วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal <p><strong>วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (The Journal of King Mongkut's University of Technology North Bangkok)</strong> เป็นวารสารที่เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ อุตสาหกรรมเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศ สถาปัตยกรรม และวิชาการขั้นสูงที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและอุตสาหกรรม ผลงานวิชาการที่รับตีพิมพ์เป็นบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความบรรณาธิการปริทัศน์ที่เขียนด้วยภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ<br />วารสารพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ตีพิมพ์ทั้งรูปเล่มและออนไลน์ โดยกำหนดจัดทำปีละ 4 ฉบับ คือ</p> <ul> <li>ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม–มีนาคม</li> <li>ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน–มิถุนายน</li> <li>ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม–กันยายน</li> <li>ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม–ธันวาคม</li> </ul> <p>วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นวารสารที่จัดอยู่ในฐานข้อมูลดังนี้</p> <ul> <li>เป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)</li> <li>เป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1 ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี</li> <li>สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ยอมรับให้เป็นวารสารระดับชาติและเป็นวารสารสำหรับการพิจารณาผลงานตีพิมพ์ เรื่องที่ 2 ของนักศึกษาทุน คปก. ในหลักสูตรกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนสำเร็จการศึกษาปริญญาเอก</li> </ul> <p><strong>สถิติการพิจารณา</strong></p> <p>จำนวนวันเฉลี่ยในการพิจารณาเบื้องต้น : 7-10 วัน</p> <p>จำนวนวันเฉลี่ยในการรับพิจารณา-ตอบรับตีพิมพ์: 60-90 วัน</p> <p>อัตราการยอมรับตีพิมพ์ในปี 2566 : 48%</p> The Journal of King Mongkut's University of Technology North Bangkok th-TH วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2985-2080 <p>บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น<br />ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น</p> บรรณาธิการวารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/259686 <p>บรรณาธิการวารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ</p> บรรณาธิการวารสารวิชาการ พระจอมเกล้าพระนครเหนือ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-07 2024-11-07 35 1 โอกาสของอุตสาหกรรมกระบวนการกลั่นชีวภาพในการก้าวไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน: กรณีศึกษาของคอมโพสิตชีวภาพ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/259477 <p>Bio-composites, also known as green composites, produced from renewable resources are an encouraging solution for sustainable development. These materials have several social, economic, and environmental advantages over conventional petroleum-based composites. Recent studies aim to enhance the durability, performance, and ecological footprint of biocomposites, with the ultimate goal of less carbon emissions. [1]. Bio-composites are created by combining two essential materials: natural fibers and a biopolymer matrix. Natural fibers as a reinforcing part play an important role as they can withstand stress and high load. In general, composites are usually made with synthetic fibers such as glass, carbon, and aramid. However, bio-composites are made from natural eco-friendly fibers like lignocellulosic biomass combined with natural biopolymers or bioresins [2]. The composition of these fibers depends upon their resources, but lignocellulosic fibers mainly contain cellulose, hemicelluloses and lignin [3]. The other part of the composite is the matrix that supports the reinforcement and distributes the load. There are three categories of renewable polymers that are used including 1) natural polymers (e.g. thermoplastic starch (TPS), cellulose, protein, etc.), 2) synthetic polymers from natural biomass feedstocks (e.g. poly(lactic acid) (PLA), etc.), and 3) synthetic polymers from microbial fermentation (e.g. poly(- hydroxy alkanoate) (PHA), poly(3- hydroxybutyrate-co-3- hydroxyvalerate) (PHBV), etc.)</p> Mesum Abbas Marttin Paulraj Gundupalli สุวลักษณ์ อัศวสันติ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-30 2024-10-30 35 1 ID. 251 007466 คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับบทความวารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/259689 <p>คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับบทความวารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ</p> คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับบทความ วิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-07 2024-11-07 35 1 การเปรียบเทียบการพยากรณ์ระหว่างวิธีโฮลท์-วินเทอร์เมื่อกำหนดค่าเริ่มต้นที่แตกต่างกัน วิธี แบกกิงโฮลท์-วินเทอร์ และวิธีบ็อกซ์-เจนกินส์ กรณีศึกษา: จำนวนผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบของ ประเทศไทย https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/259666 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการพยากรณ์วิธีโฮลท์-วินเทอร์ เมื่อกำหนดค่าเริ่มต้นที่แตกต่างกัน วิธีแบกกิงโฮลท์-วินเทอร์ และวิธีบ็อกซ์-เจนกินส์ โดยใช้จำนวนการผลิตน้ำมันปาล์มดิบรายเดือนตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ของประเทศไทย ซึ่งมีทั้งแนวโน้มเส้นตรงและอิทธิพลของฤดูกาล ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 เพื่อสร้างตัวแบบการพยากรณ์ และใช้เกณฑ์รากของค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (RMSE) ต่ำที่สุด ในการเลือกตัวแบบ ส่วนที่ 2 ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 เพื่อวัดประสิทธิภาพการพยากรณ์ โดยใช้เกณฑ์ค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (MAPE) ผลการวิจัยพบว่า วิธีบ็อกซ์-เจนกินส์ เป็นวิธีการที่เหมาะสม โดยมีค่า MAPE เป็น 13.49 เปอร์เซ็นต์</p> อริญชย์ บุญวรรณ สมศรี บัณฑิตวิไล Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-06 2024-11-06 35 1 ID. 251 166850 ค่าความยาวรันเฉลี่ยโดยสมการปริพันธ์เชิงตัวเลขสำหรับแผนภูมิควบคุมค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ถ่วงน้ำหนักแบบเลขชี้กำลังดัดแปลงสำหรับตัวแบบถดถอยในตัวกำลังสอง https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/259667 <p>การวิจัยนี้ศึกษาวิธีการประมาณค่าความยาวรันเฉลี่ย (Average Run Length; ARL) โดยวิธีสมการปริพันธ์เชิงตัวเลข (Numerical Integral Equation; NIE) ได้แก่ วิธีกฎเกาส์ (Gaussian Rule) วิธีกฎค่ากลาง (Midpoint Rule) วิธีกฎสี่เหลี่ยมคางหมู (Trapezoidal Rule) และวิธีกฎของซิมป์สัน (Simpson’s Rule) สำหรับแผนภูมิควบคุมค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนักแบบเลขชี้กำลังดัดแปลง (Modified Exponentially Weighted Moving Average Control Chart; Modified EWMA) สำหรับตัวแบบถดถอยในตัวกำลังสอง เมื่อความคลาดเคลื่อนมีการแจกแจงแบบเลขชี้กำลัง นอกจากนี้ ได้ทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพแผนภูมิควบคุมค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนักแบบเลขชี้กำลังดัดแปลง (Modified Exponentially Weighted Moving Average Control Chart; Modified EWMA) และแผนภูมิควบคุมค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนักแบบเลขชี้กำลัง(Exponentially Weighted Moving Average Control Chart; EWMA) โดยเกณฑ์การวัดประสิทธิภาพของแผนภูมิควบคุม คือ ค่าความยาวรันเฉลี่ยเมื่อกระบวนการไม่อยู่ภายใต้การควบคุม (Out-of-Control Average Run Length; ARL1) และเวลาที่ใช้ในการประมวลผลของวิธีสมการปริพันธ์เชิงตัวเลข (CPU Times) จากผลการวิจัยพบว่า ค่าความยาวรันเฉลี่ยโดยวิธีสมการปริพันธ์เชิงตัวเลขทั้ง 4 วิธีให้ค่าใกล้เคียงกัน และเมื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนภูมิควบคุมพบว่า แผนภูมิควบคุม Modified EWMA มีประสิทธิภาพในการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยของกระบวนการได้ดีกว่าแผนภูมิควบคุม EWMA ในทุกระดับการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังได้นำค่าประมาณ ARL โดยวิธีสมการปริพันธ์เชิงตัวเลขไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลจริงอีกด้วย</p> วชิรวิทย์ แก้วสอน ยุพาภรณ์ อารีพงษ์ เสาวณิต สุขภารังษี Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-06 2024-11-06 35 1 ID. 251 176851 โอกาสและความท้าทายของ Web3 ในอนาคต https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/259668 <p>Web3 ส่วนใหญ่จะรู้จักกันในนาม Web3.0 เป็นแนวคิดที่มีจุดเริ่มต้นใน พ.ศ. 2563 จะเป็นการกระตุ้นการใช้งานInternet และเพิ่มช่องทางให้สามารถทำธุรกรรมทางการเงินดิจิทัล ให้สามารถทำงานได้สะดวกและปลอดภัยขึ้นโดยการนำแนวคิดบล็อกเชนเข้ามาใช้ในการตรวจสอบธุรกรรมต่าง ๆ ให้โปร่งใสยิ่งขึ้น ในบทความนี้จะนำเสนอในส่วนของแนวทางการทำงานของบล็อกเชนบนสถาปัตยกรรม Web3 และความท้าทายในด้านของกฎหมายยังไม่มีออกมากำกับดูแล และมาตรฐานที่รองรับ</p> วรวิทย์ กิติกุศล พงษ์พิสิฐ วุฒิดิษฐโชติ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-06 2024-11-06 35 1 ID. 251 186573 กฎหมายควบคุมอาคารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของวิศวกรโยธา https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/259457 <p>การศึกษากฎหมายควบคุมอาคารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของวิศวกรโยธาในงานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารายละเอียดของกฎหมายควบคุมอาคาร อันประกอบด้วยพระราชบัญญัติควบคุมอาคารและกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัตินั้น 2) ศึกษาบทบาทและความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของวิศวกรโยธาตามพระราชบัญญัติการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม และ 3) วิเคราะห์กฎหมายควบคุมอาคารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของวิศวกรโยธา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีหรือสารสนเทศเกี่ยวกับกฎหมายสำหรับการปฏิบัติงานของวิศวกรโยธา ผลจากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติควบคุมอาคารมีบทบัญญัติระบุการบังคับใช้และการยกเว้นไม่บังคับใช้สำหรับอาคารบางประเภทหรือที่ตั้งในบางพื้นที่ที่กฎหมายไม่บังคับใช้ บทบัญญัติในกฎหมายมีเนื้อหาทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของวิศวกรโยธา ส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถพิจารณาตามขั้นตอนการปฏิบัติงานของวิศวกรโยธาได้ในขั้นตอนการสำรวจและออกแบบ การยื่นขออนุญาต การปฏิบัติงานในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย รวมถึงการใช้และเปลี่ยนการใช้อาคาร และความรับผิดชอบหลังจากดำเนินการแล้วเสร็จ โดยกฎหมายจะมีบทบัญญัติแตกต่างกันตามเงื่อนไขของประเภทอาคาร การใช้ประโยชน์ ลักษณะที่ตั้ง และขนาดของอาคาร</p> สุดารัตน์ ปีนะภา สุขสันติ์ หอพิบูลสุข Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-30 2024-10-30 35 1 ID. 251 016849 การทดสอบฉีดเกราท์ในแบบจำลองทรายชั้นที่ 1 ของชั้นดินกรุงเทพ เพื่อลดความซึมด้วยซิลิเกตเจล https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/259478 <p>บทความนี้กล่าวถึงการทดสอบการฉีดเกราท์ในแบบจำลองชั้นทรายของดินกรุงเทพชั้นที่ 1 เพื่อลดความซึมด้วยสารละลายโซเดียมซิลิเกตโดยวิธีอัตราการฉีดคงที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของแรงดันและความหนืดของเกราท์ ที่ส่งผลต่อขนาดและรูปทรงของทรายที่ผ่านการเกราท์ ในทรายชั้นแรกของชั้นดินกรุงเทพการทดสอบใช้สารละลายโซเดียมซิลิเกตเป็นวัสดุในการเกราท์ โดยใช้ความหนืดเท่ากับ 110 เซนติพอยส์ และ 130 เซนติพอยส์ และใช้อัตราการฉีดเป็น 4.56 6.08 และ 7.60 มิลลิลิตรต่อนาที ผลการวิจัยพบว่า แรงดันในการเกราท์ส่งผลต่อรูปทรงของทรายที่ผ่านการเกราท์อย่างมีนัยสำคัญโดยแรงดันในการเกราท์ที่ต่ำส่งผลให้รูปทรงของทรายมีลักษณะเป็นทรงกลมรีสม่ำเสมอ การเกราท์จึงเป็นรูปแบบการเกราท์แบบซึม ในส่วนของความหนืดไม่ส่งผลต่อรูปทรงของทรายที่ผ่านการเกราท์ เนื่องจากความหนืดของเกราท์ที่ใช้ในงานวิจัยมีค่าใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ทรายที่ผ่านการเกราท์ด้วยสารละลายโซเดียมซิลิเกตมีค่าสัมประสิทธิ์ความซึมต่ำลง 8.33 เท่า</p> อรยา คำหนองไผ่ พรพจน์ ตันเส็ง สุทิน คูหาเรืองรอง Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-30 2024-10-30 35 1 ID. 251 026768 การประยุกต์วิธีเพิ่มอุณหภูมิแบบขั้นบันไดเพื่อประมาณความเครียดคงค้างของตาข่ายเสริมกำลังพอลิโพรพิลีนเมื่อรับแรงดึงวัฏจักรในระยะยาว https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/259479 <p>โครงสร้างดินเสริมกำลังด้วยวัสดุเสริมกำลังสังเคราะห์มักต้องรองรับแรงวัฏจักรในระหว่างการใช้งาน เช่น น้ำหนักจราจร ซึ่งจะทำให้เกิดแรงดึงวัฏจักรกระทำต่อวัสดุเสริมแรงสังเคราะห์ แรงดึงวัฏจักรนี้ทำให้เกิดความเครียดคงค้างในวัสดุเสริมกำลังซึ่งอาจส่งผลต่อการเสียรูปโดยองค์รวมของโครงสร้างดินเสริมกำลังที่มากเกินไป งานวิจัยนี้สนใจศึกษาการเกิดความเครียดคงค้างระยะยาวในตาข่ายเสริมกำลังชนิดพอลิโพรพิลีนเมื่อรับแรงดึงวัฏจักรที่มีระดับแรงกระทำสูงสุด แอมพลิจูดและความถี่แตกต่างกัน โดยใช้การเพิ่มอุณหภูมิแวดล้อมแบบขั้นบันไดจาก 30 ถึง 50 องศาเซลเซียส และใช้ระยะเวลา 1 ชั่วโมงต่อระดับอุณหภูมิเพื่อร่นระยะเวลาการทดสอบ ผลการทดสอบนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดคงค้างกับจำนวนรอบที่อุณหภูมิอ้างอิง (30 องศาเซลเซียส) เพื่อศึกษาอิทธิพลของแรงกระทำสูงสุด แอมพลิจูดและความถี่ต่อความสัมพันธ์ดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า ความเครียดคงค้างเมื่อรับแรงดึงวัฏจักรมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อระดับแรงกระทำสูงสุดเพิ่มขึ้น แต่จะมีค่าลดลงเมื่อแอมพลิจูดเพิ่มขึ้น ในขณะที่อิทธิพลของความถี่ไม่มีนัยสำคัญซึ่งกล่าวได้ว่า ความเครียดคงค้างเมื่อรับแรงดึงวัฏจักรนั้นเกิดจากสมบัติที่ขึ้นกับอัตราความเครียดของตาข่ายเสริมกำลังเป็นหลัก ในขณะที่อิทธิพลของแรงดึงวัฏจักรที่ไม่ขึ้นกับอัตราความเครียดนั้นไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงคำสำคัญ: การทดสอบแรงดึง ความเครียดคงค้าง ตาข่ายเสริมกำลัง แรงวัฏจักร อุณหภูมิ</p> วรกมล บัวแสงจันทร์ วรัช ก้องกิจกุล Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-30 2024-10-30 35 1 ID. 251 036807 การผลิตไบโอดีเซลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาอัดขึ้นรูปแคลเซียมออกไซด์จากเปลือกหอยด้วยกระบวนการรีฟลักซ์ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/259480 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับการผลิตไบโอดีเซลที่สังเคราะห์จากเปลือกหอยแมลงภู่ด้วยกระบวนการอัดขึ้นรูป CaO ที่สังเคราะห์ได้จากเปลือกหอยแมลงภู่เหลือทิ้งสำหรับการผลิตไบโอดีเซล เตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาโดยใช้แก้วชนิดบอโรซิลิเกตเป็นตัวรองรับและโซเดียมซิลิเกตเป็นตัวเชื่อมประสาน ทำการวิเคราะห์คุณลักษณะของตัวเร่งปฏิกิริยาอัดขึ้นรูปด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) การเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ (XRD) วิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของตัวเร่งปฏิกิริยา (XRF) จากการทดลองพบตำแหน่งการเลี้ยวเบนสูงสุด 34.50º แสดงถึงการมี CaO เป็นองค์ประกอบ ทำการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไบโอดีเซล เช่น ปริมาณของตัวเร่งปฏิกิริยาร้อยละ 10 15 และ 20 โดยน้ำหนัก อัตราส่วน CaO:Support 30:70 50:50 และ 70:30 อัตราส่วนเมทานอลต่อน้ำมัน ช่วง 6:1–18:1 ทำการผลิตไบโอดีเซลด้วยเทคนิคการรีฟลักซ์์ผ่านกระบวนการทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 3 ชั่วโมง พบว่า ให้ปริมาณผลได้ของไบโอดีเซลสูงสุดร้อยละ 81.20 ที่ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาเข้มข้นร้อยละ 15 โดยน้ำหนัก อัตราส่วนเมทานอลต่อน้ำมัน 9:1 อัตราส่วน CaO:Support ที่ 70:30 มีปริมาณเมทิลเอสเทอร์ของกรดไขมัน (FAME) ร้อยละ 82.46 และสมบัติทางกายภาพของน้ำมันไบโอดีเซลที่สังเคราะห์ผ่านตามมาตรฐานของกรมธุรกิจพลังงาน โดยรวมผลจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการใช้เปลือกหอยแมลงภู่ในการสังเคราะห์ CaO สำหรับการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาและวิธีการอัดขึ้นรูปเพื่อสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีประสิทธิภาพสำหรับการผลิตไบโอดีเซล ผลการทดลองยังมุ่งไปเพื่อให้ความสำคัญของปัจจัยที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลผลิตไบโอดีเซลสูงสุด</p> จิรนันท์ รอดเพราะบุญ จุฑาภรณ์ ชนะถาวร Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-30 2024-10-30 35 1 ID. 251 046696 การวิเคราะห์การเสียรูปมากของโครงสร้างเปลือกบางรูปทรงกลมแบบหลายชิ้นส่วนรับแรงดันภายในร่วมกับเทคนิคตัวคูณลากรองจ์ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/259491 <p>บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์การเสียรูปมากของโครงสร้างเปลือกบางรูปทรงกลมแบบหลายชิ้นส่วนรับแรงดันภายในร่วมกับเทคนิคตัวคูณลากรองจ์ การสร้างแบบจำลองโครงสร้างเปลือกบางใช้ทฤษฎีเรขาคณิตเชิงอนุพันธ์ในการคำนวณหารูปแบบพื้นฐานของพื้นผิวอันดับที่หนึ่งและสอง ฟังก์ชันพลังงานของระบบโครงสร้างเปลือกบางรูปทรงกลมแบบหลายชิ้นส่วนสามารถเขียนได้โดยใช้สมการแปรผันและจัดในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการคำนวณแบบไม่เป็นเชิงเส้น ผลลัพธ์เชิงตัวเลขของค่าการเสียรูปมากของโครงสร้างเปลือกบางรูปทรงกลมแบบหลายชิ้นส่วนสามารถคำนวณได้ โดยใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์แบบไม่เป็นเชิงเส้นสำหรับชิ้นส่วนคานแบบโพลิโนเมียลอันดับห้าโดยทำการแบ่งเป็นชิ้นส่วนย่อย ๆ ในระบบพิกัดเชิงขั้วแบบทรงกลมร่วมกับกระบวนการทำซ้ำ เนื่องจากความแตกต่างของค่าความโค้งหลักของโครงสร้างเปลือกบางรูปทรงกลมแบบหลายชิ้นส่วน ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงใช้เทคนิคตัวคูณแบบลากรองจ์ในการป้องกันปัญหาความไม่ต่อเนื่องที่เกิดขึ้นผลการศึกษาพบว่า ค่าการเสียรูปที่ได้จากงานวิจัยในครั้งนี้มีความถูกต้อง เมื่อเปรียบเทียบกับผลที่ได้จากโปรแกรมไฟไนต์เอลิเมนต์สำเร็จรูป ผลการวิเคราะห์เชิงตัวเลขที่แสดงค่าการเสียรูปมากของโครงสร้างเปลือกบางรูปทรงกลมแบบหลายชิ้นส่วนภายใต้การแปรเปลี่ยนแรงดันภายใน อัตราส่วนความยาวรัศมี มุมรองรับส่วนโค้ง และความหนาของโครงสร้างเปลือกบางได้ถูกนำเสนอในบทความนี้ ผลการศึกษาพบว่า ค่าการเสียรูปมากของโครงสร้างเปลือกบางรูปทรงกลมแบบหลายชิ้นส่วนรับแรงดันภายในเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่ตำแหน่งจุดเชื่อมต่อของโครงสร้าง แบบจำลองสำหรับการวิเคราะห์ที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับงานโครงสร้างเปลือกบางประเภทอื่น ๆ ที่มีรูปแบบซับซ้อน และสามารถคำนวณหาอัตราส่วนพื้นที่ผิวต่อความจุของโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพสูงสุดได้</p> วีรพันธุ์ เจียมมีปรีชา เสริมศักดิ์ ติยะแสงทอง คมกร ไชยเดชาธร สุกัญญา เชยโพธิ์ กรกต เลิศชัยพงศ์ สิทธิศักดิ์ แจ่มนาม Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-30 2024-10-30 35 1 ID. 251 การวิเคราะห์พฤติกรรมของกำแพงกันดินเสาเข็มดินซีเมนต์ที่ปรับปรุงเสถียรภาพก้นบ่อด้วยกำแพงขวางโดยวิธีไฟไนท์อีลิเมนต์สามมิติ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/259503 <p>บทความนี้นำเสนองานวิจัยที่ศึกษาพฤติกรรมของกำแพงกันดินเสาเข็มดินซีเมนต์ (Soil Cement Column Wall; SCCW) ที่ไม่ใช้ค้ำยันในชั้นดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ และใช้การปรับปรุงเสถียรภาพของบ่อขุดเพื่อลดการเคลื่อนตัวของดินด้วยกำแพงขวาง (Cross Wall) และครีบยัน (Buttress) ในงานวิจัยได้ตรวจวัดการเคลื่อนตัวของ SCCW และการทรุดตัวที่ผิวดินในระหว่างการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดเพื่อใช้เป็นค่าเปรียบเทียบกับการจำลองด้วยวิธีไฟไนท์อีลิเมนต์ นอกจากนี้งานวิจัยนี้ได้ใช้ Interface element เพื่อจำลองความไม่สมบูรณ์ของรอยต่อระหว่าง SCC ผลการวิจัยบ่งชี้ว่า SCCW ที่ใช้ Cross wall และ Buttress มีเสถียรภาพเพิ่มขึ้นและมีการเคลื่อนตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลเชิงประสบการณ์ ผลการจำลองด้วยวิธีไฟไนท์อีลิเมนต์แสดงให้เห็นว่าค่า Young’s Modulus ของดินเหนียวอ่อนเท่ากับ 500 Su ให้ผลการวิเคราะห์การเคลื่อนตัวที่ใกล้เคียงกับผลการตรวจวัด ซึ่งสอดคล้องกับค่า Shear Modulus ที่ได้จากผลทดสอบของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ ผลงานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการออกแบบ SCCW ที่ปรับปรุงเสถียรภาพของบ่อขุดด้วย Cross wall และ Buttress</p> บุญญฤทธิ์ บุญเกิด พรพจน์ ตันเส็ง Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-30 2024-10-30 35 1 ID. 251 066803 การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์น้ำท่า อัตราการไหลสูงสุด และพื้นที่น้ำท่วม ในลุ่มน้ำลำพระเพลิงด้วยแบบจำลอง MIKE FLOOD https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/259506 <p>ในสภาวะที่ฝนตกหนักเป็นเวลานานทำให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในลุ่มน้ำลำพระเพลิงเช่นใน พ.ศ. 2553 และ พ.ศ. 2563 ซึ่งเกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจ และการอยู่อาศัยของประชากรในพื้นที่อย่างมาก การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์น้ำท่า 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการไหลสูงสุดและพื้นที่รับน้ำ และ 3) จัดทำแผนที่น้ำท่วมสูงสุดในลุ่มน้ำลำพระเพลิงด้วยแบบจำลอง MIKE FLOOD จากผลการศึกษาพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์น้ำท่าเฉลี่ยทั้งลุ่มน้ำลำพระเพลิงมีค่าเท่ากับ 0.286 และความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการไหลสูงสุด (QF) และพื้นที่รับน้ำ (A) คือ QF = 1.9099A0.7944 และความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ย (Ravg) กับปริมาณน้ำฝนรายปีเฉลี่ย (Pavg) คือ Ravg = 0.0012 Pavg1.935 สำหรับพื้นที่น้ำท่วมสูงสุดมีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย 19 ตำบล 3 อำเภอ โดยครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในอำเภอปักธงชัย และพื้นที่บางส่วนในอำเภอโชคชัยและอำเภอสูงเนิน ทั้งนี้ พื้นที่น้ำท่วมสูงสุดเท่ากับ 153.056 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 6.59 ของพื้นที่ลุ่มน้ำลำพระเพลิง เมื่อนำแผนที่น้ำท่วมที่ได้จากแบบจำลอง MIKE FLOOD มาตรวจสอบความน่าเชื่อถือด้วยวิธี Confusion Matrix กับภาพถ่ายดาวเทียมแสดงแผนที่น้ำท่วมของ GISTDA พบว่า มีความน่าเชื่อถือของแบบจำลองเท่ากับ 82.9 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้แบบจำลอง MIKE FLOOD สามารถนำมาใช้จำลองแผนพื้นที่น้ำท่วมได้อย่างดีทั้งในช่วงเวลาที่มีภาพถ่ายดาวเทียม และไม่มีภาพถ่ายดาวเทียมแสดงแผนที่น้ำท่วมจาก GISTDA และสามารถนำผลการศึกษานี้ไปประยุกต์ใช้กับกรณีศึกษาพื้นที่อื่น ๆ ได้ต่อไป</p> ธนภัทร อุทารสวัสดิ์ ปรียาพร โกษา Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-30 2024-10-30 35 1 ID. 251 076751 การศึกษาปัจจัยของการตัดด้วยน้ำแรงดันสูงที่ส่งผลต่อคุณภาพการตัดแผ่นปูพื้นยางพารา https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/259535 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยของการตัดด้วยน้ำแรงดันสูงที่ส่งผลต่อคุณภาพการตัดแผ่นปูพื้นยางพารา เพื่อพัฒนาเป็นแผ่นจิกซอว์ยางพารา โดยพิจารณาปัจจัยตัวแปรการตัด ประกอบด้วย อัตราการไหลของผงตัด ระยะห่างระหว่างหัวตัดกับชิ้นงาน แรงดันน้ำ และความเร็วในการตัด ที่ส่งผลต่อคุณภาพการตัดชิ้นงาน คือ ความหยาบผิวของรอยตัด ความกว้างของรอยตัด และมุมเอียงของรอยตัด โดยใช้การออกแบบการทดลองแฟกทอเรียลเต็มรูปที่ 3 ระดับ เพื่อหาเงื่อนไขการตัดที่เหมาะสมต่อคุณภาพชิ้นงาน เมื่อทำการวิเคราะห์ผลการทดลองทางสถิติโดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 พบว่า ปัจจัยอัตราการไหลของผงตัด ระยะห่างระหว่างหัวตัดกับชิ้นงาน แรงดันน้ำ และความเร็วในการตัดมีผลต่อคุณภาพการตัด เงื่อนไขการตัดแผ่นจิกซอว์ยางพารา ขนาดความหนา 7 มิลลิเมตร และความแข็ง (Shore A) 50–90 ที่เหมาะสม คือ อัตราการไหลของผงตัด 350 กรัมต่อนาที ระยะห่างระหว่างหัวตัดกับชิ้นงาน 2 มิลลิเมตร แรงดันน้ำ 300 เมกะปาสคาล และความเร็วในการตัด 2,000 มิลลิเมตรต่อนาที เมื่อนำปัจจัยที่เหมาะสมดังกล่าว ไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการตัดจริงสามารถตัดชิ้นงานได้จริงโดยใช้เวลาตัดน้อยเพียงประมาณ 3 นาทีต่อชิ้นงานขนาด 10×10 เซนติเมตร คุณภาพรอยตัดความหยาบผิวเฉลี่ยด้านบนและด้านล่างอยู่ที่ 3.15 ไมโครเมตร และ 3.37 ไมโครเมตร ความกว้างเฉลี่ยด้านบนและด้านล่างอยู่ที่ 1.35 มิลลิเมตร และ 1.28 มิลลิเมตร และมุมเอียงรอยตัดเฉลี่ยอยู่ที่ 1.83 องศา ตามลำดับ ซึ่งผลการวิจัยเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มมูลค่าแผ่นปูพื้นยางพาราเป็นแผ่นจิกซอว์ยางพารา โดยกระบวนการตัดหลังการขึ้นรูป</p> พรเทพ เกิดวั่น กุลภัสร์ ทองแก้ว ชุกรี แดสา สุภาพรรณ ไชยประพัทธ์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-31 2024-10-31 35 1 ID. 251 086802 การศึกษาสมบัติทางเคมีกายภาพของลิกนินที่ได้จากการแยกลำดับส่วนด้วยสารละลายเอทานอลผสมน้ำ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/259550 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาคุณสมบัติของลิกนินจากการแยกลำดับส่วนด้วยตัวทำละลายเอทานอลต่อน้ำ ที่ความเข้มข้นต่างกัน งานวิจัยส่วนที่ 1 แยกตะกอนของลิกนิน (Ln) ออกจากน้ำดำซึ่งเป็นของเสียจากโรงงานผลิตน้ำตาลด้วยแก๊ส CO2 แล้วล้างตะกอนด้วยกรดซัลฟิวริก จากนั้นวิเคราะห์ปริมาณและสมบัติของตะกอนทั้งสองแบบ ส่วนที่ 2 ศึกษาการสกัด Ln เกรดต่างๆ ออกจากตะกอนสะอาดด้วยการแยกแบบลำดับส่วนโดยใช้เอทานอล (EtOH) ผสมน้ำที่อัตราส่วนต่างๆ จากนั้นวิเคราะห์สมบัติของ Ln เกรดต่างๆ ที่แยกได้ดังนี้ โครงสร้างและสมบัติทางเคมีโดย FTIR, สมบัติทางความร้อนโดย TGA/DTG, สัดส่วนธาตุ C, H, N และ S, ปริมาณหมู่ไฮดรอกซิลและคาร์บอกซีลิกโดยการไตเตรท น้ำหนักโมเลกุล Ln โดย GPC, ปริมาณ Acid soluble lignin โดยสเปกโตรสโคปี UV-Vis และปริมาณ Na โดย AAS ผลการวิเคราะห์โลหะปนเปื้อนใน Ln ทุกเกรดด้วย AAS ไม่พบ Na ตกค้าง ผลวิเคราะห์ FTIR พบหมู่ฟังก์ชัน phenolic และ Hydroxyl, Aromatic Structure, Syringyl และ Guaiacyl Substructures ใน Ln ทุกเกรด ผลของ GPC พบว่า ตะกอนสะอาดมีขนาดโมเลกุลเฉลี่ยเชิงน้ำหนัก (Mw) ของ Ln ที่ 3,770 ดัลตัน ส่วน Mw เฉลี่ยของ Ln ที่ละลายออกครั้งแรกด้วย EtOH บริสุทธิ์ คือ 2,390 ดัลตัน แต่เมื่อผสมน้ำซึ่งทำหน้าที่ Cosolvent จำนวน 20 องศาเซลเซียส ในครั้งสองสามารถละลาย Ln เพิ่มอีกจนมี Mw เฉลี่ยสูงขึ้นถึง 3,623 ดัลตัน แต่เมื่อเพิ่มสัดส่วน Cosolvent เป็น 40 องศาเซลเซียส ในครั้งสามพบ Cosolvent Effect เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่การกระจายของ Mw ขยายกว้างขึ้นเมื่อสัดส่วนของน้ำใน EtOH เพิ่มขึ้น</p> ฐิตาภรณ์ ชะนะ พิลาสินี ลิ้มสุวรรณ วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล ดวงพร เยี่ยมสวัสดิ์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-31 2024-10-31 35 1 ID. 251 096730 การสร้างแบบจำลองสถานการณ์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้างด้วยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/259554 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์สำหรับปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตคอนกรีตบล็อกในกรณีศึกษาธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้าง เนื่องจากการดำเนินการผลิตในปัจจุบันมีการใช้พนักงานทำการผลิตอยู่ทุกขั้นตอน อีกทั้งการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ส่งผลให้ไม่สามารถส่งผลิตภัณฑ์ได้ทันตามกำหนด ดังนั้นเจ้าของธุรกิจจึงมีแนวคิดในการนำเอาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยในการผลิต โดยหาแนวทางที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์ได้ถูกสร้างขึ้นโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปแฟล็กซิมร่วมกับการประยุกต์ใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมอุตสาหการ ประกอบด้วยหลักการ ECRS การวิเคราะห์ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์ผังสายธารแห่งคุณค่าของผลิตภัณฑ์ แผนภูมิกระบวนการไหล เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิต และทำการทดสอบความถูกต้องของแบบจำลองเปรียบเทียบกับสถานการณ์การผลิตจริง มากไปกว่านั้นการปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตที่เป็นไปได้มี 3 แนวทาง ได้แก่ 1) การใช้เครื่องพันพาเลทระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ 2) การใช้เครื่องพันพาเลทระบบกึ่งอัตโนมัติ และ 3) การจัดวางเครื่องจักรในกระบวนการเรียงและกระบวนการพันใหม่ ผลจากการเปรียบเทียบทุกสถานการณ์ แสดงให้เห็นว่า แนวทางที่ 3 เป็นการลงทุนซื้อเครื่องพันพาเลทอัตโนมัติร่วมกับการจัดผังโรงงานใหม่จะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตคอนกรีตบล็อกได้จาก 37 พาเลทต่อวัน เป็น 40 พาเลทต่อวัน ผลิตภาพของกระบวนการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 83.95 เปอร์เซ็นต์ เป็น 90.76 เปอร์เซ็นต์ และมีระยะเวลาคืนทุน เท่ากับ 0.72 ปี</p> ศิวศิษฏ์ ปิจมิตร ปริดา จิ๋วปัญญา ภาคภูมิ ใจชมภู พินิจ เนื่องภิรมย์ กิจจา ไชยทนุ สุวรรณี ศรียาบ วีรชัย ใจคำปัน Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-31 2024-10-31 35 1 ID. 251 106819 การสั่นอิสระด้วยแอมพลิจูดขนาดใหญ่ของโครงสร้างโดมรูปทรงกลมที่มีความหนาแปรเปลี่ยน https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/259603 <p>บทความนี้ นำเสนอการวิเคราะห์การสั่นอิสระด้วยแอมพลิจูดขนาดใหญ่ของโครงสร้างโดมรูปทรงกลมที่มีความหนาแปรเปลี่ยน ฟังก์ชันความหนาของโครงสร้างโดมเขียนในเทอมของค่าพารามิเตอร์พื้นผิวพลังงานความเครียด เนื่องจากเมมเบรนและโมเมนต์ดัดถูกนำมาพิจารณาในสมการแปรผันการเขียนฟังก์ชันพลังงานของระบบโครงสร้างโดมรูปทรงกลมอาศัยหลักการของงานเสมือนในเทอมของค่าการเสียรูปของโครงสร้างเปลือกบาง การคำนวณหาค่าความถี่ธรรมชาติและโหมดการสั่นอิสระด้วยแอมพลิจูดขนาดใหญ่ของโครงสร้างโดมรูปทรงกลมที่มีความหนาแปรเปลี่ยน ใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์แบบไม่เป็นเชิงเส้นสำหรับชิ้นส่วนคานแบบ C2 ร่วมกับกระบวนการทำซ้ำโดยตรงในการหาผลลัพธ์เชิงตัวเลข ผลการวิเคราะห์เชิงตัวเลขพบว่า ค่าความถี่ธรรมชาติกับโหมดการสั่นอิสระมีค่าใกล้กับงานวิจัยที่ผ่านมาในอดีต สำหรับกรณีที่โครงสร้างโดมมีความหนาคงที่ตลอดเส้นโค้งในแนวพิกัดเมอร์เดียน ผลของการแปรเปลี่ยนค่าอัตราส่วนความหนา มุมรองรับส่วนโค้ง และมอดุลัสยืดหยุ่นที่มีต่อค่าความถี่ธรรมชาติ ภายใต้การสั่นอิสระด้วยแอมพลิจูดขนาดใหญ่ได้ถูกนำเสนอในบทความนี้</p> คมกร ไชยเดชาธร ชาญชัย เงาะปก วีรพันธุ์ เจียมมีปรีขา กรกต เลิศชัยพงศ์ วาริน ชุบขุนทด สิทธิศักดิ์ แจ่มนาม Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-04 2024-11-04 35 1 ID. 251 116811 เครื่องคัดเกรดไข่ไก่และคัดไข่ไก่แฝดแบบกึ่งอัตโนมัติ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/259658 <p>งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเครื่องคัดเกรดไข่ไก่และคัดไข่ไก่แฝดแบบกึ่งอัตโนมัติ เพื่อให้สามารถทำงานแบบต่อเนื่องบนสายพานลำเลียงได้ โดยสามารถคัดเกรดไข่ไก่ได้ตั้งแต่เบอร์ 0–3 และสามารถแยกไข่ไก่เบอร์ 0 แบบแฝดกับแบบปกติได้ งานวิจัยนี้ได้ดำเนินงานจากการศึกษากระบวนการคัดเกรดไข่ไก่และไข่ไก่แฝด ทำการกำหนดสมบัติของเครื่องคัดเกรดไข่ไก่และทำการออกแบบ เมื่อได้แบบแล้วจึงทำการสร้างเครื่องคัดเกรดไข่ไก่และคัดไข่ไก่แฝดแบบกึ่งอัตโนมัติ ควบคู่กับการพัฒนาโปรแกรมการคัดเกรดไข่ไก่และไข่ไก่แฝด สุดท้ายคือการทดสอบการทำงานของเครื่องและการประมวลผลแต่ก่อนจะเข้าทำการประมวลผลได้สร้างระบบทำความสะอาดเปลือกไข่ เพื่อให้ได้ไข่ไก่ที่เหมาะสมก่อนที่จะไปทำการชั่งน้ำหนักและวัดขนาดด้วยกล้อง ค่าน้ำหนักจะเป็นเกณฑ์ในการคัดเกรดไข่ไก่ในแต่ละเบอร์ตั้งแต่เบอร์ 0–3 ในขณะที่น้ำหนักและรูปร่างในที่นี้ หมายถึง อัตราความยาวแกนหลักกับแกนรองของไข่ไก่นำมาประมวลผลด้วยตรรกศาสตร์คลุมเครือเพื่อพิจารณาความเป็นไข่ไก่แฝด ผลการทดสอบเครื่องพบว่า เครื่องสามารถลำเลียงไข่ไก่ทุก ๆ เบอร์ไปทำความสะอาดและเป่าแห้งได้ โดยน้ำหนักที่ชั่งได้บนสายพานลำเลียงผ่านโหลดเซลล์มีความผิดพลาดเพียง ±0.1 กรัม เมื่อเทียบกับตาชั่งยา ในขณะที่ค่าอัตราความยาวแกนหลักกับแกนรองของไข่ไก่ ที่ได้จากการประมวลผลด้วยภาพมีความถูกต้องแม่นยำเมื่อเทียบกับการวัดด้วยเวอร์เนียร์ ในส่วนของการประมวลผลพบว่า เครื่องสามารถคัดเกรดไข่ไก่ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ 100 เปอร์เซ็นต์ ทุกเบอร์ ในขณะที่การคัดแยกไข่ไก่แฝดยังคงมีความผิดพลาดอยู่บ้างคือ 1 ใน 24 ฟอง</p> ณัฐนันต์ ทองสาย ธนสาร อินทรกำธรชัย รามิล เกศวรกุล Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-05 2024-11-05 35 1 ID. 251 126776 ผลกระทบของความเค้นหลักกลางต่อกำลังอัดสองแกนของหิน https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/259659 <p>ในการศึกษานี้ ได้นำตัวอย่างหินทรงลูกบาศก์จำนวนเก้าชนิดมาทดสอบกำลังรับแรงอัดแกนเดียวและสองแกนโดยใช้โครงกดตัวอย่างหินสองแกน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาผลกระทบของความเค้นหลักกลาง&nbsp;(σ2) ต่อความแข็งแรงของหิน ผลการวิจัยระบุว่า&nbsp;σ2&nbsp;ส่งผลต่อความเค้นหลักที่จุดแตกของหินทุกชนิด หินมีความแข็งแรงสูงสุดเมื่อค่าโหลดพารามิเตอร์ (Lode,&nbsp;<em>L</em>) มีค่าประมาณ –0.5 และหากโหลดพารามิเตอร์มีค่าต่ำและสูงกว่านี้จะส่งผลให้ความเค้นหลักที่จุดแตกมีค่าลดลง การทดสอบภายใต้สภาวะความเค้นหลักกลาง&nbsp;(σ2) สูง พบว่า หินมีการแตกแบบแยกจากความเค้นดึงในหลายแนวขนานกับระนาบของความเค้นหลักสูงสุดและความเค้นหลักกลาง (σ1 – σ2) ซึ่งแสดงอย่างเด่นชัดในหินแข็ง และการทดสอบภายใต้สภาวะ&nbsp;σ2 ต่ำหินมีการแตกแบบแยกจากทั้งแรงดึงและแรงเฉือน เกณฑ์การแตกของ Modified Wiebols and Cook ใช้อธิบายกำลังรับแรงอัดสองแกนภายใต้ค่าโหลดพารามิเตอร์ทั้งหมด ค่าสัมประสิทธิ์ความยืดหยุ่นและอัตราส่วนปัวซองของหินทุกชนิดไม่ขึ้นกับความเค้นหลักกลาง และค่าปัจจัยความปลอดภัย (<em>FS</em>) จากกำลังรับแรงอัดสองแกนมีค่าสูงกว่ากำลังรับแรงอัดแกนเดียว และการเพิ่มค่าโหลดพารามิเตอร์มีความสัมพันธ์กับความเค้นหลักกลาง ส่งผลให้ค่าปัจจัยความปลอดภัยสูงขึ้น</p> นงนุชมาศ ปานพวงแก้ว ลักษิกา สิทธิมงคล ธนิษฐา ทองประภา กิตติเทพ เฟื่องขจร Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-05 2024-11-05 35 1 ID. 251 136778 อิทธิพลของชนิดของถ่านและชนิดของวัสดุที่ใช้ทำรังผึ้งต่อประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/259660 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลชนิดของถ่านไม้และชนิดของวัสดุที่ใช้ทำรังผึ้งต่อประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง ในการศึกษาวิจัยนี้ทำการหาค่าความร้อนของถ่านไม้จำนวน 10 ชนิด คือ ถ่านไม้มะม่วง ถ่านไม้สะแกนา ถ่านไม้กระบก ถ่านไม้ยางนา ถ่านไม้มะขาม ถ่านไม้กระถิน ถ่านไม้ประดู่ ถ่านไม้ยูคาลิปตัส ถ่านไม้ไผ่ และถ่านไม้ยางพารา โดยใช้เครื่องบอมบ์แคลอริมิเตอร์ IKA C2000 ในส่วนของรังผึ้งเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูงที่มีการเปลี่ยนแปลงวัสดุ คือ รังผึ้งที่ทำจากดินเหนียว (รังผึ้งดั้งเดิม) และรังผึ้งที่ทำจากเหล็กหล่อ โดยรังผึ้งที่ทำจากเหล็กหล่อที่มีค่าการนำความร้อน 71–80.4 วัตต์ต่อเมตรเคลวิน ซึ่งจำนวนรูรังผึ้งเท่ากับ 44 รู เส้นผ่านศูนย์กลางของรูรังผึ้งด้านบนและด้านล่าง เท่ากับ 13 และ 14 มิลลิเมตร ตามลำดับ และรังผึ้งมีความหนา 30 มิลลิเมตร ทำการทดสอบด้วยวิธีต้มน้ำเดือดที่แวดล้อมเดียวกัน จากการศึกษาพบว่า ถ่านไม้กระถินมีค่าความร้อนสูงสุด เท่ากับ 31.157 กิโลจูลต่อกิโลกรัม เตาหุงต้มประสิทธิภาพสูงที่ใช้เหล็กหล่อทำรังผึ้งและใช้ถ่านไม้กระถินเป็นเชื้อเพลิง มีประสิทธิภาพเชิงความร้อนสูงสุดเท่ากับ 43.97 เปอร์เซ็นต์ และมีเปอร์เซ็นต์การประหยัดพลังงานสูงขึ้น 4.64 เปอร์เซ็นต์ จากการวิเคราะห์พบว่า ชนิดของถ่านไม้และชนิดของวัสดุที่ใช้ทำรังผึ้งมีผลต่อประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง</p> มานะ วิชางาม พัฒนพงษ์ แก้วโพธิ์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-05 2024-11-05 35 1 ID. 251 146583 อิทธิพลร่วมระหว่างเส้นใยกับตาข่ายเสริมกำลังต่อสมบัติกำลังและการเสียรูปของทรายในการทดสอบแรงอัดสามแกน https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/259665 <p>โครงสร้างทางวิศวกรรมเทคนิคธรณีมักใช้ทรายเป็นวัสดุถมในหลายกรณี ทรายที่ใช้อาจมีความสามารถในการรับน้ำหนักที่ไม่เพียงพอหรืออาจมีการเสียรูปที่มากเกินไปจึงจำเป็นต้องทำการเสริมกำลังเสียก่อน การเสริมกำลังที่นิยมใช้มีด้วยกัน 2 รูปแบบ กล่าวคือ 1) การผสมทรายกับเส้นใย และ 2) การเสริมกำลังด้วยตาข่ายเสริมกำลังพอลิเมอร์เป็นชั้น ๆ งานวิจัยในอดีตส่วนใหญ่สนใจศึกษาอิทธิพลของการผสมทรายกับเส้นใย และอิทธิพลของการใช้ตาข่ายเสริมกำลังแยกกรณีกัน งานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาสมบัติกำลังและการเสียรูปของทรายที่ผสมกับเส้นใยและเสริมกำลังด้วยตาข่ายเสริมกำลังเข้าด้วยกันโดยทำการทดสอบแรงอัดสามแกนแบบระบายน้ำ ตัวอย่างทดสอบถูกทำให้อิ่มตัวด้วยน้ำด้วยระบบแรงดันสุญญากาศสองชั้นและใช้การอัดตัวอย่างจากภายในตัวอย่างด้วยแรงสุญญากาศบางส่วนเท่ากับ 30 60 และ 85 กิโลปาสคาล ตัวอย่างทดสอบจำแนกได้เป็น 4 ชนิด ได้แก่ 1) ทรายไม่เสริมกำลัง 2) ทรายเสริมกำลังด้วยเส้นใย 3) ทรายเสริมกำลังด้วยตาข่ายเสริมกำลัง และ 4) ทรายเสริมกำลังด้วยเส้นใยและตาข่ายเสริมกำลัง อัตราส่วนผสมเส้นใยที่ใช้เท่ากับร้อยละ 0 ถึง 1 โดยมวลแห้ง การเสริมกำลังด้วยตาข่ายเสริมกำลังใช้ตาข่ายจำนวน 3 ชั้น ผลการทดสอบนำมาวิเคราะห์ค่ากำลังรับแรงอัดสูงสุด ค่ามุมเสียดทานภายในทราย ค่าโมดูลัสซีแคนท์ (E’50) และค่าอัตราส่วนปัวซองเฉลี่ย (ν50) แล้วทำการเปรียบเทียบสมบัติกำลังและการเสียรูปจากการศึกษาพบว่า การผสมทรายกับเส้นใยจะทำให้ 1) ตัวอย่างเกิดการขยายตัวด้านข้างมากขึ้นเมื่อรับแรงอัดในแนวดิ่ง และ 2) ความเชื่อมแน่นและมุมเสียดทานภายในเพิ่มขึ้น ดังนั้นเมื่อนำตาข่ายเสริมกำลังมาใช้ร่วมกันจึงทำให้ 1) เกิดแรงในตาข่ายเสริมกำลังที่มากขึ้นซึ่งจะทำให้เกิดแรงโอบรัดภายในมากขึ้น และ 2) มุมเสียดทานภายในที่มากขึ้นจะทำให้กำลังรับแรงอัดของทรายเสริมกำลังด้วยตาข่ายเสริมกำลังมีค่ามากขึ้น ดังนั้นการเสริมกำลังทรายด้วยการผสมกับเส้นใยร่วมกันการใช้ตาข่ายเสริมกำลังสามารถปรับปรุงสมบัติกำลังและการเสียรูปได้ดีกว่าการใช้การเสริมกำลังด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งเพียงอย่างเดียว</p> ปัญจพาณ์นนท์ ชัยวาณิชยา วรัช ก้องกิจกุล Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-06 2024-11-06 35 1 ID. 251 156824 ปกวารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/259685 <p>-</p> ปกวารสาร มจพ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-07 2024-11-07 35 1