การควบคุมความเป็นกรด-ด่างของสารละลายธาตุอาหารในระบบไฮโดรโปนิกส์ แบบอัตโนมัติด้วยวิธีการควบคุมแบบตรรกศาสตร์คลุมเครือแบบดัดแปลง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์สามารถควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ในการปลูกได้ง่าย แต่มีต้นทุนที่สูง และการจัดการระบบที่ซับซ้อนต้องใช้ประสบการณ์และความรู้ ความเป็นกรด-ด่างในสารละลายที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดความเสียหายต่อรากพืชและส่งผลต่อการดูดธาตุอาหารของพืชได้ บทความนี้นำเสนอการควบคุมความเป็นกรด-ด่างในสารละลายแบบอัตโนมัติด้วยวิธีตรรกศาสตร์คลุมเครือแบบดัดแปลง โดยการดัดแปลงวิธีการกำจัดความคลุมเครือเป็นการใช้พื้นที่ใต้กราฟของรูปที่กำหนดขึ้น และอ้างอิงข้อมูลจากผู้ที่มีประสบการณ์ในการปลูกมาใช้ออกแบบตัวควบคุมแบบตรรกศาสตร์คลุมเครือ เพื่อให้ระบบสามารถตัดสินใจและจัดการแทนการทำงานของมนุษย์ได้ จากผลการทดลองกับระบบต้นแบบเปรียบเทียบกับการควบคุมแบบ P พบว่า ระบบที่นำเสนอสามารถควบคุมค่าความเป็นกรด-ด่างของสารละลาย และกำจัดผลของการรบกวนจากภายนอกได้ดีกว่า ซึ่งช่วยลดภาระงานของมนุษย์และลดความซับซ้อนของการปลูกเพราะระบบสามารถคำนวณและเติมสารได้เองอย่างเหมาะสม
Article Details
นโยบายการรับบทความ
กองบรรณาธิการวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความยินดีรับบทความจากอาจารย์ประจำ และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่นที่นำส่ง ดังนั้นผู้สนใจที่จะร่วมเผยแพร่ผลงานและความรู้ที่ศึกษามาสามารถนำส่งบทความได้ที่กองบรรณาธิการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองบทความพิจารณาจัดพิมพ์ในวารสารต่อไป ทั้งนี้บทความที่สามารถเผยแพร่ได้ประกอบด้วยบทความวิจัย ผู้สนใจสามารถศึกษาและจัดเตรียมบทความจากคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏภายในบทความของแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในสถาบัน แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
ผู้ประสงค์จะส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น สามารถส่ง Online ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/TNIJournal/ โปรดสมัครสมาชิก (Register) โดยกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
- กองบรรณาธิการ วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
- ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
เลขที่ 1771/1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซอยพัฒนาการ 37-39 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 ติดต่อกับคุณพิมพ์รต พิพัฒนกุล (02) 763-2752 , คุณจุฑามาศ ประสพสันติ์ (02) 763-2600 Ext. 2402 Fax. (02) 763-2754 หรือ E-mail: JEDT@tni.ac.th
References
T. Wada, “Theory and technology to control the nutrient solution of hydroponics,” in Plant Factory using Artificial Light, Japan: Elsevier, 2019, ch.1, sec.1.1, pp. 5-13.
T. Kaewwiset and T. Yooyativong, “Electrical conductivity and pH adjusting system for hydroponics by using linear regression,” in 14th ECTI-CON, Phuket, Thailand, Jun. 2017, pp. 761-764.
M. Fuangthong and P. Pramokchon, “Automatic control of electrical conductivity and pH using fuzzy logic for hydroponics system,” in 3rd ICDAMT, Chiangrai, Thailand, Feb. 2018, pp. 65-70.
R. C. Dorf and R. H. Bishop, “PID controllers,” in Modern Control System, 13th ed. Malaysia: Pearson Education, 2017, ch.7, sec.7.6, p. 479.
K. Ogata, “Tuning rules for PID controller,” in System Dynamic, 4th ed. Upper Saddle River, NJ, USA: Pearson Education, 2004, ch.10, sec.10, p. 566.
K. M. Passino and S. Yurkovich, “Fuzzy control: The basics,” in Fuzzy Control. Menlo Park, CA, USA: Addison Wesley Longman, 1998, ch.1, sec.1.3, p. 23.