วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1 <p><strong>วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1</strong></p> <p><strong>ISSN</strong> 3027-6799 (Online)</p> <p><strong>กำหนดออก : </strong>2 ฉบับต่อปี ดังนี้ ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - มิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ :</strong> วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิจัย บทความวิชาการ ที่เขียนด้วยภาษาไทย เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่องค์ความรู้ งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม ของนักวิจัยทั้งภายนอกและภายในสถาบัน</p> <p>......................................................................</p> สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 th-TH วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 3027-6799 การสังเคราะห์องค์ประกอบในการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลสำหรับครูอาชีวศึกษา https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/256824 <p>บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับการสังเคราะห์องค์ประกอบในการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลสำหรับครูอาชีวศึกษา มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านสมรรถนะดิจิทัลของครูอาชีวศึกษาตามกรอบสมรรถนะบุคคล ได้แก่ หลักสูตรและเนื้อหาในการฝึกอบรม (สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมตามบริบทของสังคมและเทคโนโลยี) 2) องค์ประกอบเครื่องมือและกระบวนการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลสำหรับครูอาชีวศึกษา ได้แก่ รูปแบบการฝึกอบรม (ออฟไลน์ ออนไลน์ และแบบผสมผสาน) และสื่อประกอบการฝึกอบรม (เอกสารประกอบการฝึกอบรม สไลด์ประกอบการสอน คลิปตัวอย่าง วิดีทัศน์สาธิตการใช้งานโปรแกรม ฯลฯ) และ 3) องค์ประกอบการประเมินสมรรถนะดิจิทัลสำหรับครูอาชีวศึกษา ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบวัดความรู้ การประเมินชิ้นงาน และแบบวัดความสามารถ และกำหนดเกณฑ์ประเมินสมรรถนะ 5 ระดับ ได้แก่ น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก มากที่สุด และการกำหนดเกณฑ์การประเมินผล ผู้อบรมต้องมีคะแนนประเมินมากกว่าร้อยละ 80 สำหรับสมรรถนะพื้นฐาน และคะแนนประเมินมากกว่าร้อยละ 70 สำหรับสมรรถนะขั้นสูง</p> บัญชาลักษณ์ ลือสวัสดิ์ จอมพงศ์ มงคลวนิช ปรัชญนันท์ นิลสุข Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 9 1 3 16 การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพตามหลักสูตรอาชีวศึกษาเพื่อการรับรองมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/254317 <p>การพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษาคำนึงถึงสมรรถนะวิชาชีพเป็นหลัก เพื่อตอบสนองตลาดแรงงานและสังคมในระยะยาว มาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพเป็นเครื่องมือสำคัญในการปรับปรุงหลักสูตรและการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา นำมาตรฐานนี้ไปใช้ต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงานอย่างรอบคอบ การพัฒนาหลักสูตรควรรองรับความต้องการของสายอาชีพและผู้เรียน และการประเมินและปรับปรุงหลักสูตรเพื่อผลิตบุคคลที่มีคุณภาพสำหรับการทำงานในสายอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ การสำรวจตลาดแรงงานและการวิเคราะห์เป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการนี้ การร่วมมือและความร่วมมือในกระบวนการพัฒนานี้จะช่วยให้มีการผลิตบุคคลที่มีคุณภาพและความพร้อมในการทำงานในสายอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพในสังคมและตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว</p> อลงกต ใหม่น้อย รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 9 1 17 26 การศึกษาสภาพปัจจุบันในการพัฒนาคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาจากการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานของข้าราชการครูสำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาคใต้ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/255287 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการพัฒนาคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาจากการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานของข้าชการครูสำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาคใต้ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการครู ตั้งแต่ คศ.1 ขึ้นไปของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาคใต้ จำนวน 265 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัจจุบันในการพัฒนาคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาจากการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานของข้าราชการครูสำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากโดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นสูงสุดได้แก่ ด้านการสะท้อนคิดการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน รองลงมาได้แก่ ด้านการปฏิบัติการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน และด้านการวางแผนเตรียมการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามลำดับ</p> อภิชาติ เนินพรหม Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 9 1 27 37 รูปแบบการบริหารจัดการคลังปัญญาอาชีวศึกษา ด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม Intelligent Center: IC Lbtech. เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษา ของวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/256503 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการและแนวทางการสร้างรูปแบบ 2) สร้างรูปแบบ 3) ทดลองใช้รูปแบบ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบ ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ตอน โดยกลุ่มตัวอย่างตอนที่ 1 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน เครือข่ายความร่วมมือ จำนวน 446 คน ตอนที่ 2 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 23 คน ตอนที่ 3 ได้แก่ ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 7 โครงการ และตอนที่ 4 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน บุคคลในหน่วยงาน/องค์กรเครือข่าย นักเรียน จำนวน 323 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม แบบประเมิน แบบรายงาน และคู่มือดิจิทัลแพลตฟอร์ม การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการและแนวทางการสร้างรูปแบบ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการสร้างรูปแบบ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ การดำเนินการ 7 โครงการ ผลการประเมินความพึงพอใจ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลสัมฤทธิ์ ภาพรวมเพิ่มขึ้น 4) ผลการประเมินความสำเร็จของการบริหารจัดการคลังปัญญาอาชีวศึกษาฯ ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีด้วยรูปแบบ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวนเครือข่ายหน่วยงาน/สถานประกอบการที่เพิ่มขึ้น 77 แห่ง ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้สอน และผู้เรียนได้รับรางวัล ปีการศึกษา 2566 จำนวน 155 รายการ ภาพรวมเกรดเฉลี่ยผู้เรียน ปีการศึกษา 2566 เพิ่มขึ้น ระบบการให้บริการคลังปัญญาอาชีวศึกษาฯ ดังนี้ศูนย์ทดสอบมาตรฐานอาชีพ คลังวิชาชีพ คลังงานวิจัยและนวัตกรรม คลังบุคลากร คลังสื่อดิจิทัล และฝึกงาน</p> ประสงค์ อุบลวัตร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 9 1 38 49 การพัฒนาระบบควบคุมการจ่ายน้ำอัตโนมัติสำหรับสวนทุเรียน โดยสั่งงานผ่านแอปพลิเคชันสมาร์ตโฟน https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/254786 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบควบคุมการจ่ายน้ำอัตโนมัติสำหรับสวนทุเรียนโดยสั่งงานผ่านแอปพลิเคชันสมาร์ตโฟน และ 2) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพระบบควบคุมการจ่ายน้ำอัตโนมัติสำหรับสวนทุเรียนโดยสั่งงานผ่านแอปพลิเคชันสมาร์ตโฟน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ระบบควบคุมการจ่ายน้ำอัตโนมัติสำหรับสวนทุเรียนโดยสั่งงานผ่านแอปพลิเคชันสมาร์ตโฟน และแบบประเมินประสิทธิภาพ การเก็บรวบรวมการวิจัย ได้แก่ การบันทึกข้อมูลการทดสอบประสิทธิภาพระบบควบคุมการจ่ายน้ำและทดสอบประสิทธิภาพการสั่งงานผ่านแอปพลิเคชันสมาร์ตโฟน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและสมการการถดถอยเชิงเส้น ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการออกแบบและสร้างระบบควบคุมการจ่ายน้ำอัตโนมัติสำหรับสวนทุเรียน โดยใช้เครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ซับเมอร์สชนิดไฮบริดโดยนำแอปพลิเคชัน Blynk สมาร์ตโฟนมาประยุกต์ใช้ โดยดำเนินการเก็บข้อมูลในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลกะหรอ อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพระบบควบคุมการจ่ายน้ำ อัตราการไหลน้ำเฉลี่ยสูงสุด คือ เดือนมิถุนายน โดยความสัมพันธ์เป็นเส้นตรง มี R² = 0.9454 จัดอยู่ในรูปสมการเส้นตรง y = 0.0125x - 4.2031 กำลังไฟฟ้ากระแสตรงที่ผลิตได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ (PV) แปรผันตรงกับค่ารังสีแสงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้น และกำลังไฟฟ้าเฉลี่ยรายวันมีค่าเฉลี่ย 2.08 kW คิดเป็น 90.43% ของกำลังไฟฟ้าสูงสุด (2.30 kW) โดยช่วงเวลาที่มีค่ารังสีแสงอาทิตย์สูงสุดเฉลี่ย 443 W/m<sup>2 </sup> ในเวลา 10.00 น. ประสิทธิภาพระบบควบคุมการจ่ายน้ำสามารถกำหนดระยะเวลาในการเปิด-ปิดน้ำตามเวลาที่เหมาะสมได้ และ 2) ประสิทธิภาพระบบสั่งงานผ่านแอปพลิเคชันสมาร์ตโฟน พบว่า ค่าความชื้นในดินทั้ง 6 จุด มีค่าเพิ่มขึ้น และค่าอุณหภูมิในอากาศเพิ่มขึ้น โดยความชื้นในดินค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ เดือนพฤษภาคม ค่าความชื้นในดินค่าเฉลี่ย 71.50% และค่าอุณหภูมิในอากาศสูงสุด 37°C ถือเป็นการสร้างนวัตกรรมระบบควบคุมการจ่ายน้ำอัตโนมัติสำหรับสวนทุเรียนโดยสั่งงานผ่านแอปพลิเคชันสมาร์ตโฟนพื้นที่สวนทุเรียนอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในบริบทเชิงพื้นที่อย่างแท้จริง</p> สันติชัย สุวรรณฤทธิ์ วีระยุทธ สุดสมบูรณ์ ฉัตรชัย แก้วดี วีรพล ปานศรีนวล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 9 1 50 59 การพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดฝึกการขับเคลื่อนทางไฟฟ้า โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบไร้แปรงถ่าน https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/255629 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างชุดฝึกการขับเคลื่อนทางไฟฟ้าโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบไร้แปรงถ่าน 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดฝึกการขับเคลื่อนทางไฟฟ้า โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบไร้แปรงถ่าน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์จากคะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบไร้แปรงถ่าน เพื่อใช้ในการเรียนการสอนวิชา การขับเคลื่อนทางไฟฟ้า หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าและระบบควบคุมอัตโนมัติ พุทธศักราช 2565 วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดฝึก เอกสารประกอบชุดฝึก และแบบทดสอบ โดยนำชุดฝึกที่สร้างขึ้นทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าและระบบควบคุมอัตโนมัติ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 42 คน</p> <p>ผลการวิจัยซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ผู้วิจัยตั้งไว้ดังนี้ 1) การสร้างชุดฝึกการขับเคลื่อนทางไฟฟ้า โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบไร้แปรงถ่าน 2) การหาประสิทธิภาพของชุดฝึกโดยให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินมีค่าเฉลี่ยในแต่ละด้านอยู่ในช่วง 4.389-4.619 ซึ่งอยู่ในระดับดีตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับข้อสอบ (IOC) เป็น 0.9 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ผู้วิจัยได้กำหนด ไว้ที่ 0.5 และ 3) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์จากคะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่าค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยระหว่างเรียนเป็น 90.27 และหลังเรียน 83.55 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 จากการวิเคราะห์ด้วยสถิติที (t-test) พบ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> ประสงค์ศักดิ์ สองศรี เลอชัย กิรสมุทรานนท์ สรศักดิ์ รักกัน อิทธิเดช ชัยสิทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 9 1 60 68 พัฒนาการความแปรเปลี่ยนของสถาปัตยกรรมเมรุในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/254777 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการความแปรเปลี่ยนของสถาปัตยกรรมเมรุในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี เริ่มจากการเก็บข้อมูล การค้นคว้าเอกสารงานวิจัย นโยบายที่เผยแพร่ทางสาธารณะของภาครัฐ จากนั้นทำการสำรวจ ร่วมกับการสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างกับผู้ใช้งานในพื้นที่ เช่น ผู้ประกอบพิธีกรรม ผู้นำชุมชน และตัวแทนจากเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยมีพื้นที่กรณีศึกษาป่าเฮี่ยว 3 แห่ง ที่อยู่โดยรอบพื้นที่ใจกลางเมือง ได้แก่ ป่าเฮี่ยวหายยา ป่าเฮี่ยวช้างเผือก และป่าเฮี่ยวช้างคลาน จากนั้นนำรูปแบบของสถาปัตยกรรมมาวิเคราะห์ทำเป็นแบบสถาปัตยกรรม และสังเคราะห์พัฒนาการของสถาปัตยกรรมเมรุในป่าเฮี่ยว</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าชาวล้านนาเชื่อว่าการทำลายเมรุเดิม ถือเป็นการลบหลู่ต่อผีบรรพบุรุษอย่างร้ายแรง ตกขึด ส่งผลให้เกิดเหตุ เภทภัย ภายในป่าเฮี่ยวเมรุจึงมีแต่การสร้างใหม่ และเก็บเมรุเก่าไว้ในสภาพเดิมส่งผลให้มีเมรุหลายรูปแบบเปรียบเหมือนบันทึกประวัติศาสตร์เรื่องราวความเปลี่ยนแปลงของเมืองเชียงใหม่ ผ่านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่แสดงถึงคุณค่าและเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมล้านนา นอกจากผลการวิจัยยังพบหลักฐานทางสถาปัตยกรรมเป็นเมรุที่สันนิษฐานการสร้างอยู่ช่วงปี พ.ศ. 2207 อายุกว่า 350 ปี ซึ่งเดิมการค้นพบข้อมูลทางเอกสารจากมิชชันนารีกล่าวถึงเมรุและการเผ่าศพว่าน่าจะเกิดขึ้นหลังจากปี พ.ศ. 2430 ซึ่งเป็นระยะเวลาในช่วง 140 ปีที่ผ่านมา</p> กณิษา อำพนพรรณ อรศิริ ปาณินท์ วันดี พินิจวรสิน Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 9 1 69 82 คุณลักษณะผู้บริหารยุคใหม่ที่ส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/254085 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบคุณลักษณะผู้บริหารยุคใหม่ 2) ศึกษาและเปรียบเทียบองค์การแห่งการเรียนรู้ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้บริหารยุคใหม่กับองค์การแห่งการเรียนรู้ และ 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์คุณลักษณะผู้บริหารยุคใหม่ที่ส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 430 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีจำนวน 2 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามคุณลักษณะผู้บริหารยุคใหม่ 2) แบบสอบถามองค์การแห่งการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test แบบ Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะผู้บริหารยุคใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะผู้บริหารยุคใหม่จำแนกตามสถานภาพและขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) องค์การแห่งการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบองค์การแห่งการเรียนรู้จำแนกตามสถานภาพและขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 <br />3) คุณลักษณะผู้บริหารยุคใหม่กับองค์การแห่งการเรียนรู้มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และ 4) ตัวแปรคุณลักษณะผู้บริหารยุคใหม่ที่ส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 มี 5 ตัวแปร</p> หนึ่งธิดา โพธิสาขา ไพฑูรย์ พวงยอด ชาญวิทย์ หาญรินทร์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 9 1 83 96 การพัฒนาโครงสร้างหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชาเพื่อเสริมสร้างทักษะสมรรถนะวิชาชีพ สู่การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/256021 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบโครงสร้างหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชา 2) พัฒนาโครงสร้างหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชา 3) ประเมินโครงสร้างหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 50 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จากกลุ่มภาคีเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย 1) ตัวแทนจากภาคมหาวิทยาลัย และ2) ตัวแทนจากภาคการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการศึกษาเอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบเมินความเหมาะสมของโครงสร้างหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชา และแบบประเมินคุณภาพโครงสร้างหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชา สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบโครงสร้างของหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชา ประกอบด้วย (1) สมรรถนะรายวิชาของหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชาสำหรับการจัดสอนอาชีพ ตรงหรือสอดคล้องกับสมรรถนะรายวิชาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 (2) จำนวนชั่วโมงเรียนไม่น้อยกว่าจำนวนชั่วโมงเรียนของรายวิชาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 2) โครงสร้างหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชา มีองค์ประกอบของหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชา 9 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ชื่อหลักสูตรรายวิชา องค์ประกอบที่ 2 จำนวนชั่วโมงเรียน องค์ประกอบที่ 3 สมรรถนะรายวิชา องค์ประกอบที่ 4 คำอธิบายรายวิชา องค์ประกอบที่ 5 เนื้อหาสาระ องค์ประกอบที่ 6 การวัดและประเมินผล องค์ประกอบที่ 7 เครื่องมือ/วัสดุ/อุปกรณ์ องค์ประกอบที่ 8 เอกสารประกอบและแหล่งเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 9 พื้นความรู้หรือคุณสมบัติของผู้เรียน ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 24 วิชา และผลการประเมินความเหมาะสมของโครงสร้างหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชาเพื่อเสริมสร้างทักษะสมรรถนะวิชาชีพสู่การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการประเมินคุณภาพโครงสร้างหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชาเพื่อเสริมสร้างทักษะสมรรถนะวิชาชีพสู่การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ฤทัย ประทุมทอง ทรงนคร การนา วิมล บุญรอด ธนัท ธนอัศวพล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 9 1 97 106 การออกแบบและสร้างเครื่องมือปอกสายเคเบิลขนาด 50 ตร.มม. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/255147 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและสร้างเครื่องมือปอกสายเคเบิลขนาด 50 ตร.มม. <br />2) เปรียบเทียบเวลาปอกสายเคเบิลชนิดบีบด้วยเครื่องมือปอกสายเคเบิลขนาด 50 ตร.มม. กับมีดคัตเตอร์ และมีดคัตเตอร์ตัดท่อพีวีซี 3) เปรียบเทียบเวลาปอกสายเคเบิลชนิด 2 สลัก ความยาว 5.5 ซม. ด้วยเครื่องมือปอกสายเคเบิลขนาด 50 ตร.มม. กับมีดคัตเตอร์ และมีดคัตเตอร์ตัดท่อพีวีซี 4) เปรียบเทียบเวลาปอกสายเคเบิลชนิด 3 สลัก ความยาว 9 ซม. ด้วยเครื่องมือปอกสายเคเบิลขนาด 50 ตร.มม. กับมีดคัตเตอร์ และมีดคัตเตอร์ตัดท่อพีวีซี และ 5) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อเครื่องมือปอกสายเคเบิลขนาด 50 ตร.มม. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานปฏิบัติการข่ายสายภายนอก จ.สงขลา โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกผลเวลา และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) เครื่องมือปอกสายเคเบิลขนาด 50 ตร.มม. ที่สร้างขึ้นได้ผ่านการตรวจสอบและได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 2) ทดสอบเปรียบเทียบระยะเวลาการปอกสายพบว่าปอกสายเคเบิลชนิดบีบ ความยาว 5 ซม. ใช้เวลาเฉลี่ยลดลง 94 วินาที คิดเป็นร้อยละ 65.73 เมื่อเทียบกับมีดคัตเตอร์ และ 57 วินาที คิดเป็นร้อยละ 53.77 เมื่อเทียบกับมีดคัตเตอร์ตัดท่อพีวีซี 3) ปอกสายเคเบิลชนิด 2 สลัก ความยาว 5.5 ซม. ใช้เวลาเฉลี่ยลดลง 103 วินาที ลดลงร้อยละ 65.60 เมื่อเทียบกับมีดคัตเตอร์ และ 79 วินาที คิดเป็นร้อยละ 59.39 เมื่อเทียบกับมีดคัตเตอร์ตัดท่อพีวีซี และ 4) ทดสอบปอกสายเคเบิลชนิด 3 สลัก ความยาว 9 ซม. ใช้เวลาเฉลี่ยลดลง 203 วินาที คิดเป็นร้อยละ 70.73 เมื่อเทียบกับมีดคัตเตอร์ และ 134 วินาที คิดเป็นร้อยละ 61.46 เมื่อเทียบกับมีดคัตเตอร์ตัดท่อพีวีซี 5) ความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อเครื่องมือปอกสายเคเบิลขนาด 50 ตร.มม. ในระดับมากที่สุด</p> ธงชัย เธียรประสิทธิ์ กฤษณะ ชูจร นิพนธ์ บุญสกันต์ ปัทมา มรรคโช ไกรวิชญ์ บัวงาม Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 9 1 107 115 การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สกัดกาแฟแบบดริปจากวัสดุแปรรูปหวาย https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/254835 <p class="11"><span class="11Char"><span lang="TH">งานวิจัยเรื่องการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สกัดกาแฟแบบดริปจากวัสดุแปรรูปหวาย เป็นการวิจัยและพัฒนาเพื่อทำการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สกัดกาแฟแบบดริปจากวัสดุแปรรูปหวาย ซึ่งเป็นไม้เศรษฐกิจของประเทศไทยและมุ่งนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติเพื่อทดแทนวัสดุแบบดั้งเดิม โดยได้ทำการเก็บข้อมูลและหาข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้บริโภคผู้ที่ใช้งานจริง ผู้เชี่ยวชาญด้านการจักสานหวาย ผู้เชี่ยวชาญด้าน</span></span><span lang="TH">กาแฟและผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์และกำหนดแนวทางการสำหรับการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ </span></p> <p class="11"><span lang="TH">ผลการวิจัยพบว่าการใช้ลายสานจูงนางเป็นลวดลายที่เหมาะสมในการนำมาผลิตเนื่องจากมีอัตราการไหลของน้ำที่เหมาะสมกับการนำไปพัฒนาเป็นอุปกรณ์สกัดกาแฟแบบดริปมากที่สุด จึงได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบออกมาทั้ง </span>2 <span lang="TH">แบบด้วยกันคือแบบสานทึบและแบบสานโปร่งพบว่าผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ </span>1 <span lang="TH">หรือแบบสานทึบ นั้นมีความเหมาะสมมากที่สุดเนื่องจากสามารถแสดงถึงคุณค่าความเป็นไทยผ่านงานจักสานได้อย่างชัดเจนและมีจุดเด่นคือให้กลิ่นธรรมชาติหรือสัมผัสใหม่ระหว่างดริปกาแฟ จากนั้นจึงนำไปขายผ่านช่องทางออนไลน์จึงได้ความคิดเห็นจากทั้งผู้บริโภคที่ได้บริโภคจริงและจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง </span>2 <span lang="TH">ท่าน จึงพบว่าข้อที่ควรปรับแก้ผลิตภัณฑ์คือด้านการออกแบบในส่วนของการสานให้เรียบร้อยจะช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถแสดงถึงคุณค่าของงานจักสานได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นผ่านผลิตภัณฑ์จักสานใหม่ที่มีความร่วมสมัยด้วยวัสดุธรรมชาติ ไม่ซ้ำซากจำเจให้คนรุ่นใหม่ได้เข้าถึงและสนับสนุนผู้ที่ประกอบอาชีพงานจักสานหวายให้อยู่คู่กับคนไทยต่อไป</span></p> กิตติพัฒน์ วัฒนานุสรณ์ นพดล อินทร์จันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 9 1 116 126 โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางจิตวิญญาณที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/251751 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางจิตวิญญาณที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ จำนวน 210 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ด้วย Google Form และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้โปรแกรม LISREL</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางจิตวิญญาณที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการสมมติฐานนั้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์ เท่ากับ 56.37 ค่า df เท่ากับ 36 ค่า p-value เท่ากับ .00 ดัชนี GFI เท่ากับ .98 ดัชนี AGFI เท่ากับ .98 ค่า SRMR เท่ากับ .01 ค่า RMSEA เท่ากับ .02 และ 2) ความฉลาดทางอารมณ์มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมเชิงบวกต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ โดยมีตัวแปรความฉลาดทางจิตวิญญาณเป็นตัวแปรส่งผ่าน และความฉลาดทางจิตวิญญาณมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ตัวแปรทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ได้ร้อยละ 70</p> ศักดิ์ชัย จันทะแสง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 9 1 127 140 รูปแบบการตัดสินใจตามปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการ โรงแรมขนาดเล็กของนักท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดสระบุรี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/256487 <p class="11"><span lang="TH">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา </span>1) <span lang="TH">ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมขนาดเล็กของนักท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดสระบุรี และ </span>2) <span lang="TH">องค์ประกอบและรูปแบบของการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมขนาดเล็กของนักท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีประสบการณ์เข้าพักโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดสระบุรี จำนวน </span>400 <span lang="TH">คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ</span></p> <p class="11"><span lang="TH">ผลการวิจัยพบว่า </span>1)<span lang="TH"> ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมขนาดเล็กของนักท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ในภาพรวมมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบุคคลมีระดับความสำคัญสูงสุดมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และรายข้อในภาพรวม พบว่า รายข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ พนักงานมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส และพูดจาสุภาพ </span>2) <span lang="TH">ผลการศึกษาองค์ประกอบและรูปแบบของการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมขนาดเล็กของนักท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดสระบุรี พบว่า ประกอบด้วย </span>8 <span lang="TH">องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (</span>1) <span lang="TH">ด้านความโดดเด่นของโรงแรม (</span>2) <span lang="TH">ด้านภาพลักษณ์ของโรงแรม (</span>3)<span lang="TH"> ด้านข้อมูลลูกค้า การเข้าถึงและราคาที่ให้บริการ (</span>4) <span lang="TH">ด้านลักษณะการให้บริการและโปรโมชั่น (</span>5) <span lang="TH">ด้านกลยุทธ์การให้บริการ (</span>6) <span lang="TH">ด้านความเสมอภาคและความซื่อสัตย์ในการให้บริการ (</span>7) <span lang="TH">ด้านลักษณะภายในโรงแรม และ (</span>8) <span lang="TH">ด้านลักษณะห้องพักและบริการเสริม ผลการวิจัยในครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการวางแผนกลยุทธ์ในการออกแบบการให้บริการสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป</span></p> กนกรัตน์ พงษ์โพธากุล สาธนี แก้วสืบ ใจพร ลาภาพิสิษฐ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 9 1 141 156 ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดําเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/254086 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยการบริหาร 2) ศึกษาและเปรียบเทียบการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับการดำเนินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียน และ 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดําเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 430 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีจำนวน 2 ฉบับ คือ<br />แบบสอบถามปัจจัยการบริหาร และแบบสอบถามการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test แบบ Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการบริหารโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบปัจจัยการบริหารจำแนกตามสถานภาพและขนาดสถานศึกษา พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) การดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพและขนาดสถานศึกษา พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ปัจจัยการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และ 4) ตัวแปรปัจจัยการบริหารที่ร่วมส่งผลต่อการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 มี 7 ตัวแปร โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 81</p> ภานุวัฒน์ โพธิสาขา ไพฑูรย์ พวงยอด ชาญวิทย์ หาญรินทร์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 9 1 157 170