@article{สุภักดี_สารีบุตร_2022, place={Ubonratchathani, Thailand}, title={การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตแหนมหมู : กรณีศึกษา ร้านแหนมหมู จังหวัดอุบลราชธานี}, volume={12}, url={https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/242412}, abstractNote={<p>งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตแหนมหมู ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาสภาพปัญหา โดยใช้แผนภูมิการไหลของกระบวนการผลิต และแผนภาพการไหลในการเก็บข้อมูลแล้วทำการวิเคราะห์สาเหตุโดยใช้หลักการแผนภูมิก้างปลา พบว่ามี 2 ขั้นตอนที่เกิดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตแหนมหมู คือ<br />1) กระบวนการบดหนังหมู มีความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต คือ ระหว่างการบดหนังหมูมีหนังหมูกระเด็นออกจากเครื่องบดเกิดเป็นของเสีย จำนวน 300 กรัมต่อวัน ปัญหาดังกล่าวข้างต้นผู้วิจัยได้คิดวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้การออกแบบอุปกรณ์ป้องกันการกระเด็นของหนังหมู หลังการปรับปรุงพบว่าสามารถลดของเสียลงได้เหลือ 20 กรัม จาก 300 กรัม การปรับปรุงส่งผลให้ของเสียลดลง 280 กรัม คิดเป็นร้อยละ 93.33 ของจำนวนของเสียทั้งหมดและ 2) กระบวนการอัดแหนม พบปัญหาที่เกิดขึ้นหลังการกระบวนอัดแหนม พนักงานต้องบีบแหนมออกจากถุงทุกครั้ง เนื่องจากกระบวนการอัดแหนมเกินขนาดที่ต้องการ จึงต้องมีการบีบแหนมออกจากถุงเพื่อให้ได้ขนาดที่ต้องการก่อนปิดปากถุง ซึ่งทำให้เกิดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต ส่งผลไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในขั้นตอนนี้ ผู้วิจัยจึงได้ออกแบบและพัฒนาหัวอัดแหนมใหม่ ส่งผลให้น้ำหนักแหนมแต่ละห่อมีน้ำหนักใกล้เคียงกัน และสามารถผลิตแหนมจากเดิม 12 กิโลกรัม ใช้เวลา 26,280 วินาที หลังจากทำการพัฒนาหัวอัดแหนม พบว่า สามารถผลิตแหนมได้เพิ่มขึ้นเป็น <br />16 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 33.33 และใช้เวลาในการผลิตเพียง 22,680 วินาที หรือคิดเป็นร้อยละ 13.69 ส่งผลให้สามารถผลิตแหนมได้ตามความต้องการของลูกค้าและแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดได้</p>}, number={1}, journal={วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี}, author={สุภักดี กนกวรรณ and สารีบุตร นริศรา}, year={2022}, month={พ.ค.}, pages={81–92} }