An evaluation of Adaptive Learning Management System Case Study: an information system’s component

Main Article Content

อนุชิต กลิ่นกำเหนิด
อรจิรา สิทธิศักดิ์
ทัศนวรรณ ศูนย์กลาง

Abstract

An evaluation of Adaptive Learning Management System Case Study: an information system’s component The objectives of this research are : to develop and to study the efficiency of the adaptive learning management system based on a web application. Studentswere classified into three levels; high level, middle level,

and low level. These students were evaluated their performance before and after studying with the system based on an item response theory (IRT), rating ability (\dpi{80} \theta) and Bayesian updating technique. This system helps teachers to prepare a suitable lesson plan for each students by using adaptive hypermedia and an appropriate test by using test parameters for making adaptive testing.

For a preliminary evaluation, we used questionnaires for examining validity and satisfaction. We found that there was statistically significant difference between the student’s performance before and after studying the system at .05. The students’ performance of
after studying with the system was higher than of before studying. For usability evaluation, the system was satisfied by teachers in best level. (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.68, S.D. = 0.47)

 

ผลการประเมินระบบบริหารจัดการการเรียนรู้แบบปรับเหมาะ กรณีศึกษาเรื่อง องค์ประกอบของระบบสารสรเทศ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการเรียนรู้แบบปรับเหมาะ พัฒนาในรูปของเว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) นักเรียนเข้าเรียนเนื้อหาโดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 ระดับ คือ กลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน ทำการวัดค่าความสามารถของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนผ่านระบบบริหารจัดการเรียนรู้แบบปรับเหมาะ ในการวัดค่าความสามารถของนักเรียนใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (Item Response Theory: IRT) และการประมาณค่าความสามารถ (\dpi{80} \theta) โดยใช้กลวิธีของเบย์ (Bayesian Updating) สำหรับครูผู้สอนระบบได้จัดเตรียมเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้สอนเตรียมเนื้อหาบทเรียนให้เหมาะสำหรับนักเรียนแต่ละระดับโดยใช้เทคนิคสื่อหลายมิติแบบปรับตัว และจัดเตรียมแบบทดสอบโดยระบุค่าพารามิเตอร์ของ ข้อสอบเพื่อนำไปใช้ในการทำแบบทดสอบแบบปรับเหมาะได้

ผลการวิจัยระบบบริหารจัดการเรียนรู้แบบปรับเหมาะพบว่า ค่าความสามารถทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่า ความสามารถทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อระบบพบว่าครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อระบบในภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.68 , S.D. = 0.47)

Article Details

Section
ACTIS Article