การประเมินประสิทธิภาพของเทคนิคการหลีกเลี่ยงการชนติดต่อกัน สำหรับอัลกอริทึมต้นไม้ทวิภาค
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันเทคโนโลยี RFID ได้รับความนิยมอย่างมากในการติดตามสินค้าหรือผู้ใช้บริการ แต่เมื่อมีผู้ใช้หลายรายในระบบ อาจจะเกิดการชนกันของข้อมูลได้ เทคโนโลยี RFID ได้นำอัลกอริทึมต้นไม้ทวิภาคมาใช้ในการแก้ไขปัญหาการชนกันของข้อมูล โดยเมื่อเกิดการชนกันขึ้น จะมีการแบ่งช่องสัญญาณออกเป็น 2 ช่อง หากมีจำนวนผู้ใช้งานในระบบมากกว่าจำนวนช่องสัญญาณมาก อย่างเช่น กรณีที่มีผู้ใช้ในระบบจำนวน 50 คน ในขณะที่ช่องสัญญาณมีเพียง 2 ช่อง จะทำให้เกิดการชนติดต่อกันหลาย ๆ ครั้งได้ ส่งผลให้การเข้าใช้ช่องสัญญาณไม่มีประสิทธิภาพ บทความฉบับนี้ จึงได้นำเสนอเทคนิคการหลีกเลี่ยงการชนติดต่อกันหลายครั้งสำหรับอัลกอริทึมต้นไม้ทวิภาค โดยเมื่อเกิดการชนติดต่อกันเป็นครั้งที่ 2 เทคนิคที่นำเสนอจะเพิ่มจำนวนช่องสัญญาณจาก 2 ช่อง เป็น 3 ช่อง เพื่อลดโอกาสในการชนติดต่อกัน จากผลการทดสอบพบว่าเทคนิคหลีกเลี่ยงการชนติดต่อกันที่นำเสนอ สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของอัลกอริทึมต้นไม้ได้ดี โดยเฉพาะกรณีที่มีจำนวนผู้ใช้งานในระบบมากกว่าจำนวนช่องสัญญาณมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
นโยบายการรับบทความ
กองบรรณาธิการวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความยินดีรับบทความจากอาจารย์ประจำ และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่นที่นำส่ง ดังนั้นผู้สนใจที่จะร่วมเผยแพร่ผลงานและความรู้ที่ศึกษามาสามารถนำส่งบทความได้ที่กองบรรณาธิการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองบทความพิจารณาจัดพิมพ์ในวารสารต่อไป ทั้งนี้บทความที่สามารถเผยแพร่ได้ประกอบด้วยบทความวิจัย ผู้สนใจสามารถศึกษาและจัดเตรียมบทความจากคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏภายในบทความของแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในสถาบัน แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
ผู้ประสงค์จะส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น สามารถส่ง Online ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/TNIJournal/ โปรดสมัครสมาชิก (Register) โดยกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
- กองบรรณาธิการ วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
- ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
เลขที่ 1771/1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซอยพัฒนาการ 37-39 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 ติดต่อกับคุณพิมพ์รต พิพัฒนกุล (02) 763-2752 , คุณจุฑามาศ ประสพสันติ์ (02) 763-2600 Ext. 2402 Fax. (02) 763-2754 หรือ E-mail: JEDT@tni.ac.th
References
T. Zhang and Q. Zhu, “EVC-TDMA: An enhanced TDMA based cooperative MAC protocol for vehicular networks,” J. Commun. Netw., vol. 22, no. 4, pp. 316–325, Aug. 2020.
M. Sami, N. K. Noordin, and M. Khabazian, “A TDMA-Based Cooperative MAC Protocol for Cognitive Networks with Opportunistic Energy Harvesting,” IEEE Commun. Lett., vol. 20, no. 4, pp. 808–811, Apr. 2016.
M. Geles, A. Averbuch, O. Amrani, and D. Ezri, “Performance Bounds for Maximum Likelihood Detection of Single Carrier FDMA,” IEEE Trans. Commun., vol. 60, no. 7, pp. 1945–1952, Jul. 2012.
Y. Liu, G. Y. Li, Z. Tan, and H. Hu, “Noise Power Estimation in SC-FDMA Systems,” IEEE Wireless Commun. Lett., vol. 4, no. 2, pp. 217–220, Apr. 2015.
J. Wang, Z. Lu, and Y. Li, “A New CDMA Encoding /Decoding Method for on-Chip Communication Network,” IEEE Trans. Very Large Scale Integr. VLSI Syst., vol. 24, no. 4, pp. 1607–1611, Apr. 2016.
X. Wang, X. Liu, H. H. Chen, and W. Meng, “Complementary Coded CDMA Systems With CP-Free OFDM,” IEEE Trans. Veh. Technol., vol. 69, no. 10, pp. 11515–11528, Oct. 2020.
H. J. Noh, J. K. Lee, and J. S. Lim, “ANC-ALOHA: Analog Network Coding ALOHA for Satellite Networks,” IEEE Commun. Lett., vol. 18, no. 6, pp. 957–960, Jun. 2014.
J. Choi, “Throughput Analysis for Coded Multichannel ALOHA Random Access,” IEEE Commun. Lett., vol. 21, no. 8, pp. 1803–1806, Aug. 2017.
H. Baek, J. Lim, and S. Oh, “Beacon-Based Slotted ALOHA for Wireless Networks with Large Propagation Delay,” IEEE Commun. Lett., vol. 17, no. 11, pp. 2196–2199, Nov. 2013.
F. Babich and M. Comisso, “Impact of Segmentation and Capture on Slotted Aloha Systems Exploiting Interference Cancellation,” IEEE Trans. Veh. Technol., vol. 68, no. 3, pp. 2878–2892, Mar. 2019.
A. Moitra and S. S. Iyengar, “A Maximally Parallel Balancing Algorithm for Obtaining Complete Balanced Binary Trees,” IEEE Trans. Comput., vol. C-34, no. 6, pp. 563–565, Jun. 1985.
J. Su, Z. Sheng, L. Xie, and G. Wen, “Idle-Slots Elimination Based Binary Splitting Anti-Collision Algorithm for RFID,” IEEE Commun. Lett., vol. 20, no. 12, pp. 2394–2397, Dec. 2016.
H. Wu, Y. Zeng, J. Feng, and Y. Gu, “Binary Tree Slotted ALOHA for Passive RFID Tag Anticollision,” IEEE Trans. Parallel Distrib. Syst., vol. 24, no. 1, pp. 19–31, Jan. 2013.
Y. C. Lai and L. Y. Hsiao, “General binary tree protocol for coping with the capture effect in RFID tag identification,” IEEE Commun. Lett., vol. 14, no. 3, pp. 208–210, Mar. 2010.
S. H. Kim and P. Park, “An Efficient Tree-Based Tag Anti-Collision Protocol for RFID Systems,” IEEE Commun. Lett., vol. 11, no. 5, pp. 449–451, May 2007.