ขั้นตอนเชิงพันธุกรรมสำหรับการวิเคราะห์ตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดของทาวเวอร์เครนและกองวัสดุก่อสร้าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวางแผนจัดแปลนพื้นที่ก่อสร้างเป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในโครงการก่อสร้าง เนื่องจากจะต้องกำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมของสิ่งอำนวยความสะดวกชั่วคราวและพื้นที่ในจัดเก็บวัสดุในขอบเขตโครงการและช่วงเวลาที่เหมาะสม มิฉะนั้นจะทำให้เกิดความสูญเสียและผลกระทบ การศึกษาครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดแปลนพื้นที่ก่อสร้างโดยการหาตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดของทาวเวอร์เครนและพื้นที่กองวัสดุก่อสร้างที่มีความเป็นไปได้ และมีประสิทธิภาพในรูปแบบการนำเสนอที่เสมือนจริง โดยไม่ได้คำนึงถึงแค่เพียงระยะทางในการขนย้ายวัสดุของกิจกรรมการก่อสร้างเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงระยะเวลาให้สอดคล้องกับแผนกำหนดเวลาของโครงการ (scheduling) เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเช่าทาวเวอร์เครน ค่าขนส่ง ค่ากองเก็บ ค่าใช้จ่ายเนื่องจากวัสดุขาดแคลน และค่าเสียโอกาส โดยนำขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม (genetic algorithm) มาช่วยในการหาคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับระยะตำแหน่งที่ติดตั้งทาวเวอร์เครน และระยะตำแหน่งที่ติดตั้งพื้นที่ในจัดเก็บวัสดุ โดยวิธีการดังกล่าวมีข้อดีในการช่วยหาคำตอบที่ใกล้เคียงกับคำตอบที่ดีที่สุด และสามารถหาแนวโน้มของคำตอบที่ถูกปรับปรุงขึ้น ซึ่งวิธีการข้างต้นได้นำมาทดลองกับโครงการกรณีศึกษา พบว่าวิธีการพัฒนารูปแบบการจัดแปลนพื้นที่ก่อสร้างโดยการหาตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดของทาวเวอร์เครนและพื้นที่กองวัสดุก่อสร้างสามารถช่วยลดระยะทางในการขนย้ายวัสดุ ทำให้ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายลดน้อยลงตามอีกด้วย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
นโยบายการรับบทความ
กองบรรณาธิการวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความยินดีรับบทความจากอาจารย์ประจำ และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่นที่นำส่ง ดังนั้นผู้สนใจที่จะร่วมเผยแพร่ผลงานและความรู้ที่ศึกษามาสามารถนำส่งบทความได้ที่กองบรรณาธิการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองบทความพิจารณาจัดพิมพ์ในวารสารต่อไป ทั้งนี้บทความที่สามารถเผยแพร่ได้ประกอบด้วยบทความวิจัย ผู้สนใจสามารถศึกษาและจัดเตรียมบทความจากคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏภายในบทความของแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในสถาบัน แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
ผู้ประสงค์จะส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น สามารถส่ง Online ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/TNIJournal/ โปรดสมัครสมาชิก (Register) โดยกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
- กองบรรณาธิการ วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
- ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
เลขที่ 1771/1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซอยพัฒนาการ 37-39 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 ติดต่อกับคุณพิมพ์รต พิพัฒนกุล (02) 763-2752 , คุณจุฑามาศ ประสพสันติ์ (02) 763-2600 Ext. 2402 Fax. (02) 763-2754 หรือ E-mail: JEDT@tni.ac.th
References
H. Zhang and J. Y. Wang, “Particle swarm optimization for construction site unequal-area layout,” J. Constr. Eng. Manag., vol. 134, no. 9, pp. 739–748, 2008.
M. Marzouk and A. Abubakr, “Decision support for tower crane selection with building information models and genetic algorithms,” Autom. Constr., vol. 61, pp. 1–15, 2016.
M. A. Abdelmegid, K. M. Shawki, and H. Abdel-Khalek, “GA optimization model for solving tower crane location problem in construction sites,” Alex. Eng. J., vol. 54, no. 3, pp. 519–526, 2015.
C. M. Tam, T. K. L. Tong, and W. K. W. Chan, “Genetic algorithm for optimizing supply locations around tower crane,” J. Constr. Eng. Manag., vol. 127, no. 4, pp. 315–321, 2001.
M. Al-Hussein, M. A. Niaz, H. Yu, and H. Kim, “Integrating 3D visualization and simulation for tower crane operations on construction sites,” Autom. Constr., vol. 15, no. 5, pp. 554–562, 2006.
K. Alkriz and J. C. Mangin, “A new model for optimizing the location of cranes and construction facilities using genetic algorithms,” in Proc. 21st Annu. ARCOM Conf., London, UK, 2005, pp. 981–991.
C. Huang, C. K. Wong, and C. M. Tam, “Optimization of tower crane and material supply locations in a high-rise building site by mixed-integer linear programming,” Autom. Constr., vol. 20, no. 5, pp. 571–580, 2011.
J. Irizarry and E. P. Karan, “Optimizing location of tower cranes on construction sites through GIS and BIM integration,” J. Inf. Technol. Constr., vol. 17, no. 23, pp. 351–366, 2012.
L.-C. Lien and M.-Y. Cheng, “Particle bee algorithm for tower crane layout with material quantity supply and demand optimization,” Autom. Constr., vol. 45, pp. 25–32, 2014.