https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/crma-journal/issue/feed
วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
2024-12-18T19:41:30+07:00
Phaderm Nangsue
crmajournal@crma.ac.th
Open Journal Systems
<p>วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ISSN:2350-9600 มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่มีคุณค่าของบุคลากร ภายในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า กองทัพบก กองทัพไทย และบุคคลทั่วไป</p> <p>โดยมีขอบเขตการตีพิมพ์ในด้านการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการทหาร การรักษาความปลอดภัย และความมั่นคง วารสารฯ มีกำหนดออกในเดือนธันวาคมของแต่ละปี</p>
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/crma-journal/article/view/255556
การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับประมินความเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง ในเขตพื้นที่โครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
2024-03-11T10:46:27+07:00
บอย ไชยวงศ์
supetgis2me@gmail.com
สุเพชร จิรขจรกุล
supetgis2me@gmail.com
ณัฐดนย์ พรรณุเจริญวงษ์
pnattado@engr.tu.ac.th
ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช
supetgis2me@gmail.com
วชิรธร จันทร์ชมภู
supetgis2me@gmail.com
ดำรงค์ฤทธิ์ เนียมหมวด
supetgis2me@gmail.com
กัมมาล กุมาร ปาวา
supetgis2me@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในเขตพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC) ของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์หลักในการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงของโรคไตเรื้อรังในพื้นที่นี้ โดยอาศัยข้อมูลที่เชื่อถือได้จากหลายแหล่งเช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี, ศูนย์อนามัยที่ 11, ระบบสารสนเทศเพื่อเฝ้าระวังพฤติกรรมที่พึงประสงค์ กลุ่มวัยทำงาน, สำนักงานสถิติแห่งชาติ และฐานข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ การศึกษานี้เน้นการวิเคราะห์ชุดข้อมูลที่อธิบายถึงพฤติกรรมเสี่ยงของประชากรในจังหวัดชลบุรี เข้าใจถึงปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมที่อาจนำไปสู่โรคไตเรื้อรัง เช่น พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มรสหวาน, การใช้เครื่องปรุงรสเค็ม, พฤติกรรมการนอน และกิจกรรมทางกายภาพ เพื่อระบุตัวแปรเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDS) และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไตเรื้อรังในอนาคต ผลลัพธ์นี้มีความสำคัญในการช่วยเหลือประชากรในจังหวัดชลบุรีช่วยในการสร้างความตระหนักรู้และป้องกันโรคไตเรื้อรัง ช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน และเป็นชุดข้อมูลสำคัญที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผนและปรับปรุงนโยบายสาธารณสุขเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในการป้องกันและจัดการกับปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต</p>
2024-12-18T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/crma-journal/article/view/256013
การศึกษาธรณีสัณฐานและแร่วิทยาบริเวณเขาชะโงก โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เพื่อเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา
2024-03-14T10:31:59+07:00
กฤตยาภรณ์ เจริญผล
krittaya_porn@hotmail.com
ประหยัด นันทศีล
krittaya_porn@hotmail.com
ธานี คามเขต
krittaya_porn@hotmail.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะธรณีสัณฐาน ศึกษาแร่ดิกไคต์และแร่ที่สำคัญ และเพื่อจัดทำแผนที่เส้นทางท่องเที่ยวเชิงธรณีบริเวณพื้นที่เขาชะโงก วิธีการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาช่วยในการสร้างแบบจำลองภูมิประเทศ การวิเคราะห์ข้อมูล และสร้างแผนที่ทำให้ทราบว่าพื้นที่เขาชะโงกมีระดับความลาดชันอยู่ในช่วง 2-218 เปอร์เซ็นต์ โดยพื้นที่ศึกษาส่วนใหญ่มีลักษณะภูมิสัณฐานเป็นเนินเขา รองลงมาได้แก่ ลูกคลื่นลอนชัน ลูกคลื่นลอนลาด ภูเขาสูงชัน ภูเขาสูงชันมาก ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย พื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ และภูเขาสูงชันมากที่สุด ตามลำดับ การศึกษาธรณีวิทยาในภาคสนาม และเก็บตัวอย่างหิน จำนวน 24 จุด (57 ตัวอย่าง) ตามเส้นทางเส้นทางเดินป่าสำรวจธรรมชาติ เพื่อตรวจสอบชนิดแร่ เนื้อหินและการเปลี่ยนแปลงของแร่ในตัวอย่างหินด้วยกล้องจุลทรรศน์โพลาไรซ์ร่วมกับการตรวจสอบด้วยเครื่องมือขั้นสูงที่ใช้เทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ (X-Ray Diffractometer) ผลการศึกษาสรุปได้ว่า พื้นที่เขาชะโงกเป็นหินภูเขาไฟสีอ่อนจำพวกหินตะกอนภูเขาไฟและหินไรโอไลต์แทรกสลับกันไปมา ลักษณะเนื้อหินที่มีขนาดละเอียดและหยาบปะปนกันและองค์ประกอบของตะกอนภูเขาไฟบ่งชี้ว่าเขาชะโงกเกิดจากการระเบิดที่รุนแรงของภูเขาไฟในยุคไทรแอสซิคหลายครั้ง กลุ่มหินที่พบในเส้นทางสำรวจประกอบด้วย 1. กลุ่มหินตะกอนภูเขาไฟที่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย หินตะกอนภูเขาไฟ (Pyroclastic rock) หินเถ้าภูเขาไฟ (Ash tuff) หินตะกอนภูเขาไฟที่มีเศษหินเป็นองค์ประกอบหลัก (Lithic tuff) หินตะกอนภูเขาไฟที่แสดงเนื้อหินของการไหล (Welded tuff) และ <em>หินตะกอนภูเขาไฟเนื้อผลึ</em>ก <em>(Crystal tuff)</em> 2. กลุ่มหินตะกอนภูเขาไฟที่ถูกแทนที่หรือถูกเปลี่ยนสภาพภายหลัง ได้แก่ 2.1 แร่ดิกไคต์ซึ่งเกิดตามรอยแตกของหินเดิมมีความหนาประมาณ 1-2 เมตร โดยแกนกลางเป็นสินแร่ดิกไคต์เกรดดีที่สุดและเกรดต่ำลงในขอบนอกของสายแร่ 2.2 หินตะกอนภูเขาไฟที่ถูกแทนที่ด้วยน้ำแร่ซิลิกา (Silicified pyroclastic rock) จนกลายเป็นหินเนื้อเนียน และแข็งแกร่งมาก มีรอยแตกคมเนื่องจากสารละลายซิลิกาเข้าไปตกผลึกแทนที่แร่เดิมกลายเป็นแร่ควอตซ์ขนาดเล็กซึ่งบางแห่งเป็นแจสเปอร์สีแดง และ 2.3 หินตะกอนภูเขาไฟที่ถูกเปลี่ยนด้วยน้ำร้อน (Altered pyroclastic rock) จนกลายเป็นแร่ควอร์ตซและเซริไซต์ผสมกัน และ 3. กลุ่มหินอัคนีพุ ได้แก่ หินไรโอไลต์ จากผลการศึกษาผู้วิจัยได้กำหนดจุดที่เหมาะสมในการพัฒนาเป็นแหล่งความรู้สำหรับเส้นทางท่องเที่ยวเชิงธรณีได้จำนวน 7 จุดศึกษา ได้แก่ 1. บริเวณเหมืองแร่เก่าที่เป็นถ้ำพระพุทธรูป 2. บริเวณเหมืองแร่เก่าช่องเขาขาด 3. บริเวณป้าย CRMA 4. น้ำตกวัดเขาชะโงก 5. บริเวณทางขึ้นเขาก่อนถึงศาลฤาษีตาไฟ 6. บริเวณตรงข้ามบันไดพญานาค และ 7. บริเวณถังเก็บน้ำประปา (62.5 MSL) ได้เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา 1 เส้นทาง มีระยะทาง 10.13 กิโลเมตร</p> <p> </p>
2024-12-18T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/crma-journal/article/view/256454
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาปฏิบัติการเคมีทั่วไปของนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
2024-04-21T17:14:43+07:00
ปวีณา วัดบัว
mwadbua@gmail.com
วิลาสินี ปานนิล
wilasinee.pa@crma.ac.th
<p>สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผลักดันให้สถานศึกษาหลายแห่งรวมถึงกองวิชาเคมี ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ต้องปรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ดังกล่าว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนนายร้อยต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้วิชาปฏิบัติการเคมีทั่วไปที่ปรับปรุงขึ้น และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาปฏิบัติการเคมีทั่วไปของนักเรียนนายร้อย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรคือ นักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 285 นาย และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนนายร้อยมีความพึงพอใจต่อวิชาปฏิบัติการเคมีทั่วไปโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x = 4.32) เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจต่อวิชาปฏิบัติการเคมีทั่วไปของนักเรียนนายร้อยกับปัจจัยทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านผู้เรียน ด้านผู้สอน ด้านสภาพแวดล้อม และด้านการจัดการเรียนรู้ พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง (r = 0.777, 0.799, 0.851 และ 0.899 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยปัจจัยทั้ง 4 ด้าน สามารถร่วมทำนายความพึงพอใจต่อวิชาปฏิบัติการเคมีทั่วไปของนักเรียนนายร้อยได้ร้อยละ 91.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาปฏิบัติการเคมีทั่วไปของนักเรียนนายร้อยกับปัจจัยทั้ง 4 ด้าน พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง (r = 0.517, 0.569, 0.602 และ 0.600 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และปัจจัยทั้ง 4 ด้าน สามารถร่วมทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาปฏิบัติการเคมีทั่วไปของนักเรียนนายร้อยได้ร้อยละ 41.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังพบว่า ความพึงพอใจต่อวิชาปฏิบัติการเคมีทั่วไปมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างต่ำกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาปฏิบัติการเคมีทั่วไปของนักเรียนนายร้อย (r = 0.329) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
2024-12-18T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/crma-journal/article/view/256241
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณโดยใช้โครงงานเป็นฐานในเทคโนโลยี IoT เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะเชิงคำนวณและความเป็นนวัตกรสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีระดับความสามารถต่างกัน
2024-04-03T09:29:56+07:00
สาธิต ศรีวรรณะ
mmai853@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบรูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณโดยใช้โครงงานเป็นฐานการพัฒนาเทคโนโลยี IoT เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะเชิงคำนวณและความเป็นนวัตกรสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีระดับความสามารถต่างกัน ศึกษาผลของการใช้โครงงานเป็นฐานฯ และนำเสนอการใช้โครงงานเป็นฐานฯ มีประชากร กลุ่มที่ 1 นักเรียนระดับช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6) กลุ่มที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนฯ กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มที่ 1 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชัยบาดาลพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี จำนวน 110 คน กลุ่มที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ผ่านค่าทางสถิติ ANOVA วิเคราะห์แบบประชากรหลายกลุ่ม หาค่าความเที่ยงของร่างรูปแบบ (IOC) พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณโดยใช้โครงงานเป็นฐานฯ ดังนี้ ขั้นที่ 1 การระบุปัญหา ขอบข่าย ประเด็น (Issues) ขั้นที่ 2 การวางแผน กำหนดตัวแปรให้สมบูรณ์ (Plan) ขั้นที่ 3 การลงมือทำ (Do) ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปสิ่งที่เรียนรู้ (Aggregate) ขั้นที่ 5 ขั้นนำเสนอผลงาน (Present) และขั้นที่ 6 ประเมินผล (Evaluate) ผลการวิเคราะห์แบบประเมินความเป็นนวัตกร พบว่า กลุ่มระดับของผู้เรียนที่ต่างกันก่อนเรียน และหลังเรียนไม่มีความแตกต่างกันทั้งระหว่างกลุ่ม และภายในกลุ่ม กล่าวคือ ผู้เรียน กลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลางและกลุ่มอ่อน มีพฤติกรรมการสร้างความเป็นนวัตกรกันหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รูปแบบที่นำเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิมีคุณภาพผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (ค่า IOC = 0.91) และเมื่อพิจารณารายการประเมินทุกหัวข้อพบว่า มีค่าความเที่ยง (IOC) อยู่ในระดับยอมรับได้ แสดงให้เห็นว่ารูปแบบด้านความเหมาะสมของเนื้อหาและแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีความเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ได้</p>
2024-12-18T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/crma-journal/article/view/256316
Electrode and Ground Arrangement on Sample Plate Under Electrostatic Powder Coating Process
2024-04-16T21:08:16+07:00
Suwimon Saneewong Na Ayuttaya
joysuwimon1@hotmail.com
<p>In this research study, the electrode and ground arrangement on sample plate is studied in order to increase the electrostatic powder coating process. The electrode and ground arrangement are varied in order to improve the electric force and the thickness of coating. The first result shows the electric force is appearing under the electrostatic process, and the electrical voltage distribution is different with various the electrode and ground arrangement. For the second part, the thickness of the powder coating of the sample plate is increased with the number of the coating, and the electrostatic process can more increase the thickness of coating than without the electrostatic process. In addition, the electrode and ground arrangement are affected with the thickness of the powder coating on the sample plate. In the last part, a similar trend of the graph has appeared in the experimental and the numerical results, so the experimental results have good agreement with the experimental results.</p>
2024-12-18T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/crma-journal/article/view/256619
การประยุกต์ใช้ข้อมูลระยะเวลาเดินทางของคลื่นยักษ์สึนามิเพื่อการเตือนภัยหน่วยงานของกองทัพเรือซึ่งตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน
2024-05-06T22:21:19+07:00
พิเชษฐ ปั้วเฮงทรัพย์
ppuahengsup@yahoo.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์นำข้อมูลระยะเวลาการเดินทางของคลื่นยักษ์สึนามิมาใช้เพื่อการเตือนภัยหน่วยของกองทัพเรือซึ่งมีที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยพิจารณากำหนดจุดกำเนิดแผ่นดินไหวที่มีศักยภาพตามแนวรอยเลื่อนแผ่นเปลือกโลกอินโด - ออสเตรเลียน (Indo – Australian Plate) กับแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียน (Eurasian Plate) ในทะเลอันดามันระหว่างละติจูด 2°00´ ถึง 16°00´ เหนือ และระหว่างลองจิจูด 92°00´ ถึง 98°00´ ตะวันออก เพื่อนำไปคำนวณหาระยะเวลาเดินทางของคลื่นยักษ์สึนามิไปยังพื้นที่บริเวณชายฝั่งซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยงานต่างๆ ของกองทัพเรือในจังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดสตูล ระยะเวลาวิกฤต (Critical Time) คือระยะเวลาเดินทางของคลื่นยักษ์สึนามิน้อยสุดที่คลื่นยักษ์สึนามิจะเดินทางมาถึงชายฝั่งซึ่งเป็นที่ตั้งของแต่ละหน่วยในกองทัพเรือ โดยสามารถคำนวณจากแบบจำลองคณิตศาสตร์ <em>WinITDB</em> (Windows - Based <em>Integrated</em> Tsunami <em>Database</em>) ผลของการวิจัย<em>ทำให้ทราบว่า</em>เมื่อเกิดแผ่นดินไหวตามแนวรอยเลื่อนในทะเลอันดามันแล้วจะมีพื้นที่ในจังหวัดใดซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยงานในกองทัพเรือจะได้รับผลกระทบบ้างและจะต้องใช้ระยะเวลานานเท่าใดคลื่นยักษ์สึนามิจึงเดินทางถึงพื้นที่ของหน่วยต่างๆ เหล่านั้น ระยะเวลาดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการจัดทำแผนเผชิญเหตุการณ์เพื่อใช้ในการแจ้งเตือนภัย อพยพกำลังพล และการเคลื่อนย้ายอาวุธยุทโธปกรณ์ที่สำคัญไปอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ</p>
2024-12-18T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/crma-journal/article/view/256325
แนวทางการนำปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้ในงานข่าวกรองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับหน่วยข่าวกรองกองทัพบก
2024-04-16T21:21:14+07:00
ปาลิตา ไพศาลรุ่งพนา
ornnicha.k@kru.ac.th
วุฒิรงค์ คงวุฒิ
ornnicha.k@kru.ac.th
พัฒน์ศรัญย์ เลาหไพบูลย์
ornnicha.k@kru.ac.th
อรณิชา คงวุฒิ
ornnicha.k@kru.ac.th
<p style="font-weight: 400;">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจแนวทางการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในงานข่าวกรองทางทหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถของหน่วยข่าวกรองในยุคดิจิทัล โดยอภิปรายถึงการใช้ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ การประมวลผลภาษาธรรมชาติ การรับรู้ภาพ การคาดการณ์ การตรวจจับการหลอกลวง และการฝึกอบรมเสมือนจริง ซึ่งช่วยให้สามารถรวบรวม ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย คาดการณ์ภัยคุกคามล่วงหน้า และสนับสนุนการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การใช้งาน AI ยังมีข้อจำกัดและความเสี่ยงที่ต้องคำนึงถึงจึงจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การควบคุมและตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยมองเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจ ไม่ใช่ผู้ชี้นำแต่เพียงผู้เดียว สำหรับทิศทางในอนาคต ควรมุ่งเน้นการวิจัยเพื่อเพิ่มความแม่นยำ และความน่าเชื่อถือของ AI การสร้างความร่วมมือในการแบ่งปันข้อมูล การพัฒนาบุคลากร รวมถึงการกำหนดแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมและกฎหมายที่เหมาะสม เพื่อขับเคลื่อนการใช้ AI ในงานข่าวกรองอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติโดยรวม</p>
2024-12-18T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/crma-journal/article/view/256521
การพัฒนาการบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์ กรณีศึกษา โรงพยาบาลโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
2024-05-10T16:27:25+07:00
วิชญ์ชพล พลตื้อธนะกูล
witchapon.po@crma.ac.th
<p><strong>บทคัดย่อ : </strong>โรงพยาบาลโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าปฏิบัติงานสอดคล้องกับนโยบายการรักษาสมดุลทางการเงินในโรงพยาบาลของกรมแพทย์ทหารบกด้านการบริหารจัดการในระยะยาวของการจัดหายาและสิ่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ตามลำดับความสำคัญ ปัญหาที่พบคลังยามียาและเวชภัณฑ์บางรายการที่ใช้น้อยแต่มีมูลค่าสูงและยาบางส่วนหมดอายุก่อนใช้งาน การบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นและนำไปสู่การรักษาผู้ป่วยที่ดีขึ้นตามไปด้วย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพโดยใช้เครื่องมือการบริหารสินค้าคงคลัง คือ การจัดกลุ่มยาและเวชภัณฑ์ที่มีความสำคัญด้วยหลักการ ABC-VED Analysis แล้วนำกลุ่มยาและเวชภัณฑ์ที่มีความสำคัญและต้นทุนสูงหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด จากนั้นการหาจุดสั่งซื้อใหม่และสินค้าคงคลังสำรองเพื่อการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่เหมาะสม ผลการศึกษาสรุปว่า การประยุกต์ใช้หลักการ ABC-VED Analysis สำหรับจัดกลุ่มยาและเวชภัณฑ์มีจำนวนทั้งหมด 1,121 รายการ มูลค่ารวมรายปี เท่ากับ 188,544,735 บาท กลุ่มที่ 1 ได้แก่ AV, AE, AD, BV และ CV มีคุณสมบัติเป็นยาที่มีความจำเป็นและมีต้นทุนสูงแต่มีจำนวนรายการสัดส่วนน้อย มีจำนวนเท่ากับ 202 รายการ คิดเป็นร้อยละ 18.02 ของปริมาณยาและเวชภัณฑ์ทั้งหมด มีมูลค่ารวมเท่ากับ 162,854,826 บาท คิดเป็นร้อยละ 86.37 ของมูลค่ายาและเวชภัณฑ์รวมรายปี ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดเท่ากับ 8,084,487 หน่วย และจำนวนการสั่งซื้อเท่ากับ 201 ครั้งต่อปี ทำให้ปริมาณการใช้ยาและเวชภัณฑ์ลดลง 4,405,413 หน่วย หรือร้อยละ 35.27 และจำนวนรอบการสั่งซื้อลดลง 124 ครั้งต่อปี หรือร้อยละ 38.15 ส่งผลให้สินค้าคงคลังและรอบการสั่งซื้อลดลง การจัดซื้อที่จุด (Q/2) หรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนปริมาณการใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่ต้องการต่อหน่วยเวลาเป็นจุดที่มีความเหมาะสมและลดปัญหาการขาดสินค้าคงคลัง</p>
2024-12-18T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/crma-journal/article/view/256615
การใช้ข้อมูลการสำรวจระยะไกล และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการประเมินพื้นที่เสี่ยงไฟป่า ในเขตพื้นที่ป่าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และพื้นที่ใกล้เคียง จังหวัดนครนายก
2024-05-16T11:02:40+07:00
ปาริฉัตต์ สุขศรี
parichat.so@crma.ac.th
ศิริมา ปัญญาเมธีกุล
parichat.So@crma.ac.th
กฤตยาภรณ์ เจริญผล
parichat.So@crma.ac.th
พิชญ รัชฎาวงศ์
parichat.So@crma.ac.th
กัมปนาท ดีอุดมจันทร์
parichat.So@crma.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัจจัยเสี่ยงไฟป่า ในเขตพื้นที่ป่าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ซึ่งมีขอบเขตติดกับพื้นที่เขาแหลม - เขาชะพลู เป็นหนึ่งในพื้นที่ป่าไม้ในราชการกระทรวงกลาโหม และเป็นเขตรอยต่อในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปัจจุบันพบปัญหาการเกิดไฟป่ามาอย่างต่อเนื่อง จากการถอดบทเรียนกรณีศึกษาพบว่า ภายในระยะเวลา 8 ปี ได้เกิดไฟป่าขึ้นในปี พ.ศ. 2559, 2563 และ 2566 จึงนำการประยุกต์ใช้ข้อมูลการสำรวจระยะไกล และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-8 (พ.ศ. 2559 - 2566) มาวิเคราะห์ค่าดัชนีผลต่างพืชพรรณ (NDVI) และอุณหภูมิพื้นผิว (LST) ผลการศึกษาพบว่าดัชนีผลต่างพืชพรรณ (NDVI) และอุณหภูมิพื้นผิว (LST) ในปีที่เกิดไฟป่า ค่า NDVI แปรผกผันกับ LST โดยมีค่า R-Squared เท่ากับ 0.3321, 0.4279 และ 0.2301 ตามลำดับ และพบจุดความร้อน (Hotspot) เฉพาะพื้นที่ป่าไม้ ทั้งหมด 388 จุด โดยส่วนใหญ่พบในพื้นที่ ตำบลเขาพระ อำเภอเมือง 122 จุด ซึ่งสอดคล้องกับค่า NDVI ต่ำที่สุดมีค่า 0.07 อยู่ที่ตำบลเขาพระ อำเภอเมือง ภายใต้สมมุติฐานที่ว่าพื้นที่ขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้พืชพรรณที่เติบโตในบริเวณนั้นไม่สมบูรณ์เมื่อพื้นที่นั้นแห้งมากขึ้นจึงเสี่ยงต่อการติดไฟมากขึ้น ในส่วนของ LST ที่สูงที่สุดมีค่า 34.24 อยู่ที่ ตำบลพรหมณี อำเภอเมือง สอดคล้องกับจำนวนจุดความร้อนที่เกิดขึ้นในปีเดียวกัน คือ 55 จุด หากอุณภูมิพื้นผิวสูงก็ยิ่งเร่งให้การระเหยของน้ำในดินเร็วขึ้น กล่าวคือพื้นที่ที่เกิดความแห้งแล้งเป็นประจำจะเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงที่จะประสบปัญหาไฟป่าได้ในอนาคต</p>
2024-12-18T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/crma-journal/article/view/256799
การศึกษาความเป็นไปได้เชิงพื้นที่ของการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์
2024-05-20T10:12:57+07:00
วัชระ วงค์ปัญโญ
thunyapat_jeab@hotmail.co.th
พงศธร คำใจหนัก
thunyapat_jeab@hotmail.co.th
วราคม วงศ์ชัย
thunyapat_jeab@hotmail.co.th
รัชฎาภรณ์ ทองแป้น
thunyapat_jeab@hotmail.co.th
ธัญญพัทธ์ ทิพย์ศุภวงศ์
thunyapat_jeab@hotmail.co.th
<p>สถานการณ์การใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้หน่วยงานภาครัฐต้องจัดหาแหล่งพลังงานแหล่งใหม่เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้า และเสริมความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทดแทนที่ได้จากธรรมชาติเป็นพลังงานที่สะอาดที่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างไม่จำกัดและสามารถเข้าถึงได้ทุกพื้นที่ งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้เชิงพื้นที่เพื่อการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ กรณีศึกษา พื้นที่ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง จากการศึกษาพื้นที่กรณีศึกษา โดยสำรวจพื้นที่ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์หาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมพร้อมทั้งดำเนินการประเมินพื้นที่ หมู่บ้านจำปุย ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ว่างเปล่ามากกว่า 420,000 ตารางเมตร จากการจำลองการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ด้วยซอฟต์แวร์ PVsyst 7.1 พบว่าสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 815.2 MWh ต่อปี ส่งผลทำให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 488.0 tCO<sub>2</sub>-eq /ปี หรือ 11,494.8 tCO<sub>2</sub>-eq ตลอดอายุโครงการ 25 ปี เมื่อพิจารณาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์พบว่า มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยปรับเฉลี่ย (LCOE) ตลอดอายุโครงการเท่ากับ 1.102 บาท/kWh มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 26,836,588 บาท มีค่าผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) เท่ากับ 311.97% และมีค่าระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 3.63 ปี พื้นที่ดังกล่าวจึงเป็นพื้นที่ที่สามารถติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ได้และเกิดความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการ</p> <p> </p>
2024-12-18T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า