การพัฒนาระบบตรวจสอบความพร้อมโครงข่ายทางโทรคมนาคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาระบบตรวจสอบความพร้อมของโครงข่าย โดยทำการตรวจสอบแกนเส้นใยแก้วนำแสง (Fiber core) ที่สามารถให้บริการได้และเส้นทางของโครงข่ายที่มีอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย เพื่อช่วยลดระยะเวลาและขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น ระบบตรวจสอบความพร้อมโครงข่ายทางโทรคมนาคมพัฒนาในรูปแบบของโปรแกรมประยุกต์ ด้วยโปรแกรม Visual Basic.NET ร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ MySQL และเชื่อมต่อกับ API (Application programming interface) ของ Google maps ในการหาตำแหน่งของสถานีโทรคมนาคมที่มีระยะทางใกล้กับสถานที่ของลูกค้ามากที่สุดด้วยอัลกอริทึมของไดก์สตรา (Dijkstra's algorithm) จากการทดสอบระบบพบว่า การใช้ระบบตรวจสอบความพร้อมโครงข่ายนี้ จะช่วยลดระยะเวลาในการทำงานลงถึงร้อยละ 73.25 เนื่องจากจำนวนขั้นตอนในการทำงานลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับระบบงานเดิม รูปแบบการใช้งานระบบตรวจสอบความพร้อมของโครงข่ายไม่ซับซ้อน ทำให้พนักงานฝ่ายขายที่ไม่มีความรู้เฉพาะทางสามารถใช้งานระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
นโยบายการรับบทความ
กองบรรณาธิการวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความยินดีรับบทความจากอาจารย์ประจำ และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่นที่นำส่ง ดังนั้นผู้สนใจที่จะร่วมเผยแพร่ผลงานและความรู้ที่ศึกษามาสามารถนำส่งบทความได้ที่กองบรรณาธิการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองบทความพิจารณาจัดพิมพ์ในวารสารต่อไป ทั้งนี้บทความที่สามารถเผยแพร่ได้ประกอบด้วยบทความวิจัย ผู้สนใจสามารถศึกษาและจัดเตรียมบทความจากคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏภายในบทความของแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในสถาบัน แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
ผู้ประสงค์จะส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น สามารถส่ง Online ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/TNIJournal/ โปรดสมัครสมาชิก (Register) โดยกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
- กองบรรณาธิการ วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
- ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
เลขที่ 1771/1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซอยพัฒนาการ 37-39 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 ติดต่อกับคุณพิมพ์รต พิพัฒนกุล (02) 763-2752 , คุณจุฑามาศ ประสพสันติ์ (02) 763-2600 Ext. 2402 Fax. (02) 763-2754 หรือ E-mail: JEDT@tni.ac.th
References
เอกพงษ์ แสนชัย, “การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อสนับสนุนบริการโทรศัทพ์เคลื่อนที่ระบบซีดีเอ็มเอ : กรณีศึกษา บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน),” วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศ), มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น, 2552.
“OSPF Weekly Article,” ETDA. [Online]. Available: https://www.etda. or.th/file_storage/uploaded/Etda_Website/article/20120316_OSPF_Weekly_Article_V.03-02.pdf. [Accessed: 20-Sep.-2016].
Du, R., H.D. Fei., W.G. Zhang and X. Y. Wang, “Research and Design of a SpaceWire Network Dynamic Reconfiguration Method Based on Dijkstra Algorithm,” in 2016 9th International Symposium on Computational Intelligence and Design, ISCID 9, 2016, pp.168-173.
“รู้จักกับ MySQL,” กลุ่มพัฒนาการบริการข้อมูล. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://kmops.moph.go.th/index.php/km-test/ict/124-mysql. [เข้าถึงเมื่อ: 10-ต.ค.-2559].
“The logistics network system based on the Google Maps API - IEEE Conference Publication,” [Online]. Available: https://ieeexplore.ieee.org/ document/5461215. [Accessed: 28-Nov-2016].
“Google Map API,” ศูนย์สารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน. [ออนไลน์].แหล่งที่มา: https://itcenter.cdd.go.th/. [เข้าถึงเมื่อ: 10-ต.ค.-2559].
โชคชนะ อาจตา, “การเขียนโปรแกรมแบบจินตาการ,” [ออนไลน์] แหล่งที่มา: https://sites.google.com/ site/krudollampn/hnwy-kar-reiyn-ru14. [เข้าถึงเมื่อ: 10-ต.ค.-2559]
นัฐพล สีกะมุด, “แอปพลิเคชันค้นหาเส้นทางในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม,” ใน การประชุมวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 12, 2559, หน้า 551-556.
“Google Maps API Reference,” Google Corporation. [Online]. Available: https://developers.google.com/maps/. [Accessed: 1-Oct.-2016.]