https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/issue/feed
วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
2024-12-29T10:09:10+07:00
Dr.Surat Promchun
csnpveis1@gmail.com
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1</strong></p> <p><strong>ISSN</strong> 3027-6799 (Online)</p> <p><strong>กำหนดออก : </strong>2 ฉบับต่อปี ดังนี้ ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - มิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ :</strong> วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิจัย บทความวิชาการ ที่เขียนด้วยภาษาไทย เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่องค์ความรู้ งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม ของนักวิจัยทั้งภายนอกและภายในสถาบัน</p> <p>......................................................................</p>
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/258463
เครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากระบบกึ่งอัตโนมัติ
2024-10-25T09:25:25+07:00
ศิริพงษ์ สอนมี
Siripong1070@gmail.com
สมหมาย เยาว์แสง
Siripong1070@gmail.com
อรรถพล ไชยพงศ์
Thirawat1810@gmail.com
ธีรวัฒน์ ทองสง
Thirawat1810@gmail.com
สุวิทย์ ธานีรัตน์
Siripong1070@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากระบบกึ่งอัตโนมัติ 2) หาประสิทธิภาพของเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากระบบกึ่งอัตโนมัติ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากระบบกึ่งอัตโนมัติ ดำเนินการพัฒนาโดยการปรับชุดแม่พิมพ์ ระบบควบคุมการทำงาน และระบบชุดป้อนกาบหมาก ทดลองหาประสิทธิภาพของเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจานกาบหมากระบบกึ่งอัตโนมัติที่วิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพเกษตรกรชาวสวนยาง ต.ท่าอุแท อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากระบบกึ่งอัตโนมัติ ประกอบด้วยการพัฒนาชุดแม่พิมพ์กาบหมากแบบถ้วยให้มีความลึกและความโค้งมนมากกว่าเดิม เพิ่มชุดควบคุมการทำงานของฮีตเตอร์เป็น 2 ชุด ที่แยกการทำงานแบบอิสระระหว่างแม่พิมพ์แบบจานเหลี่ยมกับแบบถ้วย และปรับปรุงชุดป้อนกาบหมาก โดยการเพิ่มแรงกดอัดหมากหมากและชุดปรับความเร็วรอบ ใช้ระบบไฮดรอลิกเป็นต้นกำลังที่มีหัวอัดและชุดควบคุมชุดเดียวแต่สามารถทำงานได้กับแม่พิมพ์ 2 แบบ คือ แบบจานเหลี่ยมขนาด 7×6 นิ้ว ลึก 1 นิ้ว และแบบถ้วยความกว้างปากถ้วยมีขนาด 6 นิ้ว ลึก 2 นิ้ว ก้นถ้วยกว้าง 3 นิ้ว 2) ผลการหาประสิทธิภาพของเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากระบบกึ่งอัตโนมัติมีกำลังการผลิต 60 ชิ้นต่อชั่วโมงและอัตราการสิ้นเปลืองพลังงาน 12 บาทต่อชั่วโมง และ 3) ความพึงพอใจที่มีต่อเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากระบบกึ่งอัตโนมัติอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/256667
การพัฒนาหลักสูตรอบรมออนไลน์ เรื่องวิธีการช่วยประหยัดไฟฟ้าและการคำนวณค่าไฟฟ้า สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าในจังหวัดชลบุรี
2024-08-26T11:48:21+07:00
เบญจวรรณ จันละคร
kaibenjee@gmail.com
จุรี ทัพวงษ์
juree.thapwong@gmail.com
นภาภรณ์ ธัญญา
tanyanapaporn9577@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรอบรมออนไลน์ เรื่องวิธีการช่วยประหยัดไฟฟ้าและการคำนวณค่าไฟฟ้า สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าในจังหวัดชลบุรี 2) เปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังอบรม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมหลักสูตรอบรมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าอัตราปกติในจังหวัดชลบุรี จำนวน 385 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างจากตารางเครจชี่และมอร์แกน และทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หลักสูตรอบรมออนไลน์ เรื่องวิธีการช่วยประหยัดไฟฟ้าและการคำนวณค่าไฟฟ้า สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าในจังหวัดชลบุรี 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการช่วยประหยัดไฟฟ้าและการคำนวณค่าไฟฟ้า 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมที่มีต่อหลักสูตรอบรมออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test dependent</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรอบรมออนไลน์ เรื่องวิธีการช่วยประหยัดไฟฟ้าและการคำนวณค่าไฟฟ้า สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าในจังหวัดชลบุรี มีประสิทธิภาพ 85.24/89.70 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนความรู้หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อหลักสูตรอบรมออนไลน์ เรื่องวิธีการช่วยประหยัดไฟฟ้าและการคำนวณค่าไฟฟ้า สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าในจังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/253749
การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะ วิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น เรื่อง การเชื่อมอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์
2023-11-07T09:06:02+07:00
สุเทพ นุชิต
jooksutep@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดฝึกทักษะวิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น เรื่องการเชื่อมอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ 2) หาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะวิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น เรื่องการเชื่อมอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ และ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะวิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น เรื่องการอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้เรียนแผนกวิชาช่างยนต์ กลุ่ม 65 ชย. 3 วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 14 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดฝึกทักษะวิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น เรื่องการเชื่อมอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ แบบบันทึกข้อมูลผลการฝึกทักษะ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดฝึกทักษะวิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น เรื่องการเชื่อมอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ 2) หาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะวิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น เรื่องการเชื่อมอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ และ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะวิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น เรื่องการอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้เรียนแผนกวิชาช่างยนต์ กลุ่ม 65 ชย. 3 วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 14 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดฝึกทักษะวิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น เรื่องการเชื่อมอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ แบบบันทึกข้อมูลผลการฝึกทักษะ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างชุดฝึกทักษะวิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น เรื่องการเชื่อมอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ ซึ่งใช้เก้าอี้แบบพนักพิงเป็นที่สำหรับนั่งฝึก ด้านบนทำการประกอบติดตั้งเสาสเตนเลส ยึดนัตไว้เพื่อถอดหรือประกอบกับชิ้นงานที่นำมาฝึกทักษะการควบคุมระยะอาร์ก การควบคุมความเร็วในการป้อนลวดเชื่อม และการเอียงมุมลวดเชื่อมที่ถูกต้อง ชุดฝึกทักษะดังกล่าวสามารถทำงานได้ 2 ระบบ คือ ใช้กระแสไฟฟ้าขนาด 220 โวลต์ และใช้หม้อแบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์ เป็นต้นกำลัง 2) ประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะวิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น เรื่องการเชื่อมอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ พบว่าในการทดลองการควบคุมระยะอาร์ก การควบคุมความเร็วในการป้อนลวดเชื่อม และการเอียงมุมลวดเชื่อมของผู้เรียนจำนวน 14 คน ปรากฏว่าการทำงานของอุปกรณ์ชุดฝึกทักษะปกติ และผลการทดลองสามารถใช้ชุดฝึกทักษะการเชื่อมอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ได้ทั้ง 3 ด้าน แสดงให้เห็นว่าชุดฝึกดังกล่าวสามารถนำไปใช้งานได้จริง และ 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อชุดฝึกทักษะวิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น เรื่องการเชื่อมอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์อยู่ในระดับมาก</p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/259809
การพัฒนาเครื่องเติมน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟืองท้ายรถยนต์
2024-11-21T11:45:10+07:00
เฉลิมศักดิ์ มีไพบูลย์สกุล
chalermsakmee@gmail.com
สิทธิพร บุญหวาน
chalermsakmee@gmail.com
ปิยะนันท์ รักการ
chalermsakmee@gmail.com
สืบศักดิ์ หลงขาว
chalermsakmee@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเครื่องเติมน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟืองท้ายรถยนต์สำหรับใช้ในศูนย์บริการยานยนต์ 2) ศึกษาประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องเติมน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟืองท้ายรถยนต์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของช่างในศูนย์บริการที่มีต่อการใช้งานเครื่องเติมน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟืองท้ายรถยนต์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาความพึงพอใจเป็นช่างบริการยานยนต์ในพื้นที่จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่างทำการเลือกแบบเจาะจงจากช่างบริการยานยนต์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเธียรศักดิ์ ออโต้เซอร์วิส ซึ่งนำเครื่องนี้ไปใช้ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูลการทดสอบการใช้งานของเครื่องเติมน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟืองท้ายรถยนต์ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น และแบบสอบถามความพึงพอใจของช่างในศูนย์บริการที่มีต่อการใช้เครื่องเติมน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟืองท้ายรถยนต์ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ด้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) เครื่องเติมน้ำมันเกียร์และเฟืองท้ายรถยนต์ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย ถังใส่น้ำมันใหม่ คอมเพรสเซอร์ผลิตลม ถังเก็บลม เกจวัดแรงดันลม ถังเก็บน้ำมันเก่า กรวยรับน้ำมันเก่า 2) การทดสอบประสิทธิภาพโดยการเติมน้ำมัน 3 ชนิด พบว่า การเติมน้ำมันด้วยเครื่องเติมน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟืองท้ายรถยนต์ ที่พัฒนาขึ้นใช้เวลาที่น้อยว่าการใช้ถังเติมน้ำมันด้วยมือโยก ค่าเฉลี่ย 102.8 วินาที หรือประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.23 และ 3) ความพึงพอใจจากใช้เครื่องเติมน้ำมันเกียร์และเฟืองท้ายรถยนต์ของช่างในศูนย์บริการรถยนต์ที่ศูนย์บริการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/258458
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยคำสั่งควบคุมการทำงาน ในรายวิชาหลักการเขียนโปรแกรมด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของกาเย่ ร่วมกับเกม Kahoot สำหรับผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
2024-10-25T16:34:22+07:00
นฤมล พรหมดนตรี
narumon@nvc.ac.th
ดนุภา จิตรามวงศ์
narumon@nvc.ac.th
รพีพัฒน์ พรหมดนตรี
narumon@nvc.ac.th
นันทารัตน์ ทองธวัช
narumon@nvc.ac.th
วรลักษณ์ เจียมพิจิตรกุล
narumon@nvc.ac.th
<p class="11"><span lang="TH">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ </span>1<span lang="TH">) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของกาเย่ร่วมกับเกม </span>Kahoot<span lang="TH"> เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยคำสั่งควบคุมการทำงาน ในรายวิชาหลักการเขียนโปรแกรมกับการเรียนแบบปกติ และ </span>2<span lang="TH">) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของกาเย่ร่วมกับเกม </span>Kahoot<span lang="TH"> เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยคำสั่งควบคุมการทำงาน ในรายวิชาหลักการเขียนโปรแกรม รูปแบบการวิจัยดำเนินการตามรูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้เรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา <span dir="RTL">2567</span> ของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (</span>Cluster Random Sampling<span lang="TH">) จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่ม <span dir="RTL">1</span> จำนวน </span>36<span lang="TH"> คน เป็นกลุ่มทดลอง กลุ่ม 2 จำนวน </span>32<span lang="TH"> คน เป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย </span>t<span lang="TH">-</span>test<span lang="TH"> แบบ </span>Independent Samples</p> <p class="11"><span lang="TH">ผลการวิจัยพบว่า </span>1<span lang="TH">) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของกาเย่ร่วมกับเกม </span>Kahoot<span lang="TH"> เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยคำสั่งควบคุมการทำงาน ในรายวิชาหลักการเขียนโปรแกรมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าการเรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .</span>01<span lang="TH"> และ </span>2<span lang="TH">) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของกาเย่ร่วมกับเกม </span>Kahoot<span lang="TH"> เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยคำสั่งควบคุมการทำงาน ในรายวิชาหลักการเขียนโปรแกรมจากแบบสอบถามความพึงพอใจ พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก </span></p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/255375
แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี
2024-03-15T16:29:19+07:00
อธิภู ลาแก้ว
64008113022@siamtechno.ac.th
ประทุมทอง ไตรรัตน์
646150110351@npu.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาสมรรถนะดิจิทัล ของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี และ 2) ประเมินความต้องการจำเป็นของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาสมรรถนะดิจิทัล ของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรสนับสนุนการสอน จำนวน 260 คน โดยกำหนดขนาดตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 249 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม แบบประมาณค่า 5 ระดับ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ ประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ เป็นแบบประเมินที่ใช้มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ค่าดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น โดยรวมเท่ากับ 0.133 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีจำนวน 3 ด้าน ที่มีค่าสูงกว่าค่าโดยรวม คือ ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์ (PNI<sub>Modified</sub> = 0.152) ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในการบริหารทรัพยากรบุคคลแบบใหม่บทบาทการนำองค์การแห่งการเรียนรู้ของนักทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ (PNI<sub>Modified</sub> = 0.136) และด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนาองค์การให้มีศักยภาพการทำงานสูง (PNI<sub>Modified</sub> = 0.135)</p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/258724
การพัฒนาแอปพลิเคชันสั่งงานระบบปฏิบัติการวินโดวส์ด้วยเสียงภาษาไทย
2024-10-25T09:38:11+07:00
พนม บุญญ์ไพร
panom.boonprai@gmail.com
ขนิษฐา สุมน
panom.boonprai@gmail.com
ดวงฤดี เสนเรือง
duangrudee.s@srtc.ac.th
เสาวณีย์ ไกรนุกูล
panom.boonprai@gmail.com
นฤมล โสภา
panom.boonprai@gmail.com
<p class="11" style="tab-stops: 6.0cm;"><span lang="TH">การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ </span>1<span lang="TH">) พัฒนาแอปพลิเคชันสั่งงานระบบปฏิบัติการวินโดวส์ด้วยเสียงภาษาไทย</span><br />2<span lang="TH">) หาประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันสั่งงานระบบปฏิบัติการวินโดวส์ด้วยเสียงภาษาไทย และ </span>3<span lang="TH">) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานแอปพลิเคชันสั่งงานระบบปฏิบัติการวินโดวส์ด้วยเสียงภาษาไทยการพัฒนาแอปพลิเคชันสั่งงานระบบปฏิบัติการวินโดวส์ด้วยเสียงภาษาไทย เป็นการทำงานโดยใช้เสียงพูดภาษาไทยของผู้ใช้ ออกคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ผู้พัฒนาใช้โปรแกรมภาษาไพทอน (</span>Python<span lang="TH">) และ </span>Visual Studio Code <span lang="TH">ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน ให้สามารถสั่งการระบบปฏิบัติการวินโดวส์ด้วยเสียงคำสั่งภาษาไทย เช่น การเปิด-ปิดโปรแกรม การเรียกใช้งานแอปพลิเคชันอื่น และการดำเนินการอีกมากมาย ซึ่งจะช่วยลดปัญหาของการใช้แป้นพิมพ์และเม้าส์ เพิ่มความสะดวกและประหยัดเวลาสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปรวมถึงผู้พิการหรือทุพพลภาพ </span></p> <p class="11"><span lang="TH">จากการทดสอบประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันสั่งงานระบบปฏิบัติการวินโดวส์ด้วยเสียงภาษาไทย โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน </span>5<span lang="TH"> คน และกลุ่มตัวอย่างอีก </span>30 <span lang="TH">คน พบว่า คุณภาพของแอปพลิเคชันสั่งงานระบบปฏิบัติการวินโดวส์ด้วยเสียงภาษาไทยอยู่ในเกณฑ์ดี และผู้ใช้มีความพึงพอใจแอปพลิเคชันสั่งงานระบบปฏิบัติการวินโดวส์ด้วยเสียงภาษาไทยอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแอปพลิเคชันสั่งงานระบบปฏิบัติการวินโดวส์ด้วยเสียงภาษาไทยนั้นสามารถนําไปใช้งานได้จริงหรือต่อยอดเป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ในอนาคตได้</span></p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/254735
ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
2024-01-17T10:10:26+07:00
สมหวัง หล้าสมบัติ
lasombat_spp@hotmail.com
ศุภกร ศรเพชร
lasombat_spp@hotmail.com
จารุวรรณ เขียวน้ำชุม
lasombat_spp@hotmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพ และขนาดของสถานศึกษา 2) ศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษาจำแนกตามสถานภาพ และขนาดของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา และ 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 223 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือทีใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีจำนวน 2 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) แบบสอบถามการบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test แบบ Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพและขนาดสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน 2) การบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบการบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และขนาดสถานศึกษาพบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษามีความสัมพันธ์กันทางบวก ในระดับค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และ 4) ตัวแปรภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ร่วมส่งผลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม มี 3 ตัวแปร </p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/256500
การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอนวิชาการตลาดเบื้องต้น รหัสวิชา 20202-2001 ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2562 ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
2024-08-29T11:08:54+07:00
นันทนา บำรุงชาติ
nanthnabarungchati@gmail.com
<p class="11"><span class="110"><span lang="TH">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ </span>1<span lang="TH">) สร้างและประเมินคุณภาพของชุดการสอนวิชาการตลาดเบื้องต้น 2) หาประสิทธิภาพของชุดการสอนวิชาการตลาดเบื้องต้น 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดการสอนวิชาการตลาดเบื้องต้น 4) หาค่าดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนรู้</span></span><span lang="TH">ของนักเรียนโดยใช้ชุดการสอนวิชาการตลาดเบื้องต้น และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนวิชาการตลาดเบื้องต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 ประเภทวิชาพาณิชยกรรม แผนกวิชาการบัญชี ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการตลาดเบื้องต้น รหัสวิชา 20202-2001 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 วิทยาลัยการอาชีพท้ายเหมือง จำนวน 12 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (</span>t<span lang="TH">-</span>test Dependent<span lang="TH">)</span></p> <p class="11"><span lang="TH">สรุปผลได้ดังนี้ </span>1<span lang="TH">) ชุดการสอนที่สร้างมีทั้งหมด </span>9 <span lang="TH">ชุด คุณภาพของชุดการสอนประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด </span>2<span lang="TH">) ประสิทธิภาพของชุดการสอนวิชาการตลาดเบื้องต้นที่สร้างขึ้นมีค่าเท่ากับ </span>81<span lang="TH">.</span>61<span lang="TH">/</span>80<span lang="TH">.</span>69 3<span lang="TH">) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดการสอนวิชาการตลาดเบื้องต้นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .</span>05 4<span lang="TH">) ค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนวิชาการตลาดเบื้องต้น มีค่าเท่ากับ </span>0<span lang="TH">.</span>6601 <span lang="TH">หรือร้อยละ </span>66<span lang="TH">.</span>01 <span lang="TH">และ </span>5<span lang="TH">) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนวิชาการตลาดเบื้องต้นอยู่ในระดับมาก</span></p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/257764
รูปแบบการเรียนการสอนโดยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการเรียนรู้แบบนำตนเอง สำหรับผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี
2024-08-05T09:10:46+07:00
ฤดี ปุสสลานนท์
nongdee8@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักการ ทฤษฎี สภาพปัจจุบันและความต้องการในการเรียนรู้ 2) สร้างรูปแบบ 3) ทดลองใช้รูปแบบ และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มี 4 ตอน ตอนที่ 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์งานธุรกิจและบริการ (30000-1308) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ทุกสาขาวิชา จำนวน 326 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 177 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน และทำการสุ่มอย่างง่าย ตอนที่ 2 ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ประเมินคุณภาพของรูปแบบ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ประเมินคุณภาพของคู่มือการใช้รูปแบบ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ตอนที่ 3 และ 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษา ปวส. ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน จำนวน 36 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบรายงาน แบบสอบถาม แบบประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริง แบบประเมินคุณลักษณะการเรียนรู้แบบนำตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 และการทดสอบค่า t</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักการและทฤษฎีได้นำมาวิเคราะห์เพื่อสร้างรูปแบบ ผลของสภาพปัจจุบันภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ความต้องการในการเรียนรู้ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการสร้างรูปแบบมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ ผลตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้ ตามเกณฑ์ E1/E2 ประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 3) ผลการทดลองใช้คะแนนหลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบ 4.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตลอดภาคเรียนผู้เรียนมีระดับผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีมากขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 88.89 เป็นไปตามสมมติฐาน 4.2) ความพึงพอใจของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก 4.3) ผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4.4) การเรียนรู้แบบนำตนเองอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/258626
การพัฒนาแอปพลิเคชันเกมตอบคำถาม เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ ด้วย Kodular สำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 3
2024-10-25T16:36:25+07:00
วรลักษณ์ เจียมพิจิตรกุล
kru.comtu@gmail.com
ดนุภา จิตรามวงศ์
Woralak.jie@nvc.ac.th
รพีพัฒน์ พรหมดนตรี
Woralak.jie@nvc.ac.th
นันทารัตน์ ทองธวัช
Woralak.jie@nvc.ac.th
นฤมล พรหมดนตรี
Woralak.jie@nvc.ac.th
<p class="11"><span lang="TH">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ </span>1<span lang="TH">) พัฒนาแอปพลิเคชันเกมตอบคำถาม เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย </span>Kodular<span lang="TH"> 2) ประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันเกมตอบคำถาม เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย</span> Kodular <span lang="TH">และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานแอปพลิเคชันเกมตอบคำถามระบบคอมพิวเตอร์ด้วย</span> Kodular<span lang="TH"> รูปแบบการวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามรูปแบบการวิจัยเชิงพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้น ปวช.3 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2</span>566 <span lang="TH">ของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช จำนวน 76 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ด้วยการกำหนดตัวอย่างตามสูตรของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินประสิทธิภาพ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน </span></p> <p class="11"><span lang="TH" style="letter-spacing: -.3pt;">ผลการวิจัยพบว่า </span><span style="letter-spacing: -.3pt;">1<span lang="TH">) แอปพลิเคชันเกมตอบคำถาม เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย </span>Kodular <span lang="TH">จำนวน 20 ข้อ </span></span><span lang="TH">2) ความคิดเห็นด้านความเหมาะสมของผู้เชี่ยวชาญ ภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด ในด้านใช้งานได้สะดวก และด้านความเป็นไปได้ มีความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ในด้านแอปพลิเคชันมีความสะดวก และ 3) ความพึงพอใจของผู้ใช้แอปพลิเคชันเกม เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ ด้วย </span>Kodular<span lang="TH"> จากแบบสอบถามความพึงพอใจ พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</span></p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/258095
การพัฒนาเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยระบบควบแน่น สำหรับวิสาหกิจชุมชนที่ปลูกสมุนไพร
2024-11-01T14:45:06+07:00
ธนาคาร คุ้มภัย
kumphai.t@gmail.com
ปรินดา ปานเพชร
kumphai.t@gmail.com
เชษฐา เจริญสุข
kumphai.t@gmail.com
เอกนรินทร์ พลาชีวะ
kumphai.t@gmail.com
สุริยันต์ รักพวก
kumphai.t@gmail.com
<p class="11"><span class="110"><span lang="TH">การวิจัยการพัฒนาเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยระบบควบแน่น สำหรับวิสาหกิจชุมชนที่ปลูกสมุนไพร มีวัตถุประสงค์ คือ </span>1<span lang="TH">) เพื่อพัฒนาเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยระบบควบแน่น โดยความร่วมมือของสถานศึกษาและวิสาหกิจชุมชน ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (</span>Bio<span lang="TH">-</span><span style="color: red;">e</span>conomy<span lang="TH">) และ </span>2<span lang="TH">) เพื่อถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี และส่งมอบสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมให้แก่ชุมชนเพื่อเป็นการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนและ</span></span><span lang="TH">เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนส่งผลต่อประเทศ </span></p> <p class="11"><span lang="TH">ผลการงานวิจัยนี้ </span>1<span lang="TH">) สามารถสร้างเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยระบบควบแน่น โดยการสร้างเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยระบบควบแน่น สำหรับการหาประสิทธิภาพของเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยระบบควบแน่น พบว่าการกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมที่อุณหภูมิ </span>100<span lang="TH"> องศาเซลเซียส และ </span>120<span lang="TH"> องศาเซลเซียส โดยใช้ปริมาณตะไคร้ </span>30<span lang="TH"> กิโลกรัมและใช้เวลาต้มที่ </span>5<span lang="TH"> ชั่วโมง พบว่า ที่อุณหภูมิในการต้มที่ </span>100<span lang="TH"> องศาเซลเซียส ได้น้ำมันหอมระเหยเฉลี่ยที่ </span>67<span lang="TH">.</span>6<span lang="TH"> มิลลิลิตร คิดเป็น </span>4<span lang="TH">.</span>5 <span lang="TH">% และที่อุณหภูมิในการต้มที่ </span>120<span lang="TH"> องศาเซลเซียส ได้น้ำมันหอมระเหยเฉลี่ยที่ </span>70<span lang="TH">.</span>2<span lang="TH"> มิลลิลิตร คิดเป็น </span>4<span lang="TH">.</span>68 <span lang="TH">% การจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้งาน และส่งมอบ ณ ศูนย์เรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “วนเกษตรบ้านป่า” วิสาหกิจชุมชนจัดการสมุนไพรวนเกษตรป่าตะวันออก อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา</span></p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/258466
การพัฒนาแบบฝึกทักษะโดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning วิชาการบัญชีการเงิน เรื่อง การบันทึกบัญชีของกิจการซื้อขายสินค้า สำหรับผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช
2024-10-25T16:34:55+07:00
หนึ่งหทัย มูสิกะนันท์
nunghathai2424@gmail.com
อรอุมา ส่งบำเพ็ญ
nunghathai2424@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการบันทึกบัญชีของกิจการซื้อขายสินค้า 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการบันทึกบัญชีของกิจการซื้อขายสินค้า 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีการเงินของผู้เรียนจากการใช้แบบฝึกทักษะโดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะโดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกทักษะ แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 กลุ่ม 2 แผนกวิชาการบัญชี วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช ที่ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test for Dependent Samples</p> <p>ผลการทำวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะการบันทึกบัญชีของกิจการซื้อขายสินค้า ประกอบด้วย ใบความรู้ ใบงาน แบบทดสอบก่อนเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการบันทึกบัญชีของกิจการซื้อขายสินค้า ผู้เรียนร้อยละ 93.33 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีการเงินของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 กลุ่ม 2 ก่อนการใช้แบบฝึกทักษะ โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning คิดเป็นร้อยละ 76.67 หลังจากการใช้แบบฝึกทักษะ คิดเป็นร้อยละ 93.33 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากขึ้น ร้อยละ 16.66 และ 4) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะโดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning อยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/258459
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจฝากขาย ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) สำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่ 1
2024-10-25T16:35:34+07:00
ณัฐวรรณ ภักดีชน
nattawan.pak@nvc.ac.th
รัชนีวรรณ ศรีทองเพิง
nattawan.pak@nvc.ac.th
สาวิตรี ศรีประศาสตร์
nattawan.pak@nvc.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจฝากขาย 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 กลุ่ม 4 แผนกวิชาการบัญชี วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช ที่ได้จากการสุ่มแบบยกกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกทักษะ แบบทดสอบและแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ t-test for Dependent Samples</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะที่พัฒนาประกอบด้วย แบบฝึกทักษะ จำนวน 2 ชุด และแผนการจัดการเรียนรู้ 2) ความก้าวหน้าทางการเรียนของผู้เรียนหลังจากทำการศึกษาด้วยแบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจฝากขาย ผู้เรียนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น และมีค่าสถิติ t-test for Dependent ที่ระดับค่านัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ .05 พบว่ามีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกัน 3) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด</p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/255985
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับ ผังกราฟิก รายวิชาคณิตศาสตร์ธุรกิจและบริการ ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
2024-03-20T10:30:51+07:00
สุปราณี ศรีสะอาด
supranee07137@gmail.com
กฤษณี สงสวัสดิ์
supranee07137@gmail.com
อัญชลี แสงอาวุธ
supranee07137@gmail.com
<p>ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับผังกราฟิกให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับผังกราฟิก และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จำนวน 30 คน ได้มาโดยการใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้และแผนการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับผังกราฟิก แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ด้านความรู้และทักษะกระบวนการการแก้ปัญหา และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และการทดสอบค่าที</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับผังกราฟิก มีค่าประสิทธิภาพ 83.64/86.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ว่าให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) ผลการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับผังกราฟิกหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้ มีความพึงพอใจหลังเรียนอยู่ในระดับมาก</p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/256636
แนวทางการจัดการอาชีวศึกษาในประเทศไทย: การสร้างเจตคติใหม่และค่านิยมเพื่อตอบสนองต่อตลาดแรงงานสากล
2024-05-03T21:41:53+07:00
กิตติพงษ์ เพียรพิทักษ์
benzfighttor@gmail.com
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนแง่มุมของอาชีวศึกษาที่ถูกหล่อหลอมภาพลักษณ์ทางสังคม จนเป็นสาเหตุของการเลือกศึกษาต่อในสายอาชีพน้อยกว่าสายสามัญ ซึ่งผลกระทบนี้นำไปสู่การผลิตแรงงานทักษะที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรม ประกอบกับความพร้อมของสถาบันการอาชีวศึกษาทั้งทางด้านหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และเทคโนโลยียังไม่สอดคล้องกับการปรับตัวของอุตสาหกรรม จนทำให้เกิดเป็นช่องว่างทางทักษะระหว่างแรงงานเก่ากับแรงงานใหม่ ด้วยเหตุนี้วิธีการพัฒนาอาชีวศึกษาสู่สากล โดยเริ่มต้นจากการปลูกฝังเจตคติใหม่ในอาชีวศึกษา และการสร้างค่านิยมที่ดีในสังคมเพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญของกำลังคนอาชีวศึกษาที่มีบทบาทต่อภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ดังนั้น เมื่อมองกลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษาเป็นทุนมนุษย์ที่พร้อมผลักดันระบบเศรษฐกิจผ่านกลไกความพยายามทั้งในสังคม สถาบันการอาชีวศึกษาและสถานประกอบการ จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนทิศทางการบริหารจัดการกำลังคนทักษะอย่างเป็นระบบเพื่อให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางและก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง</p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1