วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru
<p>วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่บทความวิจัย (Research Article) และบทความวิชาการ (Review Article) ของคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิชาการทั้งภายในและภายนอกสถาบัน วารสารฯ ยินดีรับบทความที่มีขอบเขตเนื้อหาเกี่ยวข้องในศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์แขนงต่าง ๆ (Engineering) วิทยาการคำนวณ (Computer Science) และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Environmental Science) โ<strong>ดยทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มาจากหลากหลายสถาบัน ไม่น้อยกว่า 3 ท่านต่อหนึ่งบทความ โดยการประเมินเป็นในลักษณะของ Double-Blind Peer Review</strong></p> <p>วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีเริ่มตีพิมพ์เป็นเอกสารเมื่อปี พ.ศ.2561 (ISSN 2651-1282 (Printed)) และเริ่มเผยแพร่ในรูปของวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Journal) อย่างเป็นทางการในฐานะ Online Open Access Journal ผ่านระบบ ThaiJo เมื่อปี พ.ศ.2561 (ISSN 2651-1290 (Online))</p>
th-TH
<p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ท้ังในรูปแบบของรูปเล่มและอิเล็กทรอนิกส์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ</p>
ind-journal@ubru.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุระเจตน์ อ่อนฤทธิ์)
ind-journal@ubru.ac.th (คุณกติยาภรณ์ เรืองสถาน)
Wed, 25 Jun 2025 00:00:00 +0700
OJS 3.3.0.8
http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss
60
-
การพัฒนาแอปพลิเคชันคัดแยกเห็ดไทยสำหรับตรวจสอบชนิดเห็ดป่าธรรมชาติบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/250774
<p>การวิจัยและพัฒนาเครื่องมือในรูปแบบแอปพลิเคชันในการตรวจสอบชนิดเห็ดป่าธรรมชาติบนโทรศัพท์มือถือ ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการตรวจสอบชนิดของเห็ดพิษ และเห็ดรับประทานได้ที่มีลักษณะทางสัณฐานวิทยาคล้ายคลึงกันด้วยแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือในระบบปฏิบัติการแบบแอนดรอยด์ แอปพลิเคชันคัดแยกเห็ดไทยทำการตรวจสอบชนิดของเห็ดป่าโดยการสแกนภาพดอกเห็ดและทำการเปรียบเทียบลักษณะทางสัณฐานวิทยาจากฐานข้อมูลที่อยู่ในคลาวด์ มีฐานข้อมูลรูปภาพเห็ดอย่างน้อยชนิดละ 1,000 รูปภาพ จากหลายระยะอายุของดอกเห็ดที่มีขนาดและสีแตกต่างกัน จากนั้นทำการสอนและทดสอบการจดจำลักษณะทางสัณฐานวิทยาของดอกเห็ดที่สำคัญในแต่ละชนิด เพื่อให้การประมวลผลได้ความแม่นยำที่สุด จากผลการวัดความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิเคชันจากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ใช้งานทั่วไป พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี มีค่า <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\tilde{x}" alt="equation" /> = 3.86 และค่า S.D. = 1.03 โดยแอปพลิเคชันมีความสะดวกในการติดตั้งบนโทรศัพท์มือถือ มีความถูกต้องและรวดเร็วในการประมวลผล มีการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง มีความเชื่อมั่นต่อผลการตัดสินในเลือกบริโภคเห็ดหลังการใช้แอปพลิเคชัน และได้ความรู้เรื่องเห็ดเพิ่มเติม ในกรณีของเห็ดพิษมีข้อมูลอาการเมื่อได้รับสารพิษและข้อมูลการปฏิบัติเบื้องต้นเมื่อได้รับพิษจากเห็ด ดังนั้นแอปพลิเคชันนี้จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยคัดกรองในการตัดสินใจรับประทานเห็ดในป่าธรรมชาติ</p>
อัจจิมา ทองบ่อ, ชุลีพร จันทรเสนา, วีรนุช โคตรวงศ์, โชติกา องอาจณรงค์, สิทธิพร ปานเม่น, ณัฐกานต์ หนูรุ่น, สุจิตรา สิกพันธ์, ขวัญเรือน นาคสุวรรณ์กุล
Copyright (c) 2025 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/250774
Wed, 25 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศโดยใช้อินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่งด้วยเทคโนโลยีลอร่า และการเพิ่มระยะทางการส่งด้วยเทคนิคการทวนสัญญาณ
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/252669
<p class="EECON-Content" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 1.0cm;"><span lang="TH" style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH Sarabun New',sans-serif; letter-spacing: -.1pt;">ปัจจุบันเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่งด้วยเทคโนโลยีลอร่า เป็นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์สำหรับงานด้าน</span><span lang="TH" style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH Sarabun New',sans-serif;">การส่งข้อมูลที่ใช้กำลังงานต่ำ ที่มีระยะทางไม่เกิน 1 กิโลเมตร ในพื้นที่โล่งแจ้ง มีกำลังงานที่ต่ำ เมื่อต้องการ<span style="letter-spacing: -.1pt;">ระยะทางที่ไกลมากกว่านั้นจึงมีข้อจำกัด ซึ่งระบบไม่สามารถรองรับได้ ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงได้มีแนวคิดการออกแบบ สร้าง</span>ระบบการทวนสัญญาณของเทคโนโลยีลอร่า เพื่อเพิ่มระยะทางการส่งข้อมูลให้ได้ไกลมากขึ้นจึงนำมาประยุกต์สำหรับการใช้งานเพื่อการส่งข้อมูลของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ โดยที่ระบบทวนสัญญาณจะทำงานในย่านความถี่ที่แตกต่างกันสองความถี่ 923.2</span><span style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH Sarabun New',sans-serif;"> MHz <span lang="TH">และ 923.4</span> MHz <span lang="TH">โดยจากผลการทดลองค่าระดับสัญญาณระหว่างสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศกับอุปกรณ์ทวนสัญญาณนั้นอยู่ในช่วงระหว่าง -84 </span>dBm <span lang="TH">ถึง -92 </span>dBm <span lang="TH">และค่าระดับตัวบ่งชี้ความแรงของสัญญาณที่อุปกรณ์ได้รับจากตัวส่งสัญญาณระหว่างอุปกรณ์ทวนสัญญาณลอร่า กับเครือข่ายลอร่า ซึ่งจากผลการทดลองระดับสัญญาณเฉลี่ยจะอยู่ระหว่าง -69 </span>dBm <span lang="TH">ถึง -112 </span>dBm <span lang="TH">และผลการทดลองได้ค่าความล่าช้าของสัญญาณในการส่งเฉลี่ยอยู่ที่ 5</span>,<span lang="TH">000 </span>ms </span></p>
มิ่งขวัญ สมพฤกษ์, จรัญ คนแรง, นเรศ ใหญ่วงศ์, ไพโรจน์ ด้วงนคร, อธิคม ศิริ, กมล บุญล้อม
Copyright (c) 2025 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/252669
Wed, 25 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
มอเตอร์กระแสตรงไร้แปรงถ่านในโหมดทำงานเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับกังหันลมผลิตไฟฟ้า
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/249728
<p>งานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้นำเสนอการหาสมรรถนะของมอเตอร์กระแสตรงไร้แปรงถ่านขณะทำงานเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยไม่ได้ดัดแปลงองค์ประกอบใดในตัวมอเตอร์เพื่อหาคุณลักษณะของมอเตอร์กระแสตรงไร้แปรงถ่านขณะทำงานเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ความสัมพันธ์ระหว่าง ความเร็วรอบ แรงดันเอาต์พุต กระแส กำลังไฟฟ้า และแรงบิด ถูกทดสอบในห้องปฏิบัติการ สำหรับมอเตอร์กระแสตรงไร้แปรงถ่านที่ใช้เป็นชนิดสามเฟส จึงใช้วงจรเรียงกระแสไฟฟ้าแบบสามเฟสแปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงก่อนเพื่อหาคุณลักษณะของมอเตอร์กระแสตรงไร้แปรงถ่านขณะทำงานเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยทดสอบที่ความเร็วรอบคงที่ 900 รอบต่อนาที ที่โหลดต่างกันตั้งแต่ 0.5 โอห์ม ถึง 15 โอห์ม พบว่า เมื่อโหลดความต้านทานเพิ่ม กระแสไฟฟ้าจากวงจรเรียงกระแสมีค่าลดลง แรงดันไฟฟ้าจากวงจรเรียงกระแสมีค่าเพิ่มมากขึ้น เมื่อทดสอบที่โหลดคงที่ 7 โอห์ม ด้วยการเปลี่ยนความเร็วตั้งแต่ 100 - 900 รอบต่อนาที พบว่าเมื่อความเร็วรอบเพิ่มขึ้น แรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้ามีค่าเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเร็วรอบ จากการทดลองที่ความเร็วต่างกัน พบว่า เมื่อความเร็วรอบเพิ่มขึ้นทำให้ได้กำลังไฟฟ้ามากขึ้น โดยที่ความเร็วรอบ 900 รอบต่อนาที แรงดันเอาต์พุตมีค่า 16.61 โวลต์ กระแสเอาต์พุต 2.31 แอมป์ ให้กำลังไฟฟ้าสูงสุด 38.36 วัตต์ ที่ความเร็วรอบ 900 รอบต่อนาที โหลดความต้านทาน 15 โอห์ม ได้แรงดันเอาต์พุตมีค่า 25.72 โวลต์ กระแสเอาต์พุต 1.72 แอมป์ ให้กำลังไฟฟ้า 44.23 วัตต์ ค่าประสิทธิภาพของระบบเพิ่มขึ้นตามความเร็วรอบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า</p>
รุ่งวิชา ไชยยศ
Copyright (c) 2025 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/249728
Wed, 25 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
เครื่องจักรเสมือนแทนอุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติแบบโปรแกรมได้ด้วยชุดคำสั่งจำกัด
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/248852
<p>งานวิจัยนี้เสนอการพัฒนาเครื่องจักรเสมือนต้นแบบ สำหรับอุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติโปรแกรมได้แบบมีชุดคำสั่งจำกัด โดยมีจุดประสงค์สำคัญในการพัฒนาเพื่อให้สามารถใช้ได้กับหลายอุปกรณ์ สำหรับกระบวนการพัฒนา ทำได้ด้วยเครื่องมือทางซอฟต์แวร์แบบเปิดเผยรหัสต้นฉบับและไม่เสียค่าใช้จ่าย ทำให้มีความเป็นไปได้ในการลดต้นทุนการพัฒนาอุปกรณ์อัตโนมัติเพื่อทดแทนการใช้ซอฟต์แวร์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ในงานวิจัยนี้สามารถแบ่งส่วนงานหลักได้ดังนี้ 1) การออกแบบสถาปัตยกรรมเครื่องจักรเสมือน 2) การพัฒนาซอฟต์แวร์จำลองการทำงาน และ 3) การออกแบบทดสอบส่วนเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์-ซอฟต์แวร์ ในงานวิจัยนี้ใช้ภาษาไพทอน ในการพัฒนาเป็นหลัก ทำให้สามารถใช้งานได้ทั้งใน วินโดวส์ ลีนุกซ์ และแอนดรอยด์ จากคำนวณผลการทดสอบทางเวลา พบว่าเครื่องจักรเสมือนขนาดขาเข้า - ขาออก ไม่เกิน 64 บิต ที่พัฒนาขึ้นเมื่อใช้ภายใต้แพลตฟอร์มลีนุกซ์ ทำงานบนซอฟต์แวร์เวอร์ชวลไลเซชัน สามารถใช้คำสั่งไทม์เมอร์ ได้เที่ยงตรงระดับ 100 มิลลิวินาที ในขณะที่การเพิ่มขนาด จำนวนขาเข้าออก ไปที่ 2,048 บิต ยังคงใช้เวลาการสแกนแต่ละรอบได้ต่ำกว่า 100 มิลลิวินาที นอกจากนี้เครื่องจักรเสมือนสามารถส่งสัญญาณเชื่อมต่อกับฮาร์ดแวร์ของบอร์ดอาดุยโน่นาโนผ่านพอร์ตสื่อสารอนุกรมได้ ทำให้มีความเป็นไปได้หากจะนำไปต่อใช้งานเพิ่มเติมกับอุปกรณ์ภายนอก</p>
พัฒน์ ทวีวัฒน์
Copyright (c) 2025 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/248852
Wed, 25 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
การออกแบบและสร้างเครื่องปั่นฝ้ายแบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับการผลิตภาคครัวเรือน
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/253034
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องปั่นฝ้ายแบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับการผลิตภาคครัวเรือนและเพื่อพิจารณาความเร็วรอบของมอเตอร์ที่เหมาะสมต่อคุณภาพของเส้นฝ้าย ตัวเครื่องถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นจากลักษณะของเครื่องปั่นฝ้ายแบบดั้งเดิม เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตของชุมชน ลดระยะเวลาและจำนวนแรงงานสำหรับการผลิตในแต่ละครั้ง โดยแทนที่การทำงานของหัวปั่นแบบเดิมด้วยหัวปั่นที่ติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงและระบบควบคุมผ่านมอเตอร์หัวปั่น มอเตอร์แกนเก็บฝ้าย และมอเตอร์แกนชักแบบกึ่งอัตโนมัติ ค่าความเร็วรอบของมอเตอร์สามารถปรับเปลี่ยนให้ตรงกับการใช้งานหรือความชำนาญของผู้ปั่นฝ้าย จากการทดสอบ พบว่า เส้นฝ้ายยาวมากสุดที่ความเร็วรอบของหัวปั่น แกนเก็บฝ้าย และแกนชักเท่ากับ 300, 280 และ 18 รอบต่อนาที ตามลำดับ และค่าความสมบูรณ์ของฝ้ายมีค่ามากสุดที่ร้อยละ 97.9 เมื่อค่าความเร็วรอบของหัวปั่น แกนเก็บฝ้าย และแกนชักเท่ากับ 400, 370 และ 18 รอบต่อนาที นอกจากนี้ ค่าประสิทธิภาพการปั่นมีค่ามากที่สุดซึ่งเท่ากับร้อยละ 98.2 ที่ความเร็วรอบของหัวปั่นเท่ากับ 300 รอบต่อนาที และเมื่อความเร็วรอบของหัวปั่นเพิ่มขึ้น ค่าความสามารถในการทำงานเพิ่มขึ้นด้วย เครื่องปั่นฝ้ายที่ถูกพัฒนาขึ้นในงานวิจัยนี้ได้ถูกนำไปสาธิตการใช้งานที่ชุมชนตัวอย่างและเปรียบเทียบกับผลจากการปั่นฝ้ายด้วยเครื่องปั่นฝ้ายแบบดั้งเดิม จากการทดลองใช้งาน และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้ใช้งานหลังทดลองใช้เครื่องปั่นฝ้ายที่พัฒนาขึ้นนี้ พบว่า ผู้ใช้งานสามารถปั่นฝ้ายได้เป็นระยะเวลายาวนานขึ้น ได้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ฝ้ายที่ได้มีความยาวเหมาะสม ไม่ขาดง่าย และมีปมในเส้นฝ้ายน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการปั่นด้วยเครื่องปั่นแบบดั้งเดิม</p>
คมสัน ตันติชูเกียรติ, ศิริพร สอนสุภาพ, อภิชาติ ศรีชาติ, อดิศักดิ์ บุตรวงษ์
Copyright (c) 2025 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/253034
Wed, 25 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
การออกแบบและสร้างเครื่องโรยเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับถาดเพาะกล้าแบบนาโยน ด้วยระบบพลังงานแสงอาทิตย์
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/252516
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องโรยเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับถาดเพาะกล้าแบบนาโยน ด้วยระบบพลังงานแสงอาทิตย์ 2) เพื่อทดสอบเครื่องโรยเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับถาดเพาะกล้าแบบนาโยน ด้วยระบบพลังงานแสงอาทิตย์ การออกแบบและสร้างเครื่อง โครงสร้างทำจากเหล็ก ต้นกำลังเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 250 วัตต์ ส่วนประกอบหลัก ได้แก่ ชุดลำเลียงถาดเพาะ ฮอปเปอร์ใส่ดิน ฮอปเปอร์ใส่ข้าว เพลาโรยข้าว ระบบส่งกำลัง และระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบด้วย แผงโซล่าเซลล์ ชุดควบคุมการประจุไฟฟ้าและแบตเตอรี่ จากผลการทดสอบ 1) การโรยเมล็ดข้าวต่อหลุม ระยะห่างช่องโรยเมล็ดข้าว 0.8 เซนติเมตร มีค่าเฉลี่ย 3.53 เมล็ดต่อหลุม ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.35 2) ความเร็วในการโรยดินและการโรยเมล็ดข้าว ความเร็วเฉลี่ย 10 วินาทีต่อถาด 3) การโรยดินครึ่งหลุม มีค่าเฉลี่ย 8.53 มิลลิเมตรต่อหลุมและการโรยดินเต็มหลุม มีค่าร้อยละ 100 ต่อหลุม 4) การสูญเสียของเมล็ดพันธ์ โดยทดสอบที่น้ำหนัก 5 กิโลกรัม ค่าความสูญเสียเฉลี่ย 0.22 กิโลกรัม การทดสอบการงอกของเมล็ดพันธุ์หลังจากเพาะในถาด พบว่า ต้นกล้าสามารถงอกได้มากกว่าร้อยละ 97 ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 67.5 ยูนิตต่อเดือน สามารถประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าในการเพาะกล้า ได้เป็นเงิน 319 บาทต่อเดือน ผลจากการวิจัยจะได้เครื่องโรยเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถลดปัญหาด้านแรงงานและระยะเวลาที่ใช้ในการเพาะกล้า ลดการสูญเสียเมล็ดพันธุ์และส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน</p>
ธีรพจน์ แนบเนียน
Copyright (c) 2025 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/252516
Wed, 25 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
การออกแบบและพัฒนาเครื่องบรรจุเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการบรรจุกล้วยฉาบ
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/252007
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องบรรจุที่เหมาะสมสำหรับกล้วยฉาบ และเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตกล้วยฉาบให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า โดยใช้แผนภูมิการเคลื่อนที่ของกระบวนการผลิตในการเก็บข้อมูลแล้วทำการวิเคราะห์สาเหตุโดยใช้หลักการแผนภูมิก้างปลา พบว่ามี 1 ขั้นตอนที่เกิดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตกล้วยฉาบ คือ กระบวนการบรรจุกล้วยฉาบ โดยในกระบวนการนี้จำเป็นต้องใช้แรงงานคนในการหยิบกล้วยฉาบใส่ถุงหลายครั้ง และนำไปชั่งน้ำหนักทุกครั้ง เพื่อให้ได้ปริมาณที่ต้องการก่อนการปิดปากถุง ผู้วิจัยทำการแก้ปัญหา โดยออกแบบเครื่องบรรจุกล้วยฉาบแบบใหม่ให้บรรจุง่ายขึ้น และสามารถวัดปริมาณของกล้วยฉาบให้มีน้ำหนักตามมาตรฐานมาใช้ หลังการปรับปรุงพบว่า เวลาในการผลิต 1 รอบ ลดลงเหลือ 2,373 วินาที คิดเป็นร้อยละ 11.39 โดยในขั้นตอนการบรรจุเดิมใช้เวลา 200 วินาที ลดลงเหลือ 15 วินาที ส่งผลให้ลดเวลาสูญเปล่าลง 185 วินาที คิดเป็นร้อยละ 92.50 ลดขั้นตอนในการตรวจสอบการชั่งน้ำหนักลง 1 ขั้นตอน และค่าเฉลี่ยน้ำหนักของกล้วยฉาบ ก่อนปรับปรุงคือ 136.10 กรัม ซึ่งมีค่ามากกว่าเกณฑ์น้ำหนักมาตรฐาน คือ 130 ± 5 กรัม หลังการปรับปรุงได้ทำการหาค่าเฉลี่ย ได้เท่ากับ 130 กรัม การปรับปรุงส่งผลให้น้ำหนักของกล้วยฉาบอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ยอมรับได้</p>
นริศรา สารีบุตร, กนกวรรณ สุภักดี, ณัฐวุฒิ ภูงามเงิน, ภัทรา สวนโสกเชือก, มริษา สุดอุดม
Copyright (c) 2025 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/252007
Wed, 25 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
การพัฒนาเครื่องม้วนแบ่งสายไฟฟ้าอัตโนมัติ
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/250044
<p>บทความนี้นำเสนอการพัฒนาเครื่องม้วนแบ่งสายไฟฟ้า ปัญหาที่ทางบริษัทพบ คือ เครื่องผลิตสายไฟฟ้าจำเป็นต้องผลิตสายไฟม้วนใส่รีลใหญ่จนเต็มรีลก่อนแล้วนำออกจากเครื่อง ทำให้รีลของสายไฟฟ้าและสายเคเบิ้ลที่ต้องการจะแบ่งนั้นมีขนาดใหญ่ ทำให้ยากลำบากต่อการเคลื่อนย้ายและนำไปใช้งาน เกิดต้นทุนการขนย้ายที่สูง ผู้ใช้งานต้องการที่จะแบ่งจากรีลใหญ่มาใส่รีลเล็กตามความยาวที่ต้องการเพื่อนำไปใช้ในพี้นที่ปฏิบัติงาน ขั้นตอนการแบ่งสายไฟฟ้าแบบเดิมต้องใช้แรงงานควบคุมการทำงาน 3 คน และรถยก 1 คัน ประสิทธิภาพที่ได้ไม่สม่ำเสมอ เช่น สายไฟฟ้ามีความยาวที่ผิดพลาดจากขนาดกำหนด สายไฟฟ้าบิดงอและไม่แนบติดกับรีล บริษัทต้องการลดแรงงานในการทำงานให้เหลือเพียง 1 คน และต้องการเครื่องจักรที่สามารถม้วนสายไฟฟ้าอัตโนมัติ จากปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยได้นำเอาทษฎี การออกแบบและการคำนวณ โดยมีการแบ่งองค์ประกอบของเครื่องจักรที่ประกอบด้วย ชุดยกม้วนสายไฟฟ้า ชุดวัดความยาวสายไฟฟ้า ชุดปรับตึงและจัดเรียงสายไฟฟ้า สามารถรองรับรีลขนาดมาตรฐานได้ ขนาดความกว้างของรีลตั้งแต่ 400 มิลลิเมตร ถึง 1000 มิลลิเมตร สามารถติดตั้งรีลที่มีรูแกนกลางขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 70 มิลลิเมตร ถึง 100 มิลลิเมตร ม้วนแบ่งสายไฟฟ้าขนาด 6 ตารางมิลลิเมตรที่ความเร็วสูงสุดประมาณ 140 รอบต่อนาที สายไฟฟ้าขนาด 25 ตารางมิลลิเมตร ที่ความเร็วสูงสุดประมาณ 50 เมตรต่อนาที มีระบบกลไกยกม้วนสายไฟฟ้า สามารถหยุดการทำงานอัตโนมัติเมื่อแบ่งสายไฟฟ้าครบระยะตามต้องการและใช้คนเพียงคนเดียว</p>
นพชัย สายแวว, พิษณุ จันทร์เหลือง, ศุภชัย ศรีเหรา, ธีรพรรธ ประจันทะ, ขวัญชัย เสวีนันท์
Copyright (c) 2025 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/250044
Wed, 25 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
การพัฒนาระบบติดตามปริมาณความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด และอัตราการเต้นของหัวใจระยะไกล แจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชันไลน์
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/252209
<p>งานวิจัยนี้ได้พัฒนาระบบติดตามปริมาณความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจระยะไกล แจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ผู้ใช้และผู้ดูแลสามารถติดตามตรวจสอบปริมาณออกซิเจนและอัตราการเต้นของหัวใจแบบปัจจุบันและย้อนหลังผ่านหน้าเว็บแอปพลิเคชัน ซึ่งมีการบันทึกปริมาณออกซิเจนในเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจตามกำหนดเวลาที่ตั้งค่าได้ กรณีปริมาณออกซิเจนในเลือดหรืออัตราการเต้นของหัวใจมีความผิดปกติ ระบบจะแจ้งเตือนไปยังแอปพลิเคชันไลน์ ทำให้ผู้ดูแลสามารถรับรู้และช่วยเหลือได้ทันต่อสถานการณ์ การพัฒนาเครื่องตรวจวัดปริมาณออกซิเจนในเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจ ในงานวิจัยนี้ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ โหนดเอ็มซียู ในการควบคุมการทำงาน ข้อมูลจากเซนเซอร์วัดอัตราการเต้นหัวใจและออกซิเจนในเลือดจะถูกส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและจัดเก็บข้อมูลด้วยบริการออนไลน์ของกูเกิลชีต เพื่อดูผลการวัดแบบต่อเนื่องและสามารถเฝ้าติดตามในระยะไกลได้ มีการแจ้งเตือนด้วยเสียงพูดที่ได้บันทึกไว้ในไมโครเอสดีการ์ด ผลการวิจัยพบว่า สามารถวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจ บันทึกผลการวัดไปเก็บที่กูเกิลชีตได้ตามเวลาที่ตั้งค่า มีระบบบริหารจัดการเครื่องวัดผ่านเว็บแอปพลิเคชัน การทดสอบประสิทธิภาพเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องวัดออกซิเจนที่ปลายนิ้ว พบว่า มีความแตกต่าง ร้อยละ 1.41 สำหรับการทดสอบวัดอัตราการเต้นของหัวใจ และร้อยละ 0.41 สำหรับการทดสอบปริมาณความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด</p>
รัตนสุดา สุภดนัยสร, ณัฐนนท์ แร่เพชร, ณัฐดนัย สิงห์คลีวรรณ, ธีรถวัลย์ ปานกลาง
Copyright (c) 2025 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/252209
Wed, 25 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
การจำลองการปล่อยน้ำเพิ่มเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าของเขื่อนไฟฟ้าเซน้ำน้อย 1 จังหวัดอัตตะปือ สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/251590
<p>งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจำลองการปล่อยน้ำเพิ่ม เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก กังหันน้ำฟรานชิส เขื่อนไฟฟ้าเซน้ำน้อย 1 อยู่ภาคใต้ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ซึ่งเป็นเขื่อนไฟฟ้าขนาดเล็ก มีขนาดกําลังติดตั้ง 2 x 7.4 เมกะวัตต์ มีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ประมาณ 0.060 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรน้ำเต็มอ่าง 273,000 ลูกบาศก์เมตร สามารถผลิตไฟฟ้าได้ที่ระดับน้ำสูงสุด 252 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล และต่ำสุด 249 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ในบทความนี้ทำการจำลองการปล่อยน้ำเพิ่ม ใช้ข้อมูลจริงที่เก็บจากเขื่อนไฟฟ้าเซน้ำน้อย 1 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ใน พ.ศ. 2563 เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 1 มีกำลังผลิตไฟฟ้าที่จำลองปล่อยน้ำเพิ่ม เพิ่มได้สูงสุดร้อยละ 11 มีค่าเท่ากับ 5.56 เมกะวัตต์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 2 มีกำลังผลิตไฟฟ้าที่จำลองปล่อยน้ำเพิ่ม เพิ่มได้สูงสุดร้อยละ 10 มีค่าเท่ากับ 6.31 เมกะวัตต์ และ พ.ศ. 2564 เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 1 มีกำลังผลิตไฟฟ้าที่จำลองปล่อยน้ำเพิ่ม เพิ่มได้สูงสุดร้อยละ 10 มีค่าเท่ากับ 6.42 เมกะวัตต์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 2 มีกำลังผลิตไฟฟ้าที่จำลองปล่อยน้ำเพิ่ม เพิ่มได้สูงสุดร้อยละ 13 มีค่าเท่ากับ 5.86 เมกะวัตต์ ในปี พ.ศ. 2563 เขื่อนไฟฟ้าเซน้ำน้อย 1 สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ทั้งหมด จากเดิมเท่ากับ 55.728 กิกะวัตต์ชั่วโมง เมื่อจำลองปล่อยน้ำเพิ่มแล้วจะได้ค่าพลังงานไฟฟ้าได้ทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ 57.169 กิกะวัตต์ชั่วโมง และ พ.ศ. 2564 สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ทั้งหมด จากเดิมเท่ากับ 16.348 กิกะวัตต์ชั่วโมง เมื่อจำลองปล่อยน้ำเพิ่มแล้วจะได้ค่าพลังงานไฟฟ้าได้ทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ 16.811 กิกะวัตต์ชั่วโมง</p>
เจ้ย พรสวรรค์, นิกร เห็นงาม
Copyright (c) 2025 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/251590
Wed, 25 Jun 2025 00:00:00 +0700