นโยบายเติมเต็มวัสดุคงคลังครั้งเดียวสำหรับระบบที่มีหลายวัสดุคงคลังทดแทนกัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยศึกษาการกำหนดนโยบายเติมเต็มวัสดุคงคลังครั้งเดียวสำหรับระบบที่มีวัสดุคงคลังสามประเภทสามารถใช้งานทดแทนกันได้ วัสดุคงคลังคงเหลือที่มีต้นทุนต่ำกว่าสามารถนำมาใช้ตอบสนองอุปสงค์ที่ขาดแคลนของวัสดุคงคลังที่มีต้นทุนสูงกว่าด้วยอัตราส่วนทดแทนที่กำหนด หรือขายในราคามูลค่าซาก งานวิจัยได้นำเสนอวิธีการค้นหาคำตอบตัวแบบทางคณิตศาสตร์บนตัวแบบจำลองสถานการณ์มอนติคาร์โล ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนแพลตฟอร์มของโปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซล และฟังก์ชันโซลเวอร์ถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อกำหนดปริมาณการเติมเต็มวัสดุคงคลังแต่ละประเภทที่เหมาะสม โดยมีสมการวัตถุประสงค์คือการเพิ่มค่าคาดหวังผลกำไรรวมของระบบ เพื่อวัดประสิทธิภาพของวิธีการที่นำเสนอ ปัญหาทดสอบจำนวน 120 ปัญหา ถูกสุ่มขึ้นจากการพิจารณาปัจจัยมูลค่าซากสองระดับ และปัจจัยอัตราส่วนทดแทนสองระดับ โดยมีจำนวนการทำซ้ำ 30 ปัญหา ที่แต่ละระดับของปัจจัย คำตอบที่ได้จากวิธีการที่นำเสนอถูกนำไปเปรียบเทียบกับ คำตอบที่ได้จากวิธีการวิเคราะห์ผลได้ประโยชน์ซึ่งพิจารณาปริมาณสั่งเติมเต็มวัสดุคงคลังแต่ละประเภทเป็นอิสระต่อกัน จากผลการทดสอบพบว่า วิธีการที่นำเสนอให้คำตอบที่มีค่าคาดหวังผลกำไรรวมของระบบสูงกว่าวิธีการวิเคราะห์ผลได้ประโยชน์ทั้ง 120 ปัญหาทดสอบ ทั้งนี้อิทธิพลหลักของปัจจัยมูลค่าซากและปัจจัยอัตราส่วนทดแทน มีผลต่อเปอร์เซ็นต์ความแตกต่างของผลกำไรระหว่างวิธีการที่นำเสนอและวิธีการวิเคราะห์ผลได้ประโยชน์ โดยเปอร์เซ็นต์ความแตกต่างของผลกำไรมีค่าสูงขึ้นที่ระดับต่ำของปัจจัยทั้งสอง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
นโยบายการรับบทความ
กองบรรณาธิการวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความยินดีรับบทความจากอาจารย์ประจำ และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่นที่นำส่ง ดังนั้นผู้สนใจที่จะร่วมเผยแพร่ผลงานและความรู้ที่ศึกษามาสามารถนำส่งบทความได้ที่กองบรรณาธิการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองบทความพิจารณาจัดพิมพ์ในวารสารต่อไป ทั้งนี้บทความที่สามารถเผยแพร่ได้ประกอบด้วยบทความวิจัย ผู้สนใจสามารถศึกษาและจัดเตรียมบทความจากคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏภายในบทความของแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในสถาบัน แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
ผู้ประสงค์จะส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น สามารถส่ง Online ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/TNIJournal/ โปรดสมัครสมาชิก (Register) โดยกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
- กองบรรณาธิการ วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
- ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
เลขที่ 1771/1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซอยพัฒนาการ 37-39 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 ติดต่อกับคุณพิมพ์รต พิพัฒนกุล (02) 763-2752 , คุณจุฑามาศ ประสพสันติ์ (02) 763-2600 Ext. 2402 Fax. (02) 763-2754 หรือ E-mail: JEDT@tni.ac.th
References
W. Supithak, Inventory Planning (Theory and Simulation). Bangkok, Thailand: Chulalongkorn University Press (in Thai), 2022.
F. W. Harris, “How many parts to make at once,” Oper. Res., vol. 38, no. 6, pp. 947–950, 1990.
A. Andriolo, D. Battini, R. W. Grubbström, A. Persona, and F. Sgarbossa, “A century of evolution from Harris’s basic lot size model: Survey and research agenda,” Int. J. Prod. Econ., vol. 155, pp. 16–38, Sep. 2014.
S. Agarwal, “Economic order quantity model : A review,” VSRD Int. J. Mech., Civil, Automobile Prod. Eng., vol. 4, no. 12, pp. 233–236, Dec. 2014.
S. M. Lam and D. S. Wong, “A fuzzy mathematical model for the joint economic lot size problem with multiple price breaks,” Eur. J. Oper. Res., vol. 95, no. 3, pp. 611–622, 1996.
A. K. Maiti, A. K. Bhunia, and M. Maiti, “An application of real-coded genetic algorithm (RCGA) for mixed integer non-linear programming in two-storage multi-item inventory model with discount policy,” Appl. Math. Comput., vol. 183, no. 2, pp. 903–915, 2006.
S. Panda, S. Saha, and M. Basu, “An EOQ model for perishable products with discounted selling price and stock dependent demand,” Cent. Eur. J. Oper. Res., vol. 17, pp. 31–53, 2008.
P. K. Tripathy, M. Pattnaik, and P. Tripathy, “Optimal promotion and replenishment policies for profit maximization model under lost units,” American J. Oper. Res., vol. 2, no. 2, pp. 260–265, 2012.
M. K. Salameh, M. Y. Jaber, and N. Noueihed, “Effect of deteriorating items on the instantaneous replenishment model,” Prod. Planning Control, vol. 10, no. 2, pp. 175–180, 1999.
M. Pattnaik, “Deteriorated Economic Order Quantity (EOQ) model with variable ordering cost,” (in Thai), Thai. Stat., vol. 12, no. 1, pp. 83–95, Jan. 2014.
H. M. Wagner and T. W. Whitin, “Dynamic version of the economic lot size model,” Manage. Sci., vol. 5, no. 1, pp. 89–96, 1958.
E. A. Silver and H. C. Meal, “A heuristic for selecting lot size quantities for the case of a deterministic time-varying demand rate and discrete opportunities for replenishment,” Prod. Inventory Manage., vol. 14, no. 2, pp. 64–74, 1973.
R. J. Tersine, “Single order quantity,” in Principles of Inventory and Materials Management, 4th ed. Englewood Cliffs, NJ, USA: Prentice-Hall, 1994, ch 7, pp. 312–335.
D. Waters, “Models for Uncertain Demand,” in Inventory Control and Management, 2nd ed. England, U.K.: John Wiley & Sons, 2003, ch 5, pp. 147–192.
Y. Qin, R. Wang, A. J. Vakharia, Y. Chen, and M. M.H. Seref, “The newsvendor problem: Review and directions for future research,” Eur. J. Oper. Res., vol. 213, no. 2 pp. 361–374, 2011.
N. C. Petruzzi and M. Dada, “Pricing and the newsvendor problem: A review with extensions,” Oper. Res., vol. 47, no. 2, pp. 183–194, 1999.
N. Turken, Y. Tan, A. J. Vakharia, L. Wang, R. Wang, and A. Yenipazarli, “The multi-product newsvendor problem: Review, extensions, and directions for future research,” in Handbook of Newsvendor Problems, T.-M. Choi, Ed., New York, NY, USA: Springer, 2012, ch. 1, pp. 3–39.
M. Khouja, A. Mehrez, and G. Rabinowitz, “A two-item newsboy problem with substitutability,” Int. J. Prod. Econ., vol. 44, no. 3, pp. 267–275, 1996.