วารสารนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JSISD <h2>รายละเอียดวารสาร</h2> <p>วารสารนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นวารสารวิชาการที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในลักษณะนิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article) นิพนธ์ปริทัศน์ (Review Article) และบทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม, อาชีวอนามัยและความปลอดภัย, วิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ, วิทยาการคอมพิวเตอร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการแนะนำหนังสือที่น่าสนใจทางด้านนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กำหนดพิมพ์เผยแพร่ปีละ 1 ฉบับ (ประจำเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม) From 2022, Journal of Science Innovation for Sustainable Development will consider articles on two issues. ทั้งนี้ต้นฉบับที่เสนอขอลงตีพิมพ์ จะต้องไม่เคยหรือไม่อยู่ระหว่างเสนอขอตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น และบทความดังกล่าวจะต้องเข้ารับการพิจารณาให้ความเห็น และตรวจแก้ไขทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ของวารสารนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จำนวนอย่างน้อย 3 ท่านต่อบทความก่อนลงตีพิมพ์</p> <p> </p> <p><strong>Zero tolerance policy with plagiarism</strong></p> <ul> <li>Journal of Science Innovation for Sustainable Development has an originality and a zero tolerance plagiarism policy.</li> <li>We check the submissions by using two methods such as plagiarism prevention tools and reviewer checks.</li> <li>All submissions will be checked by copycatch all in ThaiJo 2.0 and iThenticate plagiarism prevention software before being sent to reviewers.</li> </ul> <p> </p> <p>© 2019–2023 Suandusit University</p> Faculty of Science and Technology, Suandusit University, Bangkok, THAILAND th-TH วารสารนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2730-3829 <p>ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์</p> การพัฒนาเตาเผาถ่านประสิทธิภาพสูงด้วยวัสดุพรุนชนิดตาข่ายสเตนเลส https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JSISD/article/view/252128 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการติดตั้งวัสดุพรุนชนิดตาข่ายสเตนเลสที่ส่งผลต่ออุณหภูมิภายในเตาเผาถ่าน โดยได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ขั้นตอน ประกอบไปด้วย ขั้นตอนที่ 1 ทำการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อศึกษาลักษณะการไหลของอากาศภายในท่อนำความร้อนที่ติดตั้งวัสดุพรุนชนิดตาข่าย สเตนเลส จำนวนช่องว่างต่อหนึ่งนิ้ว (PPI) ที่ทำการวิเคราะห์ คือ 6, 10 และ 20 และมีการศึกษาระยะพิทช์ (LP) จำนวน 5 ระยะ ได้แก่ 10, 20, 30, 40 และ 50 เซนติเมตร ทำให้มีการวิเคราะห์รวมกรณีไม่ติดตั้งวัสดุพรุนทั้งหมด 16 กรณี สำหรับขั้นตอนที่ 2 เป็นการทดลองเพื่อหาสมรรถนะการเผาถ่านของเตาถ่านแบบ 200 ลิตร เมื่อมีการติดตั้งวัสดุพรุนชนิดตาข่ายสแตนเลส จากการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองพบว่าการกระจายตัวของอากาศภายในท่อนำความร้อนที่ทำการติดตั้งวัสดุพรุนชนิดตาข่ายสเตนเลส กรณี PPI 20 LP 50 มีลักษณะไหลทั่วผิวท่อและมีความเร็วน้อยกว่าท่อเปล่าที่ไม่ติดตั้งวัสดุพรุน ส่งผลให้มีการทดลองเหลือเพียง 6 กรณีเท่านั้น จากผลการทดลองได้ข้อที่น่าสนใจ คือ อุณหภูมิเฉลี่ยภายในเตามีค่าสูงสุด เท่ากับ 196.7 °C ซึ่งสูงกว่าเตาเผาถ่านที่ไม่ติดตั้งวัสดุพรุน ประมาณ 48 °C เกิดขึ้นที่กรณี PPI 20 LP 10 อย่างไรก็ตามกรณี PPI 10 LP 50 ใช้เวลาในการผลิตถ่านน้อยลงมากที่สุด คือ 42 นาที เมื่อเทียบกับเตาเผาถ่านที่ไม่ติดตั้งวัสดุพรุนภายในท่อนำความร้อน รวมเวลาที่ใช้ทั้งหมด 5.58 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังพบว่าผลการเปรียบเทียบระหว่างการจำลองกับการทดลองมีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้และจากข้อดีของวัสดุพรุนชนิดตาข่ายสเตนเลสมีคุณสมบัติช่วยการถ่ายเทความร้อน ดังนั้นสามารถพัฒนาเตาเผาถ่านเพื่อใช้ในวิสาหกิจชุมชนได้</p> นิวัฒน์ เกตุชาติ สุรเดช สินจะโป๊ะ บัณฑิต กฤตาคม คมเพ็ชร อินลา จัตุพล ป้องกัน ไพลิน หาญขุนทด Copyright (c) 2023 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-30 2024-05-30 5 2 17 31 โครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชันเชิงลึกและการประมวลผลภาพสำหรับการจำแนกเพศและนับจำนวนปลาหางนกยูง https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JSISD/article/view/253928 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการจำแนกเพศปลาหางนกยูงจากภาพในมุมมองที่ต่างกันด้วยการใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชันเชิงลึก และ 2) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการนับจำนวนปลาหางนกยูงด้วยการใช้เทคโนโลยีการประมวลผลภาพ โดยใช้ชุดข้อมูลภาพถ่ายปลาหางนกยูง จำนวน 19,665 ภาพ จากพื้นที่จริงในเขตอำเภอเมืองนครปฐม และอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลผ่านโปรแกรมภาษาไพทอนด้วยการใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชันเชิงลึก และเทคโนโลยีการประมวลผลภาพ ผลการวิจัยพบว่าการจำแนกเพศปลาหางนกยูงจากภาพในมุมมองด้านข้าง ด้วยการใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชันเชิงลึก ได้ค่าความแม่นยำเฉลี่ยมากที่สุด mAP = 0.98 รองลงมาคือจากภาพถ่ายผสมทั้งมุมมองด้านบนและด้านข้าง และภาพถ่ายจากมุมมองด้านบน ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่าภาพถ่ายปลางหางนกยูงด้านข้างจะได้ความแม่นยำดีที่สุด เนื่องจากเป็นภาพที่เห็นลำตัว สี ครีบหาง ชัดเจนที่สุด และประสิทธิภาพการนับจำนวนปลาหางนกยูงด้วยการใช้เทคโนโลยีการประมวลผลภาพ โดยใช้ชุดข้อมูลภาพถ่ายปลาหางนกยูงที่ได้จากการใช้แสงไฟจากหลอดไฟแอลอีดี มีค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยกำลังสอง เท่ากับ 1.92 น้อยกว่าการใช้แสงจากธรรมชาติ เนื่องจากสามารถถ่ายภาพได้ชัดเจน และสามารถควบคุมปริมาณแสงได้ตลอดทุกช่วงเวลาตลอดทั้งวัน ทั้งนี้ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้บูรณาการเข้ากับฮาร์ดแวร์ เพื่อทำเป็นระบบในการจำแนกเพศ และนับจำนวนปลาหางนกยูง ซึ่งจะช่วยให้ผู้เลี้ยงปลาหางนกยูงสามารถคัดแยกเพศและนับจำนวนปลาหางนกยูงได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพต่อไป</p> Narongrit Piromnok Copyright (c) 2023 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-15 2024-01-15 5 2 1–16 1–16 การสกัดคุณลักษณะโดยใช้โครงข่ายประสาทแบบคอนโวลูชัน สำหรับระบบค้นคืนรูปภาพสิ่งปลูกสร้าง https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JSISD/article/view/251985 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดคุณลักษณะของภาพโดยใช้โครงข่ายประสาทแบบคอนโวลูชัน (Convolutional Neural Networks: CNNs) เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในระบบค้นคืนรูปภาพตามเนื้อหา (Content-Based Image Retrieval: CBIR) สำหรับการค้นคืนภาพอาคาร โดยใช้ภาพถ่ายอาคารต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์จำนวน 513 ภาพ เป็นชุดข้อมูลทดสอบ โมเดล CNNs ที่ใช้ในการสกัดคุณลักษณะ ได้แก่ VGG16, VGG19 และ NasNetLarge โดยใช้ Cosine similarity ในการวัดความคล้ายคลึงของภาพ ผลการวิจัยพบว่า VGG19 ให้ผลลัพธ์ความแม่นยำในการค้นคืนภาพดีที่สุด รองลงมาคือ VGG16 และ NasNetLarge ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า VGG19 สามารถสกัดคุณลักษณะของภาพอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า VGG16 และ NasNetLarge อย่างไรก็ตาม NasNetLarge ยังคงมีข้อจำกัดในการสกัดคุณลักษณะภาพอาคาร เนื่องจาก NasNetLarge มีความซับซ้อนของโครงสร้างสูงกว่า VGG16 และ VGG19 จึงทำให้ประสิทธิภาพในการสกัดคุณลักษณะภาพอาคารต่ำกว่า</p> Wachirawit Kumphet วชิรวัฒน์ มาลัยโคตร วรินทร์พิพัชร วัชรพงษ์เกษม กมลรัตน์ สมใจ แสงดาว นพพิทักษ์ Copyright (c) 2023 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-18 2024-06-18 5 2 32 46 บทวิจารณ์หนังสือ-This is how they tell me the world ends: The cyberweapons arms race https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JSISD/article/view/252771 <p>The cybercrime or software that allows a hacker to break into your devices and move around undetected, became the weapons arms race. One of the most coveted tools used by world leaders to destroy the opponents. Use cyber weapons to destroy the enemy by destroying the transport system communication system power system shutdown as a result, the country came to a halt causing the collapse of the trading system and cause loss to the bank's financial condition. This book consisted of seven parts and twenty-three chapters.</p> Pemika Sanitphot Copyright (c) 2024 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-07-08 2023-07-08 5 2