https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/issue/feed
วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
2024-09-23T12:05:29+07:00
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุระเจตน์ อ่อนฤทธิ์
ind-journal@ubru.ac.th
Open Journal Systems
<p>วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่บทความวิจัย (Research Article) และบทความวิชาการ (Review Article) ของคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิชาการทั้งภายในและภายนอกสถาบัน วารสารฯ ยินดีรับบทความที่มีขอบเขตเนื้อหาเกี่ยวข้องในศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์แขนงต่าง ๆ (Engineering) วิทยาการคำนวณ (Computer Science) และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Environmental Science) โ<strong>ดยทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่น้อยกว่า 3 ท่านต่อหนึ่งบทความ โดยการประเมินเป็นในลักษณะของ Double-Blind Peer Review</strong></p> <p>วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีเริ่มตีพิมพ์เป็นเอกสารเมื่อปี พ.ศ.2561 (ISSN 2651-1282 (Printed)) และเริ่มเผยแพร่ในรูปของวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Journal) อย่างเป็นทางการในฐานะ Online Open Access Journal ผ่านระบบ ThaiJo เมื่อปี พ.ศ.2561 (ISSN 2651-1290 (Online))</p>
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/249576
ผลของการเชื่อมและการทำกรรมวิธีทางความร้อนที่ส่งผลต่อความแข็งของเหล็กหล่อโครเมียมสูง
2023-01-30T16:49:02+07:00
สำเภา โยธี
sumpao.yo@rmuti.ac.th
ปริญญวัตร ทินบุตร
parinyawat.ti@rmuti.ac.th
สุพิชชา มีธรรม
Supitchamayny@gmail.com
ณัฐดาภรณ์ ไต่ตาม
nudaporn2957@gmail.com
<p>เหล็กหล่อโครเมียมสูงถูกใช้งานภายใต้สภาวะที่มีการสึกหรอสูงเกิดการแตกหักบ่อยครั้ง ความเสียหายนี้ส่งผลต่อต้นทุนการผลิต ซึ่งการเชื่อมซ่อมแซมสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ การเชื่อมต้องใช้ตัวแปรในการเชื่อมที่เหมาะสมเพื่อให้ได้คุณสมบัติเหมาะกับการใช้งาน งานวิจัยนี้ศึกษาผลของการเชื่อม การชุบแข็งและการอบคืนตัวต่อความแข็งของเหล็กหล่อโครเมียมสูงเพื่อเป็นแนวทางในการเชื่อมซ่อมบำรุง ปัจจัยในการศึกษาคือ การเชื่อม การชุบแข็งและการอบคืนตัว ชิ้นทดลองถูกนำไปอบอ่อนที่อุณหภูมิ 950 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 ชั่วโมง จากนั้นเชื่อมชิ้นทดลองด้วยลวดเชื่อม Ni 98 ชิ้นงานเชื่อมถูกอบที่อุณหภูมิ 1,050 องศาเซลเซียส 1 ชั่วโมง 30 นาที ชุบแข็งในน้ำมัน ชิ้นงานที่ผ่านการชุบแข็งถูกอบคืนตัวที่อุณหภูมิ 525 องศาเซลเซียส 1 ชั่วโมง จากนั้นวัดความแข็งด้วยเครื่องทดสอบแบบร็อคเวล 3 บริเวณ คือ บริเวณโลหะเชื่อม บริเวณผลกระทบจากความร้อนและบริเวณโลหะพื้น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผลการทดลองพบว่าบริเวณโลหะเชื่อมทั้งสามกระบวนการมีค่าความแข็งไม่แตกต่างกัน ส่วนบริเวณผลกระทบจากความร้อนและบริเวณโลหะพื้นนั้นการชุบแข็งและการอบคืนตัวส่งผลให้บริเวณผลกระทบจากความร้อนและบริเวณโลหะพื้นมีค่าความแข็งสูงกว่าบริเวณโลหะเชื่อม บริเวณโลหะพื้นมีค่าความแข็งสูงสุด คือ 63 HRC การวิเคราะห์สถิติพบว่าค่าความแข็งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 การเชื่อมเหล็กหล่อโครเมียมสูงและการทำกรรมวิธีทางความร้อนส่งผลต่อการเพิ่มค่าความแข็งบริเวณโลหะพื้น จากการเกิดคาร์ไบด์ลำดับที่สองและมาร์เทนไชต์ ในการเลือกใช้ลวดเชื่อม Ni 98 ปริมาณนิเกิลในลวดเชื่อมที่สูงส่งผลให้ออสเทนไนต์มีความเสถียรภาพสูง ซึ่งลดโอกาสการเกิดมาร์เทนไชต์ส่งผลให้ค่าความแข็งโลหะเชื่อมต่ำกว่าโลหะพื้น</p>
2024-09-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/250234
การจำแนกพันธุ์ทุเรียนเพื่อการส่งออกด้วยการใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน
2023-03-17T15:48:15+07:00
ยิ่งยศ ทิพย์ศรีราช
yingyos.th.59@ubu.ac.th
คณิศร ภูนิคม
kanisorn.p@ubu.ac.th
<p>บทความนี้เป็นการนำเสนอการใช้เทคนิคโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจำแนกทุเรียนให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานการส่งออก ในการทดลองใช้ทุเรียน 4 พันธุ์ และแบ่งตามชั้นคุณภาพเป็น 3 ชั้น รวมเป็น 12 กลุ่ม ได้แก่ หมอนทองชั้นพิเศษ หมอนทองชั้นหนึ่ง หมอนทองชั้นสอง ชะนีชั้นพิเศษ ชะนีชั้นหนึ่ง ชะนีชั้นสอง ก้านยาวขั้นพิเศษ ก้านยาวชั้นหนึ่ง ก้านยาวชั้นสอง กระดุมทองชั้นพิเศษ กระดุมทองชั้นหนึ่ง และกระดุมทองชั้นสอง ทดสอบสถาปัตยกรรม LeNet-5 กับสถาปัตยกรรมอย่างง่ายของโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน จากการทดสอบพบว่า การปรับขนาดภาพเป็น 500 x 500 พิกเซล ใช้สถาปัตยกรรม LeNet-5 และฟังก์ชันเรคติไฟด์ลินเนียนยูนิต ใช้จำนวนรอบในการเรียนรู้ 30 รอบ มีค่าความแม่นยำในการเรียนรู้มากที่สุด คือ 99.86 เปอร์เซ็นต์ สถาปัตยกรรมแบบคอนโวลูชัน 4 ชั้น ใช้จำนวนรอบในการเรียนรู้ 50 รอบ มีค่าความแม่นยำในการทดสอบมากที่สุด คือ 95.36 เปอร์เซ็นต์ และสถาปัตยกรรมแบบคอนโวลูชัน 5 ชั้น ใช้จำนวนรอบในการเรียนรู้ 50 รอบ มีค่าความถูกต้องในการทำนายผลมากที่สุด คือ 97.89 เปอร์เซ็นต์ จากผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าการใช้สถาปัตยกรรมอย่างง่ายของโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชันสามารถจำแนกภาพทุเรียนขนาด 500 x 500 พิกเซล ได้แม่นยำและทำนายผลได้ถูกต้องมากที่สุด</p>
2024-09-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/250720
การพัฒนาต้นแบบแอปพลิเคชันคัดกรองภาวะสมองเสื่อม
2022-12-09T09:18:37+07:00
เอกรินทร์ วทัญญูเลิศสกุล
egkarin.w@ubru.ac.th
วจิราภรณ์ ประชุมรักษ์
wajiraporn.b@ubru.ac.th
ธัญลักษม์ ดีกา
Tanyaluk.d@ubru.ac.th
ภักศจีภรณ์ ขันทอง
Phaksachiphon.k@ubru.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการทำงานและความต้องการของผู้ใช้งานแบบทดสอบ สมรรถภาพสมองในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อม 2) ออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้และส่วนต่อประสานผู้ใช้สำหรับการคัดกรองภาวะสมองเสื่อม 3) พัฒนาต้นแบบแอปพลิเคชันสำหรับการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงวัย และ 4) ประเมินความพึงพอใจผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างผู้ทดสอบใช้งาน ประกอบด้วย แพทย์ นักออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชัน ผู้สูงวัย และบุคคลทั่วไป จำนวน 23 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบสำรวจที่มีรูปแบบคำถามและเกณฑ์วัดผลที่หลากหลายวิธีการ การจัดเก็บ วิเคราะห์ และสืบค้นย้อนหลังทำได้โดยยาก 2) การออกแบบระบบใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การเข้าใจ การนิยาม การสร้างสรรค์ การสร้างต้นแบบ และการทดสอบ 3) ต้นแบบแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อช่วยในการเก็บข้อมูลได้สะดวกขึ้น ได้แก่ การประมวลภาพและการเรียนรู้เชิงลึก การจดจำและประมวลเสียงพูด การสัมผัสและท่าทางบนหน้าจอ การวิเคราะห์ตัวเลข และการจับเวลา โดยในการทำแบบทดสอบด้วยแอปพลิเคชันคัดกรองภาวะสมองเสื่อมยังคงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการควบคุมและประเมินผลเพื่อให้ผู้รับการทดสอบสามารถปฏิบัติตามโพรโทคอลของเครื่องมือแบบทดสอบสมรรถภาพสมองได้อย่างถูกต้อง และ 4) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานแอปพลิเคชันคัดกรองภาวะสมองเสื่อมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 80.98 จากคะแนนเต็ม 100.00 โดยใช้ทฤษฎีมาตราส่วนการใช้งานระบบเป็นเครื่องมือในการประเมินผล</p>
2024-09-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/250540
การออกแบบและสร้างเครื่องยิงลูกฟุตบอลเพื่อการฝึกซ้อมแบบอัตโนมัติที่ควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์
2023-05-03T15:01:27+07:00
อนุชา ดีผาง
anucha.dee@neu.ac.th
ชัยพร อัดโดดดร
chaiporn.add@neu.ac.th
วิชาญ ศรีสุวรรณ์
wichan.sri@neu.ac.th
<p>บทความนี้นำเสนอการออกแบบและสร้างเครื่องยิงลูกฟุตบอลโดยอาศัยทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ โดยฟุตบอลเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่รู้จักกันดี ได้รับความนิยมสูงที่สุดและแพร่หลายมากที่สุดในโลก ซึ่งนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้กับเครื่องยิงลูกฟุตบอล เพื่อแก้ไขปัญหาการฝึกซ้อมโดยไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากกีฬาฟุตบอลเป็นกีฬาที่ต้องฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาทักษะจึงต้องใช้อุปกรณ์ช่วยในการฝึกซ้อมซึ่งมีราคาที่สูง ส่งผลให้ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อจัดซื้อ งานวิจัยนี้จึงคิดค้นเครื่องยิงลูกฟุตบอลสำหรับการฝึกซ้อมที่มีราคาไม่สูงมากนัก พร้อมทั้งยังมีระบบต่าง ๆ แต่ละส่วนทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป เช่น ระบบควบคุมความเร็วสามารถปรับความเร็วได้ 5 ระดับ ระบบควบคุมองศาการยิงสามารถปรับได้ตั้งแต่ 15 ถึง 55 องศา และระบบลำเลียงลูกฟุตบอลส่งไปยังมอเตอร์ยิง การควบคุมทั้งหมดเกี่ยวกับการยิงลูกฟุตบอลจะดำเนินการผ่านไมโครคอนโทรลเลอร์ และยังเป็นตัวอย่างในการคิดค้นอุปกรณ์อำนวยความสะดวก โดยนำความรู้ด้านวิศวกรรมไฟฟ้ามาประยุกต์ใช้ในกีฬาฟุตบอล จากการทดสอบ จะพบว่า ความเร็วเฉลี่ยสูงสุดที่มุมยิง 30 องศา จะมีความเร็วเฉลี่ยประมาณ 32.05 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และที่มุมยิง 55 องศา จะมีระยะทางที่ยิงได้ไกลที่สุดเฉลี่ยประมาณ 14.88 เมตร ทำให้อำนวยความสะดวก สบายในการฝึกซ้อมและยังเพิ่มศักยภาพและทักษะในด้านการเล่นฟุตบอลให้กับผู้ฝึกฝนได้เป็นอย่างมากอีกด้วย</p>
2024-09-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/250787
การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเส้นใยกล้วยด้วยเทคนิคการย้อมซ้อนสี กรณีศึกษา กลุ่มจักสานจากเชือกกล้วย จังหวัดสงขลา
2023-03-04T11:15:37+07:00
พันธ์ยศ วรเชฐวราวัตร์
panyod.w@rmutsv.ac.th
พรโพยม วรเชฐวราวัตร์
pronpoyom.w@rmutsv.ac.th
สิริรัตน์ พึ่งชมภู
sirirat.pungchompoo@gmail.com
<p>ปัจจุบันการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนไปปรับใช้กับวิสาหกิจชุมชนยังมีข้อจำกัด การออกแบบสินค้าและผลิตภัณฑ์ยังไม่เป็นไปตามแนวคิดของผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการผลิตสินค้าที่ไม่หลากหลาย ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงนำเทคโนโลยีและองค์ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนตามความต้องการของชุมชนที่ต้องการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายโดยใช้สีธรรมชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการย้อมเส้นใยกล้วยด้วยสีธรรมชาติ เปรียบเทียบเส้นใยกล้วยที่เพิ่มประจุบวกกับไม่เพิ่ม เพื่อพัฒนาสีม่วง สิรินธรในการย้อมเส้นใยกล้วยด้วยสีธรรมชาติด้วยเทคนิคการย้อมซ้อนสี ผลจากการทดลอง พบว่า การเพิ่มประจุบวก ในการย้อมเส้นใยกล้วยด้วยสีธรรมชาติช่วยให้สีติดมากขึ้น ช่วยเพิ่มความคงทนของสีต่อแสงแดดเทียมในระดับเป็นที่พึงพอใจจากการย้อมสีธรรมชาติเส้นใยที่ได้และสำหรับการย้อมซ้อนสีสามารถพัฒนาให้เกิดสีม่วงสิรินธรที่มีเฉดสีต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยไล่ระดับความเข้มของสีจากม่วงครามไปสู่ม่วงแดงตามลำดับ นอกจากนี้นักวิจัยทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้อสรุปของการทดลองโดยสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ทั้งในรูปเส้นใยกล้วยแบบแผ่นบางทั้งสีธรรมชาติและสีย้อมม่วง รวมถึงถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนสำหรับการพัฒนาอาชีพของคนในพื้นที่จังหวัดสงขลา</p>
2024-09-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/248985
การพัฒนาแผนที่อัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ศูนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี วิทยาเขตบ้านยางน้อย
2022-12-09T14:13:33+07:00
กษมา ดอกดวง
kasama.d@ubru.ac.th
อรอุมา เนียมหอม
onuma.n@ubru.ac.th
ชานนท์ จังกาจิตต์
chanon.j@ubru.ac.th
ภัทระ เกิดอินทร์
phatthara.k@ubru.ac.th
บุญมี โททำ
boonmee.t@ubru.ac.th
<p>ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและทันสมัยอยู่ตลอดเวลาซึ่งได้มีการนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเข้ามาช่วยในการนำเสนอข้อมูลเพื่อช่วยให้ผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์กับโลกความจริงเสริมและโลกแห่งความเป็นจริงในแอปพลิเคชัน และในด้านของการศึกษามีการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเข้ามาสนับสนุนในการเรียนการสอน การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา รวบรวมข้อมูลทรัพยากรศูนย์การเรียนรู้ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี วิทยาเขตบ้านยางน้อย พัฒนาแผนที่อัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบประกอบด้วยโปรแกรม Adobe Illustrators เพื่อสร้างตัวละคร 2 มิติ โปรแกรม Unity 3D และโปรแกรม Vuforia ผลการประเมินความพึงพอใจด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจ ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการทำงาน ด้านภาพและเสียง ด้านเนื้อหา และด้านการใช้ประโยชน์ โดยกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน ประกอบด้วย ประชาชนและคนในชุมชนใกล้มหาวิทยาลัย จำนวน 70 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน และเจ้าหน้าที่ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง พบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการทำงานของแอปพลิเคชัน อยู่ในระดับมาก ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.49, S.D. = 0.69) โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ 1 ประชาชนและคนในชุมชนใกล้มหาวิทยาลัย อยู่ในระดับมากที่สุด ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.53, S.D. = 0.67) กลุ่มที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมาก ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.41, S.D. = 0.71) และกลุ่มที่ 3 เจ้าหน้าที่ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อยู่ในระดับมากที่สุด ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.53, S.D. = 0.68) สามารถสรุปได้ว่าการนำเอาเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมมาช่วยนำเสนอข้อมูลให้เกิดความน่าสนใจและเพิ่มความรู้ความเข้าใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
2024-09-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/250877
การเชื่อมโดยการแพร่ของทองเหลือง เกรด C3064 กับอะลูมิเนียมหล่อกึ่งของแข็ง เกรด 356 ที่ส่งผลต่อสมบัติทางกลและโครงสร้างทางโลหะวิทยา
2023-02-17T16:02:25+07:00
วิทยา ศิริคุณ
witthaya.s@rmutsv.ac.th
ยงยุทธ ดุลยกุล
yongyuth.d@rmutsv.ac.th
เดช เหมือนขาว
det.m@rmutsv.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของโครงสร้างทางโลหะวิทยาและสมบัติทางกลบริเวณรอยต่อของชิ้นงานจากกรรมวิธีการเชื่อมโดยการแพร่ต่างวัสดุระหว่างทองเหลือง เกรด C3064 กับอะลูมิเนียมหล่อกึ่งแข็ง เกรด 356 ชิ้นงานทดลองเชื่อม ขนาด 10×15×3 มิลลิเมตร กำหนดปัจจัยในกระบวนการเชื่อมโดยการแพร่ คือ เวลากดแช่ 60 นาที และ 120 นาที อุณหภูมิในการเชื่อม 370 430 และ 490 องศาเซลเซียส แรงกดที่ 4 MPa ใช้แก๊สอาร์กอนปกคลุม 4 ลิตรต่อนาที ในขณะเชื่อม หลังจากการเชื่อมโดยแพร่ วิเคราะห์ผลการตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยาและการทดสอบสมบัติทางกลของชิ้นงาน จากผลการตรวจสอบพบว่ากรรมวิธีการเชื่อมโดยการแพร่ที่อุณหภูมิ 490 องศาเซลเซียส เวลากดแช่ 120 นาที ให้มีค่าความต้านทานแรงเฉือนมากที่สุดที่ 14.25 MPa ในทางตรงกันข้ามอุณหภูมิ 370 องศาเซลเซียส เวลากดแช่ 60 นาที ผลความต้านทานแรงเฉือนเฉลี่ยต่ำสุดที่ 8.42 MPa และพบว่าค่าความแข็งบริเวณใกล้รอยต่อมีค่าความแข็งสูงสุดอยู่ที่ 135.45 HV ที่อุณหภูมิ 370 องศาเซลเซียส เวลากดแช่ 120 นาที โครงสร้างจุลภาคหลังการเชื่อมพบว่าขนาดของเกรนเกิดการเปลี่ยนแปลงจากโครงสร้างเดิม โดยมีขนาดเกรนที่โตขึ้นจากอุณหภูมิในขณะเชื่อม นอกจากนั้นยังมีการแพร่ของธาตุผสมที่มีความเข้มข้นสูงไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำด้วยเช่นกัน เมื่อวิเคราะห์เชิงสถิติ พบว่าค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจร้อยละ 92.95 สามารถควบคุมได้ ในทางตรงกันข้ามร้อยละ 7.05 เกิดจากปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้</p>
2024-09-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/246333
การประยุกต์ใช้พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนด้วยวิธีการพ่นหมอกและสั่งงานด้วยอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง
2022-11-25T10:15:12+07:00
วิชัย นระมาตย์
tingkmitl@hotmail.com
วศกร ไตรพัฒน์
wasakorn3@hotmail.com
<p>บทความนี้เป็นการนำเสนอ การประยุกต์ใช้พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนด้วยวิธีการพ่นหมอกและสั่งงานด้วยอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อออกแบบสร้างและใช้พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานและ 2. เพื่อควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนด้วยวิธีการพ่นหมอกและสั่งการด้วยอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง โครงสร้างระบบประกอบด้วย 1. ระบบพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ 2. ระบบควบคุม ประกอบด้วยเครื่องควบคุมอุณหภูมิอุณหภูมิ รุ่น STC – 3008 รับสัญญาณแอนะล็อกจากเซนเซอร์ DHT21 ในการทดสอบได้ปรับตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 35 องศาเซลเซียส ภายใต้เงื่อนไขการทำงานเมื่ออุณหภูมิมากกว่าค่าปรับตั้ง 1 องศาเซลเซียส ระบบพ่นหมอกจะทำงาน และหยุดการทำงานเมื่ออุณหภูมิลดลงต่ำกว่าค่าที่ปรับตั้ง 1 องศาเซลเซียส ผลการออกแบบระบบพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ พบว่าค่าความต้องการพลังงานรวมทั้งหมดรายวัน 1,780 วัตต์ – ชั่วโมง เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตพลังงานในหนึ่งวันเฉลี่ย 320 วัตต์ – ชั่วโมง ด้วยระบบพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ที่ออกแบบสร้างเป็นรูปแบบการผลิตแบบอิสระที่มีแบตเตอรี่ ในการออกแบบได้ใช้แบตเตอรี่ที่มีความจุ 200 แอมแปร์ แรงดันที่ใช้ในระบบ 24 โวลต์ ดังนั้นกำลังไฟฟ้าในระบบเท่ากับ 4,800 วัตต์ ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของระบบที่ใช้งานจริงเท่ากับวันละ 30 นาที ช่วงที่ระบบทำงานค่าอุณหภูมิในโรงเรือนมีค่าเฉลี่ย 38.1 องศาเซลเซียส และค่าความผิดพลาดเฉลี่ย 3.2 องศาเซลเซียส ค่าความผิดพลาดยังอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถยอมรับได้ และสามารถสั่งการทำงานด้วยแอปพลิเคชัน eWeLink ที่ควบคุมระบบสปริงเกอร์ในการรดน้ำวันละ 30 นาที ช่วงที่ระบบทำงานค่าอุณหภูมิในโรงเรือนมีค่าเฉลี่ย 38.1 องศาเซลเซียส และค่าความผิดพลาดเฉลี่ย 3.2 องศาเซลเซียส ค่าความผิดพลาดยังอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถยอมรับได้ และสามารถสั่งการทำงานด้วยแอ็ปพลิเคชัน eWeLink ที่ควบคุมระบบสปริงเกอร์ในการรดน้ำ</p>
2024-09-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/251604
การปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยการใช้เทคนิคการผลิตแบบลีน ซิกส์ซิกมา: กรณีศึกษา อุตสาหกรรมอาหาร
2023-06-12T10:19:41+07:00
คมกริช วีรวัฒนา
khomgrich.w@gmail.com
ศุภรัชชัย วรรัตน์
vorarat@dpu.ac.th
สมหญิง งามพรประเสริฐ
somying.ngt@dpu.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับปรุงกระบวนการผลิตแปรรูปอาหารทะเล โดยใช้แผนที่สายธารคุณค่าเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลและขั้นตอนวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ดีเอ็มเอไอซี และนำเทคนิคการผลิตแบบลีนเพิ่มผลิตภาพการผลิต หลังจากทำการศึกษาบริษัทกรณีศึกษาแล้วสามารถสรุปได้ดังนี้ ผลิตภาพต่ำกว่าเป้าหมายเฉลี่ยอยู่ที่ 4.26 กิโลกรัม/คน*ชั่วโมง สายการผลิตมีผลิตภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 85.20% จุดคอขวด กระบวนการแกะฟิล์ม เรียงบรรจุสินค้า และมีงานกองในกระบวนการเท่ากับ 2,049 กิโลกรัม สาเหตุของปัญหามีอยู่ 4 สาเหตุ ได้แก่ 1) ทักษะ 2) เครื่องจักร 3) สมดุลสายการผลิต และ 4) มาตรฐานการทำงาน ก่อนการปรับปรุงได้ทำการเรียงลำดับความสำคัญของแต่ละสาเหตุของปัญหาที่มีผลกระทบมากไปหาน้อยตามลำดับผลการปรับปรุงดังนี้ ลำดับที่ 1) สมดุลสายการผลิตการแกะฟิล์มและเรียงบรรจุสินค้าผลิตภาพเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 40.49% ลำดับที่ 2) เครื่องจักรสลับตำแหน่งการตัดสินค้าผลิตภาพเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 83.79% ลำดับที่ 3) ทักษะหมุนเวียนตำแหน่งการยืนบรรจุสินค้า ผลิตภาพเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 40.17 กิโลกรัม/ชั่วโมง ลำดับที่ 4) มาตรฐานการทำงาน กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานใหม่ผลิตภาพเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 37.68% ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถสรุปได้ดังนี้ ผลิตภาพเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 14.40% จุดคอขวดลดลง 70.35% ยอดผลิตต่อชั่วโมงเพิ่มขึ้น 18.14% ยอดผลิตต่อคนต่อชั่วโมงเพิ่มขึ้น 53.80% ค่าแรงทางตรงลดลง 9.50% ประหยัดค่าแรงทางตรง 33,410 บาทต่อเดือน</p>
2024-09-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/250539
การออกแบบและสร้างเครื่องวัดความยาวและม้วนสายไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ ที่ควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์
2023-05-16T09:20:55+07:00
วิชาญ ศรีสุวรรณ์
wichan.sri@neu.ac.th
ชัยพร อัดโดดดร
chaiporn.add@neu.ac.th
อนุชา ดีผาง
anucha.dee@neu.ac.th
<p>บทความนี้นำเสนอการออกแบบและสร้างเครื่องวัดความยาวและม้วนสายไฟฟ้าแบบอัตโนมัติที่ควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ เพื่อแก้ปัญหาการใช้เครื่องวัดและม้วนสายไฟฟ้าด้วยมือ ซึ่งเครื่องวัดและม้วนสายไฟฟ้าแบบอัตโนมัติต่าง ๆ ที่มีขายอยู่ในท้องตลาดมีขนาดใหญ่ ซับซ้อน และมีราคาที่แพง งานวิจัยนี้จึงมีแนวคิดที่จะสร้างเครื่องวัดและม้วนสายไฟฟ้าขึ้นมาแทนการใช้มือของคน โดยเริ่มจากผู้ใช้งานป้อนขนาดสายไฟฟ้า ความยาวที่ต้องการวัด ราคา เพื่อตั้งค่าเริ่มต้นในการทำงาน และจะแสดงค่าเริ่มต้นผ่านหน้าจอแอลซีดีก่อนเริ่มขบวนการทำงาน และใช้โรตารี่เอ็นโค้ดเดอร์เซ็นเซอร์ในการตรวจวัดความยาวสายไฟฟ้า ซึ่งอาศัยหลักการการหมุนรอบตัวเองเป็นรอบ ๆ ไปในการวัดความยาว เมื่อได้ความยาวที่ตั้งค่าไว้จะมีชุดตัดสายไฟฟ้าอัตโนมัติทำหน้าที่ตัดสายไฟฟ้าให้ขาดออกจากกัน และใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงม้วนเก็บสายไฟฟ้า พอสิ้นสุดการทำงานบนหน้าจอแอลซีดีจะแสดงผลขนาดสายไฟฟ้า ราคา ความยาวรวมทั้งหมดที่วัดได้ เป็นอันเสร็จขบวนการทำงานของระบบ จากการทดสอบผลการทำงานของมอเตอร์ตัดสายไฟฟ้าอัตโนมัติและความเร็วในการตัด สามารถใช้ความเร็วที่ระดับ 4 - 10 ได้ โดยทดสอบทั้งหมด 10 ระดับ ทำให้ได้ข้อมูลว่าในระดับ 4 ขึ้นไป ตัวเครื่องสามารถทำงานได้ปกติ และมีค่าความคลาดเคลื่อนร้อยละ 1.25 เมื่อทำการทดสอบแต่ละขนาดสายไฟฟ้ารวมทั้งหมด 90 ครั้ง โดยค่าความคลาดเคลื่อนที่ได้นี้ไม่เกินร้อยละ 5</p>
2024-09-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี