วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1 <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ :</strong> วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิจัย บทความวิชาการ ที่เขียนด้วยภาษาไทย เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่องค์ความรู้ งานวิจัย ด้านการบริหารการศึกษา ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านธุรกิจและการบริการ ด้านสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งบุคลากรภายในและภายนอกสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1<br /><strong>วัตถุประสงค์ :<br /></strong>1. เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อชุมชนและสังคม<br />2. เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ ได้แก่ สาขาการศึกษา สาขาวิศวกรรมศาสตร์ และสาขาวิทยาศาสตร์<br />3. เพื่อสนับสนุนการศึกษา การค้นคว้าให้เกิดการพัฒนาวิชาการในวิชาชีพแก่คณาจารย์ด้านอาชีวะและเทคนิคศึกษา<br /> วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 มีการจัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) ภายใต้ชื่อ "วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1" โดยเริ่มต้นในปี 2559 <strong>ISSN</strong> 3027-6799 (Online)<br /> "วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI และได้ถูกจัดคุณภาพให้เป็น<strong>วารสารกลุ่มที่ 2 : วารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI</strong> จนถึง 31 ธันวาคม 2572"<br /><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ :</strong> ตั้งแต่วารสารวิชาการฯ ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เป็นต้นไป ทุกบทความผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่านต่อบทความ ซึ่งไม่เปิดเผยข้อมูลเจ้าของบทความ และไม่เปิดเผยผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (Double Blinded) โดยกองบรรณาธิการมีสิทธิ์แก้ไขบทความตามความเหมาะสม<br /><strong>ประเภทของบทความ : </strong> บทความวิจัย, บทความวิชาการ<br /><strong>กำหนดออก : </strong>วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี ดังนี้ ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - มิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม<br /><strong>เจ้าของวารสาร :</strong> สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1</p> <hr /> <p><strong>ผู้ประสงค์จะตีพิมพ์บทความต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและกระบวนการดังต่อไปนี้</strong></p> <ol> <li>ผู้นิพนธ์จะต้องศึกษารูปแบบและตรวจสอบการเขียนบทความให้ตรงตามรูปแบบของวารสาร</li> <li>แนบไฟล์บทความ (Microsoft Word และ PDF) และเข้าสู่ระบบออนไลน์ที่ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/login</li> <li>บทความต้องผ่านการตรวจรูปแบบและเนื้อหาที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสารจากกองบรรณาธิการ และผู้นิพนธ์ต้องปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์และถูกต้องตามคำแนะนำ</li> <li>เมื่อบทความผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และการพิจารณาของกองบรรณาธิการ ผู้นิพนธ์ต้องทำการโอนเงินค่าธรรมเนียม</li> </ol> <p><strong>การชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความวิจัย<br /></strong> กองบรรณาธิการวารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 รับพิจารณาเฉพาะบทความที่มีขอบเขตเนื้อหาเป็นไปตามที่วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 กำหนด<br /> กองบรรณาธิการวารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 จะมีจดหมายแจ้งผลการพิจารณาการลงตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสาร เมื่อบทความวิจัยนั้นผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิและผ่านการพิจารณาอนุมัติจากกองบรรณาธิการแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความวิจัย ดังนี้</p> <ol> <li>บทความวิจัยของผู้นิพนธ์ที่ไม่สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 ชำระเงิน 2,000 บาทต่อบทความ ตามหมายเลขบัญชี “801-6-07581-9” ธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี “สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1” พร้อมแนบสลิปหลักฐานไปที่กระทู้สนทนา (Discussions)</li> <li>บทความวิจัยของผู้นิพนธ์ที่สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 ขอสงวนสิทธิ์โดยไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</li> </ol> <p> กองบรรณาธิการวารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 ขอสงวนสิทธิ์ในการคืนต้นฉบับ ค่าตีพิมพ์บทความวิจัย หากชำระเงินแล้ว</p> th-TH csnpveis1@gmail.com (Dr.Surat Promchun) csnpveis1@gmail.com (Wichita Wetchapram) Sat, 28 Jun 2025 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ระบบห่วงโซ่อุปทานอัจฉริยะเพื่อการจัดการมหาวิทยาลัยตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษา เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/257826 <p>ระบบห่วงโซ่อุปทานอัจฉริยะเพื่อการจัดการมหาวิทยาลัยตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศเป็นการนำเสนอกระบวนการของห่วงโซ่อุปทานอัจฉริยะ แบ่งเป็นสี่ระดับ ประกอบด้วย ห่วงโซ่อุปทานการจัดกระจาย ห่วงโซ่อุปทานการเชื่อมโยง ห่วงโซ่อุปทานการประสานงาน และห่วงโซ่อุปทานการครบวงจร ขั้นตอนทั้งหมดมีความสำคัญระดับเหล่านี้แสดงถึงการเดินทางที่ก้าวหน้า และไม่ใช่ทุกองค์กรจะไปถึงระดับบูรณาการ เป้าหมายของห่วงโซ่อุปทานอัจฉริยะ คือ การย้ายจากการกระจายตัวไปสู่การบูรณาการ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ข้อมูล และแนวทางปฏิบัติในการทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า และขับเคลื่อนความได้เปรียบทางการแข่งขัน ดังนั้น การใช้ประโยชน์จากห่วงโซ่อุปทานอัจฉริยะเพื่อการจัดการมหาวิทยาลัยตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศเกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และกลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านต่าง ๆ ของกระบวนการห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่ การวิเคราะห์ขั้นสูง และข้อมูลเชิงลึก เชิงคาดการณ์การมองเห็นและการติดตามแบบเรียลไทม์ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ การทำงานร่วมกันและการบูรณาการของซัพพลายเออร์ การจัดการความเสี่ยงและความยืดหยุ่น สามารถใช้ประโยชน์จากห่วงโซ่อุปทานอัจฉริยะอย่างมีประสิทธิผล ตัดสินใจได้ถูกต้อง ตลอดจนเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สถานศึกษา และได้ผลผลิตเป็นที่พึงพอใจแก่ผู้ใช้บัณฑิต เพื่อให้สถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้บรรลุเป้าหมายตามที่วางไว้ ระบบหวงโซ่อุปทานอัจฉริยะเพื่อการจัดการมหาวิทยาลัยตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศสามารถนํามาประยุกต์ใช้การจัดการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศได้</p> อรรถพล จันทร์สมุด Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/257826 Sat, 28 Jun 2025 00:00:00 +0700 การถ่ายทอดเทคโนโลยีและประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อยกระดับฟาร์มตัวอย่างสู่ธุรกิจเกษตรชุมชน: กรณีศึกษา ฟาร์มตัวอย่าง โครงการพระราชดำริ โคก หนอง นา โมเดล ค่ายพระปกเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/258182 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อยกระดับฟาร์มตัวอย่างสู่ธุรกิจเกษตรชุมชน 2) ศึกษาความรู้ความเข้าใจในการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อยกระดับฟาร์มตัวอย่างสู่ธุรกิจเกษตรชุมชน 3) ประเมินความพึงพอใจการถ่ายทอดเทคโนโลยีและประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อยกระดับฟาร์มตัวอย่างสู่ธุรกิจเกษตรชุมชน การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารฟาร์ม ผู้ดูแลฟาร์ม เกษตรกรในชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 30 คน ระหว่างเดือน มกราคม - เดือน เมษายน 2567 ณ ฟาร์มตัวอย่าง โครงการพระราชดำริ โคก หนอง นา โมเดล ค่ายพระปกเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ คือ การสัมภาษณ์ แบบสอบถามการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี แบบสอบถามความพึงพอใจการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประเมินการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อยกระดับฟาร์มตัวอย่างสู่ธุรกิจเกษตรชุมชน ด้านกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลศึกษาความรู้ความเข้าใจในการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อยกระดับฟาร์มตัวอย่างสู่ธุรกิจเกษตรชุมชน ระหว่างเดือน มกราคม - เดือน เมษายน 2567 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการประเมินความพึงพอใจการถ่ายทอดเทคโนโลยีและประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อยกระดับฟาร์มตัวอย่างสู่ธุรกิจเกษตรชุมชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ชัยนันท์ ปัญญาวุทโส, พัชรี ทิพย์ประชา, ชลธิชา เปี่ยมทองสกุล, นวพล เทพนรินทร์ Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/258182 Sat, 28 Jun 2025 00:00:00 +0700 กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/259509 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้ประกอบการ ธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ 2) นำเสนอกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มตัวอย่าง คือ วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้ประกอบการ จำนวน 15 ฉบับ และที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำนวน 17 ฉบับ รวมทั้งหมด จำนวน 32 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบคัดกรองและบันทึกข้อมูล และแบบประเมินความเหมาะสมของกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้ประกอบการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประกอบด้วย 14 จุดแข็ง 15 จุดอ่อน 3 โอกาส และ 4 อุปสรรค 2) กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมี 11 กลยุทธ์ ครอบคลุมกลยุทธ์ 4 รูปแบบ ได้แก่ กลยุทธ์แบบ SO จำนวน 4 กลยุทธ์ กลยุทธ์แบบ ST จำนวน 3 กลยุทธ์ กลยุทธ์แบบ WO จำนวน 2 กลยุทธ์ และกลยุทธ์แบบ WT จำนวน 2 กลยุทธ์ 3) ความเหมาะสม ความสอดคล้อง และความเป็นไปได้ของกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p> กวียาหยี ทวีการณ์, พัชรา เอี่ยมเจริญ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/259509 Sat, 28 Jun 2025 00:00:00 +0700 การสร้างชุดทดลองคัดแยกและประกอบชิ้นงานควบคุมด้วย Servo Motor ร่วมกับโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ผ่านโปรโตคอล CC-link https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/258464 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดทดลองคัดแยกและประกอบชิ้นงานควบคุมด้วย Servo Motor ร่วมกับโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ผ่านโปรโตคอล CC-link 2) หาประสิทธิภาพชุดทดลองคัดแยกและประกอบชิ้นงานควบคุมด้วย Servo Motor ร่วมกับโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ผ่านโปรโตคอล CC-link และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดทดลองคัดแยกและประกอบชิ้นงานควบคุมด้วย Servo Motor ร่วมกับโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ผ่านโปรโตคอล โดยมีวิธีดำเนินการกับประชากรคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ จำนวนทั้งหมด 17 คน โดยสุ่ม/เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชุดทดลอง แบบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดทดลองคัดแยกและประกอบชิ้นงานควบคุมด้วย Servo Motor ร่วมกับโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ผ่านโปรโตคอล CC-link สามารถสร้างได้ตามแบบที่กำหนด มีการออกแบบชุดลำเลียงฝาชิ้นงานโดยใช้กระบอกลม มีชุด Vacuum ดูดฝาชิ้นงาน ชุดเซนเซอร์ตรวจจับชิ้นงานและฝาชิ้นงาน ชุดเชื่อมต่ออุปกรณ์ผ่านโปรโตคอล CC-link ชุดหลอดไฟสัญญาณ ชุดกระบอกสูบคัดแยกชิ้นงาน ชุดลำเลียงชิ้นงานควบคุมด้วย Servo Motor และรางคัดแยกชิ้นงาน สามารถเขียนโปรแกรมควบคุมด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ได้ และผลการประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญที่มีชุดทดลองคัดแยกและประกอบชิ้นงานควบคุมด้วย Servo Motor ร่วมกับโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ผ่านโปรโตคอล CC-link อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการหาประสิทธิภาพของชุดทดลองคัดแยกและประกอบชิ้นงานควบคุมด้วย Servo Motor ร่วมกับโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ผ่านโปรโตคอล CC-link มีประสิทธิภาพ 81.88/83.23 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดทดลองคัดแยกและประกอบชิ้นงานควบคุมด้วย Servo Motor ร่วมกับโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ผ่านโปรโตคอล CC-link อยู่ในระดับมากที่สุด</p> จิรพัฒน์ ลิ่มทอง, สิริพร ไหมสีเขียว Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/258464 Sat, 28 Jun 2025 00:00:00 +0700 รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน รายวิชา การบริหารจัดการยุคใหม่และภาวะผู้นำสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล (ต่อเนื่อง) วิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/261182 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบ และ 2) ประเมินผลการใช้รูปแบบ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มี 2 ตอน ตอนที่ 1 พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบ ผู้ให้ข้อมูลคือผู้ทรงคุณวุฒิในการหาประสิทธิภาพของรูปแบบ แผนการจัดการเรียนรู้และคู่มือการใช้รูปแบบ จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ตอนที่ 2 ประเมินผลการใช้รูปแบบ ผู้ให้ข้อมูลคือนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล (ต่อเนื่อง) ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา การบริหารจัดการยุคใหม่และภาวะผู้นำ จำนวน 36 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบประเมินประสิทธิภาพในการทำกิจกรรม และแบบประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระจากกัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลลัพธ์ ผลการหาประสิทธิภาพโดยประเมินความเหมาะสมความสอดคล้องของรูปแบบภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด แผนการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมความสอดคล้องภาพรวมอยู่ในระดับมาก คู่มือการใช้รูปแบบมีความเหมาะสมความสอดคล้องภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) ประเมินผลการใช้รูปแบบ พบว่า ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อรูปแบบภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประสิทธิภาพการทำกิจกรรมทุกกลุ่มมีคะแนนอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน</p> จุรี ทัพวงษ์ Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/261182 Sat, 28 Jun 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียน โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เรื่อง หุ่นยนต์เดินตามเส้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/259567 <p class="11"><span lang="TH">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียน โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานเรื่อง หุ่นยนต์เดินตามเส้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียน โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานเรื่อง หุ่นยนต์เดินตามเส้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา</span><span lang="TH" style="color: windowtext;">ตอนต้น กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร ครู และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณสงขลา ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (</span><span style="color: windowtext;">purposive sampling) <span lang="TH">เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียน เรื่องหุ่นยนต์เดินตามเส้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินสมรรถนะของผู้เรียน เรื่องหุ่นยนต์เดินตามเส้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.</span>94 <span lang="TH">4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที </span></span></p> <p class="11"><span lang="TH" style="color: windowtext;">ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียน โดยใช้กิจกรรม</span><span lang="TH">เป็นฐาน เรื่องหุ่นยนต์เดินตามเส้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย ชื่อหลักสูตร หลักการ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหา กิจกรรม สื่อ การประเมินผล ระยะเวลาการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ เอกสารประกอบหลักสูตร ซึ่งผู้เชี่ยวชาญประเมินองค์ประกอบหลักสูตร พบว่ามีความสอดคล้องและเหมาะสม 2) ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียน พบว่า (1) นักเรียนมีความรู้หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) นักเรียนมีสมรรถนะเรื่องหุ่นยนต์เดินตามเส้น เฉลี่ยระดับมาก และ (3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียนระดับมาก</span></p> ฉารีฝ๊ะ หัดยี, คฑายุทธ ดิญชวัฒน์, สันติภาพ ชุมทอง, นัสรีซาน หลีโก๊ะ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/259567 Sat, 28 Jun 2025 00:00:00 +0700 การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ถอดล้อรถมินิบัสเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/258578 <p>งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างอุปกรณ์ถอดล้อรถมินิบัส 2) ทดสอบประสิทธิภาพอุปกรณ์ถอดล้อรถมินิบัส 3) ประเมินคุณภาพอุปกรณ์ถอดล้อรถมินิบัส กลุ่มตัวอย่าง คือ ช่างที่มีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 5 ปี จากศูนย์บริการโตโยต้าเพิร์ล จังหวัดภูเก็ต จำนวน 7 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ทดสอบประสิทธิภาพโดยการจับเวลาการถอดล้อโดยใช้อุปกรณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) อุปกรณ์ถอดล้อรถมินิบัสมีโครงสร้างขนาด กว้าง 80 เซนติเมตร ยาว 90 เซนติเมตร สูง 160 เซนติเมตร ใช้แม่แรงขนาด 5 ตันเป็นอุปกรณ์สำหรับยกล้อรถมินิบัส 2) อุปกรณ์ถอดล้อรถมินิบัสที่สร้างขึ้นสามารถลดเวลาการถอดล้อได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการถอดล้อแบบธรรมดาใช้เวลาเฉลี่ย 24.53 นาที เมื่อใช้อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นใช้เวลาเฉลี่ย 10.40 นาที ซึ่งเร็วขึ้นกว่าเดิม 14.13 นาที 3) ผลการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญระบุว่าอุปกรณ์ถอดล้อรถมินิบัสมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก</p> วิมล ชูขันธ์, เอกศักดิ์ สงวนคำ, ประเสริฐ คงสง, โพธิรัตน์ เพชรรัตน์ Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/258578 Sat, 28 Jun 2025 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครู สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/257541 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันต่อองค์กรของครู และ 4) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2566 โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน จำนวน 234 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความผูกพันต่อองค์กรของครู สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันต่อองค์กรของครู สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี โดยมีความสัมพันธ์ระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครู สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี พบว่า ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ทั้ง 4 ด้าน ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครู สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 80.70</p> พชรพรรณ ปัญญาบุตร, สรรเสริญ หุ่นแสน, นิวัตต์ น้อยมณี Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/257541 Sat, 28 Jun 2025 00:00:00 +0700 ผลการใช้ชุดฝึกทักษะที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชางานไฟฟ้ารถยนต์ เรื่องการใช้งานมัลติมิเตอร์ของนักเรียนชั้น ปวช.2 แผนกช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/259822 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดฝึกทักษะการใช้งานมัลติมิเตอร์ ในรายวิชางานไฟฟ้ารถยนต์ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าของนักเรียนชั้น ปวช.2 ก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกทักษะการใช้งานมัลติมิเตอร์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้น ปวช.2 สาขาวิชาช่างยนต์ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการใช้งานมัลติมิเตอร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้น ปวช. 2 ห้อง 3 แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดฝึกทักษะการใช้งานมัลติมิเตอร์ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แผนการสอน และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดฝึกปฏิบัติการบำรุงรักษารถยนต์พบว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ชุดฝึกทักษะการใช้มัลติมิเตอร์ก่อนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกอยู่ในระดับมาก</p> สุวิมล เด่นสุนทร, กฤษฎา เด็กหลี, ธันธวัฎ นิจจันทร์พันธ์ศรี Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/259822 Sat, 28 Jun 2025 00:00:00 +0700 การสร้างชุดทดลองคัดแยกชิ้นงานระบบอัตโนมัติและจัดเก็บด้วยหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ควบคุมด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/258465 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดทดลองคัดแยกชิ้นงานระบบอัตโนมัติและจัดเก็บด้วยหุ่นยนต์อุตสาหกรรมควบคุมด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ 2) ประเมินคุณภาพชุดทดลองคัดแยกชิ้นงานระบบอัตโนมัติและจัดเก็บด้วยหุ่นยนต์อุตสาหกรรมควบคุมด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ที่สร้างขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญ 3) หาประสิทธิภาพของชุดทดลองคัดแยกชิ้นงานระบบอัตโนมัติและจัดเก็บด้วยหุ่นยนต์อุตสาหกรรมควบคุมด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อชุดทดลองคัดแยกชิ้นงานระบบอัตโนมัติและจัดเก็บด้วยหุ่นยนต์อุตสาหกรรมควบคุมด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาเทคโนโลยีหุ่นยนต์และการประยุกต์ใช้งาน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ชุดทดลอง แบบประเมินคุณภาพ แบบบันทึกข้อมูล แบบวัดผลสัมฤทธิ์และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า 1) สร้างชุดทดลองคัดแยกชิ้นงานระบบอัตโนมัติและจัดเก็บด้วยหุ่นยนต์อุตสาหกรรมควบคุมด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ได้ตามแบบร่าง 2) ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นต่อชุดทดลองคัดแยกชิ้นงานระบบอัตโนมัติและจัดเก็บด้วยหุ่นยนต์อุตสาหกรรมควบคุมด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ชุดทดลองคัดแยกชิ้นงานระบบอัตโนมัติและจัดเก็บด้วยหุ่นยนต์อุตสาหกรรมควบคุมด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 84.51/80.88 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 และ 4) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อชุดทดลองคัดแยกชิ้นงานระบบอัตโนมัติและจัดเก็บด้วยหุ่นยนต์อุตสาหกรรมควบคุมด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ อยู่ในระดับมากที่สุด</p> ชวนชม ลิ่มทอง Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/258465 Sat, 28 Jun 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมการผลิต https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/259957 <p class="11"><span lang="TH">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยในการตัดสินใจซื้อเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมการผลิต 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมการผลิต และ 3) ศึกษาปัจจัยการตัดสินใจซื้อเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมการผลิต การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานในอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้เครื่องจักรระบบอัตโนมัติ จำนวน <span dir="RTL">181</span> คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</span></p> <p class="11"><span lang="TH">ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยในการตัดสินใจซื้อเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติในด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการขาย ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ </span>.05</p> จุฑารัตน์ ปิณฑะแพทย์, เชฐธิดา กุศลาไสยานนท์ Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/259957 Sat, 28 Jun 2025 00:00:00 +0700 การสร้างชุดประลอง PLC เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้วิชานิวแมติกส์และไฮดรอลิกส์อุตสาหกรรม https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/258600 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างชุดประลอง PLC และ 2) เพื่อหาประสิทธิภาพชุดประลอง PLC โดยมีวิธีดำเนินการกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาเทคนิคการผลิต จำนวนทั้งหมด 20 คน โดยเลือกแบบจำเพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ชุดประลอง PLC แบบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นต่อการสร้างชุดประลอง PLC เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้วิชานิวแมติกส์และไฮดรอลิกส์อุตสาหกรรม อยู่ในระดับมาก และ 2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การเรียนด้วยการสร้างชุดประลอง PLC เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้วิชานิวแมติกส์และไฮดรอลิกส์อุตสาหกรรมของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาเทคนิคการผลิต มีประสิทธิภาพ 82.50/86.40 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดประลอง PLC เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้วิชานิวแมติกส์และไฮดรอลิกส์อุตสาหกรรม</p> สุชาติ รัตนสุภา, มนัส นิระโส, พงศ์เกษม เรืองช่วย, ธเนศ พรหมจรรย์ Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/258600 Sat, 28 Jun 2025 00:00:00 +0700 แนวทางพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยภาครัฐ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/257358 <p class="11"><span class="110"><span lang="TH">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยภาครัฐ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช 2) ร่างแนวทางการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยภาครัฐ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษา</span></span><span lang="TH">จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 3) ประเมินแนวทางพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยภาครัฐ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างแบบมีจุดประสงค์ โดยแบ่งชั้นตามวัตถุประสงค์ จำนวน 3 กลุ่มคือ 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ได้แก่ หัวหน้างานทวิภาคี ครูนิเทศก์ ครูฝึกในสถานประกอบการและนักเรียน จำนวน 23 คน 2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลแนวทางการพัฒนา ได้แก่ ผู้อำนวยการวิทยาลัย รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและครูนิเทศก์ จำนวน 6 คน และ 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนา ได้แก่ ผู้อำนวยการและครูฝึกในสถานประกอบการ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ</span></p> <p class="11"><span lang="TH">ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันหลักสูตรระบบทวิภาคีมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ สถานศึกษายังขาดเครื่องมือที่ทันสมัย ควรลดหมวดวิชาสมรรถนะแกนกลาง การออกนิเทศไม่ตรงกับแผนการนิเทศ ครูฝึกไม่มีส่วนร่วมการจัดทำแผนนิเทศ 2) แนวทางการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พบว่า แนวทางพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประกอบด้วย 5 ด้าน 13 แนวทาง ได้แก่ 1) ด้านหลักสูตรระบบทวิภาคี มี 2 แนวทาง ได้แก่ (1) การเปิดหลักสูตรระบบทวิภาคีสอดคล้องกับอาชีพในสภาวะปัจจุบัน (<span style="letter-spacing: -.1pt;">2) การสร้าง</span>เว็บไซต์ของหลักสูตรระบบทวิภาคี 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน มี 2 แนวทาง ได้แก่ (1) ปรับลดจำนวนหน่วยกิต จำนวนชั่วโมง (2) <span style="letter-spacing: -.1pt;">สถานศึกษาควรสรรหาครุภัณฑ์ใหม่ที่ทันสมัย</span> <span style="letter-spacing: -.1pt;">3) ด้านความร่วมมือ มี 3 แนวทาง ได้แก่ </span>(<span style="letter-spacing: -.1pt;">1) </span>สถานศึกษาควรมีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสถานประกอบการ (2) การจัดทำแผนการเรียน แผนการฝึกอาชีพ และแผนการนิเทศ พิจารณาร่วมกัน (3) การคัดเลือกสถานประกอบการ จะต้องมีความพร้อมด้านสถานที่และบุคลากร 4) ด้านการนิเทศ มี 4 แนวทาง ได้แก่ (1) เปิดอบรมหลักสูตรครูนิเทศก์พัฒนาครูในสถานศึกษาและครูฝึกในสถานประกอบการ (2) ครูนิเทศก์และครูฝึกร่วมจัดทำแผนการนิเทศ (3) ครูนิเทศก์ไม่สามารถออกนิเทศได้ให้ทำบันทึกข้อความแจ้งสถานศึกษา (4) การออกนิเทศและรายงานผลการนิเทศ 5) ด้านการวัดและประเมินผล มี 2 แนวทาง ได้แก่ (1) การวัดผลและประเมินผลใช้กฎระเรียบ สอศ. (2) สถานศึกษาพัฒนาระบบสัญญาณอินเทอร์เน็ต และ 3) ผลการประเมินรายด้าน พบว่า 1) ด้านหลักสูตรระบบทวิภาคี มีความเหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 100 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน มีความเหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 78.57 3) ด้านความร่วมมือ ความเหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 100 4) ด้านการนิเทศ มีความเหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 92.85 5) ด้านการวัดและประเมินผล ความเหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 100</span></p> มนตรี สุวรรณโน, สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี, สันติ อุนจะนำ Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/257358 Sat, 28 Jun 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาเรือเก็บผักตบชวาขนาดเล็ก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/257213 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเรือเก็บผักตบชวาขนาดเล็ก 2) หาประสิทธิภาพเรือเก็บผักตบชวาขนาดเล็ก และ 3) หาความพึงพอใจของผู้ใช้เรือเก็บผักตบชวาขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่าง คือ ชาวประมงและพนักงานเทศบาลตำบลท่าชี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 30 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลและแบบสอบถามความพึงพอใจของชาวประมงที่มีต่อการใช้งานเก็บผักตบชวาขนาดเล็ก สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) เรือเก็บผักตบชวาขนาดเล็กมีการออกแบบชุดสายพานลำเลียงโดยใช้เครื่องเบนซิน 5.5 แรงม้า เป็นตัวขับเคลื่อนสายพานและชุดโซ่สเตอร์จำนวน 2 ชุด ทำการทดลองโดยการเก็บผักตบชวาและขยะลอยน้ำ จำนวน 5 ครั้ง ปรากฏว่าสามารถเก็บผักตบชวาและขยะลอยน้ำได้ทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 2) ประสิทธิภาพในการเก็บผักตบชวาทดลองจำนวน 5 วัน วันละ 3 ชั่วโมง สามารถเก็บผักตบชวาได้น้ำหนัก 3,300 - 3,750 กิโลกรัม น้ำหนักเฉลี่ยต่อ 1 ชั่วโมง สามารถเก็บได้น้ำหนัก 1,100 - 1,250 กิโลกรัม สภาพการเก็บสามารถเก็บได้ดีไม่ทิ้งเศษทุกครั้งคิดเป็นร้อยละ 100 และ 3) ความพึงพอใจจากการใช้เรือเก็บผักตบขนาดเล็ก ผู้ใช้มีความพึงพอใจในระดับมาก</p> ชยางกูร ไชยวงศ์, จิระพงศ์ อ่อนหนู, พิระ วิจะสิกะ, วิทยา โพธิ์ถาวร, มนตรี สร้อยรักษ์ Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/257213 Sat, 28 Jun 2025 00:00:00 +0700 การออกแบบและพัฒนาเครื่องสีข้าวหยอดเหรียญขนาดเล็กสำหรับชุมชน https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/259974 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการใช้บริการโรงสีข้าวของเกษตรกร 2) ออกแบบและพัฒนาเครื่องสีข้าวหยอดเหรียญขนาดเล็กสำหรับชุมชน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้งานเครื่องสีข้าวหยอดเหรียญขนาดเล็กสำหรับชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชากรในชุมชนหมู่ที่ 7 ตำบลคำหยาด อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง จำนวน 122 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจปัญหาและความต้องการของการใช้บริการโรงสีข้าวของเกษตรกร โปรแกรม SolidWorks และ Arduino IDE เพื่อใช้ในการออกแบบเครื่องสีข้าวหยอดเหรียญ และแบบสอบถามความพึงพอใจของการใช้งานเครื่องสีข้าวหยอดเหรียญขนาดเล็กสำหรับชุมชน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาและความต้องการของเกษตร คือ ระยะทางการเดินทางไปโรงสี และระยะเวลาการรอคอยการสีข้าวในฤดูเก็บเกี่ยว 2) การออกแบบเครื่องสีข้าวหยอดเหรียญที่สามารถสีข้าวได้เฉลี่ย 12.9 กิโลกรัมต่อ 10 นาที และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของเครื่องสีข้าวหยอดเหรียญขนาดเล็กสำหรับชุมชนในภาพรวม ด้านประสิทธิภาพและความเหมาะสมในการใช้งาน และด้านผลลัพธ์ที่ได้จากเครื่องสีข้าวหยอดเหรียญขนาดเล็กสำหรับชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด</p> กวีวัฒน์ วรแสน, เสฏฐศิษฎ์ นุ้ยเลี้ยง, วันชัย บุญทรัพย์ Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/259974 Sat, 28 Jun 2025 00:00:00 +0700 การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องนึ่ง-ย่างไข่ทรงเครื่อง https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/260693 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างเครื่องนึ่ง-ย่างไข่ทรงเครื่อง 2) ประเมินคุณภาพเครื่องนึ่ง-ย่างไข่ทรงเครื่อง 3) หาประสิทธิภาพเครื่องนึ่ง-ย่างไข่ทรงเครื่อง และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างเครื่องนึ่ง-ย่างไข่ทรงเครื่อง วิธีการวิจัยคือ การนำเครื่องไปทดสอบหาคุณภาพและประสิทธิภาพการทำงานโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบ จำนวน 5 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานจำนวน 20 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพของเครื่องนึ่ง-ย่างไข่ทรงเครื่องมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการประเมินคุณภาพผลงาน โดยผู้เชี่ยวชาญโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3) การทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานพบว่าสามารถใช้งานได้จริงและมีประสิทธิภาพตรงตามที่กำหนด และ 4) การประเมินหาความพึงพอใจของผู้ใช้เครื่องนึ่ง-ย่างไข่ทรงเครื่องมีความพึงพอใจระดับมาก</p> อนุชิต เพียรแก้ว, สุรศักดิ์ รัตนพันธ์, ชุติไชย ทองมีขวัญ, รัฐพงษ์ จันทร์คง Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/260693 Sat, 28 Jun 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บด้วย Google Site รายวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ เรื่องรูปแบบและการจัดทำแผนธุรกิจ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/259767 <p>การวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บด้วย Google Site รายวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ เรื่องรูปแบบและการจัดทำแผนธุรกิจ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บด้วย Google Site วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ เรื่องรูปแบบและการจัดทำแผนธุรกิจ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บ Google Site 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บด้วย Google Site กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่เรียนวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ แผนกช่างไฟฟ้ากำลัง ชั้นปีที่ 2 ห้อง 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จำนวน 34 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non Probability Sampling) แบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling)</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บด้วย Google Site บทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บด้วย Google Site วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ เรื่องรูปแบบและการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ มีค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพของกระบวนการ E<sub>1</sub> เท่ากับ 88.66 และค่าเฉลี่ยของประสิทธิภาพของผลลัพธ์ E<sub>2</sub> เท่ากับ 88.49 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน พบว่า จากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีผลการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่ต่อการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บ Google Site วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเรื่องรูปแบบและการจัดทำแผนธุรกิจ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก</p> ณรัณ ศรีวิหะ, กิจจา บานชื่น, กนิตา นาคอ่วม, ศุภนิดา พูลสวัสดิ์ Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/259767 Sat, 28 Jun 2025 00:00:00 +0700 หุ่นยนต์บริการขนส่งพัสดุอัตโนมัติ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/258897 <p class="11"><span lang="TH">การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างหุ่นยนต์บริการขนส่งพัสดุอัตโนมัติ 2) หาประสิทธิภาพของหุ่นยนต์บริการขนส่งพัสดุอัตโนมัติ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อหุ่นยนต์บริการขนส่งพัสดุอัตโนมัติเป็นกรอบการวิจัย สถานที่ดำเนินการวิจัย คือ แผนกวิชาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทางด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 20 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) หุ่นยนต์ </span>AGVAI<span lang="TH"> 2) แบบบันทึกการหาประสิทธิภาพ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าทางสถิติ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย </span></p> <p class="11"><span lang="TH">ผลการวิจัยพบว่า 1) หุ่นยนต์บริการขนส่งพัสดุอัตโนมัติมีการทำงาน 3 ระบบ ระบบการขับเคลื่อนทำงานโดยใช้ล้อโอมนิไดเร็คชันนอล 4 ล้อ มีมอเตอร์ดีซีเป็นตัวส่งกำลัง ควบคุมการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ด้วย </span>AI <span lang="TH">บนระบบปฏิบัติการ </span>ROS<span lang="TH"> รับข้อมูลจากกล้องเว็บแคม ตรวจจับแสงและวัดระยะด้วย </span>LiDAR<span lang="TH"> 2) ประสิทธิภาพการทำงานด้านประมวลผลเส้นทาง มีความถูกต้องในระดับสูงที่สุดรัศมีการตรวจจับ 2.5 เมตร เคลื่อนที่หลบหลีกสิ่งกีดขวางโดยไม่ชน และด้านระยะเวลาการทำงานเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือ 129.40 วินาที ที่ความเร็ว 0.65 เมตร/วินาที ด้านลำดับขั้นตอนการทำงานสามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 100 3) ผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมมีระดับความพึงพอใจในระดับมาก</span></p> สุธีร์ ก่อบุญขวัญ, สิทธิพงษ์ จีนหมั้น, วรวุฒิ ตั้งนรกุล, ชาลี เขมะพันธุ์มนัส, สันติชัย ช่วยบำรุง Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/258897 Sat, 28 Jun 2025 00:00:00 +0700