@article{ไกยวรรณ์_2022, place={Bangkok, Thailand}, title={การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์}, volume={10}, url={https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/fit-ssru/article/view/248889}, abstractNote={<p>การวิเคราะห์การทดลองทั่วไปจะมีการควบคุมปัจจัยภายนอกที่อาจมีผลต่อค่าที่สังเกตได้จากหน่วยทดลอง แต่ในการทดลองบางประเภท ผู้ทดลองไม่สามารถควบคุมปัจจัยภายนอกที่อาจแทรกซ้อนเข้ามาในหน่วยทดลองได้ หากผู้ทดลองนำค่าที่ได้จากการสังเกตในหน่วยทดลองไปวิเคราะห์ความแปรปรวน เพื่อพิจารณาอิทธิพลของทรีตเมนต์ต่าง ๆ ผลที่ได้จากการวิเคราะห์จะไม่มีความน่าเชื่อถือ ดังนั้นหากการทดลองต้องการศึกษาอิทธิพลที่เกิดจากปัจจัยที่สนใจในการวิเคราะห์จะต้องแยกปัจจัยที่ไม่สนใจเหล่านี้ออกก่อน เพื่อให้ทราบผลของปัจจัยที่สนใจอย่างแท้จริง วิธีการวิเคราะห์ตามวิธีนี้ เรียกว่า การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมหรือการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบโคแวเรียนซ์ ในการทดลอง เรียกปัจจัยที่ไม่สนใจเหล่านี้ว่า ตัวแปรร่วมหรือปัจจัยร่วม การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมนั้น ตัวแปรอิสระหรือระดับปัจจัยนั้นเป็นตัวแปรเชิงกลุ่ม ส่วนตัวแปรร่วมและตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ ซึ่งการจัดผังการทดลองก็จัดตามแผนการทดลองที่สนใจ เช่น แบบสุ่มสมบูรณ์ แบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อกหรือแบบอื่น ๆ แต่ในบทคาวมนี้จะอธิบายเฉพาะจัดตามผังการทดลองแบบ เท่านั้น</p>}, number={1}, journal={วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา}, author={ไกยวรรณ์ ยุทธ}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={23–31} }