พฤติกรรมการใช้และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลดการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกรในขอนแก่น ประเทศไทย

Main Article Content

ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม
วงศา เลาหศิริวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลดการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช ของกลุ่มเกษตรกร จากกลุ่มตัวอย่าง 560 คน โดยการสุ่มอย่างง่ายตามขนาดสัดส่วนประชากร จาก 10 หมู่บ้านในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Multiple logistic regression นำเสนอค่า Crude OR, Adjusted OR และ ช่วงเชื่อมั่น 95%CI

ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรเป็นเพศหญิง ร้อยละ 51.6 มีอายุเฉลี่ย 53.2±11.9 ปี เรียนจบชั้นประถมศึกษาร้อยละ 94.5ปลูกข้าวร้อยละ 91.6 ค่ามัธยฐานระยะเวลาการใช้สารกำจัดศัตรูพืช 20 ปี ต่ำสุด 1 ปี สูงสุด 60 ปี ใช้สารกำจัดศัตรูพืชมากกว่าที่ฉลากแนะนำร้อยละ 38.8 ใช้สารโฟลิดอน (สารกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟต) ร้อยละ 58.2 ไม่สวมแว่นตาขณะพ่นสารเคมี ร้อยละ 76.3 มีผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ได้แก่ คอแห้ง, มึนงง, เหนื่อย และเหงื่อออกมาก คิดเป็นร้อยละ 46.6,30.5, 25.6 และ 25.4 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการลดการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ระยะเวลาที่ใช้สารกำจัดศัตรูพืชโดย กลุ่มเกษตรกรที่มีประสบการณ์ 20 ปีขึ้นไป มีการปฏิบัติในการลดการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชเป็น 1.69 เท่าของกลุ่มที่มีประสบการณ์น้อยกว่า 20 ปี (95%CI : 1.12-2.54) และการใช้สารกำจัดศัตรูพืชตามฉลากซึ่งพบว่า กลุ่มที่มีการใช้สารกำจัดศัตรูพืช ตามที่ฉลากกำหนด มีการปฏิบัติในการลดการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชเป็น 2.33 เท่า ของกลุ่มที่มีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชมากกว่าที่ฉลากกำหนด (95%CI : 1.53-3.54)

ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมให้เกษตรกรลดการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและมีพฤติกรรมลดการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น โดยการสะท้อนถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่พบในการศึกษา รวมทั้งสร้างความรู้ทัศนคติและแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องในการลดการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช เช่นการใส่อุปกรณ์ป้องกันการสัมผัส การผสมตามสัดส่วนรวมทั้งอบรมการผลิตและส่งเสริมใช้สารอินทรีย์กำจัดศัตรูพืชเพื่อเป็นทางเลือกในการลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

คำสำคัญ : การใช้สารกำจัดศัตรูพืช ความเสี่ยงด้านสุขภาพ พฤติกรรมลดการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช ผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช

 

Abstract

This cross sectional study aimed to determine health impacts of pesticide use and factors associated withpesticide exposure reduction practices among farmers in Khon Kaen. The total of 560 samples was proportional tosize randomly selected from 10 villages in Muang district, Khon Kaen province. Questionnaire was used to collectthe data. Both descriptive and inferential statistics were used to analyze the data.

The results indicated that 51.6% of the respondents were females with the average age of 53.2±11.9 yearsold, finished primary education 94.5% and 91.6% grew rice. The median time of pesticide use was 20 years. (range1-60 yrs.), 38.8% of the farmers used more pesticides than labeled, 58.2% used pholidon (Organophosphate).Most of these farmers have never worn goggles (76.3%), the adverse affects of pesticide exposures these farmersexperienced were dry throat (46.6%), dizziness (30.5%), tried (25.6%) and heavy sweating (25.4%). Factors which werestatistically significant influenced the reduction of pesticide exposure behaviors (p<0.05) were duration of pesticideused experiences and concentration of pesticide used. Farmers who had experienced using pesticides for more than20 yrs had 1.69 times (95% CI: 1.12-2.54) significantly more pesticide exposure reduction practices than those whohad experienced fewer than 20 yrs. Those who used pesticide as was labeled had 2.33 times (95% CI: 1.53-3.54)significantly more pesticide exposure reduction practices than those who used more than the label.

It is suggested to emphasis both pesticides used and pesticides exposure reduction through the feedback of theexisting of inappropriate practices, health impacts and developed appropriated knowledge, attitudes and practices inpesticides exposure reduction such as wearing protective devices and mixed pesticides as labeled. Organized trainingon making organic pesticide and promote it utilization in farming should be an alternative for reducing pesticide usedand exposure.

Keyword : pesticide used, health risks, pesticide exposure reduction practices, health impacts of pesticide exposures

Article Details

Section
บทความวิจัย