TY - JOUR AU - สุทธิ, นิรวิทย์ AU - ประนัดทา, อัญธิกา AU - ผดุงทน, สุรพล AU - เหล่านภากุล, ธีรวัฒน์ PY - 2020/10/14 Y2 - 2024/03/28 TI - การสังเคราะห์ไฮดรอกซีอะพาไทต์จากกระดูกวัวสำหรับการลดฟลูออไรด์ในน้ำ JF - วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี JA - J of Ind. Tech. UBRU VL - 10 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/185205 SP - 13-24 AB - <p>ประเทศไทยมีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบาดาลสูงในหลายพื้นที่และจะเป็นอันตรายหากนำน้ำดังกล่าวมาอุปโภคบริโภค ปัจจุบันมีการศึกษาวัสดุสำหรับการลดปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำจากวัสดุหลายชนิด ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาการลดปริมาณฟลูออไรด์ในสารละลายน้ำสังเคราะห์จากวัสดุแคลเซียมฟอสเฟสชนิดไฮดรอกซีอะพาไทต์จากกระดูกวัว เริ่มจากทำการศึกษาการสังเคราะห์ไฮดรอกซีอะพาไทต์จากกระดูกวัวด้วยวิธีการทางความร้อนโดยศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผลึกและการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของกระดูกวัวที่ความร้อนช่วงอุณหภูมิต่าง ๆ ไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่สังเคราะห์ได้จากกระดูกวัวถูกนำไปศึกษาการวิเคราะห์ค่า pH ที่มีประจุที่ผิวเป็นศูนย์ (Point of zero charge, pH<sub>pzc</sub>) เพื่อประเมินสภาวะการดูดซับของไฮดรอกซีอะพาไทต์ และศึกษาผลกระทบของค่า pH ต่อความสามารถและประสิทธิภาพในการดูดซับฟลูออไรด์ในน้ำด้วยวิธีการแบทซ์ (Batch experiment) กระดูกวัวที่ผ่านกระบวนการทางความร้อนที่อุณหภูมิ 1,000 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมง เปลี่ยนแปลงโครงสร้างผลึกไปเป็นไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่มีความเป็นผลึกสูงโดยมีขนาดอนุภาคเฉลี่ย 1 ไมโครเมตร ไฮดรอกซีอะพาไทต์จากกระดูกวัวมีค่า pH ที่ประจุที่ผิวเป็นศูนย์ (pH<sub>pzc</sub>) ที่ pH 10.5 ไฮดรอกซีอะพาไทต์จากกระดูกวัวมีความสามารถและประสิทธิภาพในการลดปริมาณฟลูออไรด์สูงสุด 1.3 มิลลิกรัม F<sup>-</sup>/กรัม และ 65% ที่ pH 6 ตามลำดับ โดยใช้ไฮดรอกซีอะพาไทต์ในการทดสอบปริมาณ 0.5 กรัม</p> ER -