https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/PTUJST/issue/feed วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี 2024-12-30T21:54:19+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤนาท ยืนยง ptujst@ptu.ac.th Open Journal Systems วารสารวิทยาศาสตรืและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/PTUJST/article/view/260299 บทบรรณาธิการ 2024-12-30T21:20:35+07:00 ผศ.ดร.นฤนาท ยืนยง Naruenat.y@ptu.ac.th <p>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานีเล่มนี้เป็นฉบับที่ 2 ปีที่ 5 ประจำเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567 โดยมีบทความนิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article) จำนวน 4 เรื่อง โดยเนื้อหาของบทความ จัดตามกลุ่มวิชาประกอบด้วย 1) บทความการแพทย์แผนไทย จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ ความปลอดภัยและประสิทธิผลของการบ่งต้อหินด้วยหนามหวายขม โดย อ.ชเอม ขุมเพชร และคณะ อีกหนึ่งเรื่องคือปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลตนเองของมารดาหลังคลอดด้วยแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลลำดวน โดย อ.สุดารัตน์ ศิริรจน์และ 2) บทความทางด้านการสาธารณสุข จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ อุบัติการณ์ และความสัมพันธ์ของระดับแลคเตท และครีเอตินินต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดย อ. ชัชญาภรณ์ สุขเเจ่ม และ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ และทัศนคติต่อบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี โดยคุณนันทวรรณ นามนัย และคณะ </p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/PTUJST/article/view/258346 ความปลอดภัยและประสิทธิผลของการบ่งต้อหินด้วยหนามหวายขม 2024-11-18T09:43:04+07:00 ชเอม ขุมเพชร chaem.ttm.64@gmail.com <p>การศึกษากึ่งทดลองชนิด 2 กลุ่มวัดก่อนหลังครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความปลอดภัย และประสิทธิผลของการบ่งต้อด้วยหนามหวายขม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคต้อหินที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย ได้แก่ โรคประจำตัว และยาที่รับประทานเป็นประจำ แบบบันทึกค่าความดันลูกตาและค่าการมองเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิต สถิติ Wilcoxon Signed-Rank Test และ Mann-Whitney U Test ผลการศึกษาพบว่า การบ่งต้อด้วยหนามหวายขมบริเวณแผ่นหลังไม่พบความผิดปกติในอาสาสมัครทุกราย พบเพียงรอยแผลขนาดเล็กที่เกิดจากการบ่งต้อด้วยหนามหวาย นอกจากนี้ยังไม่พบการอักเสบหรือการติดเชื้อจากแผลในอาสาสมัคร ผลการศึกษาด้านประสิทธิผลของการบ่งต้อหินด้วยหนามหวายขมด้วยการวัดค่าความดันลูกตาพบว่า ระดับความดันลูกตาข้างซ้ายหลังการทดลองมีค่าลดลงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.014) และระดับความดันลูกตาข้างขวาหลังการทดลองมีค่าลดลงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.019) และวัดค่าการมองเห็นพบว่า ค่าระดับการมองเห็นก่อนและหลังทดลองไม่แตกต่างกัน ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษานี้ จะได้ข้อมูลที่ยืนยันความปลอดภัย และประสิทธิผลของการบ่งต้อหินด้วยหนามหวายขม ซึ่งสามารถนำไปใช้พัฒนาหรือจัดทำแนวทางเวชปฏิบัติ และมาตรฐานวิชาชีพด้านการแพทย์แผนไทยต่อไป</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/PTUJST/article/view/258622 อุบัติการณ์และความสัมพันธ์ของระดับแลคเตทและครีเอตินิน ต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาใน โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 2024-12-17T12:06:03+07:00 ชัชญาภรณ์ สุขแจ่ม nongluck8e88@hotmail.com <p> การศึกษานี้เป็นเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และความสัมพันธ์ของระดับครีเอตินินและแลคเตทต่อการเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดของผู้ป่วยที่รับรักษาในโรงพยาบาล<br />ท่าศาลา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยได้รับการรับไว้รักษาในโรงพยาบาลด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวน 126 ราย รวบรวมข้อมูลด้วยแบบเก็บข้อมูลสามส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแคว์ และวิเคราะห์ตัวแปรพยากรณ์ต่อสถานะการจำหน่ายเสียชีวิตจากติดเชื้อในกระแสเลือดด้วยสถิติถดถอยเชิงพห ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเพศหญิง ร้อยละ 51.59 และเป็นผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 72.22 โรคที่เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากที่สุดคือ ปอดอักเสบ ร้อยละ 44.44 ระยะเวลาการนอนรักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 11.32 วัน (S.D. 10.31) การติดเชื้อจากชุมชน ร้อยละ 83.33 การติดเชื้อในกระแสเลือด ร้อยละ 37.30 เชื้อก่อโรคส่วนใหญ่เป็นแกรมลบ ร้อยละ 73.81 อัตราอุบัติการณ์เท่ากับ 140.5 ต่อแสนประชากร เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า อายุ โรคประจำตัว และระยะเวลานอนโรงพยาบาล เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดของผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value &lt; 0.05 ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด พบว่ามีความสัมพันธ์กับค่าครีเอตินินสูงกว่า 1.2 mg/d (aOR 1.45, 95%CI= 1.53-3.47) การติดเชื้อในทางเดินหายใจ (aOR=2.75, 95%CI 0.79-4.13) และเชื้อแบคทีเรียก่อโรคแกรมลบ (aOR=2.51, 95%CI=1.07-6.81) ในขณะที่ระดับแลคเตทไม่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ดังนั้น การป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ การติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ และค่าครีเอตินินควรนำมาพิจารณาขณะรักษาจะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ขณะรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลได้</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/PTUJST/article/view/259656 ปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลตนเองของมารดาหลังคลอดด้วยแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลลำดวน 2024-11-29T16:11:32+07:00 สุดารัตน์ ศิริรจน์ nimmungkud@gmail.com <p>การศึกษานี้เป็นเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลตนเองของมารดาหลังคลอดที่อำเภอลำดวน กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดในระยะ 6-8 สัปดาห์ที่รับบริการหลังคลอดด้วยแพทย์แผนไทย จำนวน 30 ราย รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของมารดาหลังคลอดด้วยสถิติไควสแคว์ และสหสัมพันธ์เพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญที่ p-value&lt; 0.05 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 63.33 จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 36.66 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 40.00 มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองหลังคลอดอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 56.66 และมีการดูแลตนเองหลังคลอดอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 60.00 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า อาชีพ ระดับการศึกษา และระดับความรู้มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value &lt; 0.05 ในขณะที่ความรู้ (<em>r</em>=0.584) และลำดับการตั้งครรภ์ <em>(</em><em>r</em>=0.331) มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value&lt; 0.05</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/PTUJST/article/view/260069 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ และทัศนคติต่อบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 2024-12-29T12:55:31+07:00 นันทวรรณ นามนัย nantawan1510jj@gmail.com <p>การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง (cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับของความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม การรับรู้บุหรี่ไฟฟ้า และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม และการรับรู้บุหรี่ไฟฟ้า ของนักศึกษามหาวิทยาลัยปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยปทุมธานี จำนวน 350 คน จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรคำนวณของ Taro Yamane (1971) โดยมีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติสหสัมพันธ์เชิงอันดับแบบสเปียร์แมน (Spearman Correlation Coefficient) สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และการทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ผลการวิจัย พบว่าความรู้เกี่ยวกับการรับรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 71.70 ทัศนคติเกี่ยวกับการรับรู้บุหรี่ไฟฟ้าอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅ = 2.26, S.D = 0.405) พฤติกรรมการใช้บุหรี่อยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅ = 2.20, S.D = 0.312) การรับรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 2.45, S.D = 0.412) และความรู้ พฤติกรรมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับการรับรู้บุรี่ไฟฟ้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความรู้ของนักศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับต่ำ ขณะที่พฤติกรรมของนักศึกษามีความสัมพันธ์ทางลบกับการรับรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า อยู่ในระดับปานกลาง และต่ำ (r=.034* และ .208*) ตามลำดับ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาช่องทางการสื่อสาร เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงการกำหนดมาตราการการให้คำปรึกษา การสร้างเครือข่ายนักศึกษาที่สนับสนุนการไม่สูบบุหรี่</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี