วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru <p>วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่บทความวิจัย (Research Article) และบทความวิชาการ (Review Article) ของคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิชาการทั้งภายในและภายนอกสถาบัน วารสารฯ ยินดีรับบทความที่มีขอบเขตเนื้อหาเกี่ยวข้องในศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์แขนงต่าง ๆ (Engineering) วิทยาการคำนวณ (Computer Science) และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Environmental Science) โ<strong>ดยทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่น้อยกว่า 3 ท่านต่อหนึ่งบทความ โดยการประเมินเป็นในลักษณะของ Double-Blind Peer Review</strong></p> <p>วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีเริ่มตีพิมพ์เป็นเอกสารเมื่อปี พ.ศ.2561 (ISSN 2651-1282 (Printed)) และเริ่มเผยแพร่ในรูปของวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Journal) อย่างเป็นทางการในฐานะ Online Open Access Journal ผ่านระบบ ThaiJo เมื่อปี พ.ศ.2561 (ISSN 2651-1290 (Online))</p> คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี (Faculty of Industrial Technology, Ubon Ratchathani Rajabhat University) th-TH วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2651-1282 <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ท้ังในรูปแบบของรูปเล่มและอิเล็กทรอนิกส์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ</p> การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องคัดแยกปลากะตักตากแห้ง https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/245198 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบสร้างเครื่องคัดแยกปลากะตักตากแห้ง 2) เพื่อหาประสิทธิภาพเครื่องคัดแยกปลากะตักตากแห้ง และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้งานเครื่องคัดแยกปลากะตักตากแห้งที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งได้ผลการวิจัยดังนี้ การออกแบบสร้างเครื่องคัดแยกปลากะตักตากแห้งมีขนาดกว้าง 800 x ยาว 1,900 x สูง 1,200 มิลลิเมตร ใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 220 โวลต์ 1/2 แรงม้า ความเร็วรอบ 1,400 รอบ/นาที เป็นต้นกำลัง ตะแกรงคัดแยกขนาดกว้าง 740 x ยาว 1,700 x สูง 223 มิลลิเมตร ระยะชักของตะแกรงคัดแยก 250 มิลลิเมตร รูตะแกรงคัดแยกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร และจำนวนรูตะแกรงคัดแยก 4/1 ตารางนิ้ว มีระดับมุมเอียง 3 องศา การหาประสิทธิภาพในการคัดแยกปลากะตักตากแห้ง พบว่า การคัดแยกปลากะตักน้ำหนัก 5 กิโลกรัม ได้ปลากะตักน้ำหนักเฉลี่ย 4.73 เศษปลากะตักน้ำหนักเฉลี่ย 0.23 กิโลกรัม การคัดแยกปลากะตักน้ำหนัก 10 กิโลกรัม ได้ปลากะตักน้ำหนักเฉลี่ย 9.52 กิโลกรัม เศษปลากะตักน้ำหนักเฉลี่ย 0.40 กิโลกรัม การคัดแยกปลากะตักน้ำหนัก 15 กิโลกรัม ได้ปลากะตักน้ำหนักเฉลี่ย 14.32 กิโลกรัม เศษปลากะตักน้ำหนักเฉลี่ย 0.59 กิโลกรัม และการคัดแยกปลากะตักโดยรวม น้ำหนักรวม 30 กิโลกรัม สามารถคัดแยกปลากะตักได้น้ำหนักเฉลี่ย 28.57 กิโลกรัม และได้เศษปลากะตักน้ำหนักเฉลี่ย 1.22 กิโลกรัม ดังนั้นประสิทธิภาพในการคัดแยกปลากะตักของเครื่องคัดแยกปลากะตักตากแห้ง เท่ากับ 95.23% ส่วนความพึงพอใจต่อการใช้งานเครื่องคัดแยกปลากะตักตากแห้งจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน พบว่า มีผลระดับความพึงพอใจเฉลี่ยรวม 4.38 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (SD = 0.62)</p> วีรพล ทองคุปต์ กฤษฎา พรหมแก้ว พรพจน์ หลีเหล็ม ปรุฬห์ มะยะเฉี่ยว Copyright (c) 2023 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-09-29 2023-09-29 13 2 1 14 ปัจจัยเสี่ยงด้านการยศาสตร์ในการใช้เครื่องพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช แบบสะพายหลัง: กรณีศึกษาเกษตรกรบ้านดอนไฟ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/247371 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ในการใช้เครื่องพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแบบสะพายหลังของเกษตรกรบ้านดอนไฟ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง รูปแบบการวิจัยเป็นเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย และการประเมินทั่วทั้งร่างกาย วิธีการสุ่มตัวอย่างใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลจากการวิเคราะห์งานพบว่า การใช้เครื่องพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแบบสะพายหลังของเกษตรกรมีความเสี่ยงทั้งจากการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ถูกต้อง สำหรับการประเมินทั่วทั้งร่างกาย พบว่าขั้นตอนการยกสะพายเครื่องพ่นสารเคมี มีคะแนนเท่ากับ 11 หมายถึงมีความเสี่ยงทางการยศาสตร์สูงมากและควรปรับปรุงทันที รองลงมาคือขั้นตอนการผสมสารเคมี การกวนส่วนผสมสารเคมี การเทส่วนผสมลงในเครื่องพ่นสารเคมี และการฉีดพ่นสารเคมี (มีคะแนนเท่ากับ 10) หมายถึงมีความเสี่ยงทางการยศาสตร์สูง ควรได้รับการปรับปรุง ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ากลุ่มเกษตรกรมีความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ในการใช้เครื่องพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแบบสะพายหลัง ดังนั้นในภาพรวมควรมีการปรับปรุงการทำงาน ส่งเสริมความรู้และสร้างทัศนคติการทำงานที่ปลอดภัยเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านการยศาสตร์ที่เกิดขึ้นในระยะยาว</p> อนิรุจน์ มะโนธรรม ศิริมา เอมวงษ์ ธนวรกฤต โอฬารธนพร ปัญญา พลรักษ์ Copyright (c) 2023 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-09-29 2023-09-29 13 2 15 26 การพัฒนาระบบควบคุมสภาวะสบายภายในอาคาร https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/247528 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างระบบควบคุมสภาวะสบายภายในอาคารที่ใช้หลักการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ และความเร็วลมที่มาปะทะร่างกาย เพื่อสร้างสภาวะสบายภายในห้องจำลองให้เป็นไปตามมาตรฐาน ASHRAE 55 ระบบควบคุมที่สร้างขึ้นใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ควบคุมการทำงานของพัดลมดูดอากาศเข้า พัดลมระบายอากาศออก พัดลมหมุนเวียนอากาศภายในห้องและเครื่องลดความชื้น อุปกรณ์เหล่านี้ทำงานร่วมกันเพื่อควบคุมให้เกิดสภาวะสบายภายในห้อง เงื่อนไขที่จะทำให้เกิดสภาวะสบายได้นั้นจะต้องมีอุณหภูมิของอากาศอยู่ที่ 24-27 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ที่ร้อยละ 50-70 และความเร็วลมที่ 0.2-1.0 เมตรต่อวินาที ข้อมูลที่ใช้ในการควบคุมจะตรวจวัดโดยเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ ความชื้นและควัน ที่ติดตั้งไว้ทั้งภายในและภายนอกของห้อง หลักการทำงานของระบบก็คือ ควบคุมให้พัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยนอากาศระหว่างภายในและภายนอกห้องโดยให้อุณหภูมิภายในห้องน้อยกว่าหรือเท่ากับอุณหภูมิภายนอกห้องตลอดเวลา แล้วควบคุมให้เครื่องลดความชื้นทำงานจนค่าความชื้นสัมพัทธ์เป็นไปตามข้อกำหนด และหากเกิดควันไฟขึ้นภายในห้อง พัดลมระบายอากาศจะต้องทำการระบายควันออกจากห้องโดยทันที ผลการทดลองพบว่าระบบสามารถควบคุมสามารถทำให้เกิดสภาวะสบายภายในห้องจำลองตามมาตรฐาน ASHRAE 55 ได้เฉพาะช่วงเวลาที่อุณหภูมิภายนอกน้อยกว่าหรือเท่ากับ 27 องศาเซลเซียส ดังนั้นระบบควบคุมที่สร้างขึ้นจะสามารถทำงานได้ดีในฤดูหนาวหรือบางเวลาในฤดูฝนเท่านั้น ส่วนในฤดูร้อนแม้ว่าระบบจะไม่สามารถควบคุมให้สภาพอากาศภายในห้องเข้าสู่สภาวะสบายได้ แต่จะช่วยลดภาระในการทำความเย็นของระบบปรับอากาศลงได้ในกรณีที่อุณหภูมิภายในห้องร้อนกว่าภายนอกห้อง</p> เจนศักดิ์ เอกบูรณะวัฒน์ Copyright (c) 2023 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-09-29 2023-09-29 13 2 27 40 อุปกรณ์การฝึกการทรงตัวแบบให้ผลป้อนกลับผ่านทางสายตา https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/246450 <p>ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คือ ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการทรงตัว เนื่องจากการสูญเสียความสามารถในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลำตัวและขา และการสูญเสียการรับความรู้สึก ในการฟื้นฟูผู้ป่วยด้วยการฝึกทรงตัว ผู้ป่วยได้รับการป้อนกลับด้วยเสียงโดยอาศัยการสังเกตของนักกายภาพบำบัด ซึ่งการสังเกตนี้ อาจจะขาดความถูกต้อง และไม่สามารถวัดค่าเป็นเชิงปริมาณได้ ดังนั้น วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้ คือ การพัฒนาอุปกรณ์การฝึกการทรงตัวแบบให้ผลป้อนกลับผ่านทางสายตาซึ่งมีส่วนประกอบ 2 ชุด คือ ชุดป้อนกลับสำหรับการนั่งทรงตัว และชุดป้อนกลับสำหรับการยืนทรงตัว โหลดเซลล์จำนวน 2 ตัว ถูกติดตั้งในชุดป้อนกลับการนั่งทรงตัว ใช้เพื่อวัดน้ำหนักและเฝ้าติดตามการทรงตัวในการนั่ง และโหลดเซลล์ จำนวน 4 ตัว ถูกใช้ในชุดป้อนกลับการยืนทรงตัว เพื่อตรวจวัดการลงน้ำหนักของเท้าทั้งปลายเท้าและส้นเท้า ค่าน้ำหนักถูกส่งไปยังตัวแสดงผลผ่านทางการสื่อสารแบบ RS485 ตัวแสดงผลรับค่าน้ำหนักและแสดงผลป้อนกลับผ่านทางหน้าจอ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวเองกลับสู่สมดุลได้โดยสังเกตจากหน้าจอ ผลการทดลองพบว่า อุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นทำงานได้ถูกต้องตามที่ออกแบบไว้ ผู้ทดสอบทราบการลงน้ำหนักด้วยการมองขณะฝึก นอกจากนี้ หลังจากการฝึกนักกายภาพบำบัดยังได้ผลสรุปการฝึกเพื่อนำไปวิเคราะห์หรือเปรียบเทียบประสิทธิภาพก่อนและหลังการฝึกได้</p> เกียรติสิน กาญจนวนิชกุล ปริญญ์ ชุปวา นพชัย คงเจริญ กฤษฎา ศรีแจ่ม Copyright (c) 2023 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-09-29 2023-09-29 13 2 41 54 การศึกษาประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ของระบบทำน้ำร้อน แบบผสมผสานระหว่างปั๊มความร้อนจากแหล่งอากาศ และระบบทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/248235 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของระบบทำน้ำร้อนผสมผสานระหว่างปั๊มความร้อนจากแหล่งอากาศและระบบทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมทั้งเปรียบเทียบความคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ โดยในการทดลองประสิทธิภาพจะเป็นการทดสอบระบบทำน้ำร้อนในจังหวัดเพชรบุรี จากผลการทดลอง พบว่าในการทำงานของระบบทำน้ำร้อนผสมผสานจะทำงานในช่วง 08.00 น. ถึง 16.00 น. เนื่องจากที่เวลาดังกล่าวจะมีความเข้มแสงอาทิตย์ที่ทำให้ระบบทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์และปั๊มความร้อนจากแหล่งอากาศผลิตน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นค่าสัมประสิทธิ์ประสิทธิภาพรวมของระบบทำน้ำร้อนแบบผสมผสานมีค่าในช่วง 3.2 ถึง 3.5 โดยค่าที่ได้จะเกิดจากค่าสัมประสิทธิ์ประสิทธิภาพของปั๊มความร้อนจากแหล่งอากาศในช่วง 3.0 ถึง 3.1 และค่าสัมประสิทธิ์ประสิทธิภาพของระบบทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วง 0.1 ถึง 0.4 เมื่อพิจารณาความคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์โดยเปรียบเทียบระบบทำน้ำร้อนผสมผสานกับระบบทำน้ำร้อนขดลวดไฟฟ้าจะเห็นว่าค่าใช้จ่ายการลงทุนของระบบทำน้ำร้อนผสมผสานจะมีค่ามากกว่าระบบทำน้ำร้อนขดลวดไฟฟ้าแต่ค่าไฟฟ้าที่ใช้ในการผลิตน้ำร้อนของระบบทำน้ำร้อนผสมผสานน้อยกว่าระบบทำน้ำร้อนขดลวดไฟฟ้าอย่างมาก พิจารณาอัตราผลตอบแทนภายในและระยะเวลาคืนทุนพบว่าระบบทำน้ำร้อนผสมผสานสามารถทดแทนระบบทำน้ำร้อนขดลวดไฟฟ้าได้คุ้มค่าเนื่องจากมีอัตราผลตอบแทนภายในร้อยละ 19 ที่มากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ร้อยละ 12 และระยะเวลาคืนทุน 4.8 ปี ซึ่งน้อยกว่าช่วงอายุการใช้งานระบบทำน้ำร้อนผสมผสานที่ 15 ปี</p> สรศักดิ์ วิวัฒนสราญรมย์ ประจวบ กล่อมจิตร Copyright (c) 2023 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-09-29 2023-09-29 13 2 55 68 ผลกระทบด้านกำลังอัดของจีโอพอลิเมอร์เพสต์และกำลังดัดของจีโอพอลิเมอร์มอร์ต้าร์ : กรณีศึกษา ใช้เถ้าลอยถ่านหินกับซิลิก้าฟูมเป็นส่วนผสม https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/244810 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของอัตราส่วนเถ้าลอยถ่านหินต่อซิลิก้าฟูม (FA : SiO<sub>2</sub>) ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) อัตราส่วนของโซเดียมไฮดรอกไซด์ต่อโซเดียมซิลิเกต (NaOH : Na<sub>2</sub>OSiO<sub>2</sub>) โดยน้ำหนัก ต่อกำลังอัดของจีโอโพลิเมอร์เพสต์ และเพื่อศึกษาถึงผลกระทบของอัตราส่วนเถ้าลอยถ่านหินต่อซิลิก้าฟูม (FA : SiO<sub>2</sub>) โดยน้ำหนัก ต่อกำลังดัดของจีโอพอลิเมอร์มอร์ต้าร์ ผลการศึกษาของกำลังอัด พบว่า อัตราส่วนเถ้าลอยถ่านหินต่อซิลิก้าฟูม ร้อยละ 80 : 20 ให้กำลังอัดสูงที่สุด มีค่าเท่ากับ 91.32 กก/ซม<sup>2</sup> โดยการใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ที่มีความเข้มข้นสูงขึ้นทำให้การพัฒนากำลังอัดดีขึ้น ผลการศึกษาของกำลังดัด พบว่า อัตราส่วนระหว่างเถ้าลอยถ่านหินกับซิลิก้าฟูมเท่ากับ 80 : 20 มีค่ากำลังดัดสูงสุดเท่ากับ 3.33 กก/ซม<sup>2</sup> ผลงานวิจัยนี้สรุปได้ว่าสามารถทำคอนกรีตบล็อกเชิงตันไม่รับน้ำหนักตามมาตรฐาน มอก. 2895-2561 ได้จริง เพราะมาตรฐานดังกล่าวได้กำหนดให้คอนกรีตบล็อกเชิงตันไม่รับน้ำหนักต้องรับกำลังอัดไม่น้อยกว่า 40.61 กก/ซม<sup>2</sup> ดังนั้น งานวิจัยขั้นต่อไปจะใช้อายุบ่มที่มากขึ้นหรือเปลี่ยนอัตราส่วนผสม เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของงานวิจัยให้ดีขึ้นอย่างไรก็ตามกำลังอัดของจีโอโพลิเมอร์เพสต์และกำลังดัดของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์ในงานวิจัยนี้ จะมีการศึกษาต่อเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์คอนกรีตกำลังสูงต่อไป</p> วัชรพล บัวแก้ว จิราวุธ วโรภาสกร ภาณุพงศ์ เมืองงาว สมิตร ส่งพิริยะกิจ อดิสรณ์ พงษ์สุวรรณ Copyright (c) 2023 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-09-29 2023-09-29 13 2 69 81 การพัฒนาระบบแจ้งเตือนสิ่งกีดขวางและขอความช่วยเหลือสำหรับผู้พิการทางสายตาผ่านแอ็ปพลิเคชันไลน์ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/247607 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบแจ้งเตือนสิ่งกีดขวางและขอความช่วยเหลือสำหรับผู้พิการทางสายตาผ่านแอ็ปพลิเคชันไลน์ ประกอบด้วย ไมโครคอนโทรลเลอร์ โหนดเอ็มซียู ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล รับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และไมโครคอนโทรลเลอร์ อาดูโน่ ยูโน่ ทำหน้าที่สื่อสารกับโมดูลเล่นเพลง mp3เพื่อแจ้งเตือนด้วยเสียงพูดที่บันทึกใน ไมโครเอสดีการ์ด และโมดูลการสื่อสารไร้สาย NRF24L01 สำหรับส่งค่าแจ้งตำแหน่งสถานที่ภายในที่พักอาศัยของผู้พิการแบบไร้สาย ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบสามารถตรวจจับสิ่งกีดขวาง<br />ที่อยู่ข้างหน้าด้วยเซนเซอร์อัลตราโซนิคในระยะ 0 – 80 เซนติเมตร ซึ่งแบ่งการแจ้งเตือนได้ 3 ระยะ 2) ระบบสามารถแจ้งเตือนตำแหน่งสถานที่ภายในที่พักอาศัยของผู้พิการทางสายตาด้วยเสียงพูด เมื่อผู้พิการทางสายตา<br />เดินผ่านที่ระยะห่าง 10 – 60 เซนติเมตร 3) ระบบสามารถส่งข้อความขอความช่วยเหลือพร้อมแผนที่ตำแหน่ง ด้วยการกดปุ่มจากตัวเครื่องส่งข้อความร้องขอความช่วยเหลือจากผู้พิการทางสายตาไปยังแอ็ปพลิเคชันไลน์ของผู้ดูแล<br />โดยความเร็วในการส่งข้อความเฉลี่ย 3.09 วินาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเร็วของอินเทอร์เน็ต 4) ผู้ดูแลผู้พิการทางสายตาสามารถติดตามความเคลื่อนไหวและถ่ายภาพผู้พิการทางสายตาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจากเว็บเบราว์เซอร์ ทั้งนี้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะมีผลต่อการส่งข้อความแจ้งเตือน พิกัดตำแหน่ง และภาพถ่ายของผู้พิการทางสายตา<br />ผ่านแอ็ปพลิเคชันไลน์</p> รัตนสุดา สุภดนัยสร จิรวัฒน์ กลับสุข ลิตา แหวนแก้ว ธีรถวัลย์ ปานกลาง Copyright (c) 2023 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-09-29 2023-09-29 13 2 83 96 Preparation of Composite Beads from Surfactant-modified Montmorillonite Clay for Reactive Black 5 Dye Adsorption https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/247827 <p>Contamination of synthetic dyes in natural bodies of water harms aquatic lives and humans. These dyes must be removed before discharge. Adsorption by the adsorbent, which is of natural origin, low cost, and abundance in Thailand, is gaining popularity. The objective of this research is to develop a composite bead made from montmorillonite clay modified by a cationic surfactant (OMMT) and chitosan (CTS) as an adsorbent for the adsorption of the reactive black 5 dye (RB5) in a batch system. The design of experiments was based on the Box-Behnken approach with three factors (the mass of the surfactant (Tetradecyltrimethylammonium bromide, TTAB), OMMT, and CTS) and three levels. In addition, the response surface model was used to investigate the relationship between three factors and to determine the optimum composition. The experimental results revealed that all three factors positively affected the removal of RB5. The dye removal was strongly influenced by the mass of CTS. The optimum composition of the composite bead was found to be 0.33 g TTAB, 0.18 g OMMT, and 0.036 g CTS with the predicted dye removal efficiency of 80.27%. The proposed model can effectively predict the dye uptake under defined adsorption conditions and the use of a composite bead as the adsorbent can reduce the expense of recovery from liquid after the adsorption process.</p> ปริวัชร นามด้วง จักรกฤษณ์ อัมพุช Copyright (c) 2023 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-09-29 2023-09-29 13 2 97 110 อัลกอริทึมวิวัฒนาการผลต่างที่มีประสิทธิภาพสำหรับการแก้ปัญหาการจัดเส้นทางการขนส่งแบบหลายคลังสินค้า: กรณีศึกษาโรงงานแปรรูปมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/249531 <p>งานวิจัยนี้นำเสนออัลกอริทึมวิวัฒนาการผลต่าง (Differential Evolution Algorithm, DE Algorithm) ที่มีประสิทธิภาพ สำหรับการแก้ปัญหาการจัดเส้นทางการขนส่งแบบหลายคลังสินค้า (Multi-Depot Vehicle Routing Problem, MDVRP)&nbsp; ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้แนวคิดของอัลกอริทึมวิวัฒนาการผลต่าง สำหรับการหาผลเฉลยของปัญหาการจัดเส้นทางการขนส่งแบบหลายคลังสินค้า กรณีศึกษากรณีศึกษาโรงงานแปรรูปมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อหาระยะทางรวมต่ำสุด โดยขั้นตอนของอัลกอริทึมวิวัฒนาการผลต่างที่นำเสนอ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ การหาคำตอบเริ่มต้น (Initial solution) &nbsp;การผ่าเหล่า (Mutation) การรวมกัน (Recombination) และการเลือก (Selection) ร่วมกับการถอดรหัสแบบละโมบ (Greedy Decoding)&nbsp; ผลการทดสอบพบว่าอัลกอริทึมวิวัฒนาการผลต่างที่นำเสนอให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพอยู่ระดับที่ดีเมื่อเทียบกับฮิวริสติกแบบสองเฟส (Cluster-First Route -Second) และ DE-ROV Decoding โดยวิธี DE-Greedy ROV Decoding ที่นำเสนอมีประสิทธิภาพในการจัดเส้นทางการขนส่งที่ดีกว่าฮิวริสติกแบบสองเฟส และ อัลกอริทึม DE-ROV Decoding คิดเป็นร้อยละ 3.88 และ 1.87 ตามลำดับ</p> ฉกาจ เชื่อดี ปรีชา เกรียงกรกฎ นุชสรา เกรียงกรกฎ Copyright (c) 2023 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-09-29 2023-09-29 13 2 111 123 การอบแห้งสมุนไพรดีปลีที่อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/248765 <p> </p> <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการอบแห้งสมุนไพรดีปลี และเพื่อหาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมกับการอบแห้งสมุนไพรดีปลีที่อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ โดยอบแห้งสมุนไพรดีปลีด้วยอากาศจากเครื่องควบคุมอากาศที่พัฒนามาจากเครื่องปรับอากาศในอาคารทำงานร่วมกับขดลวดทำความร้อน <br />ผลการทดลอง พบว่า ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อเวลาการอบแห้ง เมื่อความชื้นสัมพันธ์ของอากาศเพิ่มขึ้นจาก 30 เปอร์เซ็นต์ เป็น 40 เปอร์เซ็นต์ และ 50 เปอร์เซ็นต์ ค่าเวลาการอบแห้งจะเพิ่มขึ้นจาก 74 ชั่วโมง เป็น 105 ชั่วโมง และ 113 ชั่วโมง ตามลำดับ และส่งผลต่อค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้นของสมุนไพรดีปลี เมื่อความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศเพิ่มขึ้น ค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้นของสมุนไพรดีปลีจะลดลง มีค่าการทดลองดีที่สุด คือ ที่ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ 30 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้เวลาในการอบแห้งน้อยที่สุด 74 ชั่วโมง มีค่าอัตราการอบแห้งสูงสุดเท่ากับ 0.13 ต่อชั่วโมง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นของการทดลองและมีค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้นสูงสุดเท่ากับ 11.156264×10<sup>-12</sup> ตารางเมตรต่อวินาที แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการอบแห้งที่อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ คือ แบบจำลองเฮนเดอร์สันและพาบิส 2 เทอม การหาค่านอกช่วงการทดลองโดยแบบจำลองพบว่า การลดความชื้นให้ต่ำลง ค่าเวลาการอบแห้งจะต่ำลงเช่นเดียวกัน และส่งผลให้ค่าความสิ้นเปลืองพลังงานเพิ่มขึ้น ดังนั้นถ้าพิจารณาจากความสิ้นเปลืองพลังงาน พบว่า ปัจจัยความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ 35 เปอร์เซ็นต์ เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด เพราะมีความสิ้นเปลืองพลังงานน้อยสุด 32.5 กิโลวัตต์-ชั่วโมง นอกจากนั้นยังพบว่าการอบแห้งแบบแสงอาทิตย์จะมีปริมาณเชื้อรามากกว่าการอบแห้งแบบอุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์ต่ำถึง 7.99×10<sup>3</sup> โคโลนีต่อกรัม</p> นพพร เทนอิสสระ สมเกียรติ สุขุมพันธ์ Copyright (c) 2023 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-09-29 2023-09-29 13 2 125 138