https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/issue/feed
วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
2025-07-15T10:39:45+07:00
Assoc. Prof. Dr. Montree Siripruchayanun
journal@op.kmutnb.ac.th
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (The Journal of King Mongkut's University of Technology North Bangkok)</strong> เป็นวารสารที่เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ อุตสาหกรรมเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศ สถาปัตยกรรม และวิชาการขั้นสูงที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและอุตสาหกรรม ผลงานวิชาการที่รับตีพิมพ์เป็นบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความบรรณาธิการปริทัศน์ที่เขียนด้วยภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ<br />วารสารพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ตีพิมพ์ทั้งรูปเล่มและออนไลน์ โดยกำหนดจัดทำปีละ 4 ฉบับ คือ</p> <ul> <li>ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม–มีนาคม</li> <li>ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน–มิถุนายน</li> <li>ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม–กันยายน</li> <li>ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม–ธันวาคม</li> </ul> <p>วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นวารสารที่จัดอยู่ในฐานข้อมูลดังนี้</p> <ul> <li>เป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)</li> <li>เป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1 ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี</li> <li>สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ยอมรับให้เป็นวารสารระดับชาติและเป็นวารสารสำหรับการพิจารณาผลงานตีพิมพ์ เรื่องที่ 2 ของนักศึกษาทุน คปก. ในหลักสูตรกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนสำเร็จการศึกษาปริญญาเอก</li> </ul> <p><strong>สถิติการพิจารณาอ้างอิงจากปี 2567</strong></p> <p>จำนวนวันเฉลี่ยในการพิจารณาเบื้องต้น : 9 วัน</p> <p>จำนวนวันเฉลี่ยในการรับพิจารณาตอบรับตีพิมพ์: 88 วัน</p> <p>อัตราการยอมรับตีพิมพ์ในปี 2567 : 58%</p>
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/262777
คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับบทความวารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
2025-06-26T19:45:38+07:00
คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับบทความ วิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
่่journal@op.kmutnb.ac.th
<p>คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับบทความวารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ</p>
2025-06-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/255172
การพัฒนารูปแบบศักยภาพผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำของโรงงานอุตสาหกรรมประเภทอาหารในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกในยุคดิจิทัล
2024-01-08T15:52:39+07:00
ประสพโชค ทองประสิทธิ์
pasopchockt@kmutnb.ac.th
ธีรวุฒิ บุณยโสภณ
pasopchockt@kmutnb.ac.th
มนัส ชูผกา
pasopchockt@kmutnb.ac.th
ธีรวัช บุณยโสภณ
pasopchockt@kmutnb.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนารูปแบบศักยภาพผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำของโรงงานอุตสาหกรรมประเภทอาหารในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกในยุคดิจิทัล 2) เพื่อพัฒนารูปแบบศักยภาพผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำของโรงงานอุตสาหกรรมประเภทอาหารในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกในยุคดิจิทัล และ 3) เพื่อจัดทำคู่มือแนวทางการพัฒนารูปแบบศักยภาพผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำของโรงงานอุตสาหกรรมประเภทอาหารในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกในยุคดิจิทัล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้บริหารในกลุ่มโรงงานประเภทที่ 10 (การผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร) ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมดูแลระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา จำนวน 10 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำของโรงงานประเภทที่ 10 (การผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร) ในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง จำนวนทั้งสิ้น 232 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง การบันทึกข้อมูลการประชุมสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการประเมินความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ทางสถิติโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบศักยภาพผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำประกอบด้วย 3 ด้าน 11 องค์ประกอบหลัก มีดังนี้ 1) ด้านความรู้ มี 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การควบคุม ตรวจสอบ และประเมินระบบบำบัดมลพิษน้ำ 2) กฎหมายและการบริหารจัดการมลพิษน้ำ 3) การสื่อสารและการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีดิจิทัล และ 4) เครื่องจักร อุปกรณ์ และการซ่อมบำรุงระบบบำบัดมลพิษน้ำ 2) ด้านทักษะ มี 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การบริหารจัดการระบบบำบัดมลพิษน้ำ 2) การปฏิบัติงานและควบคุมความปลอดภัยระบบบำบัดมลพิษน้ำ 3) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ 4) การใช้ภาษาต่างประเทศ และ 3) ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มี 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ความเป็นผู้นำ 2) ความสำเร็จในงาน และ 3) ความมีมนุษยสัมพันธ์ โดยมีผลการประเมินรูปแบบจากการจัดประชุมสนทนากลุ่มย่อย โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 12 คน มีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นว่ารูปแบบศักยภาพผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำมีความเหมาะสม และคู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 คน มีความคิดเห็นสอดคล้องกันทุกคนโดยเห็นว่าคู่มือมีความเหมาะสม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง</p>
2024-10-16T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/254718
การปรับปรุงสมบัติเบสของแคลเซียมออกไซด์จากขยะเปลือกหอยนางรมเพื่อเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการผลิตไบโอดีเซล
2024-02-12T12:52:37+07:00
มานิดา ทองรุณ
cholada.k@ku.th
ชลดา โกมินทรชาติ
cholada.k@ku.th
<p>สมบัติความเป็นเบสของตัวเร่งปฏิกิริยาแคลเซียมออกไซด์ (CaO) ที่ได้จากการเผาเปลือกหอยนางรม ได้ถูกปรับปรุงโดยการชุบเปียกด้วยโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) ในการเร่งปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันของน้ำมันพืชใช้แล้ว (Waste Cooking Oil; WCO) กับเอทานอล (Ethanol; EtOH) เพื่อผลิตไบโอดีเซล โดยศึกษาพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้อง คือ อัตราส่วนโดยมวลของ CaO ต่อ KOH (1 : 1 ถึง 1 : 4) ในขั้นตอนการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาและการทำปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน ได้แก่ ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา อัตราส่วนโดยโมลของ WCO ต่อ EtOH อุณหภูมิ และเวลาในการทำปฏิกิริยา ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า อัตราส่วน CaO/KOH 4.0% โดยน้ำหนัก ซึ่งเตรียมจากอัตราส่วนโดยมวล 1 : 2 ที่อัตราส่วนโดยโมลเป็น 1 : 10 ของ WCO : EtOH ณ อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ใน 240 นาที ให้ผลผลิตไบโอดีเซลร้อยละ 100 จากการตรวจสอบเอกลักษณ์ทางเคมีและกายภาพของตัวเร่งปฏิกิริยาด้วย เทคนิคอินฟราเรดสเปกโทรสโกปีการแปลงฟูเรียร์ (Fourier Transform Infrared Spectroscopy; FTIR) เทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ (X-ray Diffraction; XRD) การวิเคราะห์ภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Microscopy; SEM) และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักและสมบัติทางความร้อน (Thermogravimetric Analysis; TGA) พบว่า บริเวณรูพรุนของพื้นผิว CaO ที่ชุบด้วยไฮดรอกไซด์ไอออน (OH–) และโพแทสเซียมไอออน (K+) มีขนาดขยาย เป็นการเพิ่มบริเวณทำปฏิกิริยา ที่มีสมบัติความเป็นเบสเพิ่มขึ้นและเร่งอัตราการเกิดปฏิกิริยาของการสังเคราะห์ไบโอดีเซล ซึ่งสมบัติของเชื้อเพลิงไบโอดีเซลที่ผลิตในการศึกษาวิจัยนี้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของกรมธุรกิจพลังงานแห่งประเทศไทย</p>
2024-10-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/255026
การเปรียบเทียบตัวแบบการแจกแจงค่าสุดขีดนัยทั่วไปของปริมาณน้ำฝนในจังหวัดภาคตะวันออกของประเทศไทย
2024-03-25T16:23:56+07:00
มินตรา ชิณโสม
65056073@kmitl.ac.th
อัชฌา อระวีพร
autcha.ar@kmitl.ac.th
<p>ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบตัวแบบการแจกแจงค่าสุดขีดนัยทั่วไป ที่เหมาะสมกับข้อมูลปริมาณน้ำฝนสูงสุดรายปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ถึง 2565 เป็นระยะเวลา 30 ปี บริเวณภาคตะวันออกของประเทศไทย ประกอบด้วยจังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว และตราด ในการศึกษานี้พิจารณาเปรียบเทียบการแจกแจงค่าสุดขีดนัยทั่วไป เมื่อกระบวนการคงที่และไม่คงที่ซึ่งมีการกำหนดให้พารามิเตอร์เปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับเวลาที่แตกต่างกัน 8 ตัวแบบ โดยตัวแบบที่เหมาะสมจะพิจารณาจากการทดสอบภาวะสารูปสนิทดี และเกณฑ์การคัดเลือกตัวแบบโดยข้อสนเทศของอาไคเคะ ในการประมาณค่าพารามิเตอร์จะใช้วิธีภาวะน่าจะเป็นสูงสุด นอกจากนี้ยังมีการศึกษาค่าประมาณระดับการเกิดซ้ำของปริมาณน้ำฝน ในรอบปีการเกิดซ้ำ 2 5 10 20 และ 100 ปี ผลการศึกษาพบว่า มี 2 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี และปราจีนบุรี เหมาะสมกับการแจกแจงฟรีเซทและมี 4 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง สระแก้ว และตราด เหมาะสมกับการแจกแจงกัมเบล สำหรับจันทบุรีและตราด เหมาะสมกับตัวแบบภายใต้กระบวนการคงที่ ส่วนชลบุรี ปราจีนบุรี ระยอง และสระแก้ว เหมาะสมกับตัวแบบภายใต้กระบวนการไม่คงที่ และเมื่อพิจารณาระดับการเกิดซ้ำของปริมาณน้ำฝนพบว่า จังหวัดตราดและจันทบุรีมีระดับการเกิดซ้ำสูงกว่าจังหวัดอื่น โดยมีโอกาสเกิดปริมาณน้ำฝนสูงสุดมากที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทั้งสองจังหวัดมีแนวโน้มในการเกิดอุทกภัยรุนแรงจึงควรให้ความสำคัญในการป้องกันปัญหาการเกิดอุทกภัยในจังหวัดจันทบุรีและตราดมากกว่าจังหวัดอื่น</p>
2024-10-18T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256104
ผลของการทำแห้งต่อสมบัติทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของสาหร่ายพวงองุ่น
2024-04-01T09:12:47+07:00
พิชญอร ไหมสุทธิสกุล
pitchaon_mai@utcc.ac.th
วิชมณี ยืนยงพุทธกาล
pitchaon_mai@utcc.ac.th
สิริมา ชินสาร
pitchaon_mai@utcc.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการทำแห้งด้วยเครื่องทำแห้งแบบถาดต่อสมบัติทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของสาหร่ายพวงองุ่นตกเกรดที่ไม่สามารถนำมาบริโภคได้แล้วโดยประกอบด้วยกิ่งหรือสโตลอน (Stolon) มากกว่าส่วนกลมสีเขียวหรือรามูลัส (Ramulus) จากจังหวัดเพชรบุรีในประเทศไทย ทำการประเมินสมบัติทางเคมีของสาหร่ายพวงองุ่นโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี แร่ธาตุ และปริมาณโลหะหนัก ประเมินฤทธิ์ทางชีวภาพโดยการประเมินด้วยวิธี DPPH การคีเลทโลหะ ความสามารถในการยับยั้งแอลฟากลูโคซิเดส รวมถึงปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดพบว่า อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการอบแห้งสาหร่ายพวงองุ่นจนมีความชื้นร้อยละ 8 (โดยน้ำหนัก) คือ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง สาหร่ายอบแห้งที่ได้มีค่า Water Activity เท่ากับ 0.1983 การอบแห้งในสภาวะดังกล่าวทำให้สาหร่ายพวงองุ่นมีปริมาณ โปรตีน ไขมัน เยื่อใย สังกะสี และเหล็กลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับสาหร่ายพวงองุ่นสด แต่มีปริมาณของคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้นจาก 50.86 กรัม/100 กรัม น้ำหนักแห้ง เป็น 55.93 กรัม/ 100 กรัมน้ำหนักแห้ง ในขณะที่ปริมาณเถ้า ทองแดง ไอโอดีน และโลหะหนักไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≥0.05) การทำแห้งส่งผลให้ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH ความสามารถในการคีเลทโลหะ ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด และความสามารถในการยับยั้งแอลฟากลูโคซิเดสของสาหร่ายพวงองุ่นลดลงแต่ยังคงมีฤทธิ์ทางชีวภาพใกล้เคียงกับชาอู่หลง งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าสาหร่ายพวงองุ่นตกเกรดอบแห้งนี้ยังคงคุณค่าทั้งสมบัติทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพ สามารถนำไปใช้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพได้</p>
2024-10-03T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256010
แผนการสุ่มตัวอย่างเพื่อการยอมรับแบบกลุ่มสำหรับการแจกแจงสุจาทา
2024-07-16T13:44:45+07:00
กนิษฐา ยิ้มนาค
kanittha_y@rmutt.ac.th
นฤดม เฟื่องสกุล
Kanittha_y@rmutt.ac.th
สิริพร ชูทอง
Kanittha_y@rmutt.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์นำเสนอการพัฒนาแผนการสุ่มตัวอย่างเพื่อการยอมรับแบบกลุ่ม โดยกำหนดให้อายุการใช้งานของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์มีการแจกแจงสุจาทาและมีการตัดปลายระยะเวลาในการทดสอบ มีการนำเสนอจำนวนกลุ่ม (g) ขนาดกลุ่ม (r) จำนวนที่ยอมรับได้ (c) และค่าลักษณะเฉพาะดำเนินการ (OC) ที่เหมาะสม ภายใต้เงื่อนไขของการกำหนดค่าความเสี่ยงของผู้บริโภค (β) เท่ากับ 0.10 0.05 0.01 ความเสี่ยงของผู้ผลิต (α) เท่ากับ 0.05 อัตราส่วนระหว่างค่าเฉลี่ยของอายุการใช้งานที่แท้จริง และค่าเฉลี่ยของอายุการใช้งานที่คาดการณ์ไว้ (µ / µ0) เท่ากับ 4 6 8 และอัตราส่วนระหว่างเวลาสิ้นสุดการทดสอบ และค่าเฉลี่ยของอายุการใช้งานที่คาดการณ์ไว้ (t0 / µ0) เท่ากับ 0.5 0.8 1.0 ตามลำดับ ค่า g r c และ OC ที่เหมาะสมนำเสนอในกรณีที่ค่าพารามิเตอร์ θ = 0.3 และ 1.2 และค่าพารามิเตอร์ที่ประมาณได้จากข้อมูลจริง ผลการศึกษาพบว่า แผนการสุ่มตัวอย่างเพื่อการยอมรับแบบกลุ่มที่พัฒนาขึ้นจะให้ค่า g r c ค่อนข้างต่ำ แต่ให้ค่า OC หรือโอกาสในการยอมรับล็อตสินค้าที่ค่อนข้างสูง</p>
2024-12-11T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/256160
การพัฒนา Web-based GIS สำหรับวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากแผ่นดินไหว
2024-05-30T10:03:04+07:00
ธีรภัทร์ คำตุ้ย
monteerapat_tk@hotmail.com
วาทินี ถาวรธรรม
watinee.thavorntam@cmu.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารอยเลื่อนในจังหวัดเชียงใหม่และหาระดับความเสี่ยงเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว 2) เพื่อจัดทำเว็บแอปพลิเคชันแสดงความเสี่ยงและผลกระทบของแนวรอยเลื่อนในจังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูลที่ใช้ประกอบไปด้วยฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ของแนวรอยเลื่อนมีพลังและตำแหน่งหมู่บ้าน รวมทั้งสถิติการเกิดแผ่นดินไหวย้อนหลังในจังหวัดเชียงใหม่ โดยการวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวใช้ระยะ 1–10 กิโลเมตร เพื่อวิเคราะห์หาจำนวนหมู่บ้านที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดเมื่อเกิดแผ่นดินไหว รวมทั้งจัดทำเว็บแอปพลิเคชันเพื่อแสดงความเสี่ยง โดยแสดงแนวรอยเลื่อนมีพลัง หมู่บ้านตามแนวรอยเลื่อนมีพลัง และระบุตำแหน่งของผู้ใช้งานได้ โดยใช้ภาษา HTML, Java Script และ CSS เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน จากผลการศึกษาพบว่า รอยเลื่อนมีพลังที่พาดผ่านในจังหวัดเชียงใหม่มีทั้งหมดสี่รอยเลื่อน ซึ่งหมู่บ้านที่อยู่ห่างจากแนวรอยเลื่อนแม่ทาในระยะหนึ่งกิโลเมตรจะได้รับผลกระทบมากที่สุด การแสดงผลของเว็บแอปพลิเคชันทำให้ผู้ใช้งานทราบตำแหน่งรอยเลื่อน หมู่บ้านที่อยู่ใกล้แนวรอยเลื่อน รวมถึงการออกแบบให้สามารถตอบสนองต่อผู้ใช้งานเมื่อคลิก ณ ตำแหน่งต่าง ๆ ตามระยะทาง 1–10 กิโลเมตร จำลองการเกิดแผ่นดินไหว เพื่อดูรายชื่อหมู่บ้านที่อยู่ในระยะห่างดังกล่าวได้ทันที ข้อมูลที่ได้จากเว็บแอปพลิเคชันสามารถใช้สนับสนุนการตัดสินใจ วางแผนรับมือความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวได้อย่างทันเวลาและมีประสิทธิภาพ</p>
2024-10-15T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/258903
กระบวนการผลิตเอทานอลในรูปแบบเจเนเรชันที่หนึ่งถึงสี่เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
2024-10-16T09:43:57+07:00
Nichaphat Kitiborwornkul
macintous@gmail.com
Malinee Sriariyanun
macintous@gmail.com
<p>Bioethanol is a renewable, sustainable fuel derived from biological sources, such as plants, primarily through the fermentation of sugars found in crops like sugarcane, corn, wheat, and other biomass materials. Bioethanol offers a promising alternative to conventional fossil fuels, helping to reduce greenhouse gas emissions and decrease reliance on non-renewable energy sources. Produced through biological processes, bioethanol can be blended with gasoline for combustion engines or used in its pure form for energy generation. It represents a critical component in the transition toward greener energy solutions, aligning with global efforts to combat climate change and promote sustainable development</p>
2024-10-16T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/254871
การจำแนกแร่ด้วยเสียงตกกระทบโดยโครงข่ายประสาทเทียม
2023-12-07T11:22:06+07:00
ศิวโรฒม์ ศิริลักษณ์
siwarote@hotmail.com
<p>การใช้คนที่มีทักษะและประสบการณ์สูงเพื่อคัดแยกแร่พลอยออกจากหินแร่ด้อยค่าจากโบราณถึงปัจจุบันถูกศึกษาเพื่อพัฒนาในการใช้สัญญาณเสียงจากการตกอิสระของแร่พลอยดิบและแร่มลทินที่ความสูงประมาณ 1 ฟุต สัญญาณเสียงตกกระทบในช่วง 200 มิลลิวินาที ถูกนำมาวิเคราะห์พบว่า ความถี่ของเสียงในช่วง 500–5,000 เฮิรตซ์ ไม่สามารถพบความแตกต่างของรูปแบบสัญญาณเสียงจากแร่มีค่าและแร่ด้อยค่าได้ ผลการศึกษาพบว่า ระดับความเข้มของเสียง เกิดจากการตกกระทบของเม็ดแร่กับแผ่นแสตนเลส โดยแร่พลอยให้ค่าระดับความเข้มเสียงสูงที่สุด เมื่อเทียบกับแร่อื่น ๆ ส่วนแร่เหล็กเมื่อเดินทางผ่านขดลวดทองแดงสามารถเกิดระดับสัญญาณรบกวนสนามไฟฟ้าได้ การใช้ข้อมูลทั้งสองนี้ จึงถูกนำมาเข้ากระบวนการฝึกอบรมข้อมูล เพื่อให้โครงข่ายประสาทเทียมแบบ Backpropagation Neural Network (BPNN) ได้เรียนรู้ในการคัดแยกแร่พลอยออกจากแร่ด้อยค่า ผลการวิจัยพบว่า สามารถแยกแร่ได้ชัดเจน ตามผลลัพธ์ 4 กลุ่ม โดยผลรวมของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามและตัวแปรอิสระที่สร้างมาจาก BPNN มีการใช้ค่าทวีคูณด้วยน้ำหนักสองตัวแปร และค่าอคติคงที่หนึ่งตัวแปร ความสำเร็จในครั้งนี้จะนำไปออกแบบฮาร์ดแวร์ใช้ในการแยกแร่ และการประยุกต์เซ็นเซอร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของแร่เพื่อใช้ในการแยกแร่อื่น ๆ ต่อไป</p>
2024-10-16T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/254539
การติดตามสภาพโครงสร้างระยะยาวและการวิเคราะห์ด้วยวิธีการไฟไนต์เอลิเมนต์ของปาสาณเจดีย์ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร โดยอาศัยข้อมูลการสแกนวัตถุ 3 มิติด้วยแสงเลเซอร์
2024-01-12T10:47:39+07:00
ชนาธิป บินซาอิส
chanatip.k.b@gmail.com
พีรสิทธิ์ มหาสุวรรณชัย
peerasit.mahasu@kmutt.ac.th
ชัยณรงค์ อธิสกุล
chainarong.ath@kmutt.ac.th
สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์
sutat.lee@kmutt.ac.th
สมชาย ชูชีพสกุล
somchai.chu@kmutt.ac.th
เชษฐ์ ติงสัญชลี
tingsanchali_c@su.ac.th
ชุดาณัฏฐ์ สุดทองคง
chudanat.sud@kmutt.ac.th
<p>บทความนี้เสนอการประยุกต์ใช้ข้อมูลการสแกนวัตถุ 3 มิติ เพื่อการติดตามสภาพโครงสร้างระยะยาว รวมถึงการประเมินเสถียรภาพของโครงสร้างปาสาณเจดีย์วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร เขตพระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานครด้วยวิธีการไฟไนต์เอลิเมนต์ งานวิจัยนี้ดำเนินการเก็บข้อมูลดิจิทัลในรูปแบบกลุ่มจุดสามมิติใน 3 ช่วงเวลา ตั้งแต่ พ.ศ. 2563–2565 เพื่อติดตามและตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงสภาพเจดีย์วัดราชประดิษฐ ฯ ในระยะยาว ซึ่งข้อมูลที่ได้สามารถนำไปวิเคราะห์ขนาดมิติในสภาวะปัจจุบัน และประเมินมุมเอียงของปาสาณเจดีย์ได้ รวมทั้งมีการนำเสนอวิธีการประยุกต์ใช้ข้อมูลกลุ่มจุดสำหรับการสร้างแบบจำลองสามมิติเพื่อใช้ในการประเมินเสถียรภาพของปาสาณเจดีย์ด้วยโปรแกรม Abaqus โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มจุดและมุมเอียงของเจดีย์ไม่พบการเปลี่ยนแปลงมุมเอียงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงระยะเวลาการศึกษา จากผลการกระจายหน่วยแรงของโครงสร้างภายใต้น้ำหนักเจดีย์พบว่า บริเวณที่เกิดความเค้นอัดและความเค้นดึงสูงสุดมีค่าเท่ากับ 0.237 เมกะพาสคัลที่บริเวณฐานเขียง และ 0.033 เมกะพาสคัลที่บริเวณพื้นภายในปาสาณเจดีย์ ตามลำดับนอกจากนี้มีการศึกษาการเปลี่ยนสมบัติเชิงกลของวัสดุที่มีผลต่อการกระจายหน่วยแรงค่าการเคลื่อนตัวสูงสุด และคาบการสั่นอิสระ ที่อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของโครงสร้างเจดีย์ สุดท้ายนี้กระบวนการและผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์ต่องานอนุรักษ์วัดราชประดิษฐ ฯ ได้ในอนาคต</p>
2024-09-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/254968
การพัฒนาระบบตรวจจับข้อบกพร่องอัตโนมัติสำหรับมอเตอร์แบบสับเปลี่ยนทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยแนวทางการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์
2023-12-21T15:17:09+07:00
เทพภากร สิทธิวันชัย
teppakorn.s@eng.kmutnb.ac.th
อรัญ แบล็ทเลอร์
aran.b@eng.kmutnb.ac.th
<p>ความต้องการกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้เพิ่มมากขึ้นทำให้จำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบตรวจจับข้อบกพร่องแบบอัตโนมัติสำหรับมอเตอร์แบบสับเปลี่ยนทางอิเล็กทรอนิกส์ งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการออกแบบและพัฒนาระบบที่ทนทาน คุ้มค่า เป็นมิตรกับผู้ใช้ และมีความแม่นยำในการตรวจจับข้อผิดพลาดมากกว่ามนุษย์ ด้วยการใช้หลักการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะถูกแปลเป็นข้อกำหนดทางเทคนิคเพื่อใช้ในกระบวนการออกแบบ ต้นแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย ตู้เก็บเสียง ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ คอมพิวเตอร์ และอัลกอริทึมการเรียนรู้ของเครื่องที่ใช้ Support Vector Machine (SVM) ซึ่งช่วยให้การตรวจจับข้อผิดพลาดมีความแม่นยำสูงในการทดสอบถึง 94.54% ซึ่งเหนือกว่าประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงานที่เป็นมนุษย์ซึ่งอยู่ที่ 86.00% ระบบมีส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ที่ใช้งานง่ายเพื่อสามารถใช้กระบวนการควบคุมคุณภาพอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบตรวจจับข้อผิดพลาดแบบอัตโนมัตินี้ได้รับการทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานเพื่อช่วยปรับปรุงกระบวนการควบคุมคุณภาพสำหรับมอเตอร์แบบสับเปลี่ยนทางอิเล็กทรอนิกส์ ในอนาคตสามารถปรับปรุงอัลกอริทึมสำหรับแยกและลดเสียงรบกวนเพื่อให้สามารถใช้งานในสภาพที่มีเสียงรบกวนได้ดีขึ้น และการทดสอบระบบในสภาพแวดล้อมการผลิตแบบต่าง ๆ งานวิจัยนี้ยังแสดงให้เห็นว่าระบบตรวจจับข้อผิดพลาดแบบอัตโนมัติมีศักยภาพในการปฏิวัติการควบคุมคุณภาพการผลิต รวมทั้งการส่งเสริมให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงระบบการผลิตเพิ่มเติม</p>
2024-10-16T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/254423
การปรับปรุงขั้นตอนวิธีค้นหาแบบแมลงหวี่เพื่อแก้ปัญหาการจัดตารางการเก็บเกี่ยวพืช
2024-01-29T15:03:26+07:00
ปวีร์ ศิริรักษ์
pavee@g.sut.ac.th
อภิชา โคตรค้างพู
apichakote@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการพัฒนาอัลกอริทึมด้วยวิธีค้นหาแบบแมลงหวี่ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาการจัดตารางการเก็บเกี่ยวพืชของบริษัทแปรรูปสินค้าเกษตรให้มีผลกำไรตอบแทนต่อปีสูงสุด ขั้นตอนวิธีค้นหาแบบแมลงหวี่ถูกปรับให้เหมาะสมในรูปแบบของเมทริกซ์ เพื่อกำหนดพื้นที่เก็บเกี่ยวในแต่ละเดือนให้มีปริมาณผลผลิตสูงสุดต่อปี ตัวอย่างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับปัญหาการเก็บเกี่ยวพืชจำนวน 12 ถึง 60 แปลง นำมาใช้เป็นกรณีศึกษาเพื่อตรวจสอบความสามารถของอัลกอริทึมในปัญหาขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เมทริกซ์คำตอบได้รับการปรับปรุงโดยการพิจารณาจุดตัดเพื่อป้องกันการติดคำตอบท้องถิ่น และเพิ่มขีดความสามารถในการค้นหาคำตอบ ผลการทดลองพบว่า วิธีการค้นหาแบบแมลงหวี่สามารถทำให้บริษัทได้รับปริมาณผลผลิตเพียงพอต่อการแปรรูปในแต่ละเดือน รวมทั้งได้รับผลกำไรตอบแทนต่อปีสูงสุด เทียบเท่ากับการจำลองปัญหาผ่านโปรแกรมสำเร็จรูป GAMS ที่สามารถหาคำตอบที่ดีที่สุดได้ในทุก ๆ ขนาดปัญหา</p>
2024-10-16T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/254936
การหาสภาวะที่เหมาะสมในการตัดเหล็กกล้าเครื่องมือ K460 ด้วยวิธีการจ่ายประจุไฟฟ้าผ่านเส้นลวด โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเกรย์
2024-02-12T16:41:10+07:00
ศราวุธ จันทร์กลาง
sarawut_ju@rmutto.ac.th
ประจักร จัตกุล
prajak_ja@rmutto.ac.th
นิวัฒน์ มูเก็ม
niwat.moo@rmutr.ac.th
กรรณชัย กัลยาศิริ
kannachai.ka@kmitl.ac.th
สรรพสิทธิ์ ลิ่มนรรัตน์
Sunpasit.li@kmitl.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาและนำเสนอวิธีการตัดเหล็กกล้าเครื่องมือ K460 ด้วยวิธีการจ่ายประจุไฟฟ้าผ่านเส้นลวด โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเกรย์ (Grey Relational Analysis) เพื่อหาค่าเงื่อนไขหรือตัวแปรในการตัดที่เหมาะสมที่สุดที่มีต่อความหยาบผิวและขนาดของชิ้นงาน สำหรับตัวแปรการตัดที่พิจารณาในการศึกษานี้ ได้แก่ ความเร็วในการตัดกระแสไฟฟ้าในการสปาร์คของอิเล็กโทรดกับชิ้นงาน และระยะห่างระหว่างเส้นลวดกับชิ้นงาน สำหรับผลตอบสนองที่ใช้ในการศึกษานี้ ได้แก่ ขนาดของชิ้นงานและความหยาบผิวของชิ้นงาน ซึ่งจากการศึกษาพบว่า เงื่อนไขการตัดที่ได้จากวิธีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเกรย์ คือ ความเร็วในการตัดเท่ากับ 4.5 มิลลิเมตร/นาที กระแสไฟฟ้าในการสปาร์คของอิเล็กโทรดกับชิ้นงานเท่ากับ 2 แอมแปร์ และระยะห่างระหว่างเส้นลวดกับชิ้นงานเท่ากับ 770 ไมโครเมตร เมื่อใช้เงื่อนไขในการตัดที่ได้จากการศึกษานี้ ไปทำการตัดชิ้นงานเพื่อยืนยันผลการศึกษาพบว่า ค่าความหยาบผิวและขนาดของชิ้นงานมีค่าที่เป็นไปตามพิกัดความเผื่อ (Tolerance) ตามที่ได้กำหนดไว้</p>
2024-10-03T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/255883
การออกแบบตัวควบคุมโหมดการเลื่อนสำหรับวงจรกรองกำลังแอกทีฟด้วยฟังก์ชันเลียปูโนฟ
2024-04-24T15:51:44+07:00
นิธิวัฒน์ เศรษฐวงค์
kongpol@sut.ac.th
กองพล อารีรักษ์
kongpol@sut.ac.th
พลสิทธิ์ ศานติประพันธ์
kongpol@sut.ac.th
ธิดารัตน์ อารีรักษ์
kongpol@sut.ac.th
ชาคริต ปานแป้น
chakrit.p@eng.kmutnb.ac.th
<p>บทความนี้นำเสนอการออกแบบวงจรกรองกำลังแอกทีฟสำหรับการกำจัดฮาร์มอนิกในระบบสามเฟสสมดุล โดยมุ่งเน้นการออกแบบระบบควบคุมกระแสชดเชยและแรงดันบัสไฟตรงของวงจรกรองกำลังแอกทีฟด้วยตัวควบคุมโหมดการเลื่อนการออกแบบตัวควบคุมโหมดการเลื่อนอาศัยฟังก์ชันเลียปูโนฟในการกำหนดขอบเขตค่าพารามิเตอร์ของตัวควบคุมภายใต้เงื่อนไขของอสมการสำหรับการตรวจสอบเสถียรภาพของระบบ การยืนยันสมรรถนะการควบคุมกระแสชดเชยและแรงดันบัสไฟตรงด้วยตัวควบคุมโหมดการเลื่อนอาศัยการจำลองสถานการณ์โดยใช้โปรแกรม MATLAB/Simulink ผลการจำลองสถานการณ์สามารถยืนยันได้ว่า การออกแบบค่าพารามิเตอร์ของตัวควบคุมโหมดการเลื่อนที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขของอสมการจากฟังก์ชันเลียปูโนฟ ให้สมรรถนะที่ดีในการควบคุมการฉีดกระแสชดเชยและการควบคุมแรงดันบัสไฟตรงของวงจรกรองกำลัง โดยพิจารณาได้จากรูปสัญญาณกระแสชดเชยและแรงดันบัสไฟตรงที่คล้อยตามรูปสัญญาณอ้างอิง และค่าความผิดพลาดสัมบูรณ์ที่มีค่าใกล้เคียงศูนย์</p>
2024-09-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/255462
การออกแบบและพัฒนาแขนหุ่นยนต์เพื่อช่วยในกระบวนการผลิตโดยใช้เทคนิคแมชชีนวิชัน
2024-05-02T13:22:11+07:00
ลาภิศ พลแสน
lapitch.polsan@electrolux.com
วิทิต ฉัตรรัตนกุลชัย
fengwtc@ku.ac.th
สาธิต วรรณวานิชชัย
lapitch.polsan@electrolux.com
<p>บทความนี้เป็นการนำเสนอการออกแบบพัฒนาและการสร้างต้นแบบแขนกลคู่ร่วมกับกล้องเพื่อการรับรู้ที่เป็นการมองเห็น โดยมีลักษณะการทำกิจกรรมคล้ายมนุษย์เพื่อใช้การคัดแยกวัตถุ หยิบจับและการตรวจสอบวัตถุที่พิจารณาหรือ กิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งใช้มนุษย์ในการตัดสินใจเป็นหลัก โดยทำการศึกษาการใช้กล้องกับแขนกลคู่ในการตรวจจับวัตถุที่มีการวางตำแหน่งและทิศทางที่เป็นอิสระโดยสามารถคัดเลือกวัตถุตามรุ่นหรือลักษณะที่สนใจและการตรวจสอบคุณภาพหรือโดยส่วนประกอบสำคัญสองส่วนคือการสร้างแขนกล แบบอาร์ติคิวลาต 6 แกนอิสระ (Articulated Robot Arm) สองแขนที่สามารถทำงาน โดยอัติโนมัติ ด้วยความสอดคล้องกัน โดยการสร้างส่วนประกอบของแขนกลด้วยการพิมพ์แบบ 3 มิติ (3D Print) และการสร้างโปรแกรมเพื่อการรับรู้ (Machine Vision และ Image Processing) ของแขนกลในการตอบสนองในการคัดแยกวัตถุและตำแหน่งทิศทางของวัตถุ (Objective Detection; Convolutional Neural Network หรือ CNN และ Co-ordinates of Contours; Opencv Library) ด้วยการใช้งานผ่านการแสดงผลทางสัญลักษณ์ Graphical User Interface ด้วยภาษาไพธอน (Python) ใช้งานผ่านบอร์ด ไมโครโปรเซสเซอร์ราสเบอร์รี่พาย 4 (Raspberry Pi 4 Microprocessor Board) และบอร์ดไมโครคอนโทรล เลอร์อาร์ดูโน่ (Arduino Microcontroller Board) ที่ผ่านการสื่อสารแบบ I2C เพื่อควบคุมชุดขับด้วยการควบคุมหมุนองศาและทิศทางของสเต็ปเปอร์มอเตอร์ (Stepper Motor) ของข้อต่อแต่ละข้อของแขนกลทั้งสอง จากผลการวิจัยพบว่า แนะนำให้ใช้แขนกลทั้งสองในการจับยึดชิ้นงานที่มีพิกัดความคลาดเคลื่อน สำหรับตำแหน่งแกน x, y และ z แนะนำให้ใช้ค่าเบี่ยงเบน 3±1.22 เซนติเมตร โดยมีช่วงค่าเฉลี่ยกลางอยู่ที่ –1 ถึง 1.125 เซนติเมตร สำหรับมุมการหมุนแนะนำค่าชดเชย –7±11.5 องศา โดยมีช่วงค่าเฉลี่ยกลางอยู่ที่ –3.65 ถึง 0 องศาระหว่างการจับยึด</p>
2024-10-16T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/255979
การออกแบบและพัฒนาอัลกอริทึมการวางแผนเส้นทางการเคลื่อนที่สำหรับอากาศยานไร้คนขับสำหรับภารกิจลอบเร้นสู่เป้าหมายในพื้นที่อันตราย
2024-05-21T18:11:42+07:00
รัฐกรณ์ ประเสริฐลักษณ์
ruttagorn.fgi@gmail.com
สมชาติ จิริวิภากร
somchat.ji@kmitl.ac.th
<p>อากาศยานไร้คนขับได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากสำหรับภารกิจทางทหารในปัจจุบัน การพัฒนาให้อากาศยานไร้คนขับสามารถปฏิบัติภารกิจที่มีความซับซ้อนและอันตรายได้โดยอัตโนมัติจึงมีความสำคัญมาก การทำให้อากาศยานไร้คนขับสามารถปฏิบัติภารกิจตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั่น คือ การออกแบบพัฒนาอัลกอริทึมการวางแผนเส้นทางการเคลื่อนที่ ในงานวิจัยนี้ได้นำเสนอการออกแบบอัลกอริทึมการวางแผนเส้นทางการเคลื่อนที่สำหรับอากาศยานไร้คนขับสำหรับภารกิจลอบเร้นสู่เป้าหมายในพื้นที่อันตรายโดยมุ่งเน้นประยุกต์ใช้ในพื้นที่ในร่ม การออกแบบอัลกอริทึมการวางแผนหาเส้นทางการเคลื่อนที่ในงานวิจัยนี้ใช้พื้นฐานจากอัลกอริทึมการวางแผนหาเส้นทางการเคลื่อนที่แบบ A* ของ Ren และทำการปรับปรุงให้สามารถหลบหลีกได้ทั้งสิ่งกีดขวางและภัยคุกคามทั้งในรูปแบบหยุดนิ่งและรูปแบบพลวัต โดยประยุกต์ใช้อัลกอริทึม Lifelong Planning A* และ D*lite ของ Sven Koenig และ Maxim Likhachev จากนั้นทำการทดสอบเพื่อประเมินประสิทธิภาพเปรียบเทียบอัลกอริทึมการวางแผนหาเส้นทางการเคลื่อนที่ทั้ง 3 แบบ ด้วยการจำลองผ่านโปรแกรม Python ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าอัลกอริทึมที่พัฒนาจาก D*lite จะให้ผลลัพธ์ระยะทางในการเคลื่อนที่ (Path Length) ที่สั้นกว่าอัลกอริทึมที่พัฒนาจาก Lifelong Planning A* เฉลี่ย 4% แต่ให้ผลลัพธ์ระยะทางในการเคลื่อนที่เฉลี่ยยาวกว่าเมื่อเทียบกับอัลกอริทึม A* ของ Ren 1.5% เช่นเดียวกันเวลาที่ใช้ในการหาเส้นทางที่เหมาะสม (Execute Time) ที่เมื่อเทียบกับอัลกอริทึม Lifelong Planning A* จะใช้เวลาเฉลี่ยน้อยกว่า 530.8% แต่เมื่อเทียบกับอัลกอริทึม A* ของ Ren จะใช้เวลามากกว่า 14.7% อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาความสามารถในการหลบหลีกสิ่งกีดขวางและภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาของอัลกอริทึม A* ของ Ren ไม่สามารถหลบหลีกได้ แตกต่างจากอัลกอริทึมที่พัฒนาจาก D*lite และ Lifelong Planning A* ที่สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางและภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาได้เป็นอย่างดี ดังนั้นอัลกอริทึมที่ประยุกต์จาก D*lite จึงมีความเหมาะสมมากที่สุดในการนำไปต่อยอดประยุกต์ใช้สำหรับภารกิจลอบเร้นสู่เป้าหมายในพื้นที่อันตรายที่อากาศยานไร้คนขับต้องสามารถเคลื่อนที่โดยอัตโนมัติและตอบสนองต่อสิ่งกีดขวางและภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาได้</p>
2024-10-18T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/254467
โครงสร้างจุลภาคและสมบัติเชิงกลของซีเมนต์เพสต์ที่มีผงตะกอนน้ำเสียจากโรงงานผลิตเครื่องดื่มเป็นส่วนผสม
2023-11-14T10:53:02+07:00
ณปภัช พรมรอด
ampowo@kku.ac.th
อำพล วงศ์ษา
ampowo@kku.ac.th
วันชัย สะตะ
ampowo@kku.ac.th
ปริญญา จินดาประเสริฐ
ampowo@kku.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติของซีเมนต์เพสต์ที่ใช้ผงตะกอนน้ำเสียจากโรงงานผลิตเครื่องดื่มแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในอัตราส่วนร้อยละ 0 10 20 30 และ 40 โดยน้ำหนัก โดยใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.3 ในทุกอัตราส่วนผสม ทดสอบคุณสมบัติของซีเมนต์เพสต์ ได้แก่ ระยะเวลาการก่อตัว การไหลแผ่ กำลังรับแรงอัดและวิเคราะห์โครงสร้างทางจุลภาคโดยใช้ SEM/EDS, XRD และ MIP ผลการวิจัยพบว่า การเพิ่มขึ้นของปริมาณผงตะกอนน้ำเสียในซีเมนต์เพสต์ส่งผลให้ระยะเวลาการก่อตัว การไหลแผ่ และกำลังรับแรงอัดที่อายุ 7 และ 28 วัน มีค่าลดลง จากโครงสร้างทางจุลภาคของซีเมนต์เพสต์ที่อายุ 28 วัน พบว่า การเพิ่มขึ้นของผงตะกอนน้ำเสียในส่วนผสมจะส่งผลให้ความแน่นตัวและความเป็นเนื้อเดียวกันของซีเมนต์เพสต์ลดลง อย่างไรก็ตามการแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยผงตะกอนน้ำเสียที่สูงถึงร้อยละ 40 โดยน้ำหนัก ค่ากำลังรับแรงอัดยังคงสูงถึงร้อยละ 82 ที่อายุ 7 วัน และร้อยละ 87 ที่อายุ 28 วัน เมื่อเทียบกับซีเมนต์เพสต์ควบคุม</p>
2024-09-18T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/254748
นวัตกรรมเสาเข็มไมโครไพล์จากเศษคอนกรีตเก่าเสริมแรงด้วยวัสดุแท่งคอมโพสิต
2023-12-01T16:29:37+07:00
คงเดช บัวน้อย
thanongsak_im@wu.ac.th
มูซิลฮีย์ สาแม
thanongsak_im@wu.ac.th
ทิพพาภรณ์ ทองเดช
thanongsak_im@wu.ac.th
วันวิลดาน แวยูโซะ
thanongsak_im@wu.ac.th
ประภัสสร ฤทธิกรรณ์
thanongsak_im@wu.ac.th
ภัคจิรา อ่อซ้าย
thanongsak_im@wu.ac.th
ทนงศักดิ์ อิ่มใจ
thanongsak_im@wu.ac.th
<p>งานวิจัยนี้นำเสนอแนวทางการออกแบบนวัตกรรมเสาเข็มไมโครไพล์จจากเศษคอนกรีตเก่าเสริมแรงด้วยวัสดุแท่งคอมโพสิตอโดยทำการศึกษารูปแบบข้อกําหนดมาตรฐานสําหรับเสาเข็มคอนกรีตและพัฒนาคุณสมบัติเชิงกลของส่วนผสมเศษคอนกรีตเก่าและเสริมแรงด้วยวัสดุคอมโพสิตสําหรับเสาเข็มพร้อมทั้งศึกษาพฤติกรรมเชิงกลในการรับแรงของเสาเข็ม ศึกษาและทดสอบการรับแรงตามแนวแกน การรับแรงแผ่นดินไหว การรับแรงเฉือนจากคอนกรีตที่ทำจากเศษคอนกรีตเก่าและวัสดุคอมโพสิต และศึกษาการรับแรงเฉือนที่จุดเชื่อมต่อตามแนวยาวระหว่างเสาเข็ม 2 ต้น ซึ่งผลการทดสอบพบว่า มีความสามารถในการรับน้ำหนักได้ดีเมื่อเทียบกับค่าโมเมนต์ที่สูงสุดเฉลี่ย 6.50 กิโลนิวตันต่อเมตร เมื่อเทียบกับเสาเข็มไมโครไพล์ที่จำหน่ายในท้องตลาด การศึกษาการวิบัติการเกิดรอยร้าวของโครงสร้าง เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างยั่งยืนมีประสิทธิภาพในการรับน้ำหนักได้ตามมาตรฐานการออกแบบสามารถติดตั้งได้รวดเร็วมีความทนทานตลอดอายุการใช้งานและใช้วัสดุที่มีราคาถูกสามารถหาได้ภายในประเทศ</p>
2024-10-16T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/255578
แบบจำลองการจำแนกประเภทศักยภาพเชิงพาณิชย์ของโครงการวิจัยและพัฒนาโดยใช้เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ
2024-03-19T09:43:51+07:00
ณฐนน ยิ่งสมัคร
natanon.y@egat.co.th
วิมลิน เหล่าศิริถาวร
wimalin.l@cmu.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองเพื่อจำแนกประเภทศักยภาพเชิงพาณิชย์สำหรับโครงการวิจัยและพัฒนาของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยโดยใช้เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ และนำเสนอแนวทางการบริหารและจัดการโครงการที่เหมาะสมตามศักยภาพเชิงพาณิชย์ที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสร้างและทดสอบประสิทธิภาพแบบจำลอง ได้แก่ โครงการตัวอย่างที่มีการลงทุนระหว่าง พ.ศ. 2551–2564 จำนวน 56 โครงการ คุณลักษณะของตัวอย่างที่ใช้ในสร้างแบบจำลองประกอบไปด้วย 6 คุณลักษณะ ได้แก่ 1) ความสามารถในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา 2) ประเภทของการนำไปใช้ประโยชน์ 3) ความสามารถในการใช้งานจริงอย่างต่อเนื่อง 4) การต่อยอดจากโครงการเดิม 5) ศักยภาพด้านการดำเนินงานของหน่วยงานวิจัย และ 6) ขนาดของการลงทุน ผลลัพธ์ของแบบจำลอง คือ การแยกศักยภาพเชิงพาณิชย์ของโครงการตัวอย่างออกเป็นสามกลุ่ม ได้แก่ ศักยภาพเชิงพาณิชย์สูง ศักยภาพเชิงพาณิชย์ปานกลาง และศักยภาพด้านอื่น การทดสอบประสิทธิภาพแบบจำลองใช้วิธีการทดสอบแบบไขว้ โดยการแบ่งข้อมูลตัวอย่างเป็น 10 ส่วน จากการคัดเลือกคุณลักษณะได้อย่างเหมาะสมส่งผลให้ได้แบบจำลองต้นไม้ตัดสินใจที่มีค่าประสิทธิภาพสูงโดยมีค่าความแม่นยำเท่ากับ 96.00% ค่าความเที่ยงตรงเฉลี่ยเท่ากับ 95.89% และค่าการเรียกคืนเฉลี่ยเท่ากับ 94.75% นอกจากนั้นงานวิจัยนี้ยังได้นำเสนอแนวทางการบริหารและจัดการโครงการที่เหมาะสมตามศักยภาพเชิงพาณิชย์ที่แตกต่างกันอันจะนำไปสู่การพัฒนาโครงการนวัตกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร</p>
2024-10-21T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/262766
ปกวารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
2025-06-26T16:05:28+07:00
ปกวารสาร มจพ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
journal@op.kmutnb.ac.th
<p>-</p>
2025-06-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/262776
บรรณาธิการวารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
2025-06-26T19:38:56+07:00
บรรณาธิการวารสารวิชาการ พระจอมเกล้าพระนครเหนือ
journal@op.kmutnb.ac.th
<p>บรรณาธิการวารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ</p>
2025-06-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025