@article{กำคำ_มงคล_ดียิ่ง_2018, place={Ubonratchathani, Thailand}, title={การออกแบบและพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว สำหรับโรงเรือนเพาะปลูกแคนตาลูป}, volume={8}, url={https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/163474}, abstractNote={<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว สำหรับโรงเรือนเพาะปลูกแคนตาลูปและศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโต และผลผลิตของแคนตาลูปพันธุ์ซันเลดี้ 227 ระหว่างการปลูกในโรงเรือนที่เพิ่มแสงสว่างจากหลอดไฟฟ้า (โรงเรือนหลังที่ 1) กับโรงเรือนที่ใช้แสงธรรมชาติ (โรงเรือนหลังที่ 2) ระบบสมองกลฝังตัวพัฒนาขึ้นจากบอร์ดอาดุยโน่ ยูโน่ อาร์3 ทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์แสงดิจิทัล บอร์ดนาฬิกา และโซลิดสเตตรีเลย์ การพัฒนาเฟิร์มแวร์ควบคุมการทำงานของระบบประกอบด้วย 2 ฟังก์ชัน คือ (1) เพิ่มแสงสว่างภายในโรงเรือน เมื่อแสงธรรมชาติต่ำกว่าค่าที่กำหนด และ (2) เลือกปริมาณการจ่ายสารละลายธาตุอาหารต่อวัน การทดลองปลูกครั้งที่ 1 พบว่า โรงเรือนหลังที่ 1 สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 49 - 52 วันหลังปลูก น้ำหนักผลเฉลี่ย 1,020 กรัม และความหวานเนื้อตรงกลางเฉลี่ย 14.2 องศาบริกซ์ โรงเรือนหลังที่ 2 สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 49 - 52 วัน หลังปลูก น้ำหนักผลเฉลี่ย 897 กรัม และความหวานเนื้อตรงกลางเฉลี่ย 14.8 องศาบริกซ์ การทดลองปลูกครั้งที่ 2 พบว่า โรงเรือนหลังที่ 1 สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 49 - 53 วันหลังปลูก น้ำหนักผลเฉลี่ย 1,366 กรัม และความหวาน เนื้อตรงกลางเฉลี่ย 8.8 องศาบริกซ์ โรงเรือนหลังที่ 2 สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 49 - 53 วันหลังปลูก น้ำหนักผล เฉลี่ย 1,324 กรัม และความหวานเนื้อตรงกลางเฉลี่ย 9.8 องศาบริกซ์</p>}, number={2}, journal={วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี}, author={กำคำ ภูมิพัฒน์ and มงคล ชัชวาล and ดียิ่ง สถาพร}, year={2018}, month={ธ.ค.}, pages={65–77} }