วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/crma-journal <p>วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ISSN:2350-9600 มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่มีคุณค่าของบุคลากร ภายในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า กองทัพบก กองทัพไทย และบุคคลทั่วไป</p> <p>โดยมีขอบเขตการตีพิมพ์ในด้านการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการทหาร การรักษาความปลอดภัย และความมั่นคง วารสารฯ มีกำหนดออกในเดือนธันวาคมของแต่ละปี</p> สภาคณาจารย์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า th-TH วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2350-9600 <p><span style="font-weight: 400;">ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ</span></p> การศึกษาพัฒนาหยกเนไฟรต์เพื่อลดก๊าซพิษไอเสียในท่อรถจักรยานยนต์ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/crma-journal/article/view/248684 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์นำเสนอการศึกษา 1.เพื่อออกแบบและสร้างแคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์ หยกเนไฟตร์ (Nephrite) 2.เพื่อหาประสิทธิของแคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์หยกเนไฟตร์ (Nephrite) 3.เพื่อศึกษาค่าคาร์บอนมอนอกไซด์(CO) และไฮโดรคาร์บอน(HC) ก่อนและหลังการติดตั้งแคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์ หยกเนไฟตร(Nephrite) เพื่อลดมลพิษปัญหาทางอากาศลดค่าก๊าซค่าบอนมอนอกไซด์(CO) ก่อนการติดตั้งแคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์หยกเนไฟรต์(Neprite) มีค่าเฉลี่ย0.178%และหลังการติดตั้งแคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์ หยกเนไฟรต์(Neprite) มีค่าเฉลี่ย 0.012 % ค่าต่างกันเฉลี่ย 0.166 % ค่าไฮโดรคาร์บอน(HC) ก่อนการติดตั้งแคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์หยกเนไฟรต์(Neprite) มีค่าเฉลี่ย 51.6 ppm.และหลังการติดตั้งแคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์หยกเนไฟรต์(Neprite)มีค่าเฉลี่ย 31.8 ppm. ค่าต่างกันเฉลี่ย 19.8 ppm. สรุปผลการวิจัยพบว่าแคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์หยกเนไฟรตร์(Neprite)สามารถทำความสะอาดก๊าซท่อไอเสียรถจักรยานยนต์ได้ในอัตราเฉลี่ย ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์(CO) 0.166 % ก๊าซไฮโดรคาร์บอน(HC) เฉลี่ย19.8ppm.ลดมลพิษที่ปล่อยจากท่อไอเสียรถจักรยานยนต์ได้</p> วราภรณ์ อักโขวงศ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-22 2023-12-22 21 1 1 11 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลง การใช้ที่ดินด้วยข้อมูลดาวเทียม https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/crma-journal/article/view/249649 <p>การบุกรุกเข้ามาบนที่ดินของกองทัพบกเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทางกองทัพต้องหาวิธีบริหารจัดการด้านที่ดินเพื่อดูแลพื้นที่ และป้องกันผลกระทบต่อศักยภาพในการปฏิบัติงานในห้วงการฝึก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีแนวทางที่จะนำเทคโนโลยีเพื่อเข้ามาช่วยในการจัดการด้านพื้นที่ โดยนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเข้ามาใช้งาน วัตถุประสงค์คือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของกองทัพจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม การวิเคราะห์โดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ข้อมูล, ลดเวลาในการสำรวจและจำนวนผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบพื้นที่ปฏิบัติการได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องลงไปบนพื้นที่จริง ซึ่งบางพื้นที่อาจเป็นพื้นที่เสี่ยงอันตราย ในการศึกษาได้ใช้วิธีการจำแนกประเภทข้อมูลแบบกำกับดูแล (Supervised Classification) โดยใช้วิธี Maximum Likelihood โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมต่างๆ ได้แก่ Landsat 5, Landsat 8 และ THEOS โดยได้เลือกพื้นที่ตัวอย่างคือ ตำบลห้วยโป่ง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ในการศึกษาครั้งนี้ได้จำแนกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมทั้ง 3 ชนิด ที่ถูกบันทึกตลอดทั้งปี ผลวิเคราะห์พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางด้านพื้นที่ เช่น พื้นที่ป่าไม้เปลี่ยนเป็นพื้นที่การเกษตร และพื้นที่ปลูกสร้าง และพื้นที่การเกษตรเปลี่ยนเป็นสิ่งปลูกสร้าง หรือพื้นที่อื่นๆ เป็นต้น การศึกษครั้งนี้ได้มีการทดสอบความถูกต้องของการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถูกต้องรวม (Overall Accuracy) ซึ่งอยู่ในช่วง 70.00% – 93.33 % ถือว่าให้ค่าความถูกต้องรวมที่สูง นอกจากนี้ยังมีการคำนวนค่าสถิติตามทฤษฎีของ Cohen's kappa (K) ซึ่งอยู่ในช่วง 0.64 – 0.92 ซึ่งบ่งบอกถึงความเชื่อมั่นของผลลัพธ์ที่ดีถึงดีมาก ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์นี้ได้ถูกแสดงผ่านระบบเว็บแอพพลิเคชั่น ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการจัดการ การแก้ปัญหาการบุกรุกบนพื้นที่ดินของกองทัพบกได้เป็นอย่างดี</p> สาโรช แสงเมือง พิชญ รัชฎาวงศ์ กฤตยาภรณ์ เจริญผล Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-22 2023-12-22 21 1 12 27 อัลกอริทึมแห่งความสัมพันธ์ระหว่างการไร้ตัวตนกับอาชญากรรมไซเบอร์ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/crma-journal/article/view/250107 <p style="font-weight: 400;">บทความวิจัยนี้มุ่งหมายเพื่อสร้างอัลกอริทึมให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลเพื่อพยากรณ์การเกิดอาชญากรรมไซเบอร์ และโอกาสก่อการร้าย จากความสัมพันธ์ระหว่างการไร้ตัวตนกับอาชญากรรมไซเบอร์ที่วิเคราะห์ด้วยทฤษฎีเกมเป็นวิธีวิจัยแบบผสมผสานเพื่อเข้าใจกระบวนการตัดสินใจของอาชญากรไซเบอร์โดยทฤษฎีการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลและใช้ทฤษฎีเกมเป็นเครื่องมือในการอธิบายความสัมพันธ์ด้วย ต้นไม้การตัดสินใจ ตารางผลตอบแทน และสมการผลตอบแทน ผลการวิจัยได้พิสูจน์ว่าการไร้ตัวตนและการเกิดอาชญากรรมไซเบอร์มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน</p> ปรเมศว์ กุมารบุญ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-22 2023-12-22 21 1 28 44 การพัฒนากระบวนการทำกลีเซอรีนบริสุทธิ์จากผลพลอยได้ของการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันใช้แล้ว https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/crma-journal/article/view/250275 <p>ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้องมีการมองหาแหล่งพลังงานทางเลือกเข้ามาทดแทนพลังงานหลักที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ไบโอดีเซลเป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกที่น่าสนใจในอนาคต งานวิจัยนี้จึงมีความสนใจในการสกัดแยกกลีเซอรีนจากกลีเซอรีนดิบ ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันใช้แล้ว เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าและช่วยลดต้นทุนการผลิตไบโอดีเซล โดยใช้กรดซัลฟิวริก 8 M และกรดฟอสฟอริก 8 M ร้อยละอัตราส่วนกรดต่อน้ำหนักของกลีเซอรีนดิบที่ 6, 8, 10, 12, 14, 16, 18 และ 20 ในการสกัดแยกกลีเซอรีนจากกลีเซอรีนดิบ ผลการวิจัยพบว่าชั้นกลีเซอรีนจะแยกตัวได้เร็วและได้กลีเซอรีนปริมาณมาก เมื่อค่า pH ของสารละลายกลีเซอรีนมีค่าใกล้เคียง 2 กรดซัลฟิวริกมีค่าอัตราส่วนกรดโดยน้ำหนักของกลีเซอรีนดิบร้อยละ 10 สามารถผลิตกลีเซอรีนได้มากที่สุดและมีค่าร้อยละความบริสุทธิ์เท่ากับ 89.7±0.01 และกรดฟอสฟอริกมีค่าอัตราส่วนกรดโดยน้ำหนักของกลีเซอรีนดิบร้อยละ 16 สามารถผลิตกลีเซอรีนได้มากที่สุดและมีค่าร้อยละความบริสุทธิ์เท่ากับ 87.7±0.01 ทั้งนี้กระบวนการสกัดแยกกลีเซอรีนให้บริสุทธิ์โดยใช้กรดซัลฟิวริก 8 M สามารถเพิ่มค่าความบริสุทธิ์ของกลีเซอรีนจากร้อยละ 40.2±0.02 เป็นร้อยละ 89.7±0.01 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 49.5±0.01 และกระบวนการสกัดแยกกลีเซอรีนให้บริสุทธิ์โดยใช้กรดฟอสฟอริก 8 M สามารถเพิ่มค่าความบริสุทธิ์ของกลีเซอรีนจากร้อยละ 40.2±0.02 เป็นร้อยละ 87.7±0.01 เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.5±0.01</p> Patcha Poempipat Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-22 2023-12-22 21 1 45 58 The Study of the Optimal Route for Waste Collection by Using Vehicle Routing Problem in Chulachomklao Royal Military Academy https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/crma-journal/article/view/252133 <p>The waste problem in Chulachomklao Royal Military Academy has been continually increasing and affecting the environment as well as the quality of life of the personnel. Waste disposal is becoming increasingly difficult due to changing consumption and now requires more energy. Currently, the Transportation Section of the Support Division Chulachomklao Royal Military Academy must collect solid waste from all 45 government offices and residences for disposal in the landfills at the Prommanee Sub-district Administration Organization of Nakhon Nayok Province. The support of waste trucks is also lacking in terms of equipment rates due to the limited number of waste trucks, so waste collection needs to be properly managed in terms of transportation planning. Based on these problems, the objective of this research is to find the most optimal route for waste collection by applying a mathematical model for the Vehicle Routing Problem (VRP), Heuristic Principles including Cluster-First Route-Second method and Sweep Heuristic method. Then compare it with traditional transportation to find the shortest route and provide guidelines for resource-efficient waste collection planning. The study concluded that the Cluster First Route Second+ VRP 2 Group method has the shortest transportation distance, which can reduce the transportation distance from the original 110.71 kilometers to the total transportation distance of 75.66 kilometers and reduce the transportation cost by 1,525.09 baht per week or 31.66 percent of the original transportation costs.</p> วิชญ์ชพล พลตื้อธนะกูล Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-22 2023-12-22 21 1 59 75 การศึกษาเปรียบเทียบค่ากำลังของวัตถุระเบิดแรงสูงจากการคำนวณทางเทอร์โมเคมีอย่างง่ายและค่าจากการทดลอง https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/crma-journal/article/view/253744 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาค่ากำลังของวัตถุระเบิดแรงสูงที่มีการใช้งานทางทหารและทางพลเรือนจำนวน 18 ชนิด จากการคำนวณโดยใช้หลักการทางเทอร์โมเคมีอย่างง่ายเปรียบเทียบกับค่ากำลังของวัตถุระเบิดที่ได้จากการทดลองโดยใช้วิธี Trauzl Lead Block Test พบว่าค่ากำลังของวัตถุระเบิดทั้ง 18 ชนิด ที่คำนวณโดยใช้หลักการทางเทอร์โมเคมีอย่างง่ายมีค่าใกล้เคียงกับค่ากำลังของวัตถุระเบิดที่หาโดยวิธี Trauzl Lead Block Test นอกจากนี้จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าสมดุลออกซิเจนกับค่ากำลังของวัตถุระเบิดที่หาได้ทั้งจากการคำนวณโดยใช้หลักการทางเทอร์โมเคมีอย่างง่ายและจากการทดลองโดยวิธี Trauzl Lead Block Test พบว่าวัตถุระเบิดที่มีค่าสมดุลออกซิเจนเข้าใกล้ศูนย์จะเป็นวัตถุระเบิดที่มีค่ากำลังของวัตถุระเบิดมากกว่าวัตถุระเบิดที่มีค่าสมดุลออกซิเจนเป็นค่าบวกหรือค่าติดลบมาก ๆ ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าวสามารถนำไปใช้อธิบายการออกแบบวัตถุระเบิดผสมชนิด Ammonium Nitrate Fuel Oil (ANFO) ที่นิยมใช้อัตราส่วนผสมระหว่างแอมโมเนียมไนเตรท 94% ต่อน้ำมันเชื้อเพลิง 6% ได้เป็นอย่างดี</p> เรืองศักดิ์ อยู่ชา ฐิติพงษ์ กาวิชัย Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-22 2023-12-22 21 1 76 93 ผลของโครงสร้างการทอเส้นใยเสริมพอลิเบนซอกซาซีนเรซินต่อคุณสมบัติทางกล https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/crma-journal/article/view/253911 <p>จุดมุ่งหมายของงานวิจัยเพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและทางกลของวัสดุคอมพอสิท โดยใช้เบนซอกซาซีนเรซินเสริมแรงด้วยโครงสร้างการทอเส้นใยคาร์บอนลายขัดธรรมดา, ลายสองหรือลายทแยง และลายคาร์บอนทิศทางเดียว เพื่อใช้ในการพัฒนาเกราะกันกระสุนในส่วนของแผ่นหน้าหรือแผ่นปะทะที่มีน้ำหนักเบาและประสิทธิภาพสูง จากผลการทดลองในส่วนของสมบัติทางกลของวัสดุคอมพอสิทพอลิเบนซอกซาซีนเสริมแรงด้วยโครงสร้างการทอเส้นใยคาร์บอนลายสองหรือลายทแยงให้ค่าสูงที่สุด โดยค่าความแข็งแรงต่อแรงดัดโค้งและความต้านทานแรงกระแทกสูงสุดในชิ้นงานคอมพอสิท มีค่าเท่ากับ 763 เมกะปาสคาล และ 43 กิโลจูล/ตารางเมตร ตามลำดับ ซึ่งชิ้นงานคอมพอสิท หลังการทดสอบจะเกิดความเสียหายเป็นรูปโคนกดลึกบริเวณผิวหน้าคล้ายกับการยิงกระสุนปะทะวัสดุ ในส่วนของค่าความแข็งแรงต่อแรงดึงพบว่าในชิ้นงานคอมพอสิทเสริมแรงด้วยโครงสร้างการทอเส้นใยคาร์บอนทิศทางเดียวมีค่าสูงสุดเท่ากับ 517 เมกะปาสคาล เนื่องจากมีความหนาแน่นและจำนวนของเส้นใยคาร์บอนที่สูง และเส้นใยคาร์บอนมีทิศทางในแนวเดียวกับแรงดึง จากสมบัติทางกายภาพพบว่าพอลิเบนซอกซาซีนเมตริกยึดติดได้ดีกับทุกโครงสร้างการทอเส้นใยคาร์บอน ตรวจสอบโดยโครงสร้างสัณฐานของวัสดุคอมพอสิท นอกจากนี้วัสดุคอมพอสิทพอลิเบนซอกซาซีนเสริมแรงด้วยโครงสร้างการทอเส้นใยคาร์บอนลายสองหรือลายทแยงที่มีสมบัติความหนาแน่นต่ำ จะมีความแข็งแรงต่อแรงดัดโค้งและความต้านทานแรงกระแทกสูงที่สุด เนื่องจากโครงสร้างการทอ 2 มิติ มีความสามารถในการส่งผ่านภาระ ได้พร้อมกันทั้ง 2 ทิศทาง ในแนวตามยาวและตามขวาง จึงมีความทนทานต่อการเปลี่ยนรูป การรับและกระจายแรงได้ดี&nbsp; นอกจากนี้ลักษณะโครงสร้างการทอเส้นใยคาร์บอนลายสองหรือลายทแยงมีจุดสัมผัสแรงเสียดทาน การหยักของเส้นใย และจุดการสอดประสานกัน ที่น้อยกว่าโครงสร้างการทอเส้นใยลักษณะอื่น ซึ่งส่งผลให้มีคุณสมบัติทางกลที่สูงขึ้น จึงเหมาะสำหรับนำมาพัฒนาเกราะแข็งกันกระสุนจากวัสดุพอลิเมอร์คอมพอสิทในส่วนของแผ่นหน้าหรือแผ่นปะทะ</p> กังสดาล อินทกุล Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-22 2023-12-22 21 1 94 109 การพัฒนากระบวนการผลิต “ข้าวหอมมะลิกึ่งสำเร็จรูป” เพื่อใช้เป็นเสบียงประจำบุคคล https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/crma-journal/article/view/254221 <p>งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาเสบียงรบประจำบุคคลรูปแบบใหม่ให้แก่กองทัพบก โดยทำออกมาในรูปแบบของข้าวหอมมะลิกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งมีข้อดีคือใช้เวลาในการคืนรูปหรือปรุงเป็นข้าวสวยสั้นกว่าการหุงข้าวสาร บทความนี้กล่าวถึงปัจจัยต่างๆ ในกระบวนการผลิต ที่ส่งผลต่อคุณภาพของข้าวหอมมะลิกึ่งสำเร็จรูป โดยขั้นตอนการผลิตที่สำคัญประกอบด้วย การแช่ข้าวให้ความร้อนขั้นต้น การการทำให้สุกจนเกิดเจล และการทำแห้ง ผลการทดลองพบว่า สภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการผลิต คือแช่ข้าวที่อุณหภูมิ 70 <sup>o</sup>C เป็นเวลา 15 นาที ในสารละลาย 0.05 w/v โซเดียมฟอสเฟต จากนั้นต้มข้าวให้เดือดเป็นเวลา 5 นาที แล้วนำมาทำแห้งในเครื่องอบลมร้อนที่อุณหภูมิ 75 <sup>o</sup>C จนได้ข้าวที่มีความชื้นต่ำกว่าร้อยละ 7 ข้าวกึ่งสำเร็จรูปที่ถูกพัฒนาขึ้นจะถูกบรรจุในถุงสุญญากาศปริมาณ 150 กรัมต่อถุง ซึ่งให้พลังงาน 534 kcal ผลการทดสอบประสาทสัมผัสโดย นักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จำนวน 94 นาย พบว่า ความพึงพอใจโดยเฉลี่ยต่อผลิตภัณฑ์ อยู่ในเกณฑ์ “ชอบ” โดยค่าคะแนนไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับข้าวที่หุงสุกด้วยวิธีทั่วไป (p ≤ 0.05) อีกทั้งผลการทดสอบความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในภาคสนาม พบว่านักเรียนนายร้อย ให้คะแนนความเหมาะสมอยู่ในเกณฑ์ “ดี”</p> ปัญญวุฒิ จันทร์ถนอมสุข มารุต วัชระคุปต์ จินตนา แสนวงค์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-22 2023-12-22 21 1 110 120