การปรับปรุงประสิทธิภาพของอัลกอริทึมต้นไม้ โดยใช้อัลกอริทึมการแบ่งกลุ่มผสม
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ได้แก่ การปรับปรุงประสิทธิภาพของอัลกอริทึมต้นไม้ โดยใช้อัลกอริทึมการแบ่งกลุ่มผสม เนื่องจากกรณีที่มีจำนวนผู้ใช้น้อย อัลกอริทึมต้นไม้ไบนารีจะมีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด และสำหรับกรณีที่มีจำนวนผู้ใช้มากขึ้น อัลกอริทึมเทอนารีจะมีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ดังนั้นบทความฉบับนี้จึงได้นำเสนออัลกอริทึมการแบ่งกลุ่มผสม ซึ่งจะมีการแบ่งกลุ่มการชนออกเป็น 2 กลุ่ม ดังเช่น อัลกอริทึมต้นไม้ไบนารี กรณีที่มีผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องกับการชนน้อย และจะมีการแบ่งกลุ่มการชนออกเป็น 3 กลุ่ม ดังเช่น อัลกอริทึมต้นไม้เทอนารี กรณีที่มีผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องกับการชนมาก จากผลการทดสอบพบว่า อัลกอริทึมที่นำเสนอมีแนวโน้ม ค่าความน่าจะเป็นในการเข้าใช้ช่องสัญญาณสำเร็จสูงกว่า อัลกอริทึมต้นไม้ไบนารี และอัลกอริทึมต้นไม้เทอนารี ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพของอัลกอริทึมที่นำเสนอสูงกว่าอัลกอริทึมต้นไม้ไบนารี และอัลกอริทึมต้นไม้เทอนารี
Article Details
นโยบายการรับบทความ
กองบรรณาธิการวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความยินดีรับบทความจากอาจารย์ประจำ และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่นที่นำส่ง ดังนั้นผู้สนใจที่จะร่วมเผยแพร่ผลงานและความรู้ที่ศึกษามาสามารถนำส่งบทความได้ที่กองบรรณาธิการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองบทความพิจารณาจัดพิมพ์ในวารสารต่อไป ทั้งนี้บทความที่สามารถเผยแพร่ได้ประกอบด้วยบทความวิจัย ผู้สนใจสามารถศึกษาและจัดเตรียมบทความจากคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏภายในบทความของแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในสถาบัน แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
ผู้ประสงค์จะส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น สามารถส่ง Online ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/TNIJournal/ โปรดสมัครสมาชิก (Register) โดยกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
- กองบรรณาธิการ วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
- ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
เลขที่ 1771/1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซอยพัฒนาการ 37-39 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 ติดต่อกับคุณพิมพ์รต พิพัฒนกุล (02) 763-2752 , คุณจุฑามาศ ประสพสันติ์ (02) 763-2600 Ext. 2402 Fax. (02) 763-2754 หรือ E-mail: JEDT@tni.ac.th
References
[2] J. Choi, “Throughput Analysis for Coded Multichannel ALOHA Random Access,” IEEE Communications Letters, Vol. 21, No. 8, pp. 1803-1806, Aug. 2017.
[3] H. J. Noh, J. K. Lee and J. S. Lim, “ANC-ALOHA: Analog Network Coding ALOHA for Satellite Networks,” IEEE Communications Letters, Vol. 18, No. 6, pp. 957 – 960, June 2014.
[4] J. Yu and L. Chen, “Stability Analysis of Frame Slotted Aloha Protocol,” Mobile Computing IEEE Transactions, Vol. 16, No. 5, pp. 1462-1474, 2017.
[5] H. Baek, J. Lim and S. Oh, “Beacon-Based Slotted ALOHA for Wireless Networks with Large Propagation Delay,” IEEE Communications Letters, Vol. 17, No. 11, pp. 2196 - 2199, Nov. 2013.
[6]M. Karaca and B. Landfeldt, “Approaching Optimal Centralized Scheduling With CSMA-Based Random Access Over Fading Channels,” IEEE Trans. Comm., Vol. 20, No. 6, pp. 1183 - 1186, June 2016.
[7] A. Maatouk, M. Assaad and A. Ephremides, “Energy Efficient and Throughput Optimal CSMA Scheme,” IEEE/ACM Transactions on Networking, Vol. 27, No. 1, pp. 316 - 329, Feb. 2019.
[8] Q. Liu, Y. Lu, G. Hu, S. Lv, X. Wang and X. Zhou., “Cooperative control feedback: On backoff misbehavior of CSMA/CA MAC in channel-hopping cognitive radio networks,” Journal of Communications and Networks, Vol. 20, No. 6, pp. 523 - 535, Dec. 2018.
[9] A. Maatouk, M. Assaad and A. Ephremides, “Performance Analysis of CSMA/CA based Medium Access in Full Duplex Wireless Communications,” IEEE Transactions on Mobile Computing, Vol. 15, No. 6, pp. 1457 - 1470, June 2016.
[10]S. H. Kim and P. Park, “An Efficient Tree-Based Tag Anti-Collision Protocol for RFID Systems,” IEEE Communications Letters, Vol. 11, No. 5, pp. 449 - 451, May 2007.
[11] J. I. Capetanakis, “Tree Algorithms for Packet Broadcast Channels,” IEEE Trans. Inform. Theory, Vol. IT-25, pp. 505–515, Sept. 1979.
[12] P. Mathys, P. Flajolet, “Q-ary collision resolution algorithms in random-access systems with free or blocked channel access,” IEEE Trans. Inform. Theory, Vol.31, pp-217-243,Mar. 1985.
[13]H. Wu and Y. Pan, Medium Access Control in Wireless Networks. New York: Nova Science, 2008.