจงแรพโคชีเป็นตัวแบบที่แทนความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางลมได้ดี</p> อรไท พลแสน Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256913 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 วิธีสมการปริพันธ์เชิงตัวเลขของความยาวรันเฉลี่ยบนแผนภูมิควบคุม EWMA สำหรับ กระบวนการเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบมีฤดูกาล ที่มีตัวแปรภายนอก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256914 <p>งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการประมาณค่าความยาวรันเฉลี่ย สำหรับแผนภูมิควบคุมค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนักแบบเลขชี้กำลัง โดยวิธีสมการปริพันธ์เชิงตัวเลข ซึ่งในงานวิจัยนี้ศึกษาทั้งหมด 4 วิธี ได้แก่ วิธีกฎค่ากลาง วิธีกฎสี่เหลี่ยมคางหมู วิธีกฎของเกาส์ และวิธีกฎของซิมป์สัน เมื่อข้อมูลของกระบวนการมีตัวแบบการเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบมีฤดูกาลที่มีตัวแปรภายนอก ทำการเปรียบเทียบวิธีการประมาณโดยพิจารณาค่าความยาวรันเฉลี่ยที่ประมาณได้จากวิธีสมการปริพันธ์เชิงตัวเลขทั้ง 4 วิธี นอกจากนี้ยังทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการประมาณทั้ง 4 วิธี โดยใช้เวลาที่ในการประมวลผล ผลการวิจัยพบว่า ค่าความยาวรันเฉลี่ยที่ได้จากการประมาณโดยวิธีสมการปริพันธ์เชิงตัวเลข ได้แก่ วิธีกฎค่ากลาง วิธีกฎเกาส์ และวิธีกฎซิมป์สันมีค่าเท่ากัน แต่วิธีกฎสี่เหลี่ยมคางหมูมีค่าแตกต่างจากวิธีอื่นเล็กน้อย และเมื่อพิจารณาจากเวลาในการประมวลผลพบว่า วิธีกฎค่ากลาง และวิธีกฏสี่เหลี่ยมคางหมูใช้เวลาประมวลผลน้อยที่สุด โดยใช้เวลาไม่เกิน 1–2 วินาที ส่วนวิธีกฎของเกาส์ และวิธีกฏของซิมป์สัน ใช้เวลาในการประมวลผลมากกว่าซึ่งใช้เวลาในการประมวลผลประมาณ 5–8 วินาที</p> ชินวัฒน์ เมืองแก้ว, คณิตา เพ็ชรัตน์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256914 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 สภาวะที่เหมาะสมของการหมักไมซีเลียมเห็ดหลินจือในน้ำลำไย https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256915 <p>ลำไยเป็นผลผลิตทางการเกษตรของภาคเหนือประเทศไทยที่มีผลผลิตมาก ราคาตกต่ำ และขาดนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่า ในสถานการณ์โควิด 19 มีความต้องการอาหารเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงนำลำไยมาเป็นแหล่งพลังงานของราเห็ดหลินจือใช้ในการเจริญเติบโตและผลิตเส้นใยโดยกระบวนการหมักในอาหารเหลว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการหมักไมซีเลียมเห็ดหลินจือในน้ำลำไย ปัจจัยในการศึกษาประกอบด้วยปริมาณของน้ำลำไย 9 องศาบริกซ์, น้ำตาลทราย, หางนม, CaCO3, KH2PO4, MgSO4.7H2O และกล้าเชื้อ การคัดเลือกตัวแปรโดยวิธี Plackett Burman Design การหาช่วงที่เหมาะสมโดยวิธี Steepest Ascent และการหาสภาวะที่เหมาะสมโดยวิธีพื้นผิวตอบสนองนำมาใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติ การทดลองพบว่า น้ำลำไย 9 องศาบริกซ์ (251.549 มิลลิลิตรต่อลิตร) และหางนม (14.226 กรัมต่อลิตร) เป็นปัจจัยที่สำคัญและผลิตไมซีเลียมหลินจือน้ำหนักแห้งสูงสุด 36.636 กรัมต่อลิตร ในขณะที่องค์ประกอบอื่นๆของอาหารที่หมักในอาหารเหลวมีดังนี้ ปริมาณน้ำตาล 7.5 กรัมต่อลิตร CaCO3 0.6 กรัมต่อลิตร KH2PO4 0.75 กรัมต่อลิตร MgSO4.7H2O 0.75 กรัมต่อลิตร กล้าเชื้อ 50 มิลลิลิตรต่อลิตร งานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ในเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม และผลิตภัณฑ์เสริมภูมิคุ้มกันจากธรรมชาติ</p> นักรบ นาคประสม, กาญจนา นาคประสม Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256915 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของปริมาณสารสกัดมะแขว่นต่อลักษณะทางเคมีกายภาพและฤทธิ์ทางชีวภาพของนาโนอิมัลชัน https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256917 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปริมาณสารสกัดมะแขว่นต่อลักษณะทางเคมีกายภาพ ฤทธิ์ทางชีวภาพและความคงตัวของนาโนอิมัลชัน โดยทำการศึกษาปริมาณสารสกัดมะแขว่นที่แตกต่างกันได้แก่ 1% (ZLNE 1%) 5% (ZLNE 5%) และ 10% (ZLNE 10%) จากนั้นทำการวิเคราะห์ขนาดอนุภาค ศักย์ซีต้า สี ประสิทธิภาพการห่อหุ้มสารสำคัญ ทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ วิเคราะห์ปริมาณสารฟีนอลิกและปริมาณสารฟลาโวนอยด์ จากผลการทดลองพบว่า การเพิ่มปริมาณสารสกัดมะแขว่นส่งผลให้นาโนอิมัลชันมีขนาดอนุภาคใหญ่ขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p &lt; 0.05) ค่าศักย์ซีต้าลดลง ค่าสีเขียวและสีเหลืองเพิ่มขึ้น ค่าความสว่างมีแนวโน้มลดลง สำหรับการศึกษาประสิทธิภาพการห่อหุ้มสาร 4-terpineol พบว่า ZLNE 10% มีร้อยละการห่อหุ้มมากที่สุด คือ 94.73% ซึ่งสอดคล้องกับการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบว่า ZLNE 10% มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณสารฟีนอลิก และปริมาณสารฟลาโวนอยด์ มากกว่า ZLNE 5% และ ZLNE 1% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) กล่าวโดยสรุป การเพิ่มปริมาณสารสกัดมะแขว่นส่งผลให้ฤทธิ์ทางชีวภาพของนาโนอิมัลชันเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามยังต้องมีการปรับปรุงตำรับนาโนอิมัลชันให้มีความคงตัวมากยิ่งขึ้นเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ยาและเครื่องสำอางได้</p> ปณิดา อาดำ, สุกัญญา เทพวาที, ชญานันท์ เอี่ยมสำอางค์, ศิริชญาภรณ์ ห้วยหงส์ทอง, ศักดิ์หิรัญ สกุลเวช, ติรโภชน์ รัตนอมร, โชติทัศ ศรีบุญ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256917 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของวิศวกรต้นทุนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256925 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะของวิศวกรต้นทุนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของวิศวกรต้นทุนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง และ 3) จัดทำคู่มือแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของวิศวกรต้นทุนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นการวิจัยแบบผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย การวิจัยนี้มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 2 กลุ่ม 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการสัมภาษณ์เชิงลึก และตอบแบบสอบถามเพื่อการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย เป็นนักวิชาการ ผู้บริหารโครงการก่อสร้าง ผู้บริหารงานวิศวกรรมต้นทุน และผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ จากธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจที่ปรึกษาด้านก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างและพัฒนาองค์กร ด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 21 คน และ 2) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่มประชาพิเคราะห์ ประกอบด้วย&nbsp;นักวิชาการ ผู้บริหารโครงการก่อสร้าง ผู้บริหารงานวิศวกรรมต้นทุน ผู้บริหารด้านพัฒนาองค์กรและทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของวิศวกรต้นทุนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ประกอบด้วย&nbsp;3 องค์ประกอบสมรรถนะหลัก 12 สมรรถนะย่อย ดังนี้ 1) องค์ประกอบสมรรถนะหลักด้านความรู้ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจ ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจก่อสร้าง ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจก่อสร้างและพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง 2) องค์ประกอบสมรรถนะหลักด้านทักษะ ได้แก่ ความเชี่ยวชาญการประมาณราคา การบริหารต้นทุนโครงการก่อสร้างและผลกำไรความสามารถการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ ความเป็นผู้นำทีมงาน การบริหารโครงการก่อสร้าง และ 3) องค์ประกอบสมรรถนะหลักด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้แก่ จริยธรรมการดำเนินธุรกิจ ความใฝ่รู้และแบ่งปัน ความมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ 2) คู่มือแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของวิศวกรต้นทุนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง มีความเหมาะสม สอดคล้องกับเนื้อหาและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิด้วยมติเอกฉันท์คิดเป็นร้อยละ 100</p> นฤมล ขาวดี, ธีรวุฒิ บุณยโสภณ, สมนึก วิสุทธิแพทย์, สุชาติ เซี่ยงฉิน Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256925 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 โครงข่ายประสาทเทียมสำหรับการจำลองผลตอบสนองอิมพัลส์ของตู้ลำโพงกีตาร์แบบเวลาจริง https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256926 <p>งานวิจัยนี้นำเทคโนโลยีการประมวลผลสัญญาณดิจิทัลแบบเวลาจริง และโครงข่ายประสาทเทียมมาพัฒนาระบบที่สร้างผลตอบสนองอิมพัสส์ของลำโพงตู้กีตาร์ MarshalL 1960A ตามลักษณะการติดตั้งไมโครโฟนตามที่ผู้ใช้กำหนด โดยโมเดลจะรับค่าเป็นประเภทไมโครโฟน ตำแหน่งของลำโพงที่ติดตั้งไมโครโฟน ระยะห่างระหว่างไมโครโฟนกับตู้ และมุมเอียง โมเดลโครงข่ายประสาทเทียมที่ผ่านการฝึกสอนสามารถสร้างผลตอยสนองอิมพัสส์สำหรับตู้ลำพงได้ทั้งเสียงที่มีอยู่ในชุดข้อมูล และเสียงของการตั้งค่าที่ไม่มีอยู่ในชุดข้อมูลซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ความสัมพันธ์ของข้อมูล เกณฑ์ที่ใช้ประเมินผลลัพธ์ที่ได้จากโมเดล คือ Cross-correlation, Error-to-signal Ratio, Power Spectral Density Error และ Magnitude-squared Coherence นอกจากนี้ มีการทดสอบการฟังคะแนนความคิดเห็นเฉลี่ยเพื่อพิจารณาความคล้ายคลึงของสัญญาณกีตาร์ที่ผ่านการจำลองเสียงลำโพง ผลการทดสอบชี้ว่าเสียงที่ผ่านการจำลองด้วยเอาต์พุตของโครงข่ายประสาทเทียมนั้นมีความใกล้เคียงกับเสียงที่จำลองด้วย IR จริงอย่างมาก เมื่อนำโมเดลนี้ไปสร้างเป็นดิจิทัลปลั๊กอินแล้วพบว่า มีประสิทธิภาพในการคำนวณที่รวดเร็วพอกับการทำงานแบบเวลาจริง การนำโมเดลนี้มาใช้งานนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเก็บข้อมูล IRไว้ในคอมพิวเตอร์โดยตรงเหมือนกับการทำงานรูปแบบเดิม โมเดลนี้สามารถสร้าง I ขึ้นมาทุกครั้งที่ผู้ใช้กำหนดค่พารามิเตอร์ต่าง ๆ และการใช้ระบบดังกล่าวในงานผลิตเพลงจะทำให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งเสียงได้สะดวกเพราะจะได้ฟังเสียงความแตกต่างของการตั้งค่าต่าง ๆ ทันที โดยไม่ต้องโหลดไฟล์ R ของการตั้งค่าแต่ละแบบไปมาเหมือนการทำงานแบบเดิม</p> ธัญเทพ สิญจนาคม, ศรวัฒน์ ชิวปรีชา Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256926 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปกวารสาร มจพ. ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256927 <p>-</p> ปกวารสาร มจพ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256927 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 บรรณาธิการวารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256928 บรรณาธิการ วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256928 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์อารมณ์จากใบหน้ามนุษย์แบบเวลาจริงโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกบนอุปกรณ์สมองกลฝังตัวต้นทุนต่ำ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256918 <p>อารมณ์เป็นการแสดงออกทางพื้นฐานอย่างหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งมีการแสดงออกในหลากหลายรูปแบบ เช่น จากเสียง ใบหน้า หรือท่าทาง ในการพัฒนาระบบที่มีการปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์นั้น การรับรู้ถึงอารมณ์ที่มนุษย์ตอบสนองกับระบบกลับมานั้น จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง บทความนี้นำเสนอการออกแบบและพัฒนาแบบจำลองการเรียนรู้เชิงลึก YOLOv4-tiny และ YOLOv5s เพื่อวิเคราะห์อารมณ์จากใบหน้ามนุษย์ โดยแบบจำลองทำงานบนอุปกรณ์สมองกลฝังตัวต้นทุนต่ำ Jetson Nano ที่ติดตั้งกล้องในตัว จากนั้นภาพเคลื่อนไหวที่รับเข้ามาจากกล้องจะถูกตรวจจับใบหน้าแบบเวลาจริง เพื่อตีกรอบรอบใบหน้าและแสดงผลการวิเคราะห์อารมณ์ของใบหน้านั้น ซึ่งแบบจำลองสามารถจำแนกอารมณ์ทั้งหมดออกเป็น 7 อารมณ์ ได้แก่ โกรธ รังเกียจ กลัว ดีใจ เสียใจ ตกใจ และเฉยๆ โดยใช้ชุดข้อมูลภาพ RAF-DB ในการฝึกฝนและทดสอบแบบจำลองผลจากการประเมินประสิทธิภาพด้านความถูกต้องของแบบจำลอง พบว่า โดยภาพรวมแบบจำลอง YOLOv5s ให้ผลการทำงานที่ดีกว่า YOLOv4-tiny โดยค่า F1 Score ของแบบจำลอง YOLOv5s ได้คะแนน 0.806 ในขณะที่แบบจำลอง YOLOv4-tiny ได้คะแนน 0.774 สำหรับประสิทธิภาพด้านความเร็วในการประมวลผลพบว่า แบบจำลอง YOLOv5 สามารถแสดงวิดีโอได้ประมาณ 11 FPS ในขณะที่ YOLOv4-tiny สามารถแสดงผลวิดีโอได้ประมาณ 10.5 FPS</p> ชูพันธุ์ รัตนโภคา, นราธิป แสงซ้าย Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256918 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาชีพลักษณ์ของป่าพรุด้วยภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2: กรณีศึกษา จังหวัดภูเก็ต https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256919 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชีพลักษณ์ของป่าพรุในจังหวัดภูเก็ตด้วยภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2 และประเมินความสัมพันธ์กับปัจจัยทางสภาพอากาศ ได้แก่ อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน รวมทั้งความชื้นในใบไม้ (Leaf Water Content) ดัชนีพืชพรรณสำหรับการศึกษานี้มี 4 ชนิด คือ ดัชนีเน้นภาพพืชพรรณ (Enhanced Vegetation Index; EVI) ดัชนีเน้นภาพพืชพรรณแบบ 2 ช่วงคลื่น (Two-Band Enhanced Vegetation Index; EVI2) ดัชนีความต่างของพืชพรรณด้วยช่วงคลื่นแสงสีเขียว (Green Normalized Difference Vegetation Index; GNDVI) และดัชนีผลต่างพืชพรรณ (Normalized Difference Vegetation Index; NDVI) ดัชนีทั้ง 4 ชนิด ถูกนำไปคำนวณค่าเฉลี่ยรายเดือนจาก พ.ศ. 2559–2564 และปรับค่าความเรียบ (Smoothed) เพื่อปรับแก้ผลกระทบจากสัญญาณรบกวนในชั้นบรรยากาศ ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะชีพลักษณ์ของป่าพรุสอดคล้องกับดัชนี NDVI และ GNDVI โดยให้ค่าสูงสุด 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน และสูงสุดอีกครั้งในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีพืชพรรณกับปัจจัยสภาพอากาศพบว่าดัชนี EVI และ EVI2 มีความสัมพันธ์กันสูงกับอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน และความชื้นในใบไม้ ในขณะที่ดัชนี NDVI และ GNDVI มีความสัมพันธ์ต่ำกับปัจจัยสภาพอากาศทั้งหมด เนื่องจากพืชอาจไม่ได้ตอบสนองต่อปัจจัยดังกล่าวอย่างทันทีทันใด การศึกษานี้สามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรป่าพรุที่สัมพันธ์กับช่วงเวลาหรือฤดูกาลได้</p> วีรนันท์ สงสม, วีระพงค์ เกิดสิน, สุรเชษฐ์ ปิ่นแก้ว Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256919 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 โปรแกรมแจ้งเตือนและแสดงผลการตรวจสอบเครื่องมือแพทย์ กรณีศึกษาหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม วชิรพยาบาล https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256920 <p>การบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์เป็นงานที่มีความยุ่งยากและซับซ้อนซึ่งระบบการแจ้งเตือนและตรวจสอบเครื่องมือแพทย์สามารถลดปัญหานี้ได้ การพัฒนาโปรแกรมแจ้งเตือนและแสดงผลการตรวจสอบเครื่องมือแพทย์เป็นงานวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดทำโปรแกรมระบบแจ้งเตือนกำหนดการตรวจสอบเครื่องมือแพทย์ภายในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม วชิรพยาบาล ผ่านระบบแจ้งเตือน Line Notify 2) ศึกษาความถูกต้องของเวลา และข้อความที่แจ้งเตือนการตรวจสอบบนไลน์แอปพลิเคชัน และ 3) ประเมินประสิทธิผลการใช้โปรแกรมแจ้งเตือน ผลการศึกษาพบว่า โปรแกรมแจ้งเตือนที่พัฒนาโดยใช้ โปรแกรม Wordpress และ Notepad++ร่วมกับการใช้ภาษา PHP HTML CSS และ JavaScript ผ่านการแจ้งเตือนทาง Line Notify สามารถแจ้งเตือนกำหนดการตรวจสอบเครื่องมือแพทย์ได้สำเร็จ ตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรมแจ้งเตือนและแสดงผลการสอบบนไลน์แอปพลิเคชัน พบความถูกต้องที่แจ้งเตือนของเวลา และข้อความร้อยละ 100 ผลการประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมโดยกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานจริงจำนวน 20 คน พบว่า ภาพรวมเห็นด้วยมากกับประสิทธิผลของโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.76/3.00 เมื่อวิเคราะห์รายข้อพบว่า โปรแกรมสามารถแจ้งเตือนได้ตรงเวลาที่กำหนด สามารถนำมาใช้แทนที่ระบบการแจ้งเตือนแบบเก่า มีความครบถ้วนของข้อมูลที่เป็นประโยชน์และมีการแสดงผลความถูกต้องแม่นยำ ค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 3.00, 2.85, 2.85, และ 2.35 ตามลำดับ โปรแกรมระบบแจ้งเตือนตรวจสอบเครื่องมือแพทย์สามารถนำไปใช้งานได้จริง และควรพัฒนาโปรแกรมให้ครอบคลุมเครื่องมือแพทย์ทุกชนิดที่มีในโรงพยาบาล รวมถึงการต่อยอดการใช้ภาษา Python ในการเขียนโค้ดเพื่อหน่วงเวลาการแจ้งเตือน ที่ทำให้โปรแกรมสามารถแจ้งเตือนตรงตามวันที่ได้ถูกต้อง บันทึกความถูกต้องและความยาวของข้อความแจ้งเตือน รวมถึงทำให้โปรแกรมสามารถที่จะติดตามผลที่ได้จากการตรวจสอบเครื่องมือแพทย์ได้</p> พรญาณี ภู่จันทร์, พิชามญชุ เลิศจิราวัชร์, อารียา จิรธนานุวัฒน์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256920 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 การรู้จำลายมือเขียนภาษาไทยด้วยการเรียนรู้เชิงลึก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256921 <p>การทำงานในองค์กรส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับเอกสารที่ถูกสร้างขึ้นเป็นจำนวนมากอยู่เสมอ หนึ่งในเอกสารที่สร้างได้ง่ายและรวดเร็ว คือ เอกสารที่เขียนด้วยลายมือ แต่เอกสารลักษณะนี้โดยทั่วไปไม่ได้เป็นไฟล์ดิจิทัล ดังนั้นจึงมีข้อจำกัดในการทำระบบค้นคืนข้อมูล และงานวิจัยในเรื่องการรู้จำลายมือเขียนภาษาไทยส่วนใหญ่จะทดสอบกับพยัญชนะเพียง 44 อักขระ แต่ในความเป็นจริงตัวอักษรที่พบบนเอกสารนั้นมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งมีความแตกต่างกันถึง 4 ระดับ ดังนั้นจึงยากที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแยกแยะตัวอักษรแต่ละตัวได้อย่างถูกต้อง งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอการรู้จำลายมือเขียนภาษาไทยด้วยการเรียนรู้เชิงลึก โดยทดสอบกับภาพลายมือชื่อจังหวัดทั้ง 77 จังหวัด จากภาพลายมือที่มีรูปแบบการเขียนที่แตกต่างกัน 70 ตัวอย่าง ข้อมูลสำหรับการฝึกฝนและทดสอบถูกแบ่งด้วยอัตราส่วน 90 : 10 โดยพัฒนาโมเดลในการรู้จำด้วยโครงข่ายประสาทเทียมแบบสังวัตนาการร่วมกับโครงข่ายประสาทเทียมแบบวนซ้ำ LSTM แบบสองทิศทางโดยใช้ CTC Loss Function และยังเพิ่มความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้โดยการประมวลผลด้วย Word Beam Search ที่การฝึกฝนจำนวน 1,000 รอบ ผลการวิจัยพบว่า โมเดลสามารถให้ค่าความถูกต้องสูงสุดเมื่อใช้ภาพความเข้มเทาเป็นข้อมูลนำเข้า ร่วมกับการคงอัตราส่วนของข้อความในภาพ โดยค่าความถูกต้องระดับคำเท่ากับ 94.99% ค่าความถูกต้องระดับอักษรที่ปรากฏในคำเท่ากับ 95.92% และเมื่อนำไปผ่านกระบวนการทำ Post-Processing ด้วย Word Beam Search ได้ค่าความถูกต้องระดับคำสูงสุดเท่ากับ 98.14% (เพิ่มขึ้น 3.15%) และในระดับอักษรสูงสุดเท่ากับ 98.40% (เพิ่มขึ้น 2.48%)</p> สมปอง เวฬุวนาธร, ธีรศักดิ์ แสงสุวรรณ, ณัฏฐ์ ดิษเจริญ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256921 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 การผลิตสารเคมีแพลตฟอร์มจากกระบวนการกลั่นทางชีวภาพของชีวมวลลิกโนเซลลูโลสและความสำคัญต่อภาวะโลกร้อนและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256841 <p>The world is facing an unprecedented environmental crisis, with increased emissions of greenhouse gases that have led to a rapid and steady increase in global temperatures and climate change, which in turn is causing catastrophic events all over the world [1]. In order to combat this issue, it is crucial to produce more sustainable and eco-friendly sources of energy and materials. Another important aspect of this approach is that it can help to achieve the United Nations Sustainable Development Goals (SDGs), particularly SDG 7 (Affordable and Clean Energy) and SDG 12 (Responsible Consumption and Production). Renewable energy technologies must develop significantly more quickly in order to achieve the SDGs, and steps must also be taken to provide a fossil fuel exit strategy [2]. This motivates scientists to create efficient energy produced from sustainable sources that will support society in the long term.</p> Diana Jose, มาลินี ศรีอริยนันท์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256841 Wed, 22 May 2024 00:00:00 +0700 การจำลองสถานที่ตั้งของศูนย์ปฏิบัติการระบบไฟฟ้าโดยพิจารณาการจ่ายไฟฟ้าคืนระบบ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256897 <p>การจ่ายไฟฟ้าคืนระบบอย่างรวดเร็วจะช่วยพัฒนาความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561–2580) ที่เป็นการบริหารจัดการระบบไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพและความยืดหยุ่น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองการวิเคราะห์ที่ตั้งที่เหมาะสมของศูนย์ปฏิบัติการระบบไฟฟ้าซึ่งมีหน้าที่แก้ไขไฟฟ้าขัดข้อง ด้วยวิธี P-Centering Problem โดยพิจารณาประสิทธิภาพการจ่ายไฟฟ้าคืนระบบตามดัชนีระยะเวลาที่ไฟฟ้าขัดข้องของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การวิเคราะห์ปัญหาการกำหนดที่ตั้งที่เหมาะที่สุดภายใต้ข้อจำกัดใช้โปรแกรมการกำหนดการเชิงเส้นจำนวนเต็มผสม โดยวิธีการหาคำตอบแบบแม่นตรงด้วยอัลกอริทึมการแตกกิ่งและกำหนดขอบเขต โดยใช้โปรแกรม GAMS ในการวิเคราะห์เพื่อแก้ไขสถานการณ์ไฟฟ้าขัดข้องในพื้นที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขาอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ผลการวิเคราะห์พบว่า แบบจำลองสามารถหาตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมซึ่งสามารถยกระดับประสิทธิภาพการจ่ายไฟฟ้าคืนระบบตามค่าดัชนีระยะเวลาที่ไฟฟ้าขัดข้องไปสู่ระดับที่ดีสุดคือระดับ 5 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ การปรับปรุงประสิทธิภาพนี้ช่วยลดเวลาที่ไฟฟ้าขัดข้องลง 12.97 นาทีต่อรายต่อปี ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพร้อยละ 14.46 งานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาตำแหน่งที่ตั้งของศูนย์บริการของหน่วยงานด้านพลังงานไฟฟ้าได้ โดยแบบจำลองสามารถวิเคราะห์หาจำนวนและตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมในการให้บริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจ่ายไฟฟ้าคืนระบบภายใต้ข้อจำกัดได้</p> พรรัตน์ คงเกลี้ยง, ฆนิศา รุ่งแจ้ง, ภัทรพงษ์ ภาคภูมิ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256897 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 การทดสอบความไม่คงเส้นคงวาในประสิทธิภาพของแบบจำลองค่าความร้อนชีวมวลตามการวิเคราะห์แบบแยกธาตุ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256898 <p>ชีวมวลเป็นหนึ่งในพลังงงานทดแทนที่สำคัญของแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกของประเทศไทยการวิเคราะห์แบบแยกธาตุบ่งบอกถึงค่าพลังงานความร้อนและคุณภาพของชีวมวล การทำนายค่าความร้อนที่มีความถูกต้องคงเส้นคงวาบนข้อมูลที่แบบจำลองไม่เคยพบเป็นสิ่งสำคัญต่อบางพื้นที่ซึ่งไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะให้แบบจำลองเรียนรู้ บทความใช้สามการทดลองเพื่อตรวจความไม่คงเส้นคงวาของแบบจำลองค่าความร้อน ข้อมูลที่ให้แบบจำลองเรียนรู้ คือ สิ่งทดลองส่วนผลลัพธ์ของการทดลองคือความไม่คงเส้นคงวาของแบบจำลอง บทความสร้างสถานการณ์จำลองเมื่อนำแบบจำลองค่าความร้อนมาทำนายข้อมูลอื่นที่แบบจำลองไม่เคยเรียนรู้ ผลการทดลองพบว่า แบบจำลองค่าความร้อนมีความถูกต้องที่ไม่คงเส้นคงวา บนข้อมูลที่แบบจำลองเคยพบนั้นแบบจำลองแต่ละอันให้ค่าความผิดพลาดเฉลี่ยที่ไม่ต่างกันเชิงสถิติ แต่มีโมเมนต์สูงต่างกัน ส่วนกรณีข้อมูลที่แบบจำลองไม่เคยพบนั้นการแจกแจงความความผิดพลาดจะต่างกันในทุกโมเมนต์ บนสถานการณ์จำลองแบบจำลองไม่สามารถรักษาระดับความถูกต้องอย่างที่เคยมีและไม่สามารถให้ผลการทำนายที่แม่นยำบนตัวอย่างชีวมวลของประเทศไทย ดังนั้นต้องนำข้อมูลชีวมวลในพื้นที่มาให้แบบจำลองเรียนรู้ใหม่จึงได้ผลการทำนายค่าความร้อนที่มีความแม่นยำ</p> อัครา กิจการเจริญสิน, ศุภเชษฐ์ อินทร์เนตร Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256898 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 การประเมินปริมาณวัสดุจากของเสียแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่หมดอายุการใช้งานในประเทศไทย https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256899 <p>แผงเซลล์แสงอาทิตย์กลุ่มผลึกซิลิกอนถือเป็นเทคโนโลยีนิยมใช้มากที่สุดทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย สำหรับแผงกลุ่มผลึกซิลิกอนประกอบด้วย 2 รูปแบบหลัก ได้แก่ ซิลิกอนผลึกเดี่ยว และซิลิกอนผลึกรวม ซึ่งแผงในกลุ่มผลึกซิลิกอนมีองค์ประกอบหลัก ได้แก่ กระจก กรอบอะลูมิเนียม แผ่นเซลล์ซิลิกอน วัสดุห่อหุ้ม (EVA) แผ่นปิดด้านหลังและซิลิโคน รวมถึงโลหะมีค่า (ทองแดง และเงิน) สำหรับประเทศไทยใน พ.ศ. 2550 เป็นปีที่เริ่มมีการสนับสนุนระบบผลิตไฟฟ้าแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนพื้นดินแบบเชื่อมต่อระบบจำหน่ายตามนโยบายของรัฐ เห็นได้ว่าในอนาคตประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับปัญหาของเสียจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในปริมาณมาก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการประเมินปริมาณวัสดุจากของเสียแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่หมดอายุการใช้งานในประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการจัดการของเสียแผงให้สามารถนำกลับของวัสดุที่มีค่าและเป็นที่ต้องการในท้องตลาดแทนที่การนำไปฝังกลบ ช่วยให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนได้ในอนาคต โดยพิจารณาจากปริมาณของเสียแผงที่เกิดขึ้นจากข้อมูลการใช้แผงระหว่าง พ.ศ. 2550–2562 และค่าเฉลี่ยน้ำหนักองค์ประกอบของแผง ผลการดำเนินงานพบว่า ภายใน พ.ศ. 2582 จะมีปริมาณของเสียแผงสะสมสูงถึง 237,394 ตัน (ไม่รวมปริมาณของเสียแผงชำรุด) มีปริมาณกระจกมากที่สุด 163,921 ตัน ตามด้วยอะลูมิเนียม แผ่นเซลล์ซิลิกอน ทองแดง (ริบบอน) และเงินอยู่ที่ 30,007 7,620 2,089 และ 119 ตัน ตามลำดับ สำหรับวัสดุพอลิเมอร์ (วัสดุห่อหุ้ม แผ่นปิดด้านหลังและซิลิโคน) มีปริมาณรวมกัน 31,384 ตัน นอกจากนี้ยังพบว่า มีปริมาณตะกั่วที่ถือเป็นมลพิษ (สัดส่วนของตะกั่วร้อยละ 0.06 ของน้ำหนักแผง) สะสมถึง 142 ตัน</p> อิงฉัตร สุภาพยาม, พิชญ รัชฏาวงศ์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256899 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนชุบแข็งสกรูเกลียวปล่อยโดยใช้หลักการออกแบบการทดลองแบบทากูชิ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256900 <p>งานวิจัยนี้มุ่งเน้นที่จะเพิ่มความสามารถของกระบวนการผลิตสกรูเกลียวปล่อยขนาด 7 × 1 นิ้ว ที่ผลิตจากลวดเหล็ก SWRCH18A เนื่องจากปัญหาปัจจุบันที่บริษัทกรณีศึกษาพบคือ ค่าความแข็งของสกรูเกลียวปล่อยมีค่าความแข็งของผิวและแกนไม่เหมาะสม ซึ่งจากการวิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการพบว่า ค่าความแข็งของผิวและแกนมีค่า Cpk เท่ากับ 2.27 และ 0.44 ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าความแข็งของแกนมีค่า Cpk ที่ต่ำกว่าระดับที่กำหนดคือ 1.33 ส่งผลทำให้เกิดของเสียขึ้นในกระบวนการผลิต ซึ่งในการแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินการศึกษาปัญหาตลอดจนศึกษาระดับปัจจัยที่เหมาะสมที่สุดต่อกระบวนการชุบแข็งสกรูเกลียวปล่อย โดยเริ่มจากการวิเคราะห์สาเหตุและปัจจัยที่มีผลต่อค่าความแข็งซึ่งประกอบไปด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ เวลาในกระบวนการชุบผิวแข็ง อัตราการจ่ายคาร์บอน อุณหภูมิในกระบวนการอบคืนไฟและเวลาในกระบวนการอบคืนไฟ หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ทำการออกแบบแผนการทดลองด้วยวิธีทากูชิและวิเคราะห์ผลการทดลองด้วยวิธีการพื้นผิวตอบสนอง ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า การใช้เวลาในกระบวนการชุบผิวแข็ง 35 นาที อัตราการจ่ายคาร์บอน 0.95 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิในกระบวนการอบคืนไฟ 310 องศาเซลเซียส และใช้เวลาในกระบวนการอบคืนไฟ 40 นาที จะทำให้ค่าความแข็งของผิวและแกนมีค่าที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งเมื่อนำระดับปัจจัยดังกล่าวไปปรับใช้ในกระบวนการผลิตพบว่า ค่า Cpk ของค่าความแข็งของผิวและแกนมีค่าที่สูงขึ้น โดยมีค่าเท่ากับเท่ากับ 3.16 และ 1.90 ตามลำดับ</p> ธีรนัย จิรพงศานนุรักษ์, กฤษดา อัศวรุ่งแสงกุล, ธนสาร อินทรกำธรชัย Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256900 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษากรณีศึกษา เรื่อง โรงเรือนอัจฉริยะ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256901 <p>การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษา กรณีศึกษา เรื่องโรงเรือนอัจฉริยะ 2) ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนในการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย คู่มือครู คู่มือผู้เรียน ชุดฝึกปฏิบัติการโรงเรือนอัจฉริยะ แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเลือกจากกลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาจำนวน 12 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการประยุกต์ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ ของสาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สถิติในการวิจัยเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่อง โรงเรือนอัจฉริยะ มีประสิทธิภาพในการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษา และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนในการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.34 และ S.D. = 0.62) สรุปได้ว่าการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษา กรณีศึกษา เรื่อง โรงเรือนอัจฉริยะ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน เรื่อง การประยุกต์ใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาการเรียนรู้ให้ก้าวหน้า โดยผู้เรียนสามารถนำเทคนิคการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานในการแก้ไขปัญหา ด้วยการคิด วิเคราะห์ได้อย่างเป็นลำดับ สร้างโอกาสการเรียนให้สูงขึ้น</p> อาคิรา สนธิธรรม, ชัยยพล ธงชัยสุรัชต์กูล Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256901 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาสมการแสดงคุณสมบัติที่ขึ้นกับเวลาของเกลือหินแบบทรานซ์เวอร์ส‍ไอ‍โซ‍ทรอ‍ปี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256902 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาคุณสมบัติที่ขึ้นกับเวลาของเกลือหินชุดมหาสารคามที่มีลักษณะแบบทรานซ์เวอร์ส‍ไอ‍โซ‍ทรอ‍ปี แบบจำลองการคืบของหินแบบทรานซ์เวอร์ส‍ไอ‍โซ‍ทรอ‍ปีถูกพัฒนาจากสมการของ Amadei ให้อยู่ในรูปค่าคงที่ของเบอเกอร์และมุมการวางตัวของชั้นหิน งานวิจัยนี้ได้ทดสอบการคืบในแกนเดียวกับตัวอย่างเกลือหินที่มีระนาบการวางตัวของชั้นหิน (β) ผันแปรตั้งแต่ 0 45 60 75 ถึง 90 องศา ตามลำดับ เพื่อเปรียบเทียบกับแบบจำลองที่ถูกพัฒนาขึ้น ผลการทดสอบระบุว่า ความเครียดในแนวแกนและแนวด้านข้างมีค่าสูงสุดเมื่อแนวแรงกดตั้งฉากกับระนาบของชั้นหิน (β = 0º) และมีค่าต่ำสุดเมื่อแนวแรงกดขนานกับระนาบของชั้นหิน (β = 90º) การวิเคราะห์เชิงถดถอยระบุว่าสัมประสิทธิ์ความยืดหยุ่น ความหนืดเชิงยืดหยุ่น และความหนืดเชิงพลาสติกมีค่าสูงขึ้นเมื่อมุม β มากขึ้น แบบจำลองการคืบของหินแบบ ทรานซ์เวอร์ส‍ไอ‍โซ‍ทรอ‍ปีสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและหาค่าสัมประสิทธิ์ความยืดหยุ่นปรากฏและอัตราส่วนปัวส์ซองปรากฏเชิงเวลาของเกลือหินภายใต้สภาวะที่ชั้นหินมีระนาบการวางตัวแตกต่างกันได้ และสามารถใช้ในการคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเชิงเวลาของโครงสร้างใต้ดิน เช่น เสาค้ำยันและผนังด้านข้างของเหมืองเกลือหินได้</p> กัญญา ไกรปรุ, ชนิษฐา ทองประภา Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256902 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 แบบจำลองลอจิตสำหรับพฤติกรรมการเลือกรูปแบบการเดินทางและการประยุกต์ใช้สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวสู่ภาคตะวันออก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256903 <p>พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกรูปแบบการเดินทางเป็นสิ่งที่ยากจะเข้าใจและนำไปใช้ในการวางนโยบายแผนการขนส่งงานวิจัยนี้จึงประยุกต์แบบจำลองลอจิตเพื่อวิเคราะห์การเลือกรูปแบบการเดินทางสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวไปยังภาคตะวันออกของประเทศไทยซึ่งเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญของประเทศและวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยที่หลากหลาย เช่น ลักษณะการให้บริการของรูปแบบการขนส่งต่างๆ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจสังคมของผู้ตัดสินใจ เป็นต้น ข้อมูลการสำรวจแบบกำหนดสถานการณ์จำลอง (Stated Preference) ของผู้เดินทางจำนวน 405 คน ถูกนำไปสร้างแบบจำลองลอจิตพหุและเนสเต็ดลอจิต ผลลัพธ์แสดงให้เห็นราคาค่าโดยสารและความถี่การให้บริการเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากต่อการเลือกใช้รถโดยสารประจำทาง เวลาเดินทางมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเลือกใช้รถไฟความเร็วสูง แบบจำลองที่ได้เป็นประโยชน์ต่อความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการเดินทางไปยังภาคตะวันออกด้วยรถไฟความเร็วสูง รถประจำทาง และรถตู้โดยสาร รวมไปถึงการปรับปรุงนโยบายบริการรถสาธารณะ เช่น การปรับปรุงรถไฟความเร็วสูงให้มีความเร็วและความถี่มากขึ้นจะช่วยให้นักท่องเที่ยวพึงพอใจมากกว่าปัจจัยอื่น และเนื่องจากผู้สูงวัยมีความนิยมเลือกใช้รถส่วนตัวมากกว่ารถสาธารณะโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับรถไฟความเร็วสูง ดังนั้นการกำหนดนโยบายเพื่อวางแผนและออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกบนรถไฟความเร็วสูงและสถานีการออกแบบเพื่อมวลชน (Universal Design) จะต้องได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสมสำหรับยุคสังคมสูงวัย</p> ทวิปรัชญ์ เหม่ชัยภูมิ, ฆนิศา รุ่งแจ้ง Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256903 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยสำคัญในการจัดลำดับรูปแบบการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256904 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี่ (FAHP) เพื่อจัดลำดับรูปแบบการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนโดยการจัดเป็นโครงสร้างการตัดสินใจ วิธี FAHP เป็นการวิเคราะห์แบบหลายหลักเกณฑ์ที่นิยมมากวิธีหนึ่งในการหาลำดับความสำคัญโดยการเปรียบเทียบคู่ในการตัดสินใจจากผู้เชี่ยวชาญ ผลงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาเลือกรูปแบบการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน ได้แก่ ราคาต้นทุนค่าไฟฟ้า ความเข้ากันได้ของเทคโนโลยี การยอมรับจากสาธารณะ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตามลำดับ และทางเลือกที่เหมาะสมของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ได้แก่ รูปแบบโรงไฟฟ้าที่ผสาน 3 เทคโนโลยี รองลงมาเป็นรูปแบบโรงไฟฟ้าที่ผสาน 2 เทคโนโลยี คือ โรงไฟฟ้าพลังน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีเดียว คือ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ตามลำดับ การวิเคราะห์โดยจำแนกกลุ่มผู้ตัดสินใจแสดงให้เห็นว่า กลุ่มผู้กำหนดนโยบายและผู้รับผิดชอบโครงการให้ความสำคัญกับราคาต้นทุนค่าไฟฟ้าและความเข้ากันได้ของเทคโนโลยีมากกว่าการยอมรับของสาธารณะและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทั้งนี้สำหรับหน่วยงานเอกชนให้ความสำคัญกับราคาต้นทุนค่าไฟฟ้าและการยอมรับของสาธารณะมากกว่าความเข้ากันได้ของเทคโนโลยีและการใช้ประโยชน์ที่ดิน งานวิจัยนี้สามารถเป็นประโยชน์ในกระบวนการกำหนดนโยบายเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาด้านพลังงานอย่างยั่งยืนโดยอาศัยดุลพินิจต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างรอบด้านยิ่งขึ้น ดังเช่นการประยุกต์ใช้ในการวางแผนบูรณาการพลังงานระยะยาวของประเทศไทย (TIEB) เป็นต้น</p> ศศิประภา ตรีพูนสุข, ฆนิศา รุ่งแจ้ง Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256904 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 วงจรขยายช่วงปฏิบัติงานเชิงเส้นสำหรับหม้อแปลงไฟฟ้ากระแสสลับแบบแปรผันเชิงเส้น (LVDT) ด้วยเทคนิคการชดเชยด้วยฟังก์ชันไฮเพอร์โบลิกแทนเจนต์ผกผัน https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256905 <p>บทความนี้ขอเสนอวงจรขยายช่วงปฏิบัติงานเชิงเส้นสำหรับทรานสดิวเซอร์หม้อแปลงไฟฟ้ากระแสสลับแบบแปรผันเชิงเส้น (Linear Variable Differential Transformer; LVDT) ผลตอบสนองไม่เชิงเส้นจะถูกชดเชยด้วยสัญญาณที่ได้จากวงจรฟังก์ชันไฮเพอร์โบลิกแทนเจนต์ผกผันด้วยการตั้งค่าอัตราขยายที่เหมาะสม โดยการกำหนดค่าอัตราขยายในส่วนต่าง ๆ ของวงจรเพื่อขจัดเทอมส่วนไม่เป็นเชิงเส้นลำดับที่ 3 และ 5 ส่งผลให้ช่วงปฏิบัติงานเชิงเส้นขยายกว้างขึ้นถึง 60 มิลลิเมตร และมีค่าความผิดพลาดสัมพัทธ์เชิงเส้น (Linearity Relative Error) ต่ำ (&lt;2%) ตลอดช่วงการทำงานทั้งหมด ผลการจำลองจาก Pspice® แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของวงจรที่เสนอสำหรับการขยายการกระจัดการทำงานเชิงเส้นของทรานสดิวเซอร์ LVDT โดยมีค่าความผิดพลาดสัมพัทธ์เชิงเส้นต่ำเมื่อเทียบกับเทคนิคอื่น</p> สมปอง วิเศษพานิชกิจ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256905 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700 คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับบทความวารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256929 <p>-</p> คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับบทความ วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256929 Mon, 01 Apr 2024 00:00:00 +0700